ผู้ใช้:Kanjanaporn kongnimit/กระบะทราย

โรคชอบหยิบฉวย หรือ โรคชอบขโมยของ (อังกฤษ : Kleptomania หรือ Pathological stealing) เป็นโรคทางจิตเวช ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถยับยั้งใจต่อแรงกระตุ้นที่จะลักขโมยได้[1] ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะลักขโมยสิ่งของที่ไม่มีประโยชน์ต่อตนเอง

โรค kleptomania เป็นโรคทางจิตเวชที่อยู่ในกลุ่มโรคขาดความยับยั้งชั่งใจ (Impulse Control Disorders) โดยกลุ่มโรคดังกล่าว ประกอบด้วยโรคต่าง ๆ หลายโรค เช่น โรคชอบจุดไฟ (Pyromania) โรคติดการพนัน (Pathological gambling) โรคซึมเศร้า (major depressive disorder, MDD) โรคแพนิค (Panic Disorder) และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar)

รากศัพท์

แก้

Kleptomania เป็นคำที่มาจากภาษากรีกโบราณ โดยคำว่า klepto มาจาก κλέπτω แปลว่า ขโมย ฉกฉวย และคำว่า mania มาจาก μανία แปลว่า ความปรารถนาที่บ้าคลั่ง, การบังคับ[2] ดังนั้นอาจให้ความหมาย Kleptomania ได้ว่า ความปรารถณาที่จะขโมย

กลุ่มอาการ

แก้
  • มักจะขโมยสิ่งของที่ตัวเองไม่มีความจำเป็นต้องใช้ หรือสิ่งของที่ไม่มีราคา
  • ก่อนลงมือ ผู้ป่วยจะมีความเครียดเพิ่มขึ้นอย่างมาก
  • หลังจากลงมือขโมยของแล้วจะรู้สึกสบายใจและผ่อนคลาย
  • เมื่อเหตุการณ์ผ่านไป ผู้ป่วยบางรายอาจจะกลับมารู้สึกผิด เสียใจ เพราะลึก ๆ แล้วผู้ป่วยรู้ว่าการขโมยของเป็นเรื่องผิดต่อศีลธรรมและกฎหมาย แต่ก็มีบางรายที่อาจไม่รู้สึกอะไรเลยจากพฤติกรรมนั้น
  • ผู้ป่วยที่ขโมยของมาแล้วอาจนำของไปเก็บไว้ ทิ้งไป หรือเอาไปคืนที่เดิม[3]

สาเหตุ

แก้

โรค kleptpmania เกิดจากความผิดปกติทางชีวภาพ ทำให้สมองหลั่งสารเซโรโทนิน (serotonin) น้อยลง เช่นเดียวกับโรคซึมเศร้า (major depressive disorder, MDD) และโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) แต่อาจมีสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูในวัยเด็ก ความเครียดความกดดันในวัยเด็ก ความไม่พอใจพ่อแม่หรือบุคคลที่มีอำนาจในชีวิต หรือพันธุกรรม ผลักดันให้มีนิสัยชอบขโมยของเพื่อรู้สึกผ่อนคลาย สร้างความรู้สึกภูมิใจในตัวเอง หรือสร้างความอับอายให้กับบุคคลที่มีอำนาจในชีวิต

การรักษา

แก้

อาการของผู้ป่วยโรค kleptpmania สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา ร่วมกับวิธีจิตบำบัดโดยแพทย์หรือนักจิตวิทยา ซึ่งวิธีการทำจิตบำบัด แบ่งออกเป็น 2 วิธี 1. จิตบำบัดแบบรู้แจ้ง ใช้กับผู้ป่วยที่มีความรู้สึกผิดชอบชั่วดี โดยจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะสร้างประเด็นที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกตัวว่าแสดงพฤติกรรมดังกล่าวแล้วจะส่งผลที่ไม่ดีต่อตนเอง 2. จิตบำบัดความคิด จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจะใช้วิธีการอธิบายผลเสียของการแสดงพฤติกรรมลักขโมย จนผู้ป่วยตระหนักถึงผลเสีย และสามารถนำความคิดนั้นมาควบคุมพฤติกรรมดังกล่าวได้[4]

อ้างอิง

แก้
  1. [1], http://www.theactkk.net/home/homenew1/print_news.asp?id=6996.
  2. [2], https://en.wikipedia.org/wiki/Kleptomania.
  3. [3], http://health.kapook.com/view21661.html.
  4. [4], https://www.youtube.com/watch?v=nK9DDcCQ8Tc.