ประกิต วาทีสาธกกิจ

แก้

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ  (เกิดวันที่  28 มีนาคม  พ.ศ. 2487)  ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ (พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน) เรียกกันว่า คุณหมอนักรณรงค์ เป็นอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอด หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ พ.ศ. 2530-2538 อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (พ.ศ. 2541- 2547) เคยดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร (เม.ย. – ก.ย. 2549) ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการสาธารณสุข  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ก.พ. 2550 – ม.ค. 2551) 

แก้

ประวัติ

แก้

         ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ เติบโตในครอบครัวคนจีน ฐานะค่อนข้างยากจน ทํากิจการค้าขายปูนทราย และรับผ้าจากโรงงานทอผ้ามารีด เมื่อเรียนถึงชั้นประถมปีที่ 4 ต้องเลิกเรียน เพราะทางบ้านไม่มีเงินส่ง และต้องให้โอกาสน้องๆ ได้เรียน จึงต้องออกมาช่วยงานค้าขายท่ีบ้านและทําบัญชี เมื่ออายุ 15 ปี ทางบ้านเริ่มมีรายได้ดีขึ้นจึง ได้ไปเรียนกวดวิชา จนสอบเทียบชั้นมัธยมปีท่ี 1 - 3 ได้ เมื่อสมัครเรียนต่อชั้นมัธยม ปีที่ 4 - 6 สามารถสอบเทียบผ่านได้ในเวลาเพียง 1 ปี ระหว่างท่ีเรียนก็ทํางานไปด้วย เมื่อต่อช้ันมัธยม 7 - 8 สอบเทียบได้อีก จึงได้ตัดสินใจเรียนทางวิชาชีพ

แก้

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตสอบ เข้าศึกษาแพทย์ได้ ที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยรุ่นที่ 19 ระหว่างเป็นนักศึกษาแพทย์ ยังช่วยงานทางบ้านอยู่ตลอด ด้วยนิสัยที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มีความพยายามทําหน้าท่ีทั้งในด้านการงานและส่วนตัว การเป็นคนสมถะ เรียบง่าย ซื่อสัตย์ และมีระเบียบวินัย ทําให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต ประสบความสําเร็จในชีวิต สามารถส่งน้องทั้ง 4 คนศึกษจนจบชั้นมหาวิทยาลัย

แก้

         เมื่อจบแพทยศาสตรบัณฑิตแล้ว ได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์แพทย์ที่จุฬาฯ แต่เนื่องจากเงินเดือนของข้าราชการ ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของน้องๆ ท่ียังเรียนอยู่ จึงตัดสินใจไปทํางานและศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา ประกอบกับช่วงนั้นเกิดสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกาต้องการแพทย์จํานวนมาก ระหว่างปี พ.ศ. 2513 - 2516 อาจารย์ได้ไปฝึกอบรมด้านอายุรศาสตร์ท่ัวไปท่ี New Jersey College of Medicine กระทั่งได้ American Board of Internal Medicine จากนั้นไปเรียนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดที่ โรงพยาบาลในเครือ ของ New York University จนจบปี พ.ศ. 2518

แก้

         ในการทำงาน ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตเป็นคนเรียบง่ายไม่ถือตัว มีอัธยาศัยไมตรี มีความเป็นกันเองและเป็นมิตรกับผู้คน เป็นนักบริหารแก้ปัญหาได้รวดเร็ว กล้าตัดสินใจ เสียสละ โดยยึดหลักว่า “Honesty is the best policy”

แก้

การศึกษา

แก้

พ.ศ. 2512    แพทยศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แก้

พ.ศ. 2518   ประกาศนียบัตร Fellow in Pulmonary Disease  สหรัฐอเมริกา

แก้

พ.ศ. 2523  หนังสืออนุมัติผู้มีความรู้ความชำนาญ แพทยสภาสาขาอายุรศาสตร์(เทียบเท่าปริญญาเอก)

แก้

พ.ศ. 2532 หนังสืออนุมัติผู้มีความรู้ความชำนาญ แพทยสภาสาขาอายุรศาสตร์ระบบทางเดินหายใจ

แก้

พ.ศ. 2540   วปอ. รุ่นที่ 39   วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

แก้

พ.ศ. 2550    ปปร.10 วิทยาลัยการเมืองการปกครองสถาบันพระปกเกล้า     

แก้

รับราชการ 

แก้

         ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตได้รับการแนะนําให้รู้จักกับอาจารย์ยศวีร์ สุขุมาลจันทร์ ขณะดำรงตําแหน่งเป็นหัวหน้าหน่วยโรคปอด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นายแพทย์ยศวีร์ทํางานอยู่ ในหน่วยคนเดียว จึงได้ชักชวนให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตเข้ามาเป็น อาจารย์แพทย์ในหน่วยโรคปอดเพิ่มอีกคนหน่ึง จึงได้รับการบรรจุ เข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2519

แก้

         เมื่อกลับมาเป็นอาจารย์ที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้รับเลือกให้ดํารงตําแหน่งหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ 2 สมัย ได้รับเลือกให้ดํารงตําแหน่งคณบดี เข้าสู่เส้นทางการเป็นผู้นําในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เมื่อประเทศไทยเป็นชาติแนวหน้าของโลกที่มีแนวทาง ปฏิบัติในการป้องกันพิษภัยของบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรม จเป็นท่ียอมรับของนานาชาติ ส่งผลให้ได้รับรางวัลเหรียญเกียรติยศจากองค์การอนามัยโลก ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตได้ช่วยให้คนจํานวนมาก พ้นจากความทุกข์ทรมานท่ีเกิดจากผลร้ายของบุหรี่ท่ีมีต่อสุขภาพของทั้งคนสูบและคนที่อยู่ใกล้เคียง

แก้

พ.ศ. 2519 – 2520           อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี  มหาวิทยาลัยมหิดล

แก้

พ.ศ. 2520 – 2523           ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แก้

พ.ศ. 2523 – 2530           รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แก้

พ.ศ. 2530 – 2549            ศาสตราจารย์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

แก้

ตำแหน่งปัจจุบัน

แก้

1. เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

แก้

2. คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ  กระทรวงสาธารณสุข

แก้

3. ที่ปรึกษาสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข4.  คณะกรรมการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

แก้

บทบาทของหมอนักรณรงค์

แก้

         เมื่อปฏิบัติงานในภาควิชาอายุรศาสตร์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต สนใจด้านโรคติดเชื้อในปอดและวัณโรคปอด จนปี พ.ศ. 2529 ศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งดํารงตําแหน่งเป็นหัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ขณะน้ัน ได้แนะนําและชักชวนให้มาทํางานด้านการ รณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เพราะเล็งเห็นว่า การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมท่ีแพร่หลายในคนไทย และไม่มีหน่วยงานใดที่ดําเนินการ เพื่อป้องกันไม่ให้คนไทยสูบบุหหรี่มากขึ้น

แก้

ต่อมาเมื่อศาสตราจารย์นายแพทย์อรรถสิทธ์ิไป รับตําแหน่งคณบดี ด้วยความร่วมมือของศาสตราจารย์นายแพทย์ ประเวศ วะสี จึงได้เกิดโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ข้ึน โดย มอบหมายให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตเป็นผู้ดําเนินการ เร่ิมต้นเปิดโครงการที่โรงพยาบาลรามาธิบดีเป็นคร้ังแรก ได้จัดให้มีการสัมมนา โดยมีพลตรีจําลอง ศรีเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ขณะน้ันร่วมงานด้วย

แก้

         เพื่อขยายการรับรู้พิษภัยบุหรี่ มีการพาสื่อมวลชนไปดูคนไข้ป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจ ท่ีกระทบทางสุขภาพโดยตรง สาเหตุจากการสูบบุหรี่ ปรากฏว่าได้ผลตอบรับดี สื่อนำเสนอให้เป็นที่รับรู้ในสังคมวงกว้าง ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตทุ่มเทกับการรณรงค์เพื่อให้คนไทยพ้นจากความ เจ็บป่วยและความตายจากการสูบบุหรี่ สื่อสารไปยังประชชนให้รู้ข้อมูลถึงผลร้ายของบุหรี่ต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ป่วยจริงเป็นตัวอย่าง

