การกวัดแกว่งนิวทริโน (อังกฤษ: Neutrino oscillation) หรือการกวัดแกว่งเฟลเวอร์ของนิวทริโนเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อนิวทริโนมีการเคลื่อนที่ผ่านอวกาศ นิวทริโนเป็นอนุภาคมูลฐานที่มี 3 เฟลเวอร์ ได้แก่ นิวทริโนอิเล็กตรอน นิวทริโนมิวออน นิวทริโนเทา แต่ละตัวจะมีตัวเลขเลปตอนของตัวเอง เมื่อนิวทริโนถูกสร้างขึ้นมามีตัวเลขเลปตอนค่าหนึ่ง มันสามารถเปลี่ยนตัวเลขเลปตอนได้เมื่อมีการเคลื่อนที่

การกวัดแกว่งนิวทริโนถูกนำเสนอครั้งแรกในปี 1957 โดยบรูโน ปอนเตคอร์โว (Bruno Pontecorvo) และได้ถูกพิสูจน์ในทางการทดลองมากมายหลายวิธีการ ความโดดเด่นของการกวัดแกว่งนิวทริโนคือการแก้ปัญหานิวทริโนสุริยะที่มีมายาวนาน

การกวัดแกว่งนิวทริโนมีความน่าสนใจทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงการทดลองเพราะสามารถนำมาอธิบายและศึกษาคุณสมบัติของนิวทริโนได้ โดยเฉพาะการบอกว่านิวทริโนเป็นอนุภาคมีมวลซึ่งขัดแย้งกับการทำนายโดยแบบจำลองมาตรฐานในฟิสิกส์อนุภาค การค้นพบปรากฏการณ์นี้และวัดค่ามวลของนิวทริโนโดยหอสังเกตการณ์ Super-Kamiokande และหอสังเกตการณ์นิวทริโน Sudbury ส่งผลให้มีนักฟิสิกส์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2015

การสังเกต

แก้

ทฤษฎี

แก้

การกวัดแกว่งนิวทริโนเกิดจากการผสมระหว่างสถานะเจาะจงของเฟลเวอร์และสถานะเจาะของมวลของนิวทริโน กล่าวคือสถานะของนิวทริโนทั้งสามชนิดที่มีอันตรกิริยากับตัวเลขเลปตอนในอันตรกิริยาแบบอ่อนเป็นการซ้อนทับของสถานะมวลของนิวทริโน (ที่เคลื่อนที่) ทั้งสามชนิด นิวทริโนถูกปลดปล่อยและดูดกลืนในกระบวนการอย่างอ่อนในสถานะเจาะจงเฟลเวอร์ แต่เคลื่อนที่ในฐานะสถานะเจาะจงมวล

เมื่อนิวทริโนเคลื่อนที่ผ่านอวกาศ เฟสในทางควอนตัมของสถานะมวลของนิวทริโนทั้งสามจะเปลี่ยนแปลงในอัตราที่แตกต่างกันเนื่องจากมีมวลที่แตกต่างกัน