ผู้ใช้:Eart~thwiki/กระบะทราย


Bring Your Own Devices

1.ความหมาย #นางสาววริดา หวังดี 572110215

BYOD คือการที่เรานำเอาอุปกรณ์ไอทีส่วนตัวมาใช้ทำงานที่บริษัท หรือเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์ก ของบริษัท หรือเน็ตเวิร์กของที่อื่นๆ ที่คุณไปติดต่องาน หรือทำการประชุมนอกสถานที่ การไปพบกับลูกค้าพร้อมๆ กัน ในหลายสถานที่ นั้นการนำอุปกรณ์ไอทีของเราไปใช้เองนั้นทำให้คุณทำงานได้อย่างสะดวกสบาย และลดข้อผิดพลาดจากการใช้เครื่องมือที่ไม่คุ้นเคยได้

Bring Your Own Device หรือ BYOD นี้ ก็คือการที่ผู้ใช้งานภายในองค์กรมีการนำอุปกรณ์ลูกข่ายต่างๆ เข้ามาใช้งานเองภายในระบบเครือข่ายเป็นจำนวนมาก โดยเมื่อก่อนนั้นจะมีเพียงแค่ Notebook หรือ Netbook เท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ด้วยความแพร่หลายของอุปกรณ์ Smart Phone และ Tablet ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น iPhone, iPod, iPad, Android, Windows Phone และ Black Berry ทำให้ระบบเครือข่ายมีเครื่องลูกข่ายเพิ่มขึ้นมาเป็นจำนวนมาก และยากต่อการดูแลรักษาทางด้านความปลอดภัย เพราะนโยบายรักษาความปลอดภัยสำหรับระบบปฏิบัติการบน PC และ Notebook นั้น แตกต่างจากนโยบายรักษาความปลอดภัยสำหรับ Smart Phone และ Tablet โดยสิ้นเชิง ซึ่งถ้าหากเราไม่จำแนกนโยบายรักษาความปลอดภัยทั้งสองกลุ่มนี้ให้แตกต่างกัน ก็จะเกิดปัญหาต่อการใช้งานจริงของผู้ใช้งาน และส่งผลต่อภาพรวมของความปลอดภัยของระบบเครือข่ายองค์กร


2.สิ่งที่เกิดขึ้นหลังการใช้กลยุทธ์ BYOD #นางสาววัชราพร เวียงงาม 572110217

ความพยายามในการใช้นโยบาย BYOD นั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะต้องการอำนวยความสะดวกสำหรับพนักงานในยุคที่มีอุปกรณ์เคลื่อนที่ให้เลือกใช้ได้มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะการคาดหวังว่า BYOD จะทำให้ต้นทุนในการจัดหาอุปกรณ์ การบำรุงรักษา และการบริการด้านเทคนิคสำหรับพนักงานขององค์กรในการใช้งานอุปกรณ์เหล่านั้นมีต้นทุนที่ลดลง แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกลับไม่เป็นไปตามที่คิด

สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือมีองค์กรเพียง 12% เท่านั้นที่ใช้นโยบาย BYOD เพียงอย่างเดียว ส่วนอีก 88% เลือกที่จะใช้กลยุทธ์ผสมผสานนโยบายหลายๆ แบบเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเพื่อควบคุมต้นทุนหรือความปลอดภัยก็แล้วแต่ ซึ่งหลายองค์กรก็ใช้นโยบายเก่าแก่สำหรับการบริหารอุปกรณ์เคลื่อนที่เช่น CLEO (Corporate Liable, Employee Owned) นั่นคือบริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการใช้งาน แต่อุปกรณ์เป็นของพนักงานเอง หรือ Corporate Liable ซึ่งเป็นการที่บริษัทให้ใช้เครื่องของบริษัทและใช้เฉพาะสำหรับงานเท่านั้นโดยบริษัทรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด

ทำไม BYOD ถึงทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น

  • มีอุปกรณ์ที่ต้องบริหารจัดการมากขึ้น 30%
  • BYOD ทำให้มีความท้าทายในเรื่องความปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้น 60%
  • ความท้าทายด้านความปลอดภัยที่ไม่เกี่ยวข้องกัน BYOD ทั้งประเทศใหม่และประเทศเดิมแต่เพิ่มสูงขึ้น 50%
  • ความซับซ้อนตลอดจนความหลากหลายของอุปกรณ์ และประเด็นจาก iOS มี 100%


