เป็นมากกว่าติวเตอร์ เป็นมากกว่าครู

ติวเตอร์ที่มีประสบการณ์สอนนักเรียนมาแล้ว คงจะรู้กันดีและเชี่ยวชาญในการเลือกรูปแบบการสอน สำหรับน้องๆแต่ละคนกันดีอยู่แล้ว แต่สำหรับพี่ติวเตอร์ที่เพิ่งเริ่มสอน อาจจะยังไม่เชี่ยวพอ วันนี้ผมเลยจะมาพูดถึงเรื่องรูปแบบการสอน ให้ติวเตอร์ใหม่ๆนำไปใช้กันนะครับ

★ จุดประสงค์การเรียน ★

ก่อนที่พี่ๆติวเตอร์จะเลือกรูปแบบการสอน ก็ต้องดูถึงจุดประสงค์การเรียนของน้องๆกันก่อนนะครับ ซึ่งจุดประสงค์การเรียน หลักๆเลยจะมีตามนี้ครับ

1. ปรับพื้นฐาน ถือว่าเป็นจุดประสงค์หลักๆเลยที่นักเรียนระดับประถม ถึง ม.ปลาย มักจะมีจุดประสงค์แบบนี้ ซึ่งก็ปกติเลยครับ เพราะน้องๆมีปัญหาเรื่องการเรียน ถึงต้องเรียนพิเศษ การต้องการเรียนเพื่อปรับพื้นฐาน นั้น ไม่จำกัดว่า ต้องเรียนเนื้อหาอะไร ระดับไหน ขอให้น้องเข้าใจมากขึ้น เข้าใจเพิ่มขึ้น และรู้ในสิ่งที่อาจจะไม่เคยรู้มาก่อนเลย นั่นคือสิ่งที่พี่ติวเตอร์ต้องหาให้เจอว่าอะไรที่น้องต้องรู้ และเข้าใจ เพื่อให้การเรียนในปัจจุบันง่ายขึ้น

2. เพิ่มเกรด การเรียนเพื่อเพิ่มเกรด อันนี้ชัดเจนเลยครับว่าต้องการอะไร ค่อนข้างจะเป็นรูปธรรม มากๆ คือการสอนให้น้องเข้าใจ เนื้อหาวิชานั้นๆที่กำลังเรียนและทำให้ผลการเรียนดีขึ้น เพราะฉะนั้นติวเตอร์จะสอนแบบไหนก็ได้ แต่น้องต้องได้เกรดดีขึ้น ซึ่งจริงๆแล้วในบางเคสก็อาจจะรวม ถึงการปรับพื้นฐานให้น้องๆด้วยนะครับ

3. ติวสอบ การเรียนเพื่อติวสอบนี้ก็ชัดเจนครับว่า เน้นการเรียน เพื่อไปทำข้อสอบ อาจจะเป็นการสอบในโรงเรียน จะกลางเทอม ปลายเทอม สอบย่อย สอบใหญ่ก็ช่าง หรือเป็นการติวสอบเข้า ม.1 สอบเข้า ม.4 สอบ GAT Pat หรือเป็นการเรียนเพื่อสอบแข่งขันรายการต่างๆ ที่มีกัยเยอะแยะไปหมด ทั้ง สสวท. สอวน. TEDET และรายการอื่นๆ (ติวเตอร์ต้องศึกษากันไว้นะครับว่าน้องๆ ในระดับชั้นไหนมีสอบอะไรกันบ้าง)

4. การนำไปใช้จริง การเรียนเพื่อนำไปใช้จริงส่วนใหญ่จะเป็นคนทำงาน ที่ต้องการเรียนสนทนาภาษาต่างๆ หรือเรียนคอมพิวเตอร์ หรือเรียนบัญชี ที่เรียนแล้วนำไปใช้ในการทำงาน หรือใช้ในชีวิตประจำวันได้ทันที

5. การเสริมทักษะ จริงๆก็คล้ายๆกับการเรียนเพื่อนำไปใช้จริงๆเหมือนกัน แต่ที่แยกออกมาเพราะการเรียนเพื่อเสริมทักษะอาจจะใช้ กับน้องเล็กๆ ระดับอนุบาล ประถมต้น ที่ต้องการเรียน เพื่อให้น้องมีทักษะเรื่องนั้นๆ และนำไปต่อยอดได้ เช่น เรียนภาษา หรือเรียนการคิดคำนวณ หรือคอมพิวเตอร์


★ รูปแบบการสอน ★

รู้เกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนกันแล้ว ทีนี้มาดูเรื่อง รูปแบบการสอน กันบ้างนะครับ ในเรื่องรูปแบบการสอนนี้ เน้นว่าเป็นการสอนแบบตัวต่อตัว และสอนแบบติวเตอร์ นะครับ ไม่ใช่สอนแบบคุณครู

ซึ่งจะว่าจริงๆแล้ว การสอนแบบติวเตอร์นั้นง่ายกว่าการสอน แบบที่คุณครูสอนในโรงเรียน เพราะว่าติวเตอร์นั้นจะมี วิธีการที่ชัดเจนสำหรับจุดประสงค์ที่ชัดเจนกว่า ยิ่งเป็นการสอนแบบตัวต่อตัวแล้วยิ่งชัดเจนมากๆ มาดูกันครับว่ามีรูปแบบการสอนแบบไหนกันบ้าง

