มดเป็นแมลงชนิดหนึ่งในตระกูล Formicidae เราพบเห็นมดในทุกหนแห่ง นอกจากใน ทวีปแอนตาร์กติกาที่มีน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี มดเป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถหลายด้าน และมีพฤติกรรมที่น่าสนใจมาก ถึงระดับที่ทำให้มันเป็นสัตว์ที่คนสนใจศึกษามากที่สุด

ถึงแม้มดจะมีน้ำหนักตัวเบาเมื่อเทียบกับคนก็ตาม แต่ถ้าเราชั่งน้ำหนักของมดทั้งโลก เราก็จะพบว่ามันมีน้ำหนักพอๆ กับคนทั้งโลกทีเดียว

นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่ามดมีวิวัฒนาการจากแมลงดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตเป็นกา ฝากตามตัวแมลงชนิดอื่น และถือกำเนิดเกิดมาบนโลกเมื่อประมาณ 40 ล้านปีมาแล้ว

           แต่ในวารสาร Nature ฉบับวันที่ 29 มกราคมที่ผ่านมานี้ D. Agosti แห่ง American Museum of Natural History ที่ New York ในสหรัฐอเมริการและคณะได้รายงานว่าเขาได้ พบซากฟอสซิล ของมดที่มีอายุถึง 92 ล้านปี ซึ่งนับว่าดึกดำบรรพ์กว่าที่คิดเดิมถึง 2 เท่าตัว ในยางสนของต้นไม้ต้นหนึ่งในรัฐ New Jersey สหรัฐอเมริกา ซากมดที่เขาพบนี้เป็นซากของ มดงานตัวเมีย 3 ตัว และตัวผู้ 4 ตัว มดกลุ่มนี้มีอวัยวะและต่อมาของร่างกายที่ชัดเจนว่าเป็น มด เช่น มีต่อม metapleural ที่ทำหน้าที่ขับสารปฏิชีวนะออกมาเพื่อปกป้องมดมิให้เป็น อันตรายจากการถูกจุลินทรีย์คุกคาม จึงทำให้มันสามารถดำรงชีพอยู่ใต้ดินหรือตามต้นไม้ที่ เน่าเปื่อยได้สบายๆ และยังใช้สารเคมีที่ขับออกมาจากต่อมนี้ในการติดต่อสื่อสารถึงกัน อันมี ผลทำให้มันเป็นสัตว์สังคมที่ดีที่สามารถ ในที่สุด Agosti และคณะจึงคาดคะเนว่า มดคงถือ กำเนิดเกิดมาบนโลกเมื่อ 130 ล้านปีก่อน ซึ่งยุคนั้นเป็นยุคที่นักธรณีวิทยาเรียกว่ายุค Cretaceores และเป็นยุคที่ไดโนเสาร์ยังครองโลกอยู่ แต่มดก็มิได้มีบทบาทสำคัญทันทีทันใด มดเริ่มมีความหลากหลายทางชีวภาพในยุคต่อมาคือยุค Tertiary คือ เมื่อไดโนเสาร์สูญพันธุ์ ไปจนหมดสิ้นแล้ว ปัจจุบันมดมีความสำคัญต่อระบบนิเวศของโลกมาก โดยเฉพาะในบริเวณ เขตร้อนของโลกป่าดงดิบ ในเขตนี้จะขาดมดไม่ได้เลย

           นักชีววิทยาได้ศึกษาธรรมชาติของมดมานานกว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว และได้พบว่ายิ่ง ศึกษามดมากขึ้นเพียงใด เขาก็ยิ่งทึ่งในความสามารถของมันมากขึ้นเพียงนั้น เมื่อ 5 ปีก่อน นี้ B.Holldobler และ E.O. Wilson ได้เขียนวรรณกรรม The Ants บรรยายธรรมชาติของมด ตั้งแต่วิวัฒนาการตลอดจนพฤติกรรมทุกรูปแบบของมดจนทำให้หนังสือเล่มนี้ได้รับรางวัล pulitzer ของอเมิรกา และใครที่อ่านหนังสือเล่มนี้มักจะคิดว่ามนุษย์รู้จักมดดีแล้วแต่ความ จริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเรากำลังได้รับความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับมดอยู่ตลอดเวลา เช่น C.Errand แห่งมหาวิทยาลัย Paris ได้เคยรายงานไว้ในวารสาร Animal Behavior เมื่อ 2 ปี ก่อนนี้ว่า มดที่อยู่ในอาณาจักรเดียวกันจะมีความสนิทสนมกันและคุ้นเคยกันโดยอาศัย กลิ่นจากสารเคมี pheromone ที่มดขับออกมาจากร่างกาย เพราะหลังจากที่ได้ทดลองเลี้ยง มดให้อยู่ด้วยกันนาน 3 เดือน แล้วจับแยกกันนาน 18 เดือน มันก็ยังจำเพื่อนของมันได้


