ผู้ใช้:Bah1986/กระบะทราย

กิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะภาษาและการเขียนของเด็กปฐมวัย

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

แก้
ความหมายของกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์

ความหมายของกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ กิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์เป็นสิ่งมีคุณค่าต่อเด็ก และเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ควรจัดให้กับ เด็กเพื่อพัฒนาเด็กทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งนักการศึกษาหลายท่าน ได้ให้ความหมายของกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ ไวดังนี้

แทนสเลย (Tansley. 1960: 167-172) กล่าวว่า งานสร้างสรรค์ ในโรงเรียนเป็นรูปแบบ ที่ทําให้เด็กไดรับประสบการณ์ที่สมบูรณ ในการพัฒนาความเจริญงอกงามทุกดด้าน เช่น พัฒนาการ ทางด้านอารมณ์สติปัญญา ทําให้เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง 

ปีเตอร์สัน (Perterson. 1958: 101) กล่าวว่า เด็กทุกคนต้องการที่จะแสดงออกทางด้าน ความคิดและความรู้สึกต่างๆ ศิลปะเป็นแนวทางหนึ่งในการแสดงออกของเด็ก ซึ่งเด็กต้องการโอกาส ที่จะแสดงออก อีกทั้งยังสามารถ่ายทอดความรู้ความรู้สึก และความเข้าใจรวมทั้งบุคลิกภาพและ ความเป็นอิสระของเด็กออกมาไดซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ่ายทอดมาจากประสบการณ์และจิตนาการของเด็ก แต่ละคนนั้นเอง วิรุณ ตั้งเจริญ (2526: 28-29) ไดกล่าวไว้ว่า กิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์กิจกรรมที่ เด็กปฐมวัยสามารถแสดงความคิดสร้างสรรค์ฝึกประสาทสัมพันธ์และส่งเสริมเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ได้แก่ ร่างกาย อารมณ์สังคม สติปัญญา รวมทั้งช่วยให้เด็กมีสุขนิสัยที่ดีเกี่ยวกับการกิน เล่น ออกกําลังกาย และพักผ่อนอย่างถูกต้อง

วราภรณ์ รักวิจัย (2527: 36) กล่าวว่า กิจกรรมสร้างสรรค์หมายถึงกิจกรรมที่ส่งเสริม ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือและสายตาให้สัมพันธ์กันเพื่อ เตรียมพร้อมด้านการเรียนซึ้งสอดคลองกับ
เยาวพา เดชะคุปต์ (2528: 36-38) ที่กล่าวว่า กิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์หมายถึง กิจกรรมที่ส่งเสริมความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ช่วยพัฒนากล้ามเนื้อมือและสามารถใช้สัมพันธ์กัน เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการเขียน และมีโอกาสพัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน
เลิศ อานันทนะ (2529: 44) ได้สรุปการสอนศิลปศึกษาแบบสร้างสรรค์ ว่าการสอน ศิลปศึกษาตามแนวความคิดใหม่ที่ส่งเสริมการแสดงออกทางความคิดริเริ่มและความคิดจินตนาการเพื่อพัฒนาทางสมอง ร่างกาย สังคม และส่งเสริมความเจริญเติบโตทาง อารมณ์ จิตใจ การสอนให้ บรรลุถึงความมุ่งหมายของศิลปศึกษาครูจําเป็น จะต้องส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีการแสดงออก อย่างอิสระเสรี (Free Expression) ด้วยการทดสอบ ค้นคว้ากับวัสดุนานาชนิดอย่างกว้างขวางที่สุด โดยไมมีการใช้อํานาจบีบบังคับขู่เข็ญใดๆ ทั้งสิ้น มิฉะนั้นแล้วความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะไม่เกิดขึ้น 

จากข้างต้นสรุปได้ว่า กิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์คือแนวทางการศึกษาหนึ่งที่จะทำให้เด็กแสดงออกทาง ร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา อีกทั้งยังเป็นการสร้างให้เด็กมีความคิดริเริ่มและจินตนาการในการสรรสร้างผลงาน โดยไม่มีการตีกรอบหรือจำกัดขอบเขตอีกด้วย

การจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์สําหรับเด็กปฐมวัย

การจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์สําหรับเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์สําหรับเด็กปฐมวัย เป็นกิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งใน หลายๆ กิจกรรมที่ครูจัดให้กับเด็ก ครูต้องคํานึงถึงตัวเด็กเป็นสําคัญ ซึ่งการจัดกิจกรรมต้องสอดคลอง กับพัฒนาการทางศิลปะของเด็ก การเลือกกิจกรรมควรเลือก กิจกรรมที่ช่วยฝึกให้เด็กได้พัฒนาทั้ง ทางด้านร่างกาย อารมณ์จิตใจ สังคม และสติปัญญาไปพร้อมๆ กัน ซึ่ง (จุรีรัตนบุญรินทร์. 2547: 31) ได้ให้ความคิดเห็นว่าการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

1. เน้นที่กระบวนการขณะที่เด็กได้ลงมือทํางานศิลปะ ไม่ใช้เน้นที่ผลงานเพราะศิลปะ แสดงออกถึงประสบการณ์และความรูสึกของเด็ก 

2. คํานึงถึงอายุ ความสามารถ ความต้องการ และความสนใจของเด็ก

3. ส่งเสริมความคิดริเริ่มและความคิดที่อิสระ

4. ให้ความสําคัญกับความคิดสร้างสรรค์ การทํางานอย่างมีอิสระและยืดหยุ่น

5. ยอมรับอัตราพัฒนาการและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็กแต่ละคน

เบญจา แสงมะลิ (2545: 63-67) กล่าวว่า การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีสิ่งที่ควร คํานึงถึงขอเสนอแนะ ดังนี้ 

1. ความสนใจของแต่ละบุคคล ครูควรช่วยเหลือให้เด็กไดประสบการณที่เป็นผลสําเร็จ ตามความตองการของเด็ก สร้างเสริมเจตคติที่ดีต่อการผิดพลาดและการรูจักรับผิดชอบในการดูแล รักษาวัสดุพรอมทั้งสร้างความรูสึกมั่นคง โดยปล่อยให้เด็กมีอิสระในการคิด จิตนาการ เลือกและ ตัดสินใจ ครูมีหน้าที่ช่วยเหลือแนะนําเด็กเมื่อต้องการใช้คําถาม กระตุ้นความคิดและให้ความเห็น พ้องในความพยายามที่แท้จริงของเด็ก นอกจากนั้นครูควรมีความเป็นกันเอง จริงใจ และมีความ เข้าใจในตัวเด็กด้วย

2. การจัดสถานที่ เวลา และวัสดุให้พอเพียงเหมาะสม เพื่อให้เด็กไดเคลื่อนไหว อย่างอิสระเมื่อทํางานเป็น กลุ่มเล็กๆ บนพื้น บนโต๊ะ ภายในและภายนอกอาคารเรียนมอบความ ไว้วางใจแก่เด็กให้เด็กดูแลรักษาเครื่องมือ เครื่องใช้และวัสดุด้วยตนเอง เวลาที่ให้เด็กไม่ควรน้อย เกินไปจนเด็กต้องรีบร้อนในการกระทํา กิจกรรม การสํารวจ การวางแผน การเก็บทําความสะอาด หลังจากการทํางานเสร็จวัสดุที่ใช้ตองเตรียมไว้หลากหลายชนิดให้เด็กเลือกตามความพอใจ และ เหมาะสมกับอายุของเด็กเก็บรักษาง่าย และให้โอกาสเด็กมีประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส

3. การแสดงออกเชิงสร้างสรรค์ เด็กต้องการประสบการณ์ที่สมบูรณเพื่อช่วยกระตุ้น การแสดงออกสร้างสรรค์ ประสบการณนี้เริ่มจากการเล่นของเด็กในชีวิตประจําวัน การพูด การ สนทนา ความรูสึกในสิ่งที่เด็กเห็น ช่วยให้เด็กนึกถึงเหตุการณที่เกิดขึ้น ครูควรสนับสนุนการพูด ของเด็ก การแสดงออกทางการกระทํา และการแสดงออกโดยการใช้สื่อกลาง วัสดุเครื่องใช้ทาง ศิลปะ การทัศนศึกษา เป็นสวนหนึ่งในการสร้างเสริมการแสดงออกแบบสร้างสรรค์

4. เจตคติของผู้ปกครองที่มีต่อการแสดงออกสร้างสรรค์ของเด็ก ครูต้องทําหน้าที่เป็น ผูปกครองเด็กเข้าใจผลงานของเด็ก และสามารถเสนอแนะผู้ปกครองในการเลือกวัสดุที่เหมาะสมให้ เด็กเมื่ออยู่บ้าน