1. การสอนแบบปูเรื่องทักษะ

รูปแบบการสอนแบบนี้เน้นเสริมทักษะที่น้องตกหล่นไป จากการเรียนที่โรงเรียน ซึ่งใช้กับการสอนเพื่อปรับพื้ฯฐาน ให้น้องๆ ยกตัวอย่างคณิตศาสตร์ ถ้าน้องคำนวณไม่คล่อง ไม่ว่าน้องจะเรียนเรื่องอะไรก็ตาม ก็ต้องมาว่าเรื่องนี้กันก่อน หรือน้อง ม.ปลาย เรียนแคลคูลัส แต่เรื่องฟังก์ชั่นยังไม่เข้าใจ ก็ต้องทำให้เข้าใจก่อน หรือภาษาอังกฤษ ถ้าเรื่องพื้นฐาน การใช้ Verb Adverb Noun Pronoun Adjective ยังงงงง อยู่ ก็อย่าเพิ่งไปสอนเรื่องอื่นๆเลย

2. การสอนแบบนำไปประยุกต์ใช้ทำโจทย์ เป็นรูปแบบการสอนสำหรับนักเรียนที่เข้าใจเรื่องนั้นๆดีอยู่แล้ว เป็นการเน้นการนำไปใช้แบบพลิกแพลงได้ทุกรูปแบบ การสอนแบบนี้ ใช้กับการสอนเพื่อติวสอบใช้ได้ทุกรายการ โดยเฉพาะพวกข้อสอบแข่งขัน โดยเนื้อหา และโจทย์ อาจจะออกแนวแอดว๊านซ์หน่อย เช่นโจทย์ประถมปลาย หลายข้อสามารถใช้วิธีของ ม.ต้นได้

3. การสอนแบบฝึก ฝึก ฝึก เป็นรูปแบบการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถทำโจทย์ได้เร็วขึ้น และทำให้น้องๆมีความมั่นใจ เนื่องจากผ่านการฝึกทำโจทย์ มาทุกรูปแบบ การสอนแบบนี้ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการติวสอบ เหมือนกัน แต่อาจจะเน้นการสอบในโรงเรียน หรือการเรียน เพื่อเพิ่มเกรด เพราะการฝึกทำโจทย์เยอะๆ ช่วยให้น้อง ทำข้อสอบได้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น

4. การสอนแบบ ช้าๆ ซ้ำๆ วนๆ เป็นรูปแบบการสอนเพื่อปรับพื้นฐานให้น้องๆ เพราะว่า นักเรียนหลายๆคน อาจจะไม่มีทักษะวิชานั้นๆเลย ยกตัวอย่าง น้องบางคน ภาษาได้ แต่คณิตไม่ได้เลย หรือบางคนเก่งเลข แต่ภาษาแย่ ก็มีให้เจอบ่อยๆ แบบนี้ติวเตอร์จะสอนแบบตามใจตัวเองไม่ได้ ต้องเน้นสอนเพื่อย้ำให้นักเรียนเข้าใจแบบจริงจัง การสอนแบบนี้อาจจะต้องสอนแล้ว มาทบทวนกัน อยู่เรื่อยๆ กันน้องลืม

5. การสอนแบบมีกิจกรรม เป็นรูปแบบการสอนสำหรับเด็กเล็กๆ ที่อาจจะสมาธิหลุด เพื่อให้น้องรู้สึกไม่เบื่อ และสนใจเรียน จำเป็นที่จะต้อง ทำให้น้องสนุกแต่ต้องแฝงเนื้อหาเข้าไปด้วย ยกตัวอย่างกิจกรรมเช่น ร้องเพลง วาดรูป เล่นบอร์ดเกมส์ หรืออื่นๆ ที่สำคัญคือกิจกรรมนั้นๆต้องเสริมความรู้ด้วย


รูปแบบการสอนที่กล่าวมาเป็นแค่บางส่วน แต่ละรูปแบบ สามารถนำมาผสมกัน เพื่อใช้สำหรับนักเรียนเฉพาะนักเรียน แต่ละคนได้ ซึ่งติวเตอร์ที่สอนแบบตัวต่อตัว มีประสบการณ์ แล้วก็จะเลือกใช้กับนักเรียนได้เหมาะสม


★ สิ่งที่สำคัญคือ ★ การสอนนักเรียนแต่ละคนได้อย่างเหมะสมนี่แหละครับ แต่มีสิ่งที่สำคัญมากกว่านั้นอีก คือ การวิเคราะห์นักเรียน ได้ ติวเตอร์ชั้นเซียนต้อง

= แก้

ดูนักเรียนออก บอกนักเรียนได้ และใช้รูปแบบการสอนเป็น

= แก้

ขอให้พี่ๆติวเตอร์เข้าใจนักเรียน รู้ว่านักเรียนคิดยังงัย ไม่เข้าใจตรงไหน ทำไมถึงไม่เข้าใจ และจะทำยังงัยถึงจะเข้าใจ ทำยังงัยถึงจะแม่นยำ ทำได้เร็วขึ้น และไม่ผิดพลาด ถ้าพี่ติวเตอร์ ทำได้ รับรองว่านักเรียนไม่หนีไปไหนครับ