3.ความปลอดภัยที่ขาดไม่ได้ของ BYOD #นางสาวศรัณยา โฆษิตสกุลชัย 572110223
1. การบริหารการใช้งานด้วยโซลูชัน MDM (Mobile Device Management) ไม่ว่าจะเป็น BYOD หรือ CYOD ก็ตาม โซลูชันในแง่มุมของความปลอดภัยนั้นประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญได้แก่ ซึ่งจะรวมถึงการป้องกันกรณีเครื่องสูญหาย การส่งคำสั่งล็อคเครื่อง ล้างข้อมูลจากระยะไกล การบริหารการเข้าถึงเครือข่ายองค์กร การอ้างสิทธิและการยืนยันตัวตนของผู้ใช้ การกำหนดความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลและแอพพลิเคชันขององค์กร MDM ที่ดีจะทำให้ BYOD หรือ CYOD มีความสามารถในการป้องกันความปลอดภัยโดยการแยกส่วนการใช้แอพพลิเคชันและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานและส่วนตัวออกจากกัน นอกจากนี้ MDM อาจจะรวมเอาความสามารถในการกรองการเข้าถึงเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชันที่อาจเป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ได้อีกด้วย

2. การโหลดแอพพลิเคชันเพื่อการใช้งาน เพื่อไม่ให้คนนอกสามารถเข้าถึงหรือแม้กระทั่งทราบถึงรายละเอียดของแอพพลิเคชันเพื่อการใช้งานทางธุรกิจขององค์กร โซลูชันในส่วนของแอพสโตร์ (App Store) สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งใน 2 นโยบายจะต้องแยกต่างหากจากแอพสโตร์ที่เป็นสาธารณะ (Public)

3. การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Enforcement) สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือความแตกต่างของพนักงานในแต่ละแผนกหรือแต่ละไซต์งานสามารถทำได้ดีแค่ไหนเพียงใด และการกำหนดนโยบายความปลอดภัยให้เหมาะสม และความสามารถของ MDM ในการดำเนินการตามนโยบายที่กำหนด ซึ่งต้องพิจารณาด้วยว่า MDM มีความสามารถตามนโยบายที่ต้องการหรือไม่ ซึ่งแม้แต่ความสามารถในการติดตามตรวจสอบข้อมูล (Data Monitoring) นั้นบางโซลูชันของ MDM มีความสามารถดังกล่าวในระดับสูงซึ่งสามารถติดตามตรวจสอบการเคลื่อนย้ายข้อมูลเข้าและออกจากอุปกรณ์ได้โดยละเอียด และสามารถกำหนดเงื่อนไขข้อห้ามต่างๆ ตามนโยบายความปลอดภัยที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้ด้วย

4. ความสามารถในการบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยตามที่อยู่ของอุปกรณ์ (Geofencing) นับเป็นอีกคุณสมบัติที่มีความสำคัญในการใช้งานสำหรับ BYOD หรือ CYOD เพราะหลายครั้งการใช้งานข้อมูลสำคัญหลายๆ กรณีไม่ควรอนุญาตให้เหลืออยู่บนอุปกรณ์เมื่อออกนอกพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น ข้อมูลทางการแพทย์ เช่นเดียวกับงานราชการอีกหลายๆ ประเภทที่มีความลับการใช้คุณสมบัติ Geofencing จะช่วยแก้ปัญหาความปลอดภัยในแง่มุมดังกล่าว ทำให้การบังคับใช้นโยบายความปลอดภัยสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ในเชิงของการอนุญาตให้เข้าถึงหรืออนุญาตให้ใช้งานได้เฉพาะพื้นที่สามารถดำเนินการได้ตามนโยบายอย่างเคร่งครัดและรัดกุมยิ่งขึ้น