5. ครูใช้วิธีการสร้างสรรค์สนับสนุนเด็กให้เลือกกิจกรรมศิลปะด้วยวิธี ซึ่งเด็กจะ แสดงออกหรือกระทําได้ และรวบรวมความคิดหรือวัสดุ วิธีนี้ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะกระทํา กิจกรรมโดยปราศจากการแนะนํา แต่หมายความว่าเด็กจะตัดสินใจและเลือกด้วยตนเอง กิจกรรม ศิลปะควรมีหลายชนิดให้เด็กได้มีโอกาสเลือกในแต่ละวัน

6. ครูวางแผนจัดเตรียมกิจกรรมต่างๆ เป็นอย่างดี เด็กมีอิสระในการค้นหาสํารวจ และทดลองและเมื่อเด็กรู้สภาพแวดล้อม เด็กก็จะถ่ายทอดสิ่งที่ตนเองรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ กล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตาก็จะพัฒนาขึ้น มโนภาพเรื่องรูปทรง สีเจริญเติบโตขึ้น การที่ เด็กได้เล่นร่วมกับเพื่อน พูดสนทนา แลกเปลี่ยนสิ่งของ รับผิดชอบรวมกัน การรอคอย ตามลําดับ ช่วยเสริมสร้างความพร้อมทางอารมณ์และสังคมแก่เด็ก

7. ครูต้องรวบรวมหลักฐานเพื่อจุดหมายในการวัดผล

กิจกรรมศิลปสร้างสรรคค์สําหรับเด็กปฐมวัย

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์สําหรับเด็กปฐมวัย การจัดกิจกรรมทางศิลปะที่เหมาะสมให้กับเด็กควรคํานึงถึงตัวเด็ก และการเปิดโอกาส ให้เด็กได้มีอิสระในการทดลองค้นคว้า และสามารถถ่ายทอดสื่อสารสิ่งที่ทดลองกับผู้อื่น นอกจากนี้ ยังไดมีโอกาสพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็ก และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสีรูปทรง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานต่อการเตรียมความพร้อมในการอ่านและ ยังได้มีโอกาสพัฒนาการทางสังคม การแลกเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์หมุนเวียนกันรับผิดชอบในการใช้ และเก็บอุปกรณ์ ต่างๆ มีผู้ให้แนวคิดดังนี้

แฮมมอนด์ (Hammond. 1967: 275-282) ไดสรุปกิจกรรมศิลปะสรางสรรค์ที่ควรจัด ให้กับเด็กเอาไวดังนี้ 

1. การปั้น

2. การประดิษฐ์

3. การฉีก -ตัด-ปะ

4. การระบายสี

5. การวาดภาพด้วยนิ้วมือ

6. การเล่นบล็อก

7. การวาดภาพด้วยทราย

8. การวาดภาพด้วยฟองสบู่

เอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภาษา

แก้

ความหมายและความสำคัญของภาษา

มนุษย์ใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สิ่งตาง ๆ รอบตัวจนทําให้เกิดการพัฒนาการด้านสังคมและ สติปัญญา ภาษาเป็นสื่อกลางในการตอบโต้ทําความเข้าใจระหว่างบุคคล อีกทั้งเป็นเครื่องมือในการ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ดังนั้นจึงมีนักการศึกษาได้ให้ความหมาย ของภาษาไว้ ดังนี้

เพียเจท (Piaget) ได้ให้ความหมายของภาษา (บังอร จําปา. ม.ป.ป: 8; อางอิงจาก Gabin. 1952; citing Piaget. n.d.) ไว้ว่า  ภาษาเป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์สื่อความคิดให้ผู้อื่นทราบได้ ซึ่งสอดคลองกับ  คารโรลล์ (Carroll. 1964: 4) ไดย้ำวา ภาษายังเป็นเครื่องมือสื่อความรู้สึก ความคิด ความรู้สึกสู่กันและกัน 

