อุณหเคมี แก้

อุณหเคมี คือ การศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ที่เกิดขึ้นในกระบวนการทางกายภาพและเคมี ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพลังงานนี้จะเกี่ยวกับความร้อน ในเรื่องนี้เราจะกล่าวถึง พื้นฐานของอุณหเคมี ที่เกี่ยวข้องกับการสังเกต การวัด และการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ทั้งทางกายภาพและทางเคมี

พลังงาน (Energy) คือ ความสามารถที่จะทำงานและเปลี่ยนแปลงพลังงานอันเกิดจากกระบวนการทางเคมี เพราะ พลังงานจะเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็น จับต้องดมกลิ่นและชั่งน้ำหนักไม่ได้นั่นคือพลังงานเป็นความสามารถทำในการทำงาน สามารทำให้เกิดแรงในช่วงระยะทางหนึ่งได้

งาน(work) คือ การเปลี่ยนแปลงพลังงานอันเกิดจากขบวนการทางเคมี
พลังงานที่นักเคมีต้องการศึกษา คือ ได้แก่พลังงานความร้อน (Thermal energy) พลังงานเกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบสุ่มของอะตอมใดอะตอมหนึ่ง ซึ่งจะ แปรผันกับ อุณหภูมิ ตัวอย่างพลังงาน

  • พลังงานจลน์ คือ พลังงานที่เกิดจากวัตถุเคลื่อนที่
  • พลังงานเคมี คือ พลังงานที่สะสมอยู่ในหน่วยโครงสร้างของสารเคมีชนิดต่างๆ ปริมาณของพลังงานจะขึ้นอยู่กับชนิดและการจัดตัวของอะตอมในสารแต่ละชนิด
  • พลังงานศักย์ คือ พลังงานที่ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของวัตถุ
  • พลังงานแสง คือ พลังงานที่เกิดจากดวงอาทิตย์เป็นพื้นฐาน ซึ่งพลังงานดวงอาทิตย์จะทำให้บรรยากาศและพื้นโลกร้อนขึ้น ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง
  • พลังงานความร้อน คือ พลังงานที่เคลื่อนที่แบบสุ่มของอะตอมและโมเลกุล ยิ่งอะตอมและโมเลกุลของสารเคลื่อนที่รุนแรง สารนั้นก็จะร้อนขึ้นและมี่พลังงานสูงขึ้น

ตัวอย่างเช่น เมื่อเรายืนอยู่กลางแดด,เมื่อออกกำลังกาย,เมื่อลูกบอลกลิ้งลงจากเนินสูง ในตัวอย่างที่กล่าวมาแล้วสรุปได้ว่า ถึงแม้พลังงานจะมีหลายรูปแบบ จะเปลี่ยนรูปหนึ่งไปยังรูปอื่นก็ได้ แต่พลังงานจะสุญเสียไปหรือเกิดใหม่เองไม่ได้ แต่เมื่อพลังงานรูปหนึ่งหายไปจะต้องมีพลังงานรูปอื่นที่มีปริมาณเท่ากันเกิดขึ้นมาแทน ดังนั้นจึงเกิดกฎการอนุรักษ์พลังงานขึ้นมา ซึ่งจะมีค่าคงที่[1]
เอนทัลปี คือการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและทางเคมีและขบวนการที่เกิดขึ้นในระบบ สมช จะเกิดขึ้นภายใต้สภาวะที่บรรยากาศมีความดันคงที่ ซึ่งอยู่ภายใต้ความดัน 1 บรรยากาศและปริมาณความร้อนที่ผ่านเข้าหรือออกจากระบบในขบวนการที่ความดันคงที่ด้วยปริมาณที่เรียกว่า เอนทัลปี สัญลักษณ์คือ H

เอนทัลปีของปฏิกิริยา คือ ความแตกต่างระหว่างเอนทัลปีของสารผลิตภัณฑ์และเอนทัลปีของสารตั้งต้น ซึ่งจะมีค่าบวกหรือลบก็ได้
การเปลี่ยนแปลงเอนทัลปีมาใช้ในขบวนการสามัญ 2 ขบวนการคือ

  1. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ
  2. การเปลี่ยนแปลงทางเคมี


การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและการเปลี่ยนแปลงทางเคมีสามารถที่แสดงทั้งความสัมพันธ์ของมวลและความสัมพันธ์ของมวลและความสัมพันธ์ของเอนทัลปีเรียกว่า สมการเทอร์โมเคมี เอนทัลปีของสารมีค่าเพิมขึ้นตามอุณหภูมิและการเปลี่ยนแปลงเอนทัลปีของปฏิกิริยาก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิด้วย ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงอุณภูมิในขณะที่เกิดปฏิกิริยานั้นไม่มีผลต่อเอนทัลปี

เอนทัลปี (Enthalpy, H) คือ ปริมาณความร้อนที่ ไหลเข้า / ออก จากระบบที่ ความดันคงที่
Hrxn = H (products) - H (reactants)
H ติดลบ < 0 = Exothermic
บวก > 0 = Endothermic
เรียกว่า สมการอุณหเคมี (thermochemical equation) ซึ่งเป็นสมการที่แสดง

การเกิดปฏิกิริยาเคมี

การเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายถึง การที่สารสร้างพันธะเคมีต่อกันแล้วได้สารใหม่ที่มีสมบัติต่างไปจากสารเดิม อาจได้จากการเกิดตะกอน การเกิดก๊าซ การเปลี่ยนสี และความเป็นกรด-เบสของสารเปลี่ยนไป


ตัวอย่างเช่น ปฏิกิริยาระหว่างแก๊สไฮโดรเจนกับแก๊สออกซิเจน ได้น้ำเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งเขียนแทนสมการดังนี้ 2H2 (g) + O2 (g) → 2H2O (l)

อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี หมายถึง ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาใน 1 หน่วยเวลา
การวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาจึงเป็นการวัดปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นใน 1 หน่วยเวลา เขียนสมการได้ดังนี้


                             อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี  =   ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น
                                                                       ———————————————
                                                                                      เวลา

(เวลา หมายถึง ระยะเวลาที่เกิดปฏิกิริยา)

การที่มีปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นั้นก็เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์เกิดขึ้น จึงสามารถวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาจากปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นได้ ในระหว่างเกิดปฏิกิริยา ในขณะที่สารผลิตภัณฑ์เกิดเพิ่มมากขึ้น สารตั้งต้นก็จะลดลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสารผลิตภัณฑ์และสารตั้งต้นมีส่วนสัมพันธ์กัน ยิ่งสารผลิตภัณฑ์เกิดขึ้นมากเท่าใร สารตั้งต้นก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น ดังนั้นในกรณีที่ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น ไม่อยู่ในสภาพที่วัดปริมาณได้สะดวก ก็สามารถวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาจากปริมาณของสารตั้งต้นที่ลดลงแทน ซึ่งหาได้จากสมการนี้


                              อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี  = ปริมาณของผลิตภัณฑ์ที่ลดลง
                                                                      ———————————————
                                                                                      เวลา  

ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา 1.ความเข้มข้นของสารตั้งต้น ในกรณีที่สารตั้งต้นเป็นสารละลาย ถ้าสารตั้งต้นมีความเข้มข้นมากปฏิกิริยาเกิดเร็ว เพราะตัวถูกละลายมีโอกาสชนกันมากขึ้นและในทางกลับกันถ้าเราเพิ่มปริมาตร ของสารละลายโดยความเข้มข้นเท่าเดิม อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเท่าเดิม
2.พื้นที่ผิวสัมผัส ในกรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะเป็นของแข็ง สารที่มีพื้นที่ผิวสัมผัสมากจะทำปฏิกิริยาได้เร็วขึ้น เพราะจะเกิดการสัมผัสกันมากขึ้น ใช้พิจารณากรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะของแข็ง
3.ความดัน ในกรณีที่สารตั้งต้นมีสถานะเป็นก๊าซ หากความดันมากปริมาตรก็ลดลง และปฏิกิริยาก็จะเกิดได้เร็ว เพราะอนุภาคของสารมีโอกาสชนกันมากขึ้นในพื้นที่ที่จำกัดนั่นเอง
4. อุณหภูมิ การที่อุณหภูมิของสารตั้งต้นเพิ่มขึ้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โมเลกุลของสารในระบบจะมีพลังงานจลน์สูงขึ้นและมีการชนกันของโมเลกุลมากขึ้น
5.ตัวเร่งปฏิกิริยา หมายถึงสารเคมีที่ช่วยทำให้อัตราการเกิดปฏิกิริยาเร็วขึ้น เนื่องจากตัวเร่งจะช่วยรลดพลังงานกระตุ้นโดยช่วยปรับกลไกในการเกิดปฏิกิริยาให้เหมาะสม โดยจะเข้าไปช่วยตั้งแต่ เริ่มปฏิกิริยาแต่เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาจะกลับมาเป็นสารเดิม
6.ธรรมชาติของสาร เนื่องจากสารมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งแตกต่างกัน โดยปกติสารประกอบไอออนิกจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่าสารประกอบโควาเลนต์ ฉนั้นสารประกอบไอออนิกจะเกิดปฏิกิริยาเร็วกว่า สารประกอบโควาเลนต์
[2]

