ผู้ใช้:Chomspu/ทดลองเขียน

สวัสดี ฉันชื่อน้ำผึ้ง ฉันไม่ได้เป็นคนเก่งนักเเต่เป็นคนชอบเรียนรู้ ไม่ว่าอะไรก็ตามฉันก็อยากจะทำให้ได้เสมอ

วันนี้ฉันจะนำเสนอเรื่องราวของเครื่องดนตรีไทยที่ฉันชอบมากคือ ซอสามสาย

ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีโบราณชนิดหนึ่งของไทยเรา ตามประวัติศษสตร์แล้วน่าจะเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีชื่อตามลักษณะรูปร่าง คือ มี 3 สาย เหมือนกับเครื่องดนตรีของ จีนที่เรียกว่า สานเสียน (Sanhsien) และเครื่องดนตรีของญี่ปุ่นที่เรียกว่า ซามิเส็น (Shamisen) แต่ทั้งสานเสียนของจีน และซามิเส็นของญี่ปุ้น เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด สานเสียนของจีน กะโหลกเป็นรูปสี่เหลี่ยมลบมุมจนเกือบเป็นรูปไข่ ขึ้นหน้า ด้วยหนังงูเหลือม และดีดด้วยนิ้วมือ ส่วนซามิเส็น ของญี่ปุ่น รูปกะโหลกเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยม ด้านข้างโค้งเล็กน้อยทั้งสี่ด้าน ขึ้น หน้าด้วยไม้ และดีดด้วยไม้ดีดรูปร่างคล้ายๆขวาน แต่เครื่องดนตรีทั้งสองชนิดนี้ ก็มีสามสายเช่นเดียวกับซอสามสายเช่นเเดียวกัน

ซอสามสายมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ

       เครื่องอุ้มเสียงให้เกิดกังวานทำด้วยกะลามะพร้าวตัดขวางลูก ให้เหลือพูทั้งสามไว้ด้านหลัง เรียกว่า “กะโหลก” กะลาสำหรับทำกะโหลก ซอสามสายนี้ จะต้องมีรูปร่างงดงามมีพูทั้งสามนูนขึ้นมาคล้ายลักษณะหัวช้าง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2

ทรงพระราชทาน “ตราภูมิคุ้มห้าม” ให้กับเจ้าของสวนมะพร้าวพันธุ์นี้ ไม่ต้องเสียภาษีอากรทำให้บรรดาเจ้าของสวนมะพร้าว ทั้งหลายมีกำลังใจที่จะทำนุบำรุงมะพร้าวพันธุ์พิเศษนี้ เพื่อไว้ทำซอสามสายได้ต่อๆ มาไม่ให้สูญพันธุ์ กะโหลกตรงที่ตัดออกนั้น ต้องขึงหน้าด้วยหนังลูกวัว หรือ หนังแพะ แต่ที่นิยมและมีคุณภาพเสียงดี หนังแพะจะได้คุณภาพที่ดีกว่า ดังปรากฎตามจดหมายเหตุ

พ.ศ. 2357 ในรัชกาลที่ 2 เป็นหนังสือของเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีที่สมุหพระกลาโหม ถึงพระยานครศรีธรรมราช ฉบับหนึ่งแจ้งว่า “ต้องพระราช ประสงค์หนังแพะที่ดีสำหรับจะทำซอ และกลองแขกเป็นอันมาก จัดหาหนังแพะที่กรุงเทพมหานครได้ดีไม่ จึงเกณท์มาให้เมืองนครจัดซื้อหนังแพะ ที่ดีส่งเข้าไป … จะเป็นราคาผืนละเท่าใด ให้บอกเข้าไปให้แจ้ง จะได้พระราชทานเงินราคาให้ “ คันซอสามสายที่เรียกว่า ทวนนั้น มีลักษณะกลม ตอนกลางค่อนข้างเล็ก ตอนบนและตอนล่างค่อยๆโตขึ้นทีละน้อย ปักเสียบกะโหลกตั้งขึ้นไป ทำด้วยไม้หรืองาช้าง ทวนกลางหุ้มด้วยโลหะทำลวดลายสวยงาม เช่นถมหรือลงยา ทวนล่างต่อจากกะโหลกลงไป ใหญ่และค่อยๆเรียวเล็กลงไป กลึงเป็นปล้องๆอย่างงดงาม ต่อปลายด้วยโลหะแหลม สำหรับปักพื้นมิให้เลื่อนในเวลาสี ทวนบนเจาะรูสำหรับสอดลูกบิดเป็น 3 อัน ตรงท่อนล่างเจาะรูร้อยเส้นใหม 3 เส้นสั้นๆ สำหรับต่อสายซอ เรียกว่า “หนวดพราหมณ์” สายซอจะต่อกับหนวดพราหมณ์ จึงผ่านหน้าซอ แล้วร้อยเข้าไปในรูทวนตอนบน สอดเข้าผูกพันกับลูกบิดสายละอัน สายที่มีเสียงสูงเรียกว่า “สายเอก” สายรองลงมาเรียกว่า “สายกลาง” และสายที่มีเสียงต่ำเรียกว่า “สายทุ้ม” การเทียบเสียงให้เทียบเสียงห่างกันเป็นคู่สี่ทั้งสามสาย ( ซอล เร ลา ) ตรงกลางคันทวนมีเส้นใหม หรือเอ็น พันสายทั้งสามรัดติดกับทวนหลายๆรอบ เรียกว่า “รัดอก” ตอนกลางหน้าซอค่อนขึ้นมาข้างบนมีไม้ทำเป็นรูปสะพาน หนุนสายไม่ให้ติดกับหน้าซอ เรียกว่า “หย่อง” ด้านซ้ายของหน้าซอติด “ถ่วงหน้า” ซึ่งทำด้วยโลหะ มีน้ำหนักสมดุลกับหน้าซอเพื่อเป็นเครื่องสำหรับลดความสั่นสะเทือนของหน้าซอทำให้เพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น ถ่วงหน้านี้อาจประดับลวดลายฝังเพชรพลอย ให้งดงามก็ได้ คันชักซอสามสายทำเป็นรูปโค้ง ขึงด้วยหางม้าประมาณ 300 เส้น ตอนปลายของคันชักทำให้โค้งอ่อนปลับออกไป เพื่อให้จับได้สะดวก ไม้ที่ทำคันชักซอที่นิยมกันมากคือ ไม้แก้วที่มีลวดลายงดงาม คันชักซอสามสายนี้ มิได้สอดเข้าไปในระหว่างสายเหมือนซอด้วง ซออู้ เวลาจะสีจับเอาคันชักมีสีทาบบนสายซอ ประสงค์จะสีสายใหนก็ทาบบนสายนั้น ก่อนจะสีต้องเอา ยางสนถูให้หางม้ามีความฝืดเสียก่อน เพราะซอสามสายมิได้ติดยางสนไว้เหมือนซอด้วงหรือซออู้  ซอสามสายนี้มีผู้สร้างขึ้นมาอีกขนาดหนึ่งเป็นซอขนาดเล็กกว่าทั้งตัวซอและคันทวน มีความยาวประมาณ 1 เมตรเท่านี้น เข้าใจว่า จะสร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับนักดนตรีหญิง เรียกซอคันนี้ว่า “ซอสามสายหลิบ” มีเสียงสูงกว่า ซอสามสายธรรมดา

การใช้คันชักซอสามสาย

        ความสำคัญของการบรรเลงซอสามสายให้ได้ดีนั้น การใช้คันชักเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากคุณภาพของเสียงซอ ที่ออกมาขณะที่สีซอสามสาย ขึ้นอยู่กับน้ำหนัก และความเร็วของคันชัก มีข้อควรระวังในการสีซอสามสายก็คือต้องบังคับให้คันชัก อยู่ในแนวตรงขนานกับพื้นตลอดเวลา ห้ามเปลี่ยนแนวคันชัก หากจะเปลี่ยนจังหวะในการสีไปยังสายอื่น ก็ให้พลิกซอเพื่อเปลี่ยนสาย

ไปหาคันชักนั้น

การจับซอและการวางนิ้ว ในการสีซอสามสายการจับซอ ให้ใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายค้ำคันทวน เพื่อที่จะให้นิ้วมีกำลังที่จะบังคับซอให้พลิกหรือหมุนได้ ในระหว่างการบรรเลง โดยให้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ซ้าย เป็นตัวบังคับซอได้

การวางนิ้ว มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ )

หมายเหตุ ทุกนิ้วบนสายเอกของซอสามสาย ให้ใช้ปลายนิ้วแตะข้างสาย แล้วแทงขึ้น ไม่ใช้กดลงไปบนสายสายกลาง สายเปล่า มีเสียง เร

   

(สายสาม) นิ้วชี้ มีเสียง ที

นิ้วกลาง มีเสียง โด

นิ้วนาง มีเสียง เร

วิธีแบ่งคันชักซอสามสายโดยปกติคันชักซอ ไม่ว่าจะเป็น ซอด้วง ซออู้ หรือ ซอสามสาย จะแบ่งคันชักออกได้เป็น 4 ส่วน การใช้คันชักจะมีชื่อเรียกดังนี้

  1. ใช้เต็มคันชัก เรียกว่า คันชักสี่ หมายความว่า เมื่อเริ่มต้นคันชักออกอยู่ในจังหวะฉิ่ง และเมื่อดันคันชักเข้าจะอยู่ในจังหวะฉับ ใช้ครึ่งคันชัก เรียกว่า คันชักสอง ใช้ ? คันชักเรียกว่า คันชักหนึ่ง ใช้ส่วนปลาย หรือ โคนคันชัก ร่วมกับคันชักสี่ เรียกว่า คันชัก หก
  2. ใช้เต็มคันชัก แต่กดนิ้วเป็นแปดเสียง เรียกว่าคันชักแปด[1]
  1. "ประวัติซอสามสาย - stu554802003". sites.google.com.