ประวัติส่วนตัว 1. ชื่อ นายจรัญ นามสกุล มะลูลีม อายุ 56 ปี 2. คณะ รัฐศาสตร์ สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตำแหน่งทางวิชาการ รองศาสตราจารย์ 3. เข้ารับราชการหรือทำงานที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 3 มิถุนายน 2542 รวมระยะเวลา 13 ปี 4. ประสบการณ์ทางด้านงานบริหาร (ตั้งแต่อดีต-ปัจจุบัน) 1. กรรมการที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี 2. กรรมการบริหารธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 3. กรรมการตรวจสอบธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 4. กรรมการปรับปรุงธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 5. ประธานคณะอนุกรรมการติดตามการปฏิบัติราชการในจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา สตูล ตรัง และพัทลุง (สำนักนายกรัฐมนตรี) 6. ประธานอนุกรรมการติดตามกิจการศาสนาอิสลาม (สำนักนายกรัฐมนตรี) 7. กรรมการหลักสูตรปริญญาโทภาคภาษาอังกฤษ (Master’ Degree in International Relations’s (MIR) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8. กรรมการโครงการปริญญาโทสาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร (MPE) 9. กรรมการโครงการตรี-โท ห้าปี ภาคภาษาอังกฤษ (Combined Bachelor and Master of Political Science Program in Politics and International Relations (BMIR) 10. กรรมการโครงการศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) 11. กรรมการห้องสมุด ศ.ดิเรก ชัยนาม 12. กรรมการโครงการวิชาโทเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 13. บรรณาธิการสำนักพิมพ์บัณฑิตยสถานอิสลาม (Islamic Academy) 14. บรรณาธิการอำนวยการหนังสือพิมพ์ทางนำ (Islamic Guidance Post) 15. บรรณาธิการเอเชียปริทัศน์ สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 16. กรรมการฝ่ายการต่างประเทศ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ 17. คณะกรรมการติดตามความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สำนักนายกรัฐมนตรี) 18. คณะกรรมการไต่สวนอิสระคดีกรือเซะ 19. คณะกรรมการไต่สวนอิสระคดีตากใบ 20. คณะอนุกรรมการติดตามเหตุระเบิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สภาผู้แทนราษฎร) 21. คณะอนุกรรมการติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (วุฒิสภา) 22. ที่ปรึกษากรรมาธิการฝ่ายต่างประเทศ (วุฒิสภา) 23. อนุกรรมาธิการการศึกษาและติดตามสถานการณ์ความสัมพันธ์ไทยกับโลกมุสลิม กรรมาธิการฝ่ายต่างประเทศ (วุฒิสภา) 24. คณะกรรมการกำกับมาตรฐานหลักสูตรอิสลามศึกษา ภาคภาษาอาหรับ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

งานบริการสังคม (งานที่นอกเหนือจากกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย) 1. เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษหัวข้อ “สันติภาพกับโลกมุสลิม” ของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการวิจารณ์และเสนอแนะงานวิจัย เรื่อง “แนวคิดเมตตาในศาสนาพุทธกับอัรเราะห์มะฮ์ในศาสนาอิสลาม”และ “แนวคิดเรื่องสันติภาพของซัยยิดกุบฏ” มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 3. เป็นวิทยากรร่วมเสวนาในหัวข้อ “ทางออกของปัญญาชนมุสลิมในสถานการณ์ปัจจุบัน” จัดโดยศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอบต.) 4. เป็นวิทยากรแก่นักศึกษาไทยมุสลิมในปากีสถานภายใต้หัวข้อ “อุดมการณ์ทางการเมืองและความสุดโต่งทางความคิดกับนักศึกษาไทยมุสลิมในปากีสถาน” ณ สถานกงสุลไทย กรุงการาจี ปากีสถาน 5. เป็นผู้บรรยายวิชา “กลุ่มประเทศอิสลามและกลุ่มประเทศเอเชียใต้” ให้แก่วิทยาลัยการทัพอากาศสถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง 6. เป็นผู้บรรยายวิชา “ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ตะวันออกกลาง)” ให้แก่โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ 7. เป็นผู้บรรยายพิเศษโครงการอบรมพิเศษทางรัฐศาสตร์แก่นักศึกษาไทย ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ 8. เป็นวิทยากรในการอบรมให้กับนักศึกษาไทยในกรุงริยาฏ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ตามคำเชิญของอุปทูตไทยประจำกรุงริยาฏ โครงการ Flagship (กระทรวงการต่างประเทศ) 9. เป็นวิทยากรในการอบรมให้กับนักศึกษาไทยในกรุงไคโร ตามคำเชิญของเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงไคโร โครงการ Flagship (กระทรวงการต่างประเทศ) 10. อนุกรรมการฝ่ายวิชาการในคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย 11. ที่ปรึกษาชมรมมุสลิม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 12. ประธานที่ปรึกษาโรงเรียนอันวารุ้ลอิสลาม คลองตัน กรุงเทพ 13. เป็นวิทยากรในการประชุมสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “ยุทธศาสตร์การดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน : มาเลเซีย “หุ้นส่วนผู้ใกล้ชิด” หรือ “มิตรที่ห่างเหิน” ให้แก่ศูนย์อาเซียนศึกษา กองกิจกรรมระหว่างประเทศ สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์ 14. เป็นอาจารย์พิเศษหัวข้อ “โลกมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ให้แก่นักเรียนแพทย์ทหาร วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฏเกล้า 15. เป็นผู้บรรยายเรื่อง “สามจังหวัดภาคใต้” การก่อการร้ายและเอเชียใต้” ให้กับสถาบันพระปกเกล้า 16. เป็นผู้เสวนาเรื่อง “ความขัดแย้งในสามจังหวัดภาคใต้” ให้กับวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร 17. เป็นผู้บรรยายเรื่อง “การเมืองในกลุ่มรัฐอิสลาม-เอเชียใต้” ให้กับสถาบันกองทัพเรือชั้นสูง ศาลายานครปฐม 18. เป็นผู้บรรยายเรื่อง “ยุทธศาสตร์ทางการเมืองของตะวันออกกลาง-เอเชียใต้” ศูนย์รักษาความปลอดภัย กองบัญชาการทหารสูงสด 19. เป็นผู้บรรยายเรื่อง “ภาคใต้ของงไทยในสายตาโลกมุสลิม” ศูนย์บัญชาการรบพิเศษ 1 ค่ายเอราวัณ ลพบุรี จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 20. เป็นผู้บรรยายเรื่อง “โลกมุสลิมกับเหตุการณ์ในสามจังหวัดภาคใต้” ศูนย์รักษาความปลอดภัยส่วนหน้า จังหวัดยะลา 21. เป็นผู้บรรยายเรื่อง “ความขัดแย้งในสามจังหวัดภาคใต้” ให้กับตำรวจตระเวนชายแดน เชียงรายและกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน กรุงเทพ 22. เป็นผู้บรรยายในหัวข้อต่างๆ ให้กับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี , บูรพา , ศิลปากร , เกริก, สงขลานครินทร์ , รามคำแหง . อัสสัมชัญ , เกษตรศาสตร์ , มหิดล , วลัยอลงกรณ์ , อีสเทิร์นเอเชีย, ศรีนครินทร์วิโรฒ , การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ให้แก่พนักงานที่เดินทางไปยังประเทศโอมาน) 23. ผู้บรรยายประจำศูนย์กลางอิสลามแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ ในช่วงวันศุกร์ของแต่ละสัปดาห์ 24. ผู้บรรยายในหลายมัสญิด ทุกภาคของประเทศไทย ตามวาระและโอกาส 25. ผู้ผลิตรายการ รอมดอนไนท์ ทุกเดือนรอมดอน ทางช่อง 9 โมเดิร์น 9 ทีวี เวลา 3.50-4.00 น. 26. เป็นผู้บรรยายให้กับนักเรียนปีสุดท้ายของโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าฯ เขาชะโงก นครนายก 27. อาจารย์พิเศษวิชา PO 928 “ประเทศไทยในเอเชียอาคเนย์” ป.