ศรีเรือน แกวกังวาล (2519: 20) ไดกล่าววาภาษาเป็นสื่อกลางในการตอบสนองตกลง บอกกล่าวทําความเข้าใจ ระหว่างบุคคลเป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ซึ่งสอดคลองกับ ศรียา นิยมธรรม (2519: 21) ที่กล่าวว่าภาษาเป็น กิจกรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวให้เด็กได้มีพัฒนาการทาง สังคม ช่วยให้เด็กเกิดความอบอุ่นมั่นคง ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ช่วยให้มีแนวคิด ความรูสึก ตลอดจนเจตคติต่างๆ หรรษา นิลวิเชียร (2535: 201) ไดกล่าวว่า ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้ในการสื่อสาร ระหว่างกันด้วยวิธีการหลายรูปแบบ ซึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ การพูดและการเขียน ซึ่ง พัฒนาดังกล่าวช่วยให้เด็กเข้าใจและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในสิ่งแวดล้อมไดดีขึ้น สรุปคือภาษาคือ เครื่องมือในการสื่อสารที่จะนำไปสู่ความเข้าใจระหว่างบุคคล และมีหลายรูปแบบ ซึ่งรูปแบบที่จะมีประสิทธิภาพและเข้าใจง่ายที่สุดคือการพูดและการเขียน อีกทั้งภาษายังจะนำพาให้เด็กไปสู่การพัฒนาทางด้านสังคมอีกด้วย

เอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเขียน

แก้
ความหมายของการเขียน 

ความหมายของการเขียน การเขียนเป็นทักษะหนึ่งของการใช้ภาษา ที่ต้องไดรับการฝึกฝนจนชํานาญ เพื่อที่จะถ่ายทอดความรู้ความคิดของตนให้ผู้อื่นเข้าใจดังนั้น จึงมีผู้ให้ความหมายของการเรียนไว้มากมาย ดังนี้ อะราพอฟ (Arapoft. 1967: 119-120) กล่าวว่า การเขียนเป็นกระบวนการทางความคิด และไดย้ำว่า ในขณะที่เขียนหนังสือจะต้องตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้และพยายามเรียงลําดับความสําคัญ ให้เป็นไปตามขั้นตอน แมคคริมอน (Mccrimon. 1978: 3) การเขียนที่ดีจะต้องสื่อสารความคิดความรู้สึก ตลอดจนเรื่องราวต่างๆ ได้ และทําให้ผู้อื่นเข้าใจตรงกับเจตนารมณ์ของผู้เขียน

จอหน; และแมรี่ (John; & Mary. 1995: 232) ได้ให้ความหมายการเขียนในเด็ก ปฐมวัยว่า หมายถึงรอยขีดๆ เขียนๆ ซึ่งมีความหมายอาจจะเขียนเหมือนตัวอักษรจริงหรือไม่ก็ได้ การเขียนจะมีความก้าวหน้าเป็นขั้นๆ กระบวนการที่ใช้ในการเขียนมีความหมาย ผู้เขียนใช้ในการ เขียนเป็นสื่อในการเสนอความคิด 

ทิศนา แขมมณี; และคนอื่น ๆ (2535: 107) ไดกล่าวถึง การเขียน เป็นการ ฝึกลีลา การใช้มือให้เด็กมีความพร้อมในการเขียนสามารถบังคับกล้ามเนื้อมือได้ตามต้องการ

ราศี ทองสวัสดิ์ (2527: 182) กล่าววา การเขียนของเด็กปฐมวัย หมายถึงการ เขียนเส้นยุ่งๆ หรือวาดภาพต่างๆ ตามวัยหากเด็กสามารถพัฒนาการเขียนเหล่านี้ได้ก็จะช่วยให้ เด็กเขียนภาพที่มีความหมายได้  

สรุปคือ การเขียนถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือในการสื่อสาร ที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน แต่ทว่าการเขียนของเด็กปฐมวัยนั้นหมายถึงการ การขีดๆลากเส้นไปมาโดยไมมีจุดหมายนั่นเอง

ความสําคัญของการเขียน

สนิท ตั้งทวี (2529: 118) ได้สรุปความสําคัญของการเขียนไวดังนี้

1. เป็นเครื่องแสดงออกทางความรู้ ความคิดและความรู้สึกของมนุษย์

2. เป็นเครื่องมือสําคัญในการจัดความเจริญของมนุษย์

3. เป็นเครื่องมือสื่อสารในอดีต ปัจจุบันและอนาคต

4. เป็นเครื่องมือใช้สนองความปรารถนาของมนุษย์ เช่น ความรัก ความเข้าใจ เป็นตน

5. เป็นเครื่องมือสําคัญทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดมรดกทางด้านสติปัญญา ของมนุษย์

