Content

  • 1.ลักษณะเฉพาะของ family bear
  • 2.ความเป็นมาของโครงงาน
  • 3.ภาพยนตร์โฆษณา
  • 4.วีดีโอแนะนำการเลี้ยงลูก
Family bear เป็นมาสคอตของโครงการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กปี 2015 โดย UNICEF
Family bear เป็นมาสคอตของโครงการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กปี 2015 โดย UNICEF

ลักษณะเฉพาะของ family bear Unicef bear family ประกอบด้วย Mommy Bear, Daddy Bear, Kiddy Bear คือครอบครัวที่ให้ความสำคัญกับการอบรมสั่งสอนลูกแบบพูดคุยกัน เปิดรับฟังความคิดเห็นของลูก ใช้การพูดถึงปัญหา (เลี้ยงลูกแบบวินัยเชิงบวก) มากกว่าใช้การลงโทษเด็ก เช่นการตี หยิก บิดหูหรือดุว่าจนลูกเกิดความกลัว ซึ่งการกระทำเหล่านี้ จัดเป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่งที่ส่งผลเสียทั้งทางร่างกายและจิตใจต่อเด็ก

Family bear เป็นมาสคอตของโครงการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กปี 2015 โดย UNICEF

Mommy bear คุณแม่ที่รับฟังทุกปัญหาของลูก ไม่ว่าลูกจะมีปัญหาอะไรหรือทำอะไรผิด แม่พร้อมฟังและอธิบายพร้อมให้คำแนะนำ วิธีการอบรมสอนของเธอคือ เรียกหมีน้อยมานั่งพูดคุย โดยรับฟังเหตุผลจากหมีน้อยก่อน แล้วเธอจึงพูดทั้งหมดตั้งแต่ปัญหาจนถึงคำตอบ เพื่อให้หมีน้อยเข้าใจอย่างชัดเจน จะได้ไม่ทำอีก

Daddy Bear คุณพ่อหมีเป็นคนหาเลี้ยงครอบครัวจึงอาจจะไม่มีเวลามาสอนเท่ากับคุณแม่หมี แต่เมื่อได้มีโอกาสก็จะเป็นการแนะนำเพื่อให้หมีน้อยไปลองผิดลองถูกเอง แต่จะคอยดูอยู่ห่างๆ พ่อเป็นเพียงแค่ผู้ที่คอยแนะนำเท่านั้น ส่วนของการกระทำลูกเป็นผู้กำหนดเอง Kiddy bear ความร่าเริงสดใส กล้าแสดงออกและมีความมั่นใจ คือนิสัยของหมีน้อย ในชั้นเรียนหมีน้อยพร้อมจะเป็นคนที่กล้ายกมือตอบคำถามในขณะที่เพื่อนๆหมีนิ่งเงียบ เพราะมองว่าถึงผิดก็ไม่เป็นอะไร ดีซะอีกจะได้รู้ว่าผิดอะไร


ความเป็นมาของโครงงาน “โครงการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็ก (End Violence Against Children)” ยูนิเซฟ ประเทศไทย ตระหนักถึงปัญหาการกระทำรุนแรงต่อเด็กที่นับวันจะมีมากขึ้นในสังคมไทย เนื่องจากความเชื่อและค่านิยมในการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกปลูกฝังมานาน จึงร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดทำภาพยนตร์โฆษณาเพื่อสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของความรุนแรงที่มีต่อเด็ก และต้องการให้ผู้ใหญ่ปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม โดยหยุดใช้ความรุนแรงต่อเด็กทุกรูปแบบ แล้วมาเริ่มต้น “เลี้ยงลูกอย่างเข้าใจ หยุดใช้ความรุนแรง” ยูนิเซฟอยากให้คุณเป็นหนึ่งพลังเพื่อรณรงค์ให้ความรุนแรงต่อเด็กทุกรูปแบบหมดไปจากสังคมไทย ร่วมแสดงพลังได้ที่: [1] #ENDviolence


ภาพยนตร์โฆษณา ภาพยนตร์โฆษณา ชุด “ห่างเหิน (Distance)” แนวคิด “ความรุนแรง สร้างความห่างเหินในใจเด็ก” แนวคิดภาพยนตร์โฆษณาได้สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบของการกระทำรุนแรงต่อเด็กที่เกิดขึ้นในจิตใจของเด็ก ได้ทำลายความรู้สึกดีๆ ที่ลูกมีต่อพ่อแม่ไปอย่างคาดไม่ถึง โดยเนื้อเรื่องได้หยิบยกเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ของเด็กหญิงคนหนึ่งที่ด้านหนึ่งมีความร่าเริงสดใสไม่ต่างจากเด็กทั่วไป แต่แววตา การกระทำและความรู้สึกของ เด็กน้อยนั้น กลับว่างเปล่า ห่างเหินกับพ่อแม่ ทั้งที่อยู่ด้วยกันในทุกวัน

“ห่างเหิน (Distance)” หยุดใช้ความรุนแรงต่อเด็ก ถ้าไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับครอบครัวคุณ โดย UNICEF
“ห่างเหิน (Distance)” หยุดใช้ความรุนแรงต่อเด็ก ถ้าไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับครอบครัวคุณ โดย UNICEF
[[2] “ห่างเหิน (Distance)” หยุดใช้ความรุนแรงต่อเด็ก ถ้าไม่อยากให้สิ่งนี้เกิดขึ้นกับครอบครัวคุณ โดย UNICEF





แนะนำการเลี้ยงลูก
การเลี้ยงดูเด็กโดยการสร้างเสริมวินัยเชิงบวก CUTE พ่อแม่ส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวว่าใช้ “ด้านลบ” ในการเลี้ยงดูลูก เพราะการดุด่า ตะคอก ตะโกน ข่มขู่ เปรียบเทียบ เพิกเฉย เฆี่ยนตี หยิก ดูเหมือนเป็นวิธีที่ได้ผลดีในระยะสั้น คือ ลูกอาจเชื่อฟังและทำตามคำสั่ง แต่ในขณะเดียวกันกลับสร้างความวิตกกังวลหรือโกรธให้กับลูก และในระยะยาวจะทำลายความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่กับลูกทำให้ลูกยิ่งดื้อหรือต่อต้านมากยิ่งขึ้น จนส่งผลให้เด็กมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา ดังนั้น มาร่วมสร้างครอบครัวที่น่ารัก “CUTE” กันเถอะ
1. ให้ความมั่นใจ Confidence เปลี่ยนจากการใช้วิธี “จับผิด” มองหาแต่ส่วนบกพร่อง มาเป็นการ “จับถูก” มองหาสิ่งดี เมื่อเห็นลูกทำได้ดีก็แสดงความชื่นชม เมื่อลูกผิดพลาดก็ให้กำลังใจไม่ซ้ำเติม เด็กจะมั่นใจ และภูมิใจในตนเองมากขึ้น
2. ให้ความเข้าใจ Understanding พยายามเข้าใจสถานการณ์จากมุมมองของลูก และหาวิธีต่อรองตกลงกับลูกโดยไม่บังคับ เช่น หากลูกวัยรุ่นกลับบ้านดึกเกินเวลา แทนที่จะดุด่า โมโห อาจแสดงให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่ เป็นห่วง ขอฟังเหตุผล แสดงความเข้าใจ แล้วช่วยลูกคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะไม่มีปัญหา แบบนี้อีก
3. ให้ความไว้ใจ Trust ไม่ตัดสินใจแทนลูกตลอดเวลา แต่ช่วยให้ลูกได้คิดหาทางเลือกต่างๆ ในการแก้ปัญหา อย่างฉลาด รวมถึงเปิดโอกาสให้ลูกได้ตัดสินใจทำในสิ่งที่เขาอยากทำในบางเรื่อง เพื่อให้เขาได้เติบโตขึ้นเป็นคนที่เชื่อมั่นใจตนเอง
4. ให้ความเห็นใจ Empathy รู้จักเข้าถึงความคิดและความรู้สึกของลูก ลองมองสถานการณ์จากมุมมองของลูก เพราะเด็กทุกคนก็คือมนุษย์คนหนึ่ง ที่มีความคิดและความรู้สึกเหมือนคนทั่วไป เราจึงควรปฏิบัติต่อเขา อย่างให้เกียรติ และเคารพในศักดิ์ศรีของลูก เสมือนเขาคือผู้ใหญ่คนหนึ่งเช่นกัน

  1. http://www.endviolencethailand.org
  2. https://www.youtube.com/watch?v=It3UsiZjRWE