ผู้ใช้:Dujrapii/ทดลองเขียน

ดร. พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ชื่อเล่น PAC (เกิดวันที่ 7 พฤศจิกายน 2515) ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และเป็นผู้เผยแพร่องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมใน PACPODCAST

การศึกษา

แก้

ดร.พันธุ์อาจ จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาฟิสิกส์นิวเคลียร์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และต่อปริญญาโทด้านการจัดการนวัตกรรมกับเทคโนโลยีที่มหาวิทยาลัยซัสเซ็กส์ ประเทศอังกฤษ ต่อมาได้รับทุนปริญญาเอกของรัฐบาลเดนมาร์ก เรื่องเศรษฐศาสตร์และนวัตกรรม [1]

การทำงาน

แก้

หลังจากจบปริญญาเอกกลับมาจากเดนมาร์ก ดร.พันธุ์อาจ ก็ได้ไปทำงานที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี ไปช่วยจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม หรือเรียกสั้นๆ ว่า GMI (Graduate School of Management and Innovation) ตอนนั้นทางพระจอมเกล้าฯ ก็พยายามจะปรับแนวทางในการบริหารจัดการ School เพราะว่าสมัยนั้นบางมดเป็นที่แรก ๆ ที่ไม่ได้บริหารแบบ faculty เพราะฉะนั้นเขาก็จะบริหารแบบ School คล้าย MIT (Massachusetts Institute of Technology) จากนั้นก็จับพลัดจับผลูมาทำงานที่ทำเนียบรัฐบาลโดยไปช่วยจัดตั้งสำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ เป็นหน่วยงานที่เน้นในการยกระดับความสามารถด้านนโยบายสาธารณะของหน่วยงานราชการ สักพักก็ออกมาทำบริษัทเองเป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านนวัตกรรม ส่วนใหญ่แล้วลูกค้าก็จะเป็นบริษัทและองค์กรระหว่างประเทศรวมทั้งมูลนิธิที่ทำเรื่องเกี่ยวกับตัวนวัตกรรมแล้วก็การพัฒนาที่ยั่งยืน ก่อนหน้านั้นจริง ๆ ตั้งแต่เรียน ป.โท จบมาเป็นช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่แตกพอดี ก็เลยกลับมาอยู่ สวทช. (NSTDA) และ 20 กว่าปีก่อนก็ได้เป็นเลขาจัดตั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ พอสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติเมื่อประมาณ 4-5 ปีก่อน ได้เปิดการสรรหาผู้บริหารใหม่ ก็เลยลองสมัครเข้ามาแล้วก็ได้รับคัดเลือกเป็นผู้บริหารถึงวันนี้ก็เป็นสมัยที่ 2 แล้ว[1]

ผลงาน

แก้

Startup Thailand

แก้

ดร.พันธุ์อาจ เข้ารับตำแหน่งที่ NIA ตั้งแต่ปี 2558 สมัยดำรงตำแหน่งวาะแรก (ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี) เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการผลักดันแคมเปญระดับชาติ “Startup Thailand” เพื่อโปรโมตศักยภาพของประเทศไทยที่มีความพร้อมด้านระบบนิเวศที่เหมาะในการเป็นศูนย์กลางของธุรกิจสตาร์ทอัพในภูมิภาคนี้ ซึ่งประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี พร้อมกับการเข้ามาปรับภาพลักษณ์ใหม่ขององค์กรให้ทันสมัย และเป็นองค์กรของคนรุ่นใหม่ สอดรับกับพันธกิจขององค์กรที่มุ่งเสริมสร้างความสามารถทางนวัตกรรมของประเทศ[2]

Innovation Thailand

แก้

สำหรับ “Innovation Thailand” เป็นแคมเปญที่ ดร.พันธุ์อาจ ริเริ่มขึ้นเพื่อชวนคนไทยให้มารู้จักและร่วมภาคภูมิใจกับนวัตกรรมฝีมือคนเไทย รวมทั้งเป็นการตอกย้ำภาพลักษณ์ใหม่ของประเทศไทยที่มีความโดดเด่นด้านนวัตกรรม ซึ่งหลายคนอาจจะไม่ทราบว่าคนไทยสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมขึ้นมามากมาย โดยเฉพาะนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่ดีขึ้น ช่วยทำให้มีความสุข สะดวกสบาย และมีความประณีตในการใช้ชีวิตมากขึ้น ซึ่งเป็นอัตลักษณ์ด้านนวัตกรรมของประเทศไทย และเป็นสิ่งที่ NIA หยิบยกมานำเสนอเพื่อเปิดมุมมองใหม่ของประเทศไทยที่แตกต่างไปจากเดิม ดร.พันธุ์อาจ ได้ให้ความหมายของ Innovation Thailand ในครั้งนี้ คือ นวัตกรรมเพื่อการใช้ชีวิตที่ดีขึ้นหรือที่เรียกว่า Innovation for Crafted Living ทาง NIA ได้แบ่งออกได้เป็น 7 หมวด คือ 1. Healthy Living นวัตกรรมเพื่อสุขภาพดีที่ไม่ใช่แค่การดูแลรักษาแต่รวมไปถึงการป้องกัน 2. Easy Living นวัตกรรมเพื่อให้ผู้สูงวัย คนพิการ หรือผู้ที่ด้อยโอกาส ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นและเท่าเทียมกับคนปกติแบบไร้รอยต่อ 3. Smart Living นวัตกรรมเพื่อโลกและสิ่งแวดล้อม นับตั้งแต่แหล่งพลังงานสะอาด การกำจัดขยะ ลดมลพิษ และคิดเผื่อเพื่อสิ่งแวดล้อมตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน (Bio-Circular-Green Economy) 4. Connected Living นวัตกรรมที่เชื่อมโยงผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกัน สร้างเป็นเครือข่ายด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ช่วยลดช่องว่างทางความคิด 5. Safe Living นวัตกรรมเพื่อชีวิตและทรัพย์สินปลอดภัย ครอบคลุมทุกมิติในการใช้ชีวิตทั้งในบ้านและนอกบ้าน 6. Wealthy Living นวัตกรรมที่สร้างโอกาสและอาชีพใหม่ๆ ที่เลี้ยงตัวเองได้ ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น 7. Happy Living นวัตกรรมด้านการท่องเที่ยว ดนตรี และสันทนาการ เพื่อทำให้ชีวิตผ่อนคลายและมีความสุข[2] นิลมังกร ดร.พันธุ์อาจ ได้ริเริ่มโครงการสุดยอดธุรกิจนวัตกรรมประเทศไทยระดับภูมิภาค ภายใต้ “นิลมังกรแคมเปญ” เพื่อสร้างตัวอย่างการทำธุรกิจนวัตกรรมในภูมิภาค ให้คนในพื้นที่ได้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและได้เรียนรู้กระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรม ผ่านการสื่อสารในรูปแบบของ Edutainment เพื่อให้เป็นที่น่าสนใจ เข้าถึง และเข้าใจกระบวนการสร้างธุรกิจนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น รวมถึงเป็นพื้นที่ที่ให้สตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีในพื้นที่ได้แสดงศักยภาพด้านนวัตกรรมอย่างเต็มที่ [3]

PAC PODCAST

แก้

ดร.พันธุ์อาจ ได้ผลิตรายการ PACPODCAST เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมในมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทรนนวัตกรรมรูปแบบใหม่ ๆ เช่น นวัตกรรมเชิงศิลป์ นวัตกรรมลดความเหลื่อมล้ำ หรือตัวอย่างนวัตกรรมในต่างแดน ผ่านทาง Youtube ในช่อง NIA Channel[4]

อ้างอิง

แก้

[1]"TEMCA สมาคมช่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย". [2]"ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ กับภารกิจสร้าง "Innovation Thailand"". Forbes Thailand (ภาษาอังกฤษ). 2020-10-31. [3]"NIA ชู "นิลมังกรแคมเปญ" เพิ่มมูลค่านวัตกรรมภูมิภาคโต 3 เท่า". https://www.thansettakij.com/. External link in |website= (help) [4] "PACPODCAST - YouTube". www.youtube.com.