การเกิดปฏิกิริยา และพลังงาน

หลักการเขียน Thermochemical Equation
1. ค่าสัมประสิทธิ์ (coefficient) ในสมการ = จำนวนโมล
2. ถ้าเขียนสมการกลับทิศทาง H มีค่าเดิมแต่กลับเครื่องหมาย
3. ถ้าคูณสมการด้วย factor n ค่า H ต้องคูณด้วย n ด้วย
4. บอกสถานะ (states)
[3]

การวัดความร้อนธีการวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยา

การวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาจะดูจากการวัดปริมาณของสารตั้งต้น หรือสารผลิตภัณฑ์ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกของการทดลอง ขึ้นอยู่กับลักษณะและสมบัติของสารที่เกี่ยวข้อง เช่น
1. ถ้าในปฏิกิริยาเกี่ยวข้องเป็นก๊าซ อาจจะวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาจากปริมาณของก๊าซที่เกิดขึ้น หรือวัดจากความดันของระบบที่เปลี่ยนแปลงไป
2. ถ้าในปฏิกิริยาเกี่ยวข้องกับสารที่มีสี อาจจะวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาจากความเข้มข้นของสีที่ลดลงของสาตั้งต้น หรือความเข้มของสีที่เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์
3. ถ้าในปฏิกิริยาเกี่ยวข้องกับสารละลาย จะวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาจากความเข้มข้นของสารละลายที่เปลี่ยนไป
นอกจากนี้ก็ยังสามารถวัดอัตราการเกิดปฏิกิริยาด้วยวิธีการอย่างอื่น เช่น ถ้าเป็นของแข็ง ใช้วิธีการชั่งมวล ถ้าเป็นสารละลายที่เกี่ยวข้องกับกรด-เบส ใช้วิธีวัด pH เป็นต้น [4] [5]

การวัดการเปลี่ยนแปลงความร้อนในทางกายภาพและทางเคมี ได้ด้วยแคลอริมิเตอร์

แคลอริมิเตอร์ หมายถึง การวัดการเปลี่ยนแปลงความร้อน ซึ่งเราจะต้องรู้ความร้อนจำเพาะและความจุความร้อนก่อน

ความร้อนจำเพาะและความจุความร้อน

•ความร้อนจำเพาะ (Specific Heat, s)

ปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการทำให้สารนั้น 1 กรัมมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส

• ความจุความร้อน (Heat Capacity, C)

ปริมาณความร้อนที่ต้องใช้ในการทำให้สารจำนวนหนึ่ง มีอุณหภูมิ สูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส

การวัดความร้อน (Calorimetry) : การวัดความร้อนที่เปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาเคมี

โดยใช้ “ Calorimeter ”

        q   =   ms DT   =   C DT          
         q  	=    ปริมาณความร้อน (J)         	        m 	=    มวล (g)
         s   	=    specific heat  (J/goC)             C   	=    heat capacity   (J/ oC)
         DT    =    อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป  (Tfinal – Tinitial)  (oC)
	เครื่องหมายของ q  เหมือนกับ  DH  คือ 
ถ้าเครื่องหมายบวก (+)   เป็นกระบวนการดูดกลืนความร้อน  
                   ลบ  (- )    เป็นกระบวนการคายความร้อน

การวัดความร้อนแบบปริมาตรคงที่ (Constant Volume Calorimeter) - หาปริมาณความร้อนจากการเผาไหม้ (heat of combustion)
- บรรจุใน steel container (ปริมาตรคงที่) บรรจุ O2 30 atm
- เรียกเครื่องมือนี้ว่า constant volume bomb calorimeter