เอก (สาขาวิชาการเมือง) รุ่นที่ 2 และ 3 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 28. อาจารย์พิเศษวิชา “ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซีย” คณะสังคมศาสตร์ (ภาควิชาประวัติศาสตร์) โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการวิจารณ์และเสนอแนะงานวิจัยเรื่อง ผ่าโลกมุสลิม : รัฐกับการจัดการความขัดแย้งกรณีซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน และอินโดนีเซีย จัดโดยสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 30. เป็นหนึ่งในคณะผู้แทนพิเศษ (Special envoy) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐมนตรีต่างประเทศเพื่อสร้างความเข้าใจต่อเหตุการณ์กรือเซะ และตากใบ แก่เลขาธิการองค์การการประชุมอิสลาม (OIC) ที่นครญิดดะฮ์ (Jeddah) ประเทศซาอุดีอาระเบีย 31. คอลัมนิสต์ มติชนสุดสัปดาห์คอลัมน์ “มุมมุสลิม” 32. นักวิชาการประจำคณะกรรมาธิการต่างประเทศ และคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม (สภาผู้แทนราษฏร) 33. คณะที่ปรึกษาในคณะอนุกรรมการฝ่ายทะเบียนและสถิติในคณะกรรมการอิสลามแห่งประเทศไทย 34. เข้าร่วมการประชุมศาสนิกศาสนา (Interfaith) ในอินโดนีเซีย (ย็อกจาการ์ตาและบาหลี) ฟิลิปปินส์ (เซบู) นิวซีแลนด์ (หมู่เกาะไวตังกิ) 35. เข้าร่วมประชุมเพื่อศึกษาปัญหาความขัดแย้งปาเลสไตน์-อิสราเอล ที่กรุงนิวเดลี จัดโดย UNIES (UN) 36. ผู้ผลิตรายการ ห้องรับแขกทางโมเดิร์น 9 ทีวี เวลา 4.00-4.30 น. ซึ่งเป็นการเสวนาปัญหาในสังคมไทยและสังคมโลก โดยเชิญผู้รู้ของทุกศาสนามาร่วมให้ความคิดเห็น 37. คณะกรรมการพัฒนาธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

การเดินทางไปดูงาน – ประชุม - สอน เดินทางไปดูงาน, สอน,พบนักศึกษามุสลิม , สัมมนา, อบรม ฯลฯ ไม่ต่ำกว่า 46 ประเทศในภูมิภาคต่างๆ ได้แก่ เอเชียใต้ อินเดีย ปากีสถาน ศรีลังกา เนปาล เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ตะวันออกกลาง อีรัก อีหร่าน ตุรกี เยเมน สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ กาตาร์ บาห์เรน ซาอุดีอาระเบีย เลบานอน จอร์แดน ปาเลสไตน์ (อิสราเอล) ซีเรีย แอฟริกา แอฟริกาใต้ บูร์กีนาฟาร์โซ อียิปต์ ซูดาน ลิเบีย ตะวันตก อังกฤษ เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส เยอรมนี มอลตา อิตาลี ฟินแลนด์ สวีเด็น สหรัฐอเมริกา เอเชียตะวันออก จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เอเชียแปซิฟิค ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

รางวัลและประกาศนียบัตรที่ได้รับ 1. เข็มกิตติคุณ สถาบันพระปกเกล้า (2550) 2. เข็มพระราชทานนภยาธิปัตย์และประกาศนียบัตร วทอ.41 วิทยาลัยการทัพอากาศ สถาบันวิชาการทหารอากาศชั้นสูง (2551) 3. เข็มพระราชทานแสนยาธิปัตย์ และวุฒิบัตร กิตติมศักดิ์ วิทยาลัยการทัพบก สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง (2552) 4. รางวัลส่งเสริมวัฒนธรรมดีเด่น ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (2552) 5. โล่เกียรติคุณ ศูนย์วัฒนธรรม สถานเอกอัครราชทูต สาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน (2552) 6. รางวัลอาจารย์ดีเด่นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กองทุนอนุสรณ์ จอน เอ.