แก้

ขณะเดียว ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตต้องต่อสู้กับอิทธิพลของกลุ่มนายทุนทั้งในและต่างประเทศ ถูกข่มขู่อยู่เนืองๆ แต่ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เชื่อเสมอว่า “ความถูกต้องย่อมชนะความ ไม่ถูกต้อง” ทําให้มีกำลังใจเดินหน้าต่อสู้ต่อไป

แก้

         นอกจากศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต พยายามให้สังคมตระหนักถึงพิษภัยของการสูบบุหรี่แล้ว ในช่วงที่ ศาสตราจารย​นายแพทย์อรรถสิทธ์ิดํารงตําแหน่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ผลักดันมาตรการทางกฎหมาย ท่ีแม้แต่ในต่างประเทศก็ไม่สามารถฝ่าด่านอิทธิพลผู้ผลิตและผู้จําหน่ายบุหรี่ได้ ในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการออกกฎหมายห้าม โฆษณาบุหรี่ และเกิด พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ขึ้น โดยกําหนดให้สถานที่สาธารณะต่างๆ เป็นเขตปลอดบุหรี่ ในขณะท่ีประเทศพัฒนาแล้วอย่างญี่ปุ่น ฝรั่งเศส หรือสหรัฐอเมริกา  ยังมีการสูบบุหรี่ในท่ีสาธารณะอย่างแพร่หลาย

แก้

สนับสนุนการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่เป็นระยะ ส่งผลให้อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยลดลงจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 และ อัตราการสูบบุหหรี่ในเพศชายลดลงจากร้อยละ 70 เหลือร้อยละ 50 จนกระทั่งประเทศไทยเป็นประเทศ “ตัวอย่าง” ของโลกของ ความสําเร็จของการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ได้สนับสนุนให้มูลนิธิเพื่อการไม่สูบบุหรี่ เป็นองค์กรหลัก

แก้

พ.ศ.  2523 – 2529            หัวหน้าโครงการอบรมแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาอายุรศาสตร์

แก้

พ.ศ.  2525 – 2529           ประธานคณะอนุกรรมการโครงการฝึกอบรมแพทย์ฝึกหัด และแพทย์ประจำบ้าน ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

แก้

พ.ศ.  2537 – 2538           ผู้ประสานงานพัฒนาการเรียนการสอนระดับปรีคลินิก และคลินิกคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

แก้

พ.ศ.  2526 – 2529            กรรมการบริหารหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

แก้

พ.ศ.  2530 – 2538            หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

แก้

พ.ศ.  2539 – 2541            กรรมการประจำคณะ จากคณาจารย์ประจำ

แก้

พ.ศ.  2539 – 2541           ประธานสภาอาจารย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

แก้

พ.ศ.  2541 – 2547            คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

แก้

พ.ศ.  2543 – 2547            กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล

แก้

ผลงาน

แก้

         ในการประสานงานด้านการรณรงค์ควบคุมการสูบบุหรี่ให้กับ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมูลนิธิฯ ยังได้รับคัดเลือก จากองค์การอนามัยโลกให้เป็นองค์กรประสานงานการร่างกรอบ อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการบริโภคยาสูบ และได้นํากิจกรรม ของมูลนิธิฯ ไปเผยแพร่ในนานาประเทศในวันไม่สูบบุหหรี่โลกปี พ.ศ. 2541 นอกจากรางวัลเหรียญเกียรติยศจากองค์การอนามัยโลกแล้ว ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตยังได้รับรางวัลผู้มีผลงานในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ดีเด่นของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก จากสมาพันธ์ควบคุมการบริโภค ยาสูบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และรางวัลผู้นําที่เป็นแบบอย่างในการ ควบคุมการบริโภคยาสูบจาก American Cancer Society

แก้

         ในด้านงานภาควิชาอายุรศาสตร์ เมื่อศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตกลับมา จากต่างประเทศใหม่ๆ ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการเรียน การสอน อาจารย์ ริเริ่มกิจกรรม morning report (ซึ่งต่อมาได้ ปรับเปลี่ยนเป็น noon report) เป็นกิจกรรมท่ีแพทย์ประจําบ้าน รายงานผู้ป่วยท่ีรับไว้ในโรงพยาบาลตอนอยู่เวรในคืนก่อน จึงได้เข้าไปเก่ียวข้องกับแพทย์ประจําบ้านค่อนข้างมาก โดยเป็นผู้นําด้านการเรียนการสอนแบบ interactive