6. เป็นสื่อที่ช่วยแพรกระจายความรู้ ความคิดให้กว้างไกล

7. เป็นสื่อกลางที่ให้ความรู้ ความคิด และความเพลิดเพลินแกคนทุกเพศทุกวัย

8. เป็นบันทึกทางสังคมที่ให้ประโยชน แก่คนรุ่นปัจจุบันและอนาคต

9. เป็นงานอาชีพที่สําคัญอย่างหนึ่งในปัจจุบัน

นภดล จันทรเพ็ญ (2531: 9)ได้กล่าวถึงความสําคัญของการเขียนไว้ว่า

1. การเขียนเป็นการสื่อสารของมนุษย์

2. การเขียนเป็นเครื่องมือถ่ายทอดความรู้

3. การเขียนสามารถสร้างความสามัคคีในมนุษย์ชาติ

4. การเขียนเป็นเครื่องระบายออกทางอารมณ์ของมนุษย์ กรรณิการ์ พวงเกษม (2532: 31) กล่าววาการเขียนเป็นวิธีการหนึ่งที่เด็กไดแสดงออก เป็นพัฒนาการทางภาษาอีกด้านหนึ่งที่มีความสําคัญ เช่นเดียวกับการพูด การเขียน เป็นเครื่องมือที่ จะพัฒนาความมีเหตุผลในเด็ก เป็นการแสดงออกซึ่งสุนทรียะและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เป็นทาง ที่จะระบายอารมณ์เป็นการเพิ่มความเชื่อมั่น ให้มีขึ้นในตนเอง ครูควรแนะนําให้เด็กรูจักเขียนโดยใช้ ความคิดใช้ประสบการณ ความพอใจ ตลอดจนทักษะทางภาษาในระดับของเด็กเอง

องค์ประกอบของการเขียน

สนิท ฉิมเล็ก (2540: 181-182); และวรรณีโสมประยูร (2537: 142) กล่าวไว้ สอดคล้องกันว่า การเขียนมีองค์ประกอบสําคัญ 4 ประการคือ

1. ผู้เขียนหรือผู้ส่งสาร ผู้เขียนเป็นจุดกําเนิดที่ทําให้เกิดงานเขียนขึ้น ลักษณะต่างๆ ของผู้เขียนที่ช่วยให้เกิดงานเขียนได้แก่ ความรู้การแสดงความคิดเห็น ความสามารถในการใช้ ภาษาลําดับความสําคัญ ลักษณะทางการเขียนที่ส่งผลไปถึงลายมือของผู้เขียน และความมี มารยาทในการเขียน

2. ภาษา ภาษาที่ใช้ในการเขียนมี 3 ระดับ คือ ภาษาพูด ภาษากึ่งแบบแผน และ ภาษาที่มีแบบแผนสามารถสอนผูเขียนภาษาไดทั้ง 3 ระดับ แต่ความสําคัญอยู่ที่การเลือกใช้ภาษา อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะบุคคล จุดมุ่งหมายสถานที่ เวลาและสถานการณสิ่งแวดล้อม

3. เครื่องมือ เครื่องมือที่ทําให้เกิดการสื่อสาร คือ เครื่องเขียน เช่น ดินสอ ปากกา กระดาษ หรืออื่นๆ ที่ใช้แทนกันได และตัวอักษรที่อาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ลายมือ ถาลายมือสะอาด เรียบร้อย ถูกต้องและชัดเจน ถือว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ

4. ผู้อ่าน ผู้อ่านเป็นองค์ประกอบที่สําคัญ ที่ผู้เขียนต้องคํานึงถึง เพราะเป้าหมาย สําคัญของการเขียน คือ มุ่งให้ผู้อ่านเกิดการรับรู้และเข้าใจในสิ่งที่สื่อสารออกไป ดังนั้นผูเขียนจึง จําเป็นต้องเลือกเนื้อหา ภาษาวิธีเขียน รูปแบบการเขียนให้เหมาะสม และสอดคลองกับผู้อ่านจึงจะ ทําให้การสื่อสารเกิดประสิทธิภาพ นฤมล เฉียบแหลม (2545: 24) ได้กล่าวว่า องค์ประกอบของการเขียนมี 4 ประการ ที่ครูต้องยึดหลักและคํานึงถึงเสมอ ก่อนที่จะวางแนวทางในการสอนเขียนและนอกเหนือจากนี้ยังมี ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนเพื่อพัฒนาการเขียนให้กับเด็กอีกก็คือปัจจัยที่เกี่ยวกับ ด้านร่างกายของ เด็ก เช่น อวัยวะที่เกี่ยวของกับการเขียน ไดแก่ กล้ามเนื้อมือ ประสาทตา ความสัมพันธ์ระหว่างตา กับความสนใจ ความสามารถในการเชื่อมโยงความคิด และสัญลักษณ์ให้สัมพันธ์กับปัจจัยที่ เกี่ยว ข้องกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก เช่น สภาพครอบครัว โรงเรียน ซึ่งประกอบไปด้วยครูที่เป็น ต้นแบบในการเขียนหรือเทคนิควิธีการสอนเขียน เป็นต้น

เอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพัฒนาการทางภาษาและการเขียนของเด็กปฐมวัย

แก้

พัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย

พัฒนาภาษาของเด็กปฐมวัยจะเจริญก้าวหน้าและพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็วถ้าไดรับ การเสริมสร้างประสบการณ์ทางภาษาที่เต็มไปด้วยกระบวนการแห่งการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องและ เชื่อมโยงกัน การพัฒนาการทางภาษาก็เหมือนกับการพัฒนา ด้านอื่นๆ คือ มีความเจริญงอกงามที่ ต่อเนื่องกัน โดยเฉพาะเด็กปฐมวัยจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว เด็กแต่ละคนจะมีแบบแผนของการพัฒนา ภาษาไม่แตกตางกันจะมีลําดับขั้นตอนของการเจริญงอกงามเหมือนกันแต่อัตราและประสิทธิภาพ ของพัฒนาการนั้นแตกต่างกันไปซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เชน ความสามารถที่มีอยูเดิม ความถนัด อัตราของการพัฒนา ประสบการณเดิม และความ สนใจของเด็ก และมีผู้ให้ความเห็น ของพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยดังต่อไปนี้ (รุ่งนภา วุฒิ. 2543: 11) ไวก็อตสกี (Morrow. 1993: 239; citting Vygotsky. 1978) กล่าวว่า เด็กพัฒนาภาษา เพื่อที่จะเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม ฉะนั้นเด็กจะต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจใช้คือ การสื่อภาษาโดยใช้ สัญลักษณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสําคัญมาก กระบวนการพัฒนาการสัญลักษณ์ เด็กต้องเรียนรู้ที่จะฟัง พูด เขียนและอ่าน ซึ่งคือการพัฒนาทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน เด็กเริ่มเรียนรู้ภาษาตั้งแต่ทารก เรียนรู้ที่จะฟัง เพื่อที่จะพูดหรือใช้กิริยาท่าทางหรือการใช้สัญลักษณ์หรือการวาดรูปจนกระทั้ง พัฒนามาเป็นการเขียน เนสเซล (หรรษา นิลวิเชียร. 2535: 207-208; อ้างอิงจาก Necssel. 1989) ได อ้างถึงผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษาของเด็กว่าประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 เด็กอายุ 10 เดือน-1 ป 6 เดือนจะควบคุมการออกเสียงคําที่จําได้สามารถ เรียนรู้คําศัพท์ในการ สื่อสารถึง 50 คํา คําเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับ สิ่งของ สัตว์คน หรือเรื่องราวใน สิ่งแวดล้อม การที่เด็กออกเสียงคําหนึ่งหรือสองคํา อาจมีความหมายรวมถึงประโยคหรือวลีทั้งหมด ขั้นที่ 2 เด็กอายุ 1 ป 6 เดือน-2 ป การพูดจะเป็นการออกเสียงคํา สองคํา และวลี สั้นๆ และมีเฉพาะคําสําคัญสําหรับสื่อความหมาย เด็กเรียนรูคําศัพท์มากขึ้นถึง 300 คํา รวมทั้งคํา กิริยาและคําปฏิเสธ เด็กจะสนุกสนานกับการพูดคนเดียว ในขณะที่ทดลองพูดคําและโครงสร้างหลาย รูปแบบ 9 ขั้นที่ 3 เด็กอายุ 2-2 ป 6 เดือน จะเรียนรูคําศัพท์เพิ่มขึ้นถึง 450 คํา วลีจะยาวขึ้น พูดประโยคความเดียวสั้นๆ มีคําคุณศัพท์รวมในประโยค ขั้นที่ 4 เด็กอายุ 2 ป 6 เดือน-3 ป คําศัพท์จะเพิ่มมากขึ้นถึง 1000 คํา ประโยคเริ่ม ซับซ้อนขึ้น เด็กที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาจะแสดงให้เห็นถึงความเจริญงอกงามทางด้านจํานวนคําศัพท์ และรูปแบบของประโยคอย่างชัดเจน ขั้นที่ 5 เด็กอายุ 3-4 ป 6 เดือนสามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ มีครอบครัว และ ผู้คนรอบข้าง จํานวนคําศัพท์ที่เด็กรู้ประมาณ 2,000 คํา เด็กใช้โครงสร้างของประโยคหลายรูปแบบ เด็กจะพัฒนาพื้นฐานการสื่อสารด้วยวาจาอย่างมั่นคง และเริ่มต้นเรียนรู้ภาษาเขียน



พัฒนาการเขียนของเด็กปฐมวัย

นิตยา ประพฤติกิจ (2539: 178-179) ได้แบ่งพัฒนาการทางการเขียนของเด็กปฐมวัย ไดดังนี้ 18 เด็ก 2 ขวบ ลากเสนขยุกขยิก ลากเส้นตามรูปวงกลมไดจับดินสอหรือปากกาโดยใช้ ทั้งมือจับและทั้งแขนขยับเขยื้อนจะขีดเขียนจนเต็มหน้ากระดาษ พอใจกับรอยขีดเขียนตนเอง เด็ก 3 ขวบ ชอบเขียนตัวอักษรตัวโต ๆ ทุกหนทุกแบบชอบวาดและระบายสีเด็ก 4 ขวบ จดจําอักษรบางตัวไดรวมทั้งจําชื่อตนเองไดอาจเขียนชื่อตนเองไดหรือเขียนไดเป็นบางตัว ชอบ วาดและระบายสี การวาดรูปคน วาดแคเพียงเส้นตรงแนวตั้งและร่างแบบหยาบๆ แต่วาดรูปกลม และสี่เหลี่ยมได เด็ก 5 ขวบ เขียนชื่อตนเองไดการเขียนพยัญชนะตัวเลข อาจเขียนไม่เรียงลําดับ และบางที่เขียนหัวกลับก็มี สามารถเขียนตัวเลขได แต่ตัวไมเท่ากัน และมีขนาดพอดีๆ จับดินสอ ปากกาหรือพูกันไดดีขึ้น ชอบวาดและระบายสีสามารถวาดภาพที่ยกขึ้นไดและภาพมีความสมบูรณ มากขึ้น ชอบเลียนแบบสามารถวาดรูปสี่เหลี่ยมและวงกลมเขาด้วยกัน ชอบถามถึงตัวสะกดของคํา ราศี ทองสวัสดิ์ (2537 : 29) กล่าววา การสอนหนังสือในระดับปฐมวัยสวนใหญ่นั้นจะ เป็นในลักษณะที่ครูเริ่มสอน อ่าน-เขียน เร็ว แต่เด็กมิได้เรียนรู้ไปด้วย การจะเรียนอ่านเขียนไดชา หรือเร็วยอมเป็นไปตามพัฒนาการของเด็ก อิลลิส (Ellis. 1994: 277) กระบวนการเขียนของเด็ก ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

1. ขั้นก่อนเริ่มการเขียน (Prewriting) ขั้นนี้เป็นการเตรียมความพร้อม ในการเขียน คิดเกี่ยวกับหัวข้อที่จะเขียน ครูสังเกตได้จากสิ่งที่เด็กมักชอบพูดถึง

2. ขั้นร่าง (Drafting) ขั้นนี้มีความสําคัญมากคือ การเปิดโอกาสให้เด็กพูดเกี่ยวกับ สิ่งที่เขาคิดออกแบบที่จะเขียน และร่างงานเขียน

3. ขั้นแก่ไข (Revising) เป็นขั้นให้เวลาเด็กตัดสินใจแกไขงานของตน ครูอาจให้ คําแนะนําโดยกระตุ้นให้เด็กได้คิดหลายแง่มุม

4. ขั้นปรับปรุง (Editing) เป็นขั้นสุดท้ายเด็กต้องอ่านทบทวนตรวจตัวสะกด รูปแบบ การเขียน เครื่องหมาย ต่าง ๆ และอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจงานเขียนยิ่งขึ้น สรุปไดวา ลักษณะและการเขียนของเด็กปฐมวัยจะเริ่มจากการวาดรูปเพื่อสื่อความคิด โดยการขีดๆ เขียนๆ การคิดแบบเขียนของตัวเอง การคัดลอกตัวอักษรจากแบบ จนกระทั่งสามารถ เขียนและสะกดได้ถูกต้องตามแบบการเขียนจริง ซึ่งจะเหมือนการเขียนของผู้ใหญ่ กระบวนการ เขียนของเด็กจะแตกต่างจากผูใหญ่

