ประวัติหน่วย ป.๖ พัน.๑๐๖

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐๖ กรมทหารปืนใหญ่ที่ ๖ ได้จัดตั้งหน่วยขึ้นตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ)  ลับ ที่  ๘๓/๒๖  เรื่อง จัดตั้งหน่วยทหารปืนใหญ่ ลง   ๗  เมษายน  ๒๕๒๖  โดยใช้งบประมาณโครงการเสริมสร้างกำลังกองทัพ

ประวัติความเป็นมา

กองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐๖ (ป.๖ พัน.๑๐๖) จัดตั้งหน่วยตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ลับ ที่ ๘๓/๒๖ เรื่อง การจัดตั้งหน่วยทหารปืนใหญ่ ลง ๗ เมษายน ๒๕๒๖ ตามอัตราการจัดยุทโธปกรณ์หมายเลข ๖-๑๓๕ ลง ๒๔ ตุลาคม ๒๕๒๒ ประกอบด้วย กองบังคับการกองพัน,กองร้อยกองบังคับการและบริการ, ๒ กองร้อยปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด ๑๕๕ มม. ใช้ปืนใหญ่แบบ M ๑๑๔ มีที่ตั้งชั่วคราวบริเวณ ป.พัน.๒๓ ค่าย สุรธรรมพิทักษ์ จ.นครราชสีมา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ - พ.ศ.๒๕๓๐ ต่อมาได้เคลื่อนย้ายเข้าที่ตั้งปกติถาวร ณ ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต. โพธิ์สัย อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด ตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ที่ ๑๔๗/๒๗ ลง ๑๑ มิถุนายน ๒๕๒๗ จนถึงปัจจุบัน หน่วยได้ปรับการจัดตามคำสั่งกองทัพบก (เฉพาะ) ลับ ที่ ๑๗๒/๓๔ ลง ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๔ โดยจัดหน่วยตามอัตราการจัดยุทโธปกรณ์ หมายเลข ๖-๑๓๕ ลง ๒๓ ตุลาคม ๒๕๓๑ ประกอบด้วย กองบังการกองพัน,กองร้อยร้อยกองบังคับการ,กองร้อยบริการ,และ ๓ กองร้อยปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด ๑๕๕ มม. และใช้ปืนใหญ่แบบ ปกค.๒๕ M ๑๙๘ จำนวน ๒ กองร้อย และ ปกร.๒๘ ขนาด ๑๓๐ มม. จำนวน ๑ กองร้อย และ เมื่อ ๙ เมยายน ๒๕๕๖ หน่วยได้รับปืนใหญ่แบบ ปกค.๒๕ M ๑๙๘ ครบทั้ง ๓ กองร้อย

หน่วยจึงถือเอาวันที่ ๗ เมษายน ของทุกปี เป็นวันสถาปนากองพันทหารปืนใหญ่ที่ ๑๐๖

เกียรติประวัติสำคัญ

กองพันทหารปืนใหญ่ที่  106  กรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 ได้รับพระราชทานธงไชยเฉลิมพลประจำหน่วย จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9  เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พุทธศักราช 2530  ณ ศาลาสหไทยสมาคมพระราชวัง โดยมี  พันโท อนุชิต  อินทรทรัพย์  ผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ที่  106  เป็นผู้รับพระราชทาน

ราชการสนามที่สำคัญ

เมื่อ ๒๕๓๐ ป.พัน.๑๐๖ ได้จัด ร้อย.ป.๑๐๖๑ สนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ตามแผนยุทธการ D-9 โดยการนำของ ร.อ.ปริญญา อุสาหะ ผบ.ร้อย.ป.๑๐๖๒ ต่อด้วย ร.อ. ณรงค์  กลั่นวารี ผบ.ร้อย.ป.๑๐๖๑ เพื่อผลักดันขับไล่กองกำลังต่างชาติ ที่รุกล้ำอธิปไตรของชาติด้านพื้นที่อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ด้วยความกล้าหาญ เสียสละ เยี่ยงบรรพบุรุษ และมีประสิทธิภาพยิ่งตามประกาศเกียรติคุณของแม่ทัพภาคที่ ๒ พล.ท.อิสรพงษ์ หนุนภักดี