การเปลี่ยนแปลงพลังงานในปฏิกิริยาเคมี
ปฏิกิริยาเคมีเกือบทุกปฏิกิริยาจะต้องดูดกลืนหรือคายพลังงานซึ่งมักจะอยู่ในรูปของความร้อน

ตัวอย่างเช่น
การทำการเผาไหม้เชื้อเพลิง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพลังในกระบวนการทางเคมีจะถูกเรียกว่า เทอร์โมเคมีหรือ อุณหเคมี ดังนั้น จักรวารส่วนที่เหลือทั้งหมดซึ่งอยู่ภายนอกระบบ เรียกว่า สิ่งแวดล้อม ซึ่งความร้อน คือพลังงานความร้อนที่ถ่ายเทระหว่างวัตถุ 2 ชั้นที่มีอุณหภูมิแตกต่างกัน จะไหลจากวัตถุรอนไปวัตถุเย็น

การเกิดปฏิกิริยาเคมี
การเกิดปฏิกิริยาเคมี เป็นการเปลี่ยนแปลงของสารที่ได้ผลิตภัณฑ์ของสารที่แตกต่างจากสารเดิมโดยอาจสังเกตจากการเปลี่ยนสีของสาร การเกิดตะกอน หรือการเกิดกลิ่นใหม่ ทฤษฎีที่ใช้อธิบายปฏิกิริยาเคมี มีอยู่ 2 ทฤษฎี คือ

1. ทฤษฎีการชน เป็นฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่ออนุภาคของสารตั้งต้นต้องมาปะทะหรือมาชนกัน
2. ทฤษฎีแอกติเวเตดคอมเพลกซ์หรือทฤษฎีสภาวะทรานซิชัน เป็นทฤษฎีที่ดัดแปลงมาจากทฤษฎีการชน โดยจะเกี่ยวถึงการชนอย่างมีประสิทธิภาพของสารตั้งต้นในลักษณะที่เหมาะสม โดยจะเกิดเป็นสารประกอบใหม่ชั่วคราว ที่เรียกว่า สารเชิงซ้อนกัมมันต์ (Activated Complex)
[6]

พลังงานกับการเกิดปฏิกิริยา

การเกิดปฏิกิริยาเคมีประกอบด้วยกระบวนการที่สำคัญ 2 กระบวนการ
1.กระบวนการสลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมของสารตั้งต้น คือ โมเลกุลของสารตั้งต้นจะรับเอาพลังงานจากภายนอกเข้าไปช่วยทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมทำให้เกิดเป็นอะตอมอิสระ
2.กระบวนการสร้างแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมของสารผลิตภัณฑ์ คืออะตอม จะเข้ารวมกันกลายเป็นผลิตภัณฑ์และมีการปลดปล่อยพลังงานภายในที่เป็นส่วนเกินออกมา เพื่อให้อะตอมของสารสร้างแรงยึดเหนี่ยวต่อกันได้

การเกิดปฏิกิริยาของสาร จะต้องมีพลังงานเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 เป็นขั้นที่ดูดพลังงานเข้าไปเพื่อสลายพันธะในสารตั้งต้น
ขั้นที่ 2 เป็นขั้นที่คายพลังงานออกมาเมื่อมีการสร้างพันธะในผลิตภัณฑ์

1. ปฏิกิริยาดูดความร้อน (Endergonic reaction) คือ ปฏิกิริยาที่มีการใช้พลังงานในการสลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมมากกว่าพลังงานที่ถูกปล่อยออกมาเพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม ทำให้เมื่อสิ้นสุดปฏิกิริยาเคมีแล้ว สารจะมีการดูดพลังงานเข้าไปมากกว่าพลังงานที่คายออกมา

2. ปฏิกิริยาคายความร้อน (Exergonic reaction) คือ ปฏิกิริยาที่มีการใช้พลังงานในการสลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมน้อยกว่าพลังงานที่ปล่อยออกมาเพื่อสร้างแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม ทำให้เมื่อสิ้นสุดการเกิดปฏิกิริยาเคมีแล้ว สารจะคายพลังงานออกมามากกว่าพลังงานที่ดูดเข้าไป[7]

