คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

แก้
ตัวอักษรหัวเรื่อง
แก้

ประวัติคณะ

แก้

คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ขยายการจัดตั้งคณะจากภาควิชาหัตถศึกษาและอุตสาหกรรมศิลป์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศมีแนวโน้มจากภาคเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรมมากขึ้นตามลำดับ ความต้องการกำลังคนด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต้องเพิ่มมากขึ้นแน่นอน ดังนั้นจึงพัฒนาภาคหัตถศึกษาและภาคอุตสาหกรรมศิลป์ เป็นวิชาอุตสาหกรรมศึกษาเช่นเดียวกับที่วิทยาลัยครูพระนครที่มีวิชาอยู่แห่งเดียวในกรมฝึกหัดครู รวมทั้งมีทำเลที่ตั้งเหมาะสมอยู่ในภาคตะวันตก จึงจัดทำแผนโครงการขยายการจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมศึกษา เสนอต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีพิจารณา ต่อมาแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) ในส่วนของกรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการจัดการศึกษาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี โดยมีการขยายจัดตั้งคณะอุตสาหกรรมศึกษาในวิทยาลัยครู 7 แห่ง คือ วิทยาลัยครูเพชรบุรี, ฉะเชิงเทรา, สุรินทร์, เลย ,กำแพงเพชร, เชียงราย และสงขลา โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการทำโครงการ เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการฝึกหัดครู กรมการฝึกหัดครู สรุปว่า ให้ทำการจัดตั้ง คณะอุตสาหกรรมศึกษาไปปรับปรุง และเสนอแนะให้เปลี่ยนชื่อคณะ เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งได้รับความเห็นชอบให้จัดตั้ง คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้จำนวน 7 วิทยาลัยครู และได้เพิ่มเติมวิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ รวมเป็น 8 แห่ง เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2537

พ.ศ. 2535 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ตั้งคณะกรรมการ แต่ยังสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พ.ศ.2538 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้ประกาศโครงการจัดตั้งคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเป็นการภายใน ซึ่งแยกการบริหารมาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีตำแหน่งรักษาการคณบดีคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งนับเป็นคณะที่ 6 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

พ.ศ.2542 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้รับแจ้งเมื่อมีหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 116 ตอนพิเศษ 79ง ถึงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ว่าคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นคณะลำดับที่ 6 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และได้รับการแบ่งส่วนราชการถูกต้องตามระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2542 และทางคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมได้กำหนดเป็นวันสถาปนาของคณะ

พ.ศ.2547 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้รับการยกระดับเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีตามพระราชบัญญัติการศึกษา โดยได้รับการลงพระปรมาภิไธย ซึ่งปัจจุบันทางคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แบ่งส่วนราชการเป็น 1 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณบดี

พ.ศ. 2549 คณะเปิดสอนหลักสูตรทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งประกอบด้วย – หลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ. 4 ปี) สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล ได้รับการ รับรองหลักสูตรจากสภาวิศวกร (กว.) วันที่ 9 กรกฎาคม 2550 ซึ่งเป็นแห่งเดียวของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศที่มีใบประกอบวิชาชีพ – หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ. 4 ปี) สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า – หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.2 ปี หลังอนุปริญญา) สาขาวิชาเทคโนโลยี อุตสาหกรรม (ก่อสร้าง) สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (ไฟฟ้าอุตสาหกรรม)สาขาวิชา เทคโนโลยีอุตสาหกรรม (อิเล็กทรอนิกส์) สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (เครื่องกล) สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรม) สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (การจัดการอุตสาหกรรม) – หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ขณะนี้ได้ปิดหลักสูตรแล้ว – หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม – หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี

พ.ศ.2554 ได้เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร และเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ในปีนี้ได้ปิดการรับสมัครในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีก่อสร้าง , สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟแวร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม

พ.ศ.2555 ได้เปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน

พ.ศ.2557 ได้เปิดสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.) สาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน

พ.ศ.2560 คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้รับแจ้งเมื่อมีหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ทำประกาศกฎกระทรวงศึกษาธิการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 134 ตอนที่ 23 ก ถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2560 ว่าด้วย กฎกระทรวง จัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2560 ให้มีการจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม เป็นคณะลำดับที่ 8 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

ปรัชญา Philosophy

แก้

“คุณธรรม นำความรู้ มุ่งสู่สากล”

วิสัยทัศน์ Vision

แก้

มุ่งสู่การเป็นคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ชั้นนำระดับประเทศ

พันธกิจ Obilgation

แก้
  1. ผลิตบัณทิตที่มีความสามารถตามความต้องการของตลาดแรงงาน
  2. ส่งเสริมงานวิจัยที่มีคุณภาพเกิดการนำมาใช้ประโยชน์จริง
  3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นส่งเสริมการบริการวิชาการด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  4. บริหารงานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรยุคใหม่

อัตลักษณ์

แก้

“รู้จักตนเอง รู้จักสังคม ประยุกต์ใช้ความรู้ได้”

เอกลักษณ์

แก้

คณะแห่งการสร้างสรรค์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ชุมชนและสังคม


ผู้บริหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

แก้
  • ผศ.ดร.กังสดาล สกุลพงษ์มาลี คณบดี
  • อ.ดร.อิทธิพัฒน์ รูปคม รองคณบดี
  • อ.อลงกรณ์ ฉัตรเมืองปัก รองคณบดี
  • อ.ชลีดล อินยาศรี รองคณบดี

คณะกรรมการประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

แก้
  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กังสดาล สกุลพงษ์มาลี
  2. อาจารย์อลงกรณ์ ฉัตรเมืองปัก
  3. รองศาสตราจารย์ ดร.อธิคม ฤกษบุตร
  4. ดร.สมสุข แขมคำ
  5. นายสืบพงศ์ เกตุนุติ
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษณ์ ไชยวงศ์
  7. อาจารย์ ดร.อิทธิพัฒน์ รูปคม
  8. อาจารย์เจิมธง ปรารถนารักษ์
  9. อาจารย์ ดร.ศิริพันธุ์ วิชัยดิษฐ
  10. อาจารย์ดวงกมล อังอำนวยศิริ
  11. อาจารย์ภัทรวรรณ เอมกมล

ประธานสาขา คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

แก้
  • ประธานสาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • ประธานสาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร
  • ประธานสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน
  • ประธานสาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
  • ประธานสาขาวิศวกรรมหุ่นย์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  • ประธานสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • ประธานสาขาวิชาสถาปัตยกรรมภายใน
ตราสัญลักษณ์คณะ
แก้

LOGO คณะ