               ส่วนมด Formica selysi นั้น Errand ก็ได้พบว่าตามธรรมดาเป็นมดกาฝากที่ชอบเกาะมด อื่นๆ กิน ราชินีของมดพันธุ์นี้มักจะใช้ความสามารถในการปลอมกลิ่นบุกรุกเข้ารังมดพันธุ์อื่น แล้วฆ่าราชินีมดเจ้าของรัง จากนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชินีมดเจ้าของรัง จากนั้นก็ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นราชินีแทน แล้วบังคับมดงานทั้งหลายให้ทำงานสนองความต้องการ ของตนเองทุกรูปแบบ

เมื่อไม่นานมานี้นักชีววิทยากลุ่มหนึ่งได้ศึกษามด Polygerus ที่ทำรังอยู่ตามลุ่มน้ำ อะเมซอนในบราซิล และได้พบว่ามดพันธุ์นี้มีความเชี่ยวชาญในการล่าทาสมาก คือเวลามัน ทำสงครามมดชนะมันจะบุกเข้ายึดรังมดที่แพ้สงครามแล้วจับมดทาสที่ประจำอยู่ในรังนั้นมา เป็นทาสรับใช้มัน จากนั้นมันจะขนไข่มดที่แพ้สงครามกลับไปพักที่รังมันทันทีที่ไข่สุกลูกมด ใหม่จะมีจิตใจเป็นทาสยินยอมรับใช้มด Polygerus โดยไม่ต้องสั่ง มดทาสนั้นตามปกติมีฐานะ ทางสังคมต่ำสุด มันจึงไม่มีสิทธิ์สืบพันธุ์ใดๆ ดังนั้นเวลามดทาสตาย มดนายก็ต้องออก สงครามเพื่อล่ามดทาสมารับใช้มันอีก เพราะถ้าไม่ออกศึกหาทาสมันก็จะอดอาหารตายเมื่อ มีมดทาสแล้ว วันๆ มันจะนั่งอ้อนขออาหารจากมดทาสตลอดเวลา

               ส่วนมด Aolenopsis invicta ซึ่งเป็นมดคันไฟที่มีชีวิตอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ และขณะนี้กำลัง คุกคามผู้คนและที่อยู่อาศัยในทวีปอเมริกาเหนืออยู่ R. Hickling แห่งมหาวิทยาลัย Mississippi ในสหรัฐอเมริกา ได้พบว่ามันสามารถติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงและกลิ่นได้ โดยเขาได้ถ่ายภาพมดชนิดนี้และบันทึกเสียงของมดและเขาได้พบว่าเวลามดตกใจมันจะส่ง เสียงดังหรือเวลาศัตรูปรากฏตัวให้เห็นอย่างทันทีทันใดมันก็จะส่งเสียงอื้ออึงเหมือนกัน

เพราะเหตุว่าเสียงเดินทางได้เร็วกว่าโมเลกุล Pheromone ของกลิ่น ดังนั้นมดจะใช้เสียง เฉพาะในกรณีสำคัญๆ เท่านั้น

ส่วนมด Pheidole palidula เวลาถูกศัตรูข่มขู่จะโจมตี มันจะสร้างไข่อ่อนที่จะให้กำเนิด มดทหารมากกว่าปกติเพื่อมาปกป้องรังของมัน ให้รอดพ้นจากการถูกโจมตีและเมื่อใดที่มด วรรณะหนึ่งๆ ถูกศัตรูฆ่าตายหมดทุกตัวแล้วมดวรรณะอื่นก็จะเข้ามาทำหน้าที่แทนและนั่นก็ หมายความว่ามดชนิดนี้เปลี่ยนวรรณะทางสังคมของมันได้เมื่อมีความจำเป็น

การที่มดมีการแบ่งชั้นวรรณะเช่นนี้ ได้ทำให้นักชีววิทยาบางคนคิดว่า มดเป็นสัตว์ที่มี สติปัญญาเฉลียวฉลาดยิ่งกว่าลิง การมีสติปัญญาที่สูงในสมองที่เล็กนี้ได้ทำให้มันมีวัฒนธรรม หนึ่งที่ประเสริฐยิ่งกว่าคน คือความรู้สึกสามัคคีทุกหมู่เหล่าของมดเพราะสังคมมดเป็นสังคม สหชีวิตที่ชีวิตทุกชีวิตมีความหมายต่อทุกชีวิตอื่น อย่างที่เรียกกันว่า altruism ที่สังคมคนไม่มี ครับ

