ผู้ใช้:Etatitor/ทดลองเขียน

สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม แก้

สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (อังกฤษ: Society of Young Social Innovators, ตัวย่อ: SYSI) เป็นองค์กรที่มุ่งสนับสนุนเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ในประเทศไทยสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมและพัฒนาสังคมในหลากมิติ หลากหลายบริบท เพื่อเป็นเครื่องมือทำให้ชุมชนและสังคมเกิดการพัฒนาไปสู่ภาพที่ต้องการเห็น โดยสมาคม ฯ เชื่อในกระบวนการสร้างสรรค์สังคมอย่างมีส่วนร่วมที่พลเมืองหรือประชาชนเข้ามามีบทบาทในการสร้างการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสังคม ในระยะยาว สมาคมฯ มุ่งหวังทำให้สังคมพัฒนาขึ้นจากการที่คนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทพัฒนาชุมชนและสังคมของตนเอง เกิดคนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงตนเองเป็น Global Active Citizen และสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่เหล่านี้ทำงานเปลี่ยนแปลงสังคมร่วมกันเป็นเครือข่าย

การก่อตั้ง แก้

สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) ก่อตั้งเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562[1] โดยคนรุ่นใหม่จาก 4 องค์กร ได้แก่ เครือข่ายคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม, ธุรกิจเพื่อสังคม a-chieve, บริษัท อินฟลูเอนเซอร์ จำกัด (Influencer TH), และกลุ่ม Dot to Dot ที่ล้วนเป็นองค์กรที่ทำงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่เคยเข้าร่วมโครงการคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ทั้ง 3 รุ่นของมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) และเห็นถึงความสามารถและความสำคัญที่คนรุ่นใหม่จะสร้างองค์กรที่บริหารงานโดยคนรุ่นใหม่เพื่อสนับสนุนคนรุ่นใหม่กันเอง จึงรวมตัวกันก่อตั้งเป็นสมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม[2]

วัตถุประสงค์ แก้

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งสมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYS) มี 7 ข้อ ดังนี้[1]

  1. สนับสนุนทุนและทรัพยากรให้กับเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ที่สนใจอยากสร้างนวัตกรรมทางสังคม
  2. เชื่อมโยงเครือข่ายเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ที่สร้างนวัตกรรมทางสังคมให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์สังคมในรูปแบบต่าง ๆ
  3. สนับสนุนการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายและสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่สู่การไปสร้างสรรค์นวัตกรรมทางสังคมต่อไป
  4. สร้าง รวบรวม และเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่ให้เป็นองค์ความรู้สาธารณะ
  5. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศในการสนับสนุนการดําเนินกิจกรรมของสมาคม
  6. ดําเนินการกิจกรรมอันเป็นสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ
  7. ส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

โครงการเครือข่ายนวัตกรรมคนรุ่นใหม่ แก้

ในปี พ.ศ. 2562 - 2564 สมาคมคนรุ่นใหม่กับนวัตกรรมทางสังคม (SYSI) ได้ดำเนินโครงการเครือข่ายนวัตกรรมคนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างให้เกิดเครือข่ายนวัตกรรมคนรุ่นใหม่ สนับสนุนคนรุ่นใหม่ทั่วประเทศที่ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมรอบตัว ผ่านการทดลองทําโครงการไปจนถึงขยับขยายก่อตั้งองค์กรของตนเอง ที่ต้องการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมในประเด็นไหนก็ได้ และด้วยนวัตกรรมสังคมหรือวิธีการใดก็ได้ โดยสนับสนุน 4 ด้าน 3 ระดับ ซึ่งเป็นโครงการแรกของสมาคมฯ

4 หัวใจของการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงสังคม (Change Agent) แก้

สมาคมฯ สนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการเครือข่ายนวัตกรรมคนรุ่นใหม่ด้วย 4 หัวใจที่เกิดจากการถอดประสบการณ์การทำงานจากโครงการคนรุ่นใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมและพัฒนาต่อเพื่อให้ตอบสนองความต้องการและเหมาะสมกับคนรุ่นใหม่มี่สนใจสร้างนวัตกรรมสังคมในปัจจุบัน[2]