แก้

เมื่อศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต ขึ้นเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี พ.ศ. 2541 ให้ความสําคัญกับผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ในการศึกษาดูงานต่างประเทศ ก็พยายามหาคําตอบว่า ทำอย่างไรให้คุณภาพการบริการของโรงพยาบาลที่เป็นสถานท่ี ฝึกอบรมแพทยเ์ฉพาะทางเป็นที่ยอมรับ จนได้คำตอบว่า ทุกโรงพยาบาลต้องได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน เดียวกัน ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิตจึงนําเสนอต่อแพทยสภาให้มีนโยบายมาตรฐานเดียวกันขึ้นมา นั่นคือ กระบวนการ HA (Hospital Accreditation) ซึ่งเกิดขี้นในระบบสาธารณสุขไทยในปัจจุบัน ในส่วนของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้กําหนดปรัชญาของคณะฯ ไว้ว่า “คุณภาพคือหัวใจในทุกพันธกิจของเรา”

แก้

งานด้านอื่นที่น่าภาคภูมิใจคือ ร่วมการผลักดันให้มีการจัด ตั้งสํานักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยอาศัยเงินที่เก็บเพิ่มจากภาษีสุราและบุหรี่ ร้อยละ 2 ต่อปี มาสนับสนุนกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกๆ ของโลกที่จัดตั้งกองทุนนี้ได้สําเร็จ เป็นที่ชื่นชมของประเทศอื่นๆ ในสังคมโลก

แก้

แพทยสภา

แก้

พ.ศ. 2525 – 2529            กรรมการในคณะอนุกรรมการกลางฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านของแพทยสภา

แก้

พ.ศ. 2526 – 2534            กองบรรณาธิการแพทยสภาสาร

แก้

พ.ศ. 2541 – 2547            กรรมการแพทยสภาโดยตำแหน่ง

แก้

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

แก้

พ.ศ. 2529 – 2536            กรรมการบริหารราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

แก้

พ.ศ. 2530 – 2538            กรรมการและเลขานุการคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ สาขาอายุรศาสตร์

แก้

พ.ศ. 2529 – 2531            เลขานุการคณะอนุกรรมการฝ่ายวิชาการของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

แก้

สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย

แก้

พ.ศ. 2532 – 2534            กรรมการคณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบ สาขาโรคระบบทางเดินหายใจ

แก้

พ.ศ. 2522 – 2526            กรรมการสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย

แก้

พ.ศ. 2523 – 2525            เลขาธิการสมาคมแพทย์โรคทรวงอกอเมริกันแห่งประเทศไทย

แก้

พ.ศ. 2523 – 2532            ผู้ช่วยบรรณาธิการ วารสารวัณโรคและโรคทรวงอก

แก้

พ.ศ. 2521 – ปัจจุบัน        กรรมการกลางสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย

แก้

กระทรวงการคลัง

แก้

พ.ศ. 2539 – 2542            ประธานคณะทำงานจัดหาข้อเสนอมาตรการจัดตั้งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงการคลัง

แก้

พ.ศ. 2543                 รองประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ  

แก้

กระทรวงสาธารณสุข

แก้

พ.ศ. 2532 – 2533            ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุขในการเจรจาปัญหานำเข้าบุหรี่ กับสหรัฐอเมริกา ภายใต้กฎหมายการค้า มาตรา 301 และที่ประชุมว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีศุลกากร และการค้า (แกตต์)

แก้

พ.ศ. 2532 – 2536            กรรมการคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ

แก้

พ.ศ. 2536 – 2543            กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบ

แก้

พ.ศ. 2532 – 2536            กรรมการบริหาร สมาพันธ์ควบคุมการบริโภคยาสูบภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกส์

แก้

พ.ศ. 2534 – 2539            กรรมการคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติด้านยา

แก้

พ.ศ. 2534 – 2539            ประธานคณะอนุกรรมการส่งเสริมให้มีการใช้ยาที่เหมาะสมคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข

แก้

พ.ศ. 2534 – 2535            ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ)

แก้

พ.ศ. 2536 – 2538            ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ดร. อาทิตย์ อุไรรัตน์)

แก้

พ.ศ. 2541 – 2543            กรรมการที่ปรึกษาและสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายคำรณ ณ ลำพูน)