ปี พ.ศ.๒๕๕๔ โดยการนำของ พ.ท.ประภาส  อ้อชัยภูมิ ผบ.ป.๖ พัน.๑๐๖ ได้จัดกำลังพลและยุทโธปกรณ์ รวมถึงนายทหารฝ่ายอำนวยการของหน่วย ออกปฏิบัติภารกิจในกองพันทหารปืนใหญ่สนามที่๑๐๖ ปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมบังคับบัญชา อำนวยการและประสานการปฏิบัติของหน่วยในอัตราและหน่วยขึ้นสบทบ รวมถึงจัดกำลังพลยุทโธปกรณ ในกองร้อยปืนใหญ่สนามที่ ๑๐๖๒ โดยมี ร.อ.เกษมสันต์  ด้วงนิล เป็นผู้บังคับกองร้อย และ ร.ต.รัตนพล  หอมกระชาย เป็น ผบ.มว.ปืนใหญ่สนาม ที่ ๑๐๖๒ ปกป้องอธิประไตยของชาติ ในพื้นที่ อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ อย่างห้าวหาญและสมศักดิ์ศรี ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ปะทะ เมื่อวันที่ ๔ - ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ในพื้นที่ เขาพระวิหาร กองพันทหารปืนใหญ่สนามที่ ๖๐๑ โดยการนำของ พ.ท.ประภาส  อ้อชัยภูมิ  ผู้บังคับกองพัน ได้อำนวยการและควบคุมบังคับบัญชา ในการยิงสนับสนุนของหน่วยปืนใหญ่สนามทั้ง ๑๑ ฐานยิง ปฏิบัติภารกิจในการยิงสนับสนุนในกับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ จนทำให้กำลังพลและอาวุธยิงสนับสนุนของกัมพูชาได้รับความเสียหายอย่างหนัก ส่งผลให้ฝ่ายกัมพูชา ขอเจรจาหยุดยิง

รายนามผู้บังคับบัญชา

๑. พ.ท.วิจิตร   คงนิล              ตั้งแต่  ๒๐  มีนาคม   ๒๕๒๖     ถึง    ๖   มีนาคม      ๒๕๒๘

๒. พ.ท.อนุชิต  อินทรทรัพย์       ตั้งแต่  ๖    มีนาคม   ๒๕๒๘     ถึง   ๑๗  สิงหาคม    ๒๕๓๑

๓. พ.ท.พรชัย  วัดบัว         ตั้งแต่  ๑๗  สิงหาคม  ๒๕๓๑     ถึง   ๒   ตุลาคม       ๒๕๓๔

๔. พ.ท.มารุต   ลิ้มเจริญ           ตั้งแต่  ๒๗  ตุลาคม    ๒๕๓๔     ถึง   ๓๑ มีนาคม      ๒๕๓๗

๕. พ.ท.ณรงค์ศักดิ์  ศรีพิกุล       ตั้งแต่  ๓๑  มีนาคม    ๒๕๓๗     ถึง   ๖   พฤศจิกายน ๒๕๔๐

๖. พ.ท.ณรงค์   กลั่นวารี         ตั้งแต่  ๖    พฤศจิกายน ๒๕๔๐   ถึง   ๗   มกราคม    ๒๕๔๘

๗. พ.ท.พรหมวิศเนตร  สัตถาผล ตั้งแต่   ๗   มกราคม   ๒๕๔๘     ถึง   ๓๐ ธันวาคม     ๒๕๕๒

๘ พ.ท.ประภาส   อ้อชัยภูมิ       ตั้งแต่   ๓๐ ธันวาคม   ๒๕๕๒     ถึง   ๓๐ ตุลาคม      ๒๕๕๖

๙. พ.ท.วรากร   ธนยั่งยืน         ตั้งแต่   ๓๐  ตุลาคม    ๒๕๕๖     ถึง   ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

๑๐. พ.ท.ปานเทพ  โรจนชีวาคม ตั้งแต่   ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐    ถึง   ๒  ตุลาคม      ๒๕๖๑

๑๑. พ.ท.ณรงค์เดช  สืบสิมมา    ตั้งแต่  ๒    ตุลาคม     ๒๕๖๑     ถึง   ปัจจุบัน