เอกิ้น (John A.Eakin Memorial Fund) ประจำปี 2552 7. ประกาศนียบัตรการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม (Cultural Exchange) จาก Indiana Center for Cultural Exchange ประเทศสหรัฐอเมริกา หัวข้อ Faith and Community : A Dialogue Exchange For Muslim Scholars and Leaders from Southeast Asia (3-25 เมษายน 2552)

ผลงานทางวิชาการ ตำรา 1. จรัญ มะลูลีม อิมรอน มะลูลีม กิติมา อมรทัตและศิระ นวนมี ในอุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ (บรรณาธิการ) บทนำแห่งตะวันออกกลาง , กรุงเทพ : สถาบันเอเชียศึกษา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534 2. จรัญ มะลูลีม, เสาวนีย์ จิตต์หมวด (บรรณาธิการ) ความเป็นจริงในตะวันออกกลาง , กรุงเทพ : สภาองค์การมุสลิม, 2535 3. จรัญ มะลูลีม กิติมา อมรทัต อิมรอน มะลูลีม อิมติยาซ ยูสุฟ , สืบสานเจตนารมณ์บรมศาสดามุฮัมมัดรอซูลุลลอฮ์ , กรุงเทพ : หนังสืออนุสรณ์เมาลิดกลางแห่งประเทศไทย ฮิจญ์เราะฮ์ศักราช 1414 วันที่ 8-10 มกราคม 2537 ณ สวนอัมพร 4. จรัญ มะลูลีม , เหตุการณ์ปัจจุบันในโลกมุสลิม , กรุงเทพ : ชมรมนักศึกษามุสลิมรามคำแหง, 2535 5. จรัญ มะลูลีม, ภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียหลังสงคราม, กรุงเทพ : สถาบันเอเชียศึกษา ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2535 6. จรัญ มะลูลีม, วิกฤตฮินดูมุสลิม : จากอโยธยาสู่บอมเบย์ , กรุงเทพ : อิสลามิคอะคาเดมี, 2537 7. จรัญ มะลูลีม กิติมา อมรทัตและพรพิมล ตรีโชติ , ไทยกับโลกมุสลิม ศึกษาเฉพาะกรณีชาวไทยมุสลิม , กรุงเทพ : สถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 8. จรัญ มะลูลีม , เอเชียตะวันตกภาพรวมทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ , กรุงเทพ : สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 9. จรัญ มะลูลีม, อิรักหลังสงคราม, กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ภราดรสาร, 2547

บทความภาษาไทย 1. จรัญ มะลูลีม , ไทยกับโลกมุสลิม ในอุกฤษฎ์ ปัทมานันท์ (บรรณาธิการ) ไทยกับเพื่อนบ้านกรุงเทพ : สถาบันเอเชียศึกษา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 2. จรัญ มะลูลีม, จารีตของปัญญาชนในสังคมมุสลิม (ในฉลอง สุนทรวาณิชย์ และคณะ) โครงการจัดการสัมมนาทางวิชาการ วิถีนักคิด/ปัญญาชนไทย-เทศ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งประเทศไทย สกว. 31 กรกฎาคม 2543 3. จรัญ มะลูลีม, ทาลิบัน, พันธมิตรฝ่ายเหนือ, ภราดรภาพของมุสลิม, มุญาฮิดีน ทั้งสี่บทความตีพิมพ์ในเอกสารวิชาการชุด โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งประเทศไทย สกว. ลำดับที่ 6 อัฟกานิสถาน กรุงเทพ : โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค , 2545 4. จรัญ มะลูลีม , การก่อการร้ายและการต่อต้านสหรัฐฯ ในตะวันออกกลาง ในศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (บรรณาธิการ) จักรวรรดินิยมกับการก่อการร้าย กรุงเทพ : วิถีทรรศน์, 2545 5. จรัญ มะลูลีม , เลือกตั้งในอีรัก, เอเชียปริทัศน์ , กรุงเทพ : สถาบันเอเชียศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 6. จรัญ มะลูลีม, แนวความคิดเรื่องสงครามของศาสนาอิสลาม ในจุลชีพ ชินวรรโณ (บก.) ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แนวคิดทฤษฏีและกรณีศึกษา, กรุงเทพ, คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์, 2547 7. จรัญ มะลูลีม “เอเชียปริทัศน์, กรุงเทพ : สถาบันเอเชียศึกษา , จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 8. จรัญ มะลูลีม , ไทยกับ OIC คอลัมน์ มุมมุสลิม , มติชนรายสัปดาห์ , 2548 9. จรัญ มะลูลีม , ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนิกายศาสนาในเอเชียใต้ เป็นบทความวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สกว. กรุงเทพ : เอเชียปริทัศน์ ปีที่ 27 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2549 10. จรัญ มะลูลีม , จากพระราชวังของกษัตริย์อับดุลลอฮ์ แห่งซาอุดีอาระเบียถึงนักเรียนไทย 2,250 คนในอียิปต์ , มติชนสุดสัปดาห์ , 2549 11. จรัญ มะลูลีม , ประเทศตะวันออกกลางหลังสงครามสหรัฐ-อีรัก, “48 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 48 ปาฐกถาภูมิปัญญานักคิดไทย” , กรุงเทพ : สถาบันวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ , 2549 12. จรัญ มะลูลีม , บุช-โอบามา และการเปลี่ยนผ่านในโลกมุสลิม , โลกมุสลิมในทศวรรษหน้าปัญหาและสิ่งท้าทาย , เอเชียปริทัศน์, ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2552, สถาบันเอเชียศึกษา, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552

บทความภาษาอังกฤษ Jaran Maluleem, Barriers to Interfaith Harmony, The Proceeding of the ASEM Interfaith Dialogue : Building Interfaith Harmony Within the International Community, July 21 2005, Bali : Department of Foreign Affairs, Republic of Indonesia Jaran Maluleem, Influential Islamic Sects in Southeast Asia and their Impact, Paper for the International Seminar On “Islamic Issues in Southeast Asia” Organized by M.A. in Southeast Asian Studies Program, The Graduate School, Chulalongkorn University, Institute of Asian Studies Chulalongkorn University With the Support of the Rockefeller Foundation (Thailand) November 25, 2005 Room 205,2nd Floor, Maha Chulalongkorn Building, Chulalongkorn University Bangkok, Thailand Jaran Maluleem , The Coming of Islam to Thailand PROSEA (Program for Southeast Asian Area Studies) No.15 Academia Sinica, Nankang : Taiwan, 1998

งานวิจัย 1. จรัญ มะลูลีม , องค์การการประชุมอิสลาม (OIC) (โครงการ องค์การมุสลิมโลกกับโลกมุสลิม) สำนักงานสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) , 2550. 2. จรัญ มะลูลีม , องค์การการประชุมอิสลาม (OIC) (โครงการ องค์การมุสลิมโลกกับโลกมุสลิม) สำนักงานสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) , 2553. 3. จรัญ มะลูลีม, ไทยในการรับรู้และความเข้าใจของเพื่อนบ้าน : มาเลเซีย สำนักงานสนับสนุนการวิจัยแห่งประเทศไทย, 2552. อื่นๆ หนังสือแปล 1. อัลเบิร์ต เฮารานี, ประวัติศาสตร์ของชนชาติอาหรับ (A History of the Arab Peoples) จรัญ มะลูลีม แปล, กรุงเทพ : โครงการตำราและสิ่งพิมพ์คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550 2. หุซัยน์ ฮัยกัล, The life of Muhammad แปลเป็นไทยในชื่อศาสดามุฮัมมัดมหาบุรุษแห่งอิสลาม จรัญ มะลูลีม กิติมา อมรทัต อุ่นหมั่นทวี แปล , กรุงเทพ : อิสลามิคอะเคเดมี, 2539