ลายฉลุ ,Stencil หรือ Pochoir(ฝรั่งเศส)

แก้

ลายฉลุ (Stencil)

แก้

คือ เทคนิคหนึ่งของกระบวนการพิมพ์ ซึ่งทำได้โดยการนําแผ่นวัสดุบางๆ ที่ตัด เอาไว้เป็นลวดลายหรือตัวอักษรต่างๆ มาวางทาบไว้ บนวัสดุที่ต้องการให้เกิดลวดลาย แล้วจึงใช้หมึก กลิ้งหรือพ่นลงไปในช่องที่ตัดเอาไว้ หลังจากที่นําแผ่นวัสดุชั้นบนออก ก็จะเกิดเป็นลวดลายตามแม่ พิมพ์บนวัสดุที่อยู่ชั้นล่าง

 
ขณะนำแม่พิมพ์ พ่นสีลงกระดาษ
 
หลังพิมพ์สีเสร็จ

ข้อดีของการใช้เทคนิคนี้คือ ทำซ้ําได้หลายครั้ง และแต่ละครั้งลวดลายที่ได้จะออกมาตามต้นแบบ ข้อเสียคือภาพจะทำให้คมชัดยากและพื้นที่ต้องเชื่อมติดกัน ในลักษณะสะพานเชื่อมกันเกาะดังรูปนี้

 [1]


ประวัติความเป็นมา

แก้

ในประวัติศาสตร์มีการค้นพบ มนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสร์ใช้เทคนิคลายฉลุบนฝนังถ้ําที่อาเจนติน่า โดยมนุษย์ยุคนั้นใช้มือตัวเองเป็นแม่พิมพ์วางลงไปบนผนังถ้ํา หลังจากนั้นจึงใช้สีที่ป่นมาจากวัสดุต่างๆ พ่นลงบนมือโดยวิธีอมสีไว้ในปาก หลังจากนํามือออกส่วนที่มือปิดอยู่จะไม่โดนสีแต่บริเวณรอบๆจะเกิด เป็นสีต่างๆ และยังมีเทคนิคอื่นอีกที่เป็นเทคนิคในการพิมพ์ เช่นเอาสีมาทาไว้ที่มือและกดลงไปบนผนัง ก็จะเกิดเป็นรูปมือของตัวเองบนผนังถ้ํา

 
ภาพจากผนังถ้ำของมนุษย์ยุคโบราณ

วิวัฒนาการของการทำลายฉลุให้เกิดเป็นรูป ต่าง ๆ ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง โดยในประเทศจีน ยุคสมัยของราชวงศ์ซ่ง (ช่วงปี ค.ศ 960-1279) ได้มีการพิมพ์ตัวอักษรและรูปภาพโดยใช้กระดาษที่ฉลุ ด้วยการตัดหรือเจาะเป็นช่อง แล้วจึงใช้หมึกพ่นหรือปาดไปบนแม่พิมพ์ฉลุนั้น ซึ่งการพิมพ์ในลักษณะนี้ ถูกเรียกว่า การพิมพ์ลายฉลุ (Stencil Printing) การพิมพ์ลายฉลุพบอย่างแพร่หลายในทวีปเอเชีย เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 ชาวญี่ปุ่นได้รับการยกย่องว่ามีฝีมือในด้านการตัดกระดาษด้วยมือเป็นพิมพ์ลายฉลุ โดยชาวญี่ปุ่นได้พยามยามคิดค้นวิธีที่ จะผูกโยงชิ้นส่วนของลายฉลุซึ่งถูกตัดขาด เกิดเป็นชิ้นส่วนที่แยกออกจากกัน ให้สามารถยึดโยงเป็นแม่พิมพ์ชิ้นเดียวกัน เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคในเวลาที่จะทำการพิมพ์(เนื่องจากแม่พิมพ์ไม่ได้เป็นกระดาษชิ้น เดียวกัน)