               นอกจากนี้มดยังจำทิศทางได้เป็นอย่างดี นักชีววิทยาชาวอเมริกันได้ศึกษาถึงวิธีการที่มดจำทิศทางกลับไปยังแหล่งอาหาร โดย วางกรวยสีดำสูงประมาณ 10 เซนติเมตรบนโต๊ะ และวางน้ำตาลไว้ใกล้ๆ มดแต่ละตัวจะถูก ปล่อยให้ออกจากรังเพื่อไปยังน้ำตาลตัวละเที่ยว เขาพบว่าขณะกลับรังหลังจากพบน้ำตาลแล้ว มดจะหันหลังไปดูกรวยสีดำ และน้ำตาลบ่อยๆ เมื่อกลับมาที่น้ำตาลอีกครั้งมดจะเดินมาใน แนวทางเดิม

เนื่องจากมดมีสมองที่เล็กมาก (น้อยกว่า 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร) การมองเห็นไม่ดี ระบบ การมองเห็นเป็นแบบง่ายๆ ตาของมดไม่สามารถหมุนรอบได้ ดังนั้นภาพที่ตกบนจอรับภาพ (เรตินา) ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตัวมดเมื่อหยุดมองสิ่งที่สังเกตมดจะจำวัตถุนั้นๆ ได้อย่างที่ตา เคยมองเห็น ถ้าเห็นวัตถุนั้นอีกแต่อยู่ในสภาพแวดล้อมอื่น มดจะจำวัตถุนั้นไม่ได้ เมื่อให้มด ไปยังน้ำตาลและกลับรังหลายๆ ครั้ง มดจะหาสิ่งที่เป็นสังเกตมากขึ้น มดที่รู้แหล่งอาหารแล้ว เมื่อจะกลับไปที่แหล่งอาหารอีกก็จะปล่อยสารเคมีที่เรียกว่าฟีโรโมนไปตามทางที่เกิน เพื่อให้ มดที่เหลือนั้นตามไปได้ถูกทาง มดที่เดินตามโดยอาศัยฟีโรโมนก็หาสิ่งที่เป็นสังเกตสำหรับ ตนเองเช่นกัน ทำให้ในการไปแหล่งอาหารครั้งต่อไปทำได้เร็วขึ้น

วรรณะมด มดราชินี (queen) เป็นมดเพศเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก่อนที่จะเป็นมดราชินี จะเป็นมดเพศเมีย (female) ธรรมดาก่อน เป็นมดมีปีก เมื่อผสมพันธุ์แล้วจะสลัดปีกทิ้งไป แล้วเริ่มสร้างรังวางไข่ มดราชินีจะเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของมดทั้งรัง ตั้งแต่กำหนดเพศ จำนวนประชากร และพฤติกรรมต่างๆ เปรียบเหมือนเป็นศูนย์รวมของมดทุกชีวิตเลยก็ว่าได้ หากมดราชินีถูกฆ่าตาย มดตัวอื่นๆ จะขาดที่พึ่งและแตกกระจายกันไปไม่มีจุดหมาย อยู่เพื่อรอวันตายซึ่งอาจจะตายเองหรือถูกสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร โดยทั่วไปมดรังหนึ่งจะมีมดราชินีเพียงตัวเดียวเท่านั้น มดเพศผู้ (male) เป็นมดตัวผู้ มีปีกมีขนาดใกล้เคียงกับมดงาน มีหน้าที่เพียงแค่ผสมพันธุ์อย่างเดียว ในรังหนึ่งมีมดเพศผู้อยู่ไม่มาก และจะเกิดเพียงรุ่นเดียวเท่านั้นในรอบปี มดงาน(worker) เป็นมดตัวเมียที่เป็นหมัน ไม่มีปีก มีหน้าที่คอยหาอาหารป้องกันศัตรู ดูแลรังไข่และตัวอ่อนรวมทั้งมดราชินี มดที่เราเห็นส่วนใหญ่ล้วนเป็นมดงานทั้งสิ้น มดรังหนึ่งจะมีมดงานจำนวนมากเพราะเกิดได้หลายรุ่นในรอบปี มดบางชนิดยังอาจแบ่งมดงานเป็น “มดทหาร” ซึ่งมีขนาดลำตัวใหญ่ (แต่เล็กกว่ามดราชินี) อาจพบได้ภายในรังและบริเวณใกล้รังเพื่อป้องกันศัตรูต่างๆ อีกประเภทหนึ่งคือ “มดกรรมกร” มีขนาดเล็กกว่ามดทหาร พบได้ในบริเวณที่ห่างรังออกไปเนื่องจากต้องไปหาอาหารตามที่ต่างๆ

[1]

  1. โดย สุทัศน์ ยกส้าน "มดศึกษา" และ สมศรี ตั้งมงคลเลิศ "มดจำทิศทางได้อย่างไร" วารสาร สสวท ฉบับที่ 101 เม.ย.- ม.ย. 2541