แก้

พ.ศ. 2544 – พ.ค.2549     ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการจัดทำแผนควบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติ ตาม พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535

แก้

พ.ศ. 2544 – พ.ค.2549     ประธานอนุกรรมการประชาสัมพันธ์การควบคุมการบริโภคยาสูบและเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับโทษพิษภัยของบุหรี่

แก้

พ.ศ. 2544 –พ.ค.2549      อนุกรรมการจัดทำแผนคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535

แก้

พ.ศ. 2546 – พ.ค.2549     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ

แก้

พ.ศ. 2546 – พ.ค.2549     อนุกรรมการพิจารณามาตรการการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาสูบและการดำเนินการติดป้ายผลิตภัณฑ์ยาสูบ

แก้

พ.ศ. 2546 – พ.ค.2549     คณะกรรมการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ

แก้

พ.ศ. 2547 – พ.ค.2549     คณะกรรมการบังคับใช้กฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แก้

พ.ศ. 2550                 รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญคนที่สอง  ร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  พ.ศ.. ...สภานิติบัญญัติแห่งชาติ

แก้

พ.ศ. 2550 – 2551           คณะที่ปรึกษาอาวุโสนายแพทย์มงคล ณ สงขลา  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

แก้

พ.ศ. 2551                       หัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมภาคีสมาชิกใหญ่กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบครั้งที่ 3

แก้

พ.ศ. 2552                       หัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับในการดำเนินการระหว่างประเทศ ตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ  กระทรวงสาธารณสุข

แก้

พ.ศ. 2552-2553              คณะผู้แทนไทยในการเจรจาร่างพิธีสารการควบคุมยาสูบผิดกฎหมายอนุสัญญาควบคุมยาสูบองค์การอนามัยโลก

แก้

พ.ศ. 2555-2556              เลขาธิการเครือข่ายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพนานาชาติ ( สสส.นานาชาติ)

แก้

พ.ศ. 2554-2558              ประธานเครือข่ายโรคไม่ติดต่อ ( Thai NCD Net)

แก้

พ.ศ. 2554 – 2558            ที่ปรึกษาคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและจัดทำร่างกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบ  กรมควบคุมโรค  กระทรวงสาธารณสุข

แก้

พ.ศ. 2557 – 2558            ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  ศ.นพ.รัชตะ  รัชตะนาวิน

แก้

สำนักนายกรัฐมนตรี

แก้

พ.ศ. 2541 – 2543            คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

แก้

พ.ศ. 2545 – ก.ค. 2547     รองประธานกรรมการคนที่สอง คณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

แก้

พ.ศ. 2546 – ก.ค. 2547     คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน

แก้

                                  - ประธานคณะอนุกรรมการด้านการมีส่วนร่วม

แก้

พ.ศ. 2548 – 2549           ที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

แก้

พ.ศ. 2550                        ประธานคณะทำงานศึกษาการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสังคม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

แก้

พ.ศ. 2550                       ประธานคณะกรรมการอำนวยการ แผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุข กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

แก้

ทบวงมหาวิทยาลัย

แก้

พ.ศ. 2534 – 2538            กรรมการคณะกรรมการสอบไล่ภายนอก คณะแพทยศาสตร์รังสิต

แก้

องค์กรเอกชน

แก้

พ.ศ. 2529 – 2539            เลขาธิการโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ มูลนิธิหมอชาวบ้าน

แก้

พ.ศ. 2540 – ปัจจุบัน        เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

แก้

องค์การอนามัยโลก

แก้

พ.ศ. 2539 – 2545           คณะที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านบุหรี่และสุขภาพองค์การอนามัยโลก

แก้

พ.ศ. 2544 - 2546            ที่ปรึกษา Bangladesh Anti-Tobacco Alliance (BATA) ประเทศบังคลาเทศ

แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พ.ศ. 2532    ประถมาภรณ์มงกุฎไทย

แก้

พ.ศ. 2535    ประถมาภรณ์ช้างเผือก

แก้

พ.ศ. 2538    มหาวชิรมงกุฎ (มวม.)

แก้

พ.ศ. 2543    มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (มปช.)

แก้

พ.ศ. 2544    เหรียญจักรพรรดิมาลา

แก้