  1. ทุน (Funding) : สนับสนุนทรัพยากรทางการเงินเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้มีพื้นที่ทดลอง
  2. การอบรม (Training) : โดยสร้างหลักสูตรที่เป็นพื้นฐานและหัวข้อที่ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกเรียนในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ ติดเครื่องมือให้ผู้เข้าร่วมทำโครงการนวัตกรรมสังคมได้อย่างมีคุณภาพ รวมถึงได้เรียนรู้พัฒนาตนเองและพัฒนาทีมงาน
  3. การลงพื้นที่ติดตาม (Monitoring) : ทีมงานเครือข่ายนวัตกรรมคนรุ่นใหม่จะลงพื้นที่ติดตามเพื่อรู้จักและเข้าใจผู้เข้าร่วมมากขึ้น พัฒนาการทำงาน โดยใส่ใจทั้งงาน ความคิด ชีวิต และจิตใจ แม้ว่าการทำโครงการให้ลุล่วงเป็นภารกิจที่ทีมงานคาดหวังกับผู้เข้าร่วม แต่การใส่ใจกันและกันในมิติอื่น ๆ ของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสภาวะจิตใจ ความคาดหวังต่ออนาคต ปัญหาที่กำลังเผชิญ ก็เป็นเรื่องที่ทีมงานใส่ใจเช่นกัน เนื่องจากสิ่งเหล่านี้เป็นรากฐานที่จะหล่อเลี้ยงความสัมพันธ์ระหว่างทั้งทีมงานและเพื่อนร่วมรุ่นที่จะเดินทางไปด้วยกันบนเส้นทางสายนี้
  4. เครือข่าย (Networking) : เส้นทางการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม จะไปได้ยาว ถ้าไปด้วยกัน โครงการนี้จึงสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันอย่างเข้มข้นระหว่างผู้เข้าร่วม เพื่อนร่วมรุ่น และเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่เข้าด้วยกันในหลาย ๆ โอกาส

3 ระดับการสนับสนุน แก้

เนื่องจากประสบการณ์และความต้องการของคนรุ่นใหม่ในการสร้างนวัตกรรมสังคมนั้นมีหลากหลายระดับ สมาคมฯ จึงแบ่งการสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการฯ เป็น 3 ระดับ โดยความเข้มข้นของหลักสูตร ระยะเวลาดำเนินโครงการนวัตกรรม และทุนสนับสนุนนวัตกรรมจะแตกต่างกันไปในแต่ละระดับ

  1. Rookie (ระดับเริ่มต้น) คือผู้ที่มีไอเดียแก้ปัญหาสังคมที่ตนเองพบเจอ และอยากจะทดลองทำเพื่อแก้ปัญหานั้นให้ได้ ผู้เข้าร่วมระดับ Rookie อาจจะมีประสบการณ์แก้ปัญหานั้น ๆ มาบ้างแล้วหรือยังไม่มีประสบการณ์เลยก็ได้[3]
  2. Semi Pro (ระดับพัฒนา) คือกลุ่มที่ต้องการขยับขยายให้นวัตกรรมหรือสิ่งที่ทำสร้างผลกระทบทางสังคมมากขึ้น จริงจังมากขึ้น ผู้สมัครระดับ Semi Pro ต้องมีประสบการณ์ในการทำสิ่งนั้น ๆ มาก่อนแล้ว[4]
  3. Turn Pro (ระดับใกล้เชี่ยวชาญ) คือกลุ่มที่ต้องการจริงจังกับการแก้ปัญหาในประเด็นที่ทำ และต้องการการสนับสนุนเพื่อสร้างองค์กรของตนเองสำหรับทำงานต่อในระยะยาวอย่างยั่งยืน โดยสมาชิกในทีมระดับ Turn Pro ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานในประเด็นนั้น ๆ มาพอสมควร[5]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 T_0114.PDF (soc.go.th)
  2. 2.0 2.1 เกี่ยวกับเรา • About Us | SYSI — เครือข่ายนวัตกรรมคนรุ่นใหม่
  3. ระดับเริ่มต้น • Rookie | SYSI — เครือข่ายนวัตกรรมคนรุ่นใหม่
  4. ระดับกลาง • Semi-Pro | SYSI — เครือข่ายนวัตกรรมคนรุ่นใหม่
  5. ระดับใกล้โปร • Turn-Pro | SYSI — เครือข่ายนวัตกรรมคนรุ่นใหม่