การทดลอง เรื่องอุณหเคมี

วัตถุประสงค์
1. ศึกษาเพื่อสามารถคำนวณหาความร้อนที่แคลอริมิเตอร์ได้รับได้
2. ศึกษาเพื่อที่จะคำนวณหาค่าความจุความร้อนของแคลอริมิเตอร์ที่ใช้ในการคำนวณได้
3. ศึกษาเพื่อให้สามารถคำนวณความร้อนของการสะเทินในหน่วย kJ/mol H2O ได้
4. ศึกษาเพื่อให้สามารถคำนวณหา ความเข้มข้นของสารละลายตัวอย่าง HCl ที่ใช้ในการทดวิธีการทำลอง

อุปกรณ์

  1. บีกเกอร์ ขนาด 50 mL
  2. กระบอกตวง ขนาด 100 mL
  3. ชุดแคลอริมิเตอร์อย่างง่าย
  4. นาฬิกาจับเวลา
  5. เทอร์โมมิเตอร์
  6. เครื่องชั่ง
  7. ตะแกรงลวด
  8. Hot plate
  9. เครื่องคิดเลข


การทดลองนั้นจะถูกแบ่งออกเป็น 2ชุด

ตอนที่ 1 การวัดค่าความจุความร้อนของแคลอริมิเตอร์

1. ใช้กระบอกตวงตวงน้ำกลั้นในปริมาตร 50 mL แล้วเทลงในแคลอริมิเตอร์ที่แห้งสนิท
2. ใช้กระบอกตวงตวงน้ำกลั้นที่ร้อนประมาณ 50 องศา ปริมาตร 50 mL
3. บันทึกอุณหภูมิในทุก ๆ 1 นาที เป็นระยะเวลา 3 นาที ของน้ำทั้งสองพร้อมกัน
4. เมื่อถึงนาทีที่ 4 ให้เทนำอุ่นลงไปในแคลอริมิเตอร์อย่างรวดเร็ว แล้วปิดจุกให้สนิท จากนั้นก็ใช้แท่งแก้วคน คนอย่างช้าๆ แล้วบันทึกผลอุณหภูมิในนาทีที่ 5 และต่อไปเรื่อยๆจน อุณหภูมิคงที่
5. อ่านค่าอุณหภูมิที่ได้ แล้วนำมาเขียนกราฟ

ตอนที่ 2 การวัดการเปลี่ยนแปลงพลังงานความร้อนของการละลายของสาร

1. ชั่งสารตัวอย่างที่เตรียมไว้ แล้วบันทึกน้ำหนัก
2. ตวงน้ำกลั้นปริมาตร 50 mL ด้วยกระบอกตวง แล้วเทลงไปในแคลอริมิเตอร์ที่แห้งสนิท แล้วบันทึกอุณหภูมิเป็นช่วงๆ 1 นาที เป็นระยะเวลา 3 นาที
3. แล้วพอถึงนาทีที่ 4 ให้เติมสารลงไปในแคลอริมิเตอร์ แล้วปิดจุกให้สนิท ใช้แท่งแก้วคนสารอย่างช้าๆ แล้วบันทึกอุณหภูมิในนาทีที่5 และต่อๆไปจนอุณหภูมิเกือบคงที่
4. นำข้อมูลที่ได้มาเขียน
[8]

  1. https://books.google.co.th/books?id=gcRLngEACAAJ&dq=%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5&hl=th&sa=X&ei=0xw5Vc6KKdidugSH5oH4Bw&ved=0CDYQ6AEwBA
  2. https://krooaoy.files.wordpress.com/2011/07/4e0b89be0b88fe0b8b4e0b881e0b8b4e0b8a3e0b8b4e0b8a2e0b8b2e0b980e0b884e0b8a1e0b8b5.doc
  3. http://www.chemistry.mut.ac.th/11-thermochemistry.ppt
  4. https://krooaoy.files.wordpress.com/2011/07/4e0b89be0b88fe0b8b4e0b881e0b8b4e0b8a3e0b8b4e0b8a2e0b8b2e0b980e0b884e0b8a1e0b8b5.doc
  5. http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:kNZaE9qG8qgJ:www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/PDF/CH-Tem.pdf+&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th
  6. http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:kNZaE9qG8qgJ:www.nakhamwit.ac.th/pingpong_web/PDF/CH-Tem.pdf+&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th
  7. www2.nkc.kku.ac.th/kitiyaporn.w/kku_nkc/.../genchemlab-new.doc
  8. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฏร์ธานี 937 132 ปฏิบัติการเคมีทั่วไป โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์