ผู้ใช้:Bananabacon/กระบะทราย

พิธีกรรมในงานศพไทย ชีวิตของมนุษย์เรามีความเกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีมาโดยตลอด ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวันตายคราวนี้ เป็นเรื่องราวรายละเอียดประเพณี พิธีกรรมที่เกี่ยวกับความตายและการทำบุญให้แก่ผู้ล่วงลับ[1] โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่ พิธีรดน้ำศพ พิธีสวดอภิธรรม และพิธีฌาปณกิจ


พิธีรดน้ำศพ แก้

 
พิธีรดน้ำศพ

ก่อนที่จะนำศพใส่โลงเมื่อมีคนสิ้นลมหายใจแล้ว จะนำศพมาทำพิธี ซึ่ง พิธีที่จะทำเริ่มแรก คือ การอาบน้ำศพหรือที่เรียกกันว่า พิธีรดน้ำศพ ซึ่งการรดน้ำศพจะจัดพิธีหลังจากคนตายไปไม่นานนัก โดยใช้น้ำมนต์ผสมน้ำสะอาด โรยด้วยดอกไม้หอมหรืออาจะใช้น้ำอบผสมด้วย ผู้ที่มารดน้ำศพจะรดที่มือข้างหนึ่งของผู้ตายที่ยื่นออกมาและกล่าวคำไว้อาลัย[2] ถือเป็นพิธีเริ่มต้นเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ตาย มักเชิญคนสนิท คนรู้จักหรือผู้ที่เคารพนับถือไปรดน้ำศพเพื่อแสดงความเคารพต่อผู้ที่จากไปเมื่อท่านไปถึงในพิธีควรจะทักทายและแสดงความเสียใจต่อเจ้าภาพ จากนั้นจึงนั่งรอในที่จัดเตรียมไว้ เจ้าภาพจึงจะเชิญท่านไปรดน้ำยังบริเวณที่ตั้งศพ ท่านจึงทำความเคารพศพและเทน้ำอบที่เจ้าภาพได้จัดเตรียมไว้ลงบนฝ่ามือและอโหสิกรรมให้กับผู้ที่ล่วงลับ







พิธีสวดอภิธรรม แก้


 
พิธีสวดอภิธรรม

งานสวดอภิธรรมหรืองานสวดศพ จัดขึ้นเพื่ออุทิศบุญส่วนกุศล รวมถึงระลึกถึงคุณความดีของผู้ที่ล่วงลับ ด้วยการเชิญพระมาสวดบทอภิธรรมที่มีความหมายเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ส่วนใหญ่มักจัดเป็นงานบุญ 7 วันในตอนกลางคืน
ในส่วนนี้เองที่มักมีการส่ง พวงหรีดไปร่วมแสดงความไว้อาลัยแก่ผู้ที่ล่วงลับ โดยอาจเลือกพวงหรีดที่สวยงามสามารถย่อยสลายง่ายและทำจากวัสดุธรรมชาติหรือพวงหรีดผ้าที่มีการจัดเตรียมอย่างสวยงามไม่แพ้พวงหรีดดอกไม้สด รวมถึงสามารถสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ ซึ่งการติดตั้งพวงหรีดไม่ควรติดตั้งเอง ควรส่งให้กับเจ้าภาพหรือผู้ที่ดูแลนำไปติดตั้ง

เมื่อเข้ามาในศาลาที่ตั้งโลงศพ ควรกราบพระก่อนด้วยเบญจางคประดิษฐ์ จากนั้นจึงจุดธูป 1 ดอกเพื่อไหว้เคารพตามความเหมาะสม เช่น หากผู้ตายเป็นผู้สูงอายุ ให้กราบ 1 ครั้งแบบไม่แบมือ
• หากผู้ตายเป็นพระภิกษุสงฆ์ ให้กราบเบญจางคประดิษฐ์
• หากผู้ตายอยู่ในวัยเดียวกัน ให้ยืนคำนับหรือนั่งไหว้
• หากผู้ตายเป็นผู้น้อยหรืออายุน้อยกว่า ให้ยืนหรือนั่งในท่าสงบ[3]
หลังจากที่การสวดอภิธรรมเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่จากไป ด้วยพิธีทอดผ้าบังสุกุลและถวายของจตุปัจจัยให้แก่พระสงฆ์ จากนั้นเป็นการกรวดน้ำให้แก่ผู้ที่ล่วงลับ จึงจบพิธีสวดอภิธรรมในแต่ละคืน


พิธีฌาปนกิจ แก้


 
พิธีฌาปณกิจ

นับเป็นพิธีกล่าวอำลาในครั้งสุดท้ายกับผู้ที่ล่วงลับ ในตอนเช้าของพิธีมักจะให้ญาติหรือลูกหลานช่วยกันหามโลงศพ เพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย โดย การเวียนศพต้องเวียนซ้ายต่างกับการเวียนเทียนหรือแห่นาคซึ่งเป็นงานมงคลจะทำการเวียนขวาเรียกว่า ทักษิณาวรรต การเวียนศพ ๓รอบเป็นการเวียนเพื่อไว้อาลัยแก่ผู้ตาย และเป็นปริศนาธรรมเกี่ยวกับพระไตรลักษณ์ คืออนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์ในสามภพ คือ ในโลกนรก และสวรรค์ [4]
ก่อนจะทำพิธีฌาปนกิจจะมีการกล่าวชีวประวัติของผู้ล่วงลับ เพื่อระลึกถึงคุณความดีและให้ผู้มีชีวิตอยู่ตระหนักถึงสัจธรรมของชีวิต จึงทำการทอดผ้าบังสุกุล จากนั้นเจ้าภาพในงานจึงจะรับเชิญให้เริ่มพิธี โดยให้ท่านนำธูปเทียนสำหรับขอขมาศพและดอกไม้จันทน์ค่อยๆ เดินตามขึ้นเมรุเผา จากนั้นนำดอกไม้จันทน์วางที่ใต้เชิงตะกอนสำหรับจุดไฟ หรือนำดอกไม้จันทน์และธูปเทียนวางหน้าพานศพ อาจไหว้เคารพหรือกล่าวขอขมาในใจก่อนค่อยวางดอกไม้จันทน์และธูปเทียนลง แล้วจึงเดินลงบันไดอีกข้างหนึ่ง เพราะหากเดินย้อนกลับไปทางที่ขึ้นมาจะทำให้ขวางทางเดินผู้อื่นได้[5]



รายการอ้างอิง แก้

  1. "พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการตาย". http://www.traphangthong.org. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |publisher= (help)
  2. "พิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย". มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
  3. "จะทำตัวอย่างไรเมื่อไป "งานศพ"". สายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์ นิตยสารผู้จัดการ (มิถุนายน 2528).
  4. "พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการตาย". http://www.traphangthong.org. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |publisher= (help)
  5. "ข้อปฏิบัติเวลาไปงานศพ". www.lewreath.com.