4.การประยุกต์ใช้งาน BYOD #นางสาวสิริรัตน์ โสดเที่ยง 57211233

เมื่อพนักงานเริ่มนำอุปกรณ์มาใช้งาน ก็จะเริ่มมีข้อจำกัดตามมาอีกไม่ว่าจะเป็นลิขสิทธิ์ของ software ที่จะต้องติดตั้งลงในอุปกรณ์ของพนักงาน การจัดเก็บข้อมูลในการบริหารจึงจำเป็นที่จะต้องแยกระหว่างความเป็นส่วนตัวและงานออกจากกัน จึงเป็นเหตุให้มีการนำ virtual desktop มาใช้งานร่วมด้วย เพื่อที่จะให้อุปกรณ์เหล่านั้นเป็นแค่หน้าจอ หรืออ interface เพื่อเรียกใช้ไปยังเครื่องจริงที่อยู่ใน data center ขององค์กร ระบบที่นิยมใช้ก็จะมี 2 ค่ายหลักๆ คือ Citrix XenDesktop และ Vmware View ที่จะทำให้ผู้ใช้งานยังคงรู้สึกเหมือนกับทำงานบนสิ่งแวดล้อมเดิมๆ เช่น เคยใช้ Window และ Excel ก็จะยังคงสามารถใ้ช้งานได้บนแทปเลตอย่าง iPad หรือ Galaxy Tab

ตัวอย่าง นำ 2X ApplicationServer XG ไปประยุกต์ใช้งานในองค์กร
1.ผู้บริหารสามารถ Approve เอกสารผ่านอุปกรณ์ Tablet ที่อยู่ในมือ เช่น iPad หรือ Samsung Galaxy Tab โดยมีความจำเป็นต้องเข้าออฟฟิต
2.พนักงานขายต่างจังหวัดสามารถใช้ Tablet ในการเชื่อมต่อเข้ามายังองค์กร เพื่อสั่งสินค้า (Order Request by Tablet)
3.บริษัทคู่ค้าสามารถเข้าสู่หน้าจอ ตรวจสอบสินค้าคงเหลือ (Stock Checking) และ สั่งสินค้าได้ด้วยตัวเอง (Order Request Self Service)
4.ผู้ใช้ระบบวิเคราะห์หุ้น สามารถใช้ Tablet เชื่อมต่อเข้ามาใช้งานระบบและตัดสินใจซื้อ – ขาย หุ้น ออนไลน์ได้
5.เจ้าหน้าที่ไอที สามารถเข้าสู่หน้าจอบริหารจัดการเครื่องแม่ข่ายทั้งหมด ด้วย iPad จากระยะไกล
6.บริษัทซอร์ฟแวร์เลือกใช้ 2X ApplicationServer XG ส่งซอร์ฟแวร์หรือโปรแกรมของตนเอง ไปยังผู้ใช้ ทำให้ไม่จำเป็นต้อง Coding/Comply ใหม่ เพื่อให้ซอร์ฟแวร์รองรับกับระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย


5.ข้อดีของการนำอุปกรณ์ของพนักงานมาใช้ที่ทำงาน #นายศุภกฤต ลิ้นฤาษี 572110227
1. ลดค่าใช้จ่ายให้กับองค์กร(Cost Saving)เพราะพนักงานเป็นคนนำอุปกรณ์ต่างๆเหล่านั้นมาเอง ทำให้องค์กรไม่จำเป็นต้องลงทุนในอุปกรณ์บางอย่างโดยบางองค์กรอาจใช้วิธีการเช่าเครื่องของพนักงานแทนการซื้อเครื่องให้ เพื่อลดต้นทุนในการลงทุนด้านการซื้ออุปกรณ์ต่างๆรวมถึงซอฟแวร์บางประเภทได้เช่นเดียวกัน
2.สะดวกสบาย (Convenience) เพราะเป็นเครื่องของตัวเอง ทำให้การจัดการและดูแลอุปกรณ์ต่างๆ สะดวกมากขึ้นบางครั้งพนักงานสามารถลงโปรแกรมอะไรบางอย่างที่ตัวเองอยากใช้งานได้สะดวกมากขึ้น
3.มีเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง (New technology) เมื่อเปิดโอกาสให้พนักงานนำอุปกรณ์ต่างๆมาเอง จะเปิดโอกาสให้องค์กรมีอุปกรณ์ใหม่ๆเข้ามาใช้กับงานและธุรกิจมากขึ้น รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ๆระหว่างพนักงานได้ดีมากขึ้น
4.เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (Increase Productivity) เพราะเนื่องจากเป็นเครื่องของตัวเองทำให้พนักงานสามารถทำงานได้ทุกที่และสามารถกลับไปทำงานที่บ้านได้
5.สร้างความพึงพอใจให้กับพนักงาน(Increase Satisfaction) เพราะพนักงานสามารถเลือกอุปกรณ์ต่างๆตามความต้องการและความเหมาะสมของตัวเองได้