! วิธีที่ชาวญี่ปุ่นคิดค้นขึ้นและนําไปสู่พื้นฐานของการพิมพ์ซิลค์สกรีนในท้ายที่สุด ก็คือการนํา เส้นผมของคนมาถักเป็นตะแกรง เนื่องจากเส้นผมมีขนาดเล็ก มีความเหนียวและทนต่อแรงดึงได้ดี และ ที่สําคัญน้ําหมึกสามารถทะลุผ่านได้ การถักเส้นผมเป็นตะแกรงเพื่อใช้เป็นโครงที่มีความแข็งแรงในการ ยึดโยง(ties) ชิ้นส่วนของพิมพ์ลายฉลุ ด้วยวิธีการทำแม่พิมพ์ลายฉลุขึ้นมาสองชุดที่เหมือนกันแล้ว ประกบเข้าด้วยกัน(ใช้กาว) โดยมีตะแกรงเส้นผมที่ถักขึ้นอยู่ระหว่างกลาง แล้วจึงทำการพ่นหรือปาด หมึกทับลงไปบนแม่พิมพ์ ซึ่งวิธีดังกล่าวถูกเรียกว่าการพิม์ฉลุตะแกรงเส้นผม (Hair Stencil Printing)
! ในปี 1907 จากแนวคิดดั้งเดิมในการพิมพ์ฉลุด้วยตะแกรงเส้นผมของชาวญี่ปุ่น แซมมัว ไซมอน ชาวอังกฤษ ได้คิดค้นวิธีการพิมพ์โดยปราศจากการผูกโยง โดยการนําเส้นใยไหมซึ่งมีความละเอียด เหนียวและทนต่อแรงดึงกว่าเส้นผมนํามาทอเป็นตะแกรงไหม แล้วนําพิมพ์ลายฉลุวางแนบลงไปข้างใต้ (ทากาวเป็นตัวประสาน) แล้วจึงวางทับลงไปบนวัสดุที่ต้องการจะพิมพ์ เมื่อใช้หมึกปาดลงไปบน ตะแกรงไหม หมึกจะแทรกผ่านรูของตะแกรงไหมในพื้นที่ซึ่งไม่ได้ถูกทากาวลงไปยังผิวของวัตถุ กรรมวิธีดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นของคําว่า การพิมพ์ตะแกรงไหม หรือ Silkscreen โดยนาย แซมมัว ไซมอน ได้จดสิทธิบัตรแนวความคิดนี้และถูกนํามาใช้จวบจนปัจจุบัน
! ด้วยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสิ่งทอ เส้นใยสังเคราะห์ประเภท ไนล่อน โพลีเอสเตอร์ และ เส้นใยโลหะ ได้ถูกนํามาใช้ทำผ้าสกรีนแทนการทอจากเส้นใยไหม ในปัจจุบันเราจึงไม่สามารถ พบเห็นบล็อคสกรีนที่ถูกขึงด้วยผ้าที่ทำจากเส้นใยไหมในกระบวนการงานสกรีนเสื้ออีกต่อไป
! ในฝั่งยุโรปนั้นได้พัฒนาเดิมที่ใช้การพิมพ์แบบขาวดําโดยเทคนิค การแกะไม้(Woodcut) มาแทนที่ด้วยเทคนิคลายฉล(ุStencil)หรือPochoir(เป็นภาษาฝรั่งเศส) เป็นการสร้างรูปภาพสีที่มีความเป็นมาอย่างยาวนานในประเทศจีน ได้นํามาใช้ในการเผยแพร่ โฆษณาในฝรั่งเศสเมื่อปลายปี 1800 และได้รับการตอบรับอย่างงดงาม การทำลายฉลุนั้นอาจ จะทำบล็อกสีได้ตั้งแต่ขาวดําไปจนถึง 250 เฉดสีที่แตกต่างกันวางทาบไว้บนกระดาษทีละสีแล้ว ใช้พู่กันหรือขนสัตว์แต่งแต้มสีลงไปในช่องที่ฉลุลายเอาไว้ เป็นเทคนิคที่นิยมใช้กันอย่างแพร่ หลายในยุค Art Nouveau ,Deco art หรือประมาณในปี ค.ศ.1920 ซึ่งในการฉลุนี้ในการทำ หนังสือ หรือโฆษณาสาธารณะต่างๆที่ไม่จําเป็นต้องใช้ลายมือเขียน

 
ภาพการนำเทคนิคลายฉลุไปใช้ในระบบสาธารณะ