กระบวนการสรรหาคัดเลือกบุคลากร

การสรรหาและคัดเลือกบุคลากรเพื่อให้ได้คนที่ใช่ มีวิธีการหลากหลาย และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันไปแล้วแต่องค์กร บางองค์กรก็มีรูปแบบการคัดกรอง หรือชุดคำถามสำหรับทดสอบที่เป็นของตนเอง บางองค์กรก็มีบทสัมภาษณ์ที่อิงหลักการทฤษฎีตามสมัยนิยม แต่ส่วนใหญ่แล้วขั้นตอนในการสรรหาคัดเลือกก็จะคล้าย ๆ กัน เกณฑ์การคัดเลือกหลัก ๆ ที่นิยมใช้กันก็คือ คุณสมบัติตรงตำแหน่งที่ต้องการ สามารถทำงานได้ และเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้ นั่นคือ can do และ culture fit

กระบวนการในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร เพื่อให้มั่นใจว่าได้คนที่ใช่มีดังนี้

- วิเคราะห์หาความต้องการของงาน ว่าต้องการคนที่มีคุณสมบัติอย่างไร

- ประกาศรับสมัครหรือเสาะแสวงหาจากแหล่งที่น่าจะมีแคนดิเดตที่ตรงตามต้องการ

- คัดกรองผู้สมัครเบื้องต้น ประเมินทักษะความรู้และประสบการณ์ที่ผ่านมา

- นัดหมายเข้ามาสัมภาษณ์ตัวต่อตัว

- ทดสอบด้วยเครื่องมือวิธีการต่าง ๆ

- ตรวจสอบบุคคลอ้างอิง เช็คประวัติย้อนหลัง

- กลั่นกรองแคนดิเดตที่เข้าตา

- คัดเลือกรอบสุดท้าย

- แจ้งผลการสัมภาษณ์

- ยื่นข้อเสนอจ้างงาน

- รับเข้าทำงาน ปฐมนิเทศพนักงาน

- ติดตามความคืบหน้าหลังการรับเข้าทำงาน

- ค้นหาศักยภาพเพื่อพัฒนาคนเก่งต่อไป

ขั้นตอนดังกล่าว อาจจะมีมากบ้างน้อยบ้างในแต่ละองค์กร แต่แนวโน้มในการสรรหาว่าจ้างสมัยใหม่จะเน้นการหาคนที่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นหลัก แล้วมาพัฒนาทักษะที่ต้องการต่อโดยใช้การฝึกอบรมและพัฒนา แต่ข้อสำคัญคือพนักงานจะต้องมีศักยภาพในการเรียนรู้ที่สูงพอสมควร องค์กรใดที่สามารถลดขั้นตอนให้สั้นและเร็วกว่าคู่แข่งได้ ก็มีแนวโน้มที่จะได้คนเก่งมาร่วมงานได้ก่อนนั่นเอง