6. ข้อเสียของการนำอุปกรณ์ของพนักงานมาใช้ที่ทำงาน #นายพงษ์สิริ ยาวะดี 572110190
1.ความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร (Security) ข้อมูลต่างๆ ของบริษัทจะต้องอยู่ในเครื่องของพนักงานและสามารถติดตัวไปไหนก็ได้ ดังนั้น หากเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ อาจจะเสี่ยงต่อการรั่วไหล ของข้อมูลได้ เพราะบางครั้งพนักงานอาจจะทำอุปกรณ์เหล่านี้หายหรือลืม
(วิธีการป้องกัน : แบ่งระดับของข้อมูลที่พนักงานสามารถใช้อุปกรณ์พกพาเข้าถึง หรือมีระบบในการจัดการข้อมูลกับอุปกรณ์ต่างๆ ของพนักงาน)

2.ไวรัสและมัลแวร์ (Virus & Malware) เนื่องจากเป็นเครื่องส่วนตัว การดูและการจัดการอาจจะยังไม่ดี ซึ่งจะมีความเสี่ยงต่อการติดไวรัสและมัลแวร์ ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับในองค์กร อาจจะทำให้เกิดติดและกระจายไปยังเครื่องอื่นๆในองค์กรได้
(วิธีการป้องกัน : ติดตั้ง Software ป้องกันไวรัสและกำหนดสิทธิ์และวงการใช้งานของเน็ตเวิร์กของอุปกรณ์พกพาของพนักงาน

3. การช่วยเหลือ (Support) เนื่องจากเครื่องและอุปกรณ์มีความหลากหลาย อาจจะทำให้การช่วยเหลือพนักงานหากอุปกรณ์ต่างๆมีความผิดพลาดเป็นไปได้ยาก เพราะองค์กรอาจจะไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในอุปกรณ์นั้นๆ
(การป้องกัน : อาจจะกำหนดว่าอุปกรณ์ประเภทไหนที่องค์กรรองรับ และสนับสนุนให้นำมาใช้ได้ในองค์กร หรือจัดฝึกอบรมให้กับพนักงานรู้จักการใช้อุปกรณ์ต่างๆของตน ที่สามารถนำมาใช้ภายในองค์กรอย่างไรให้ถูกวิธี และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด)

4. การรองรับของเน็ตเวิร์ก (Network Capacity) เนื่องจากองค์กรต่างๆ อาจจะไม่ได้เตรียมตัวหรือรองรับจำนวนอุปกรณ์ต่างๆที่เพิ่มขึ้นมาจำนวนมากจากพนักงาน เช่น แต่ละคนนำสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตมาเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์กองค์กร อาจจะทำให้ มีการใช้ข้อมูลหรือเน็ตเวิร์กเพิ่มมากขึ้น จนทำให้เน็ตเวิร์กขององค์กรมีปัญหาได้
(วิธีการแก้ปัญหา : ให้พนักงานลงทะเบียนแจ้งว่าจะนำอุปกรณ์อะไรเข้ามาใช้ เพื่อองค์กรจะได้วางแผนและกำหนดกฏเกณท์ให้ชัดเจนในการนำอุปกรณ์ส่วนตัวเข้ามาใช้)

[1]

  1. http://www.manager.co.th/ibizchannel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000136511 http://www.uih.co.th/knowledge/view/688 http://www.csloxinfo.com/enews/eNews_vol12thai.pdf http://www.tss.co.th/index.php/byod-solution