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แก้

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์

แสตปป์ (Stapp. 1964: 52-58) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และ สติปัญญาของนักเรียนที่เรียนศิลปะและไม่เรียนศิลปะพบว่า ความคิดสร้างสรรค์และสติปัญญาไม่มี ความสัมพันธ์กันแต่นักเรียนที่เรียนศิลปะได้คะแนนความคิดสร้างสรรค์สูงกว่าพวกที่ไม่ได้เรียนศิลปะ วิลเลี่ยม (William.1917: 352-358) ได้ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างความคิดสร้างสรรค์ ด้านความคิดริเริ่มกับ คะแนนของหมวดวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์สังคมศึกษา ศิลปศึกษา และ ดนตรีผลปรากฏว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความคิดริเริ่มกับคะแนนรวมหมวดศิลปศึกษาและวิชา ดนตรีมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง สมใจ ตั้งนิกร (2531: 46) ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของ เด็กปฐมวัยในโครงการอนุบาลชนบทที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์ที่แตกต่างกัน ผล การศึกษาพบวาเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์หมุนเวียนที่ไมไดจัดตามแบบการ จัดประสบการณแต่ใช้วัสดุแทนจากธรรมชาติที่มีอยู่โดยทั่วไปในท้องถิ่นสามารถ ส่งเสริมพัฒนาการ ด้านกล้ามเนื้อเล็กได้ดีกว่ากลุ่มเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์หมุนเวียนที่จัดตาม แผนการจัดประสบการณ กรวิภา สรรพกิจจํานง (2531: 45) ไดศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของ เด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปะสรางสรรค์แบบชี้แนะและแบบอิสระพบว่าเด็กปฐมวัยที่ไดรับ การฝึกกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์แบบอิสระ มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กสูงกว่าเด็กปฐมวัย ที่ไดรับการฝึกกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์แบบชี้นํา จงใจ ขจรศิลป์ (2532: 80) ไดศึกษาความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเอง ของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์และการเล่นตามมุมที่แตกต่างกัน พบว่าเด็กที่ ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์และการเล่นตามมุมแบบริเริ่มอย่างอิสระมีความคิดสร้างสรรค์และ มีความเชื่อมั่นสูงกว่าเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์และเล่นตามมุมแบบครูชี้แนะ

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเขียน

สรัม (Schum. 1995: A) ไดศึกษาธรรมชาติในการเขียนของเด็กปฐมวัย อายุ 4-5 ปี จํานวน 14 คน ใช้เวลาในการศึกษา 9 เดือน ขณะอยู่ที่บ้านและโรงเรียนโดยให้เด็กเขียนภาพ ร่วมกับครอบครัว ครูและเพื่อนร่วมชั้นซึ่งแบ่งการเขียนออกเป็น 2 แบบ คือการเขียนที่เป็นทางการ เช่น การเขียนถึงครูประจําชั้น เขียนเกี่ยวกับหน้าที่ของตน เป็นต้น และการเขียนที่ไม่เป็น ทางการ เช่น การเขียนสร้างสรรค์กับเพื่อนนอกเหนือหลักสูตร การเขียนสิ่งที่เด็กจินตนาการ เป็นต้น ประไพ แสงดา (2544: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาผลการจัดกิจกรรมเสริมการเล่านิทานไม จบเรื่องที่มีต่อความสามารถด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาเป็น นักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปีจํานวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถด้านการ เขียนของเด็กปฐมวัยในแต่ละช่วงระยะเวลาของการจัดกิจกรรมเสริมการเล่านิทานไมจบเรื่องมีการเปลี่ยนแปลงขั้นความสามารถด้านการเขียนสูงขึ้น

แหล่งอ้างอิง

แก้
  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์. การเมืองและสังคม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520.
  • ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. เศรษฐกิจหมู่บ้านในอดีต. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์, 2528.
  • ชัย เรืองศิลป์. ประวัติสังคมไทยโบราณก่อนศตวรรษ 25. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์, 2523.
  • พิชญ์ สมพอง. สังคมชาวบ้านนา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2520.
  • รัชนีกร เศรษโฐ. สังคมวิทยาชนบท. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช, 2528.
  • สัญญา สัญญาวิวัฒน์. ทฤษฎีสังคมวิทยา : เนื้อหาและแนวการใช้เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ  : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.
  • Bundy, William P. ed. The World Economic Crisis. New York : W.W.Norton, 1975.
  • Chin Kin Wah. ed. Defence Spending in Southeast Asia. Singapore : Institute of Southeast Asian Studies, 1987.