ประวัติพระ ครูบาเจ้าหน่อน้อยพุทธางกูร(พระครูบาอภิชัย ปิยธัมโม)

ครูบาเจ้าหน่อน้อยพุทธางกูร

สถิต ณ สำนักปฏิบัติพระธาตุพระมุนีศรีม่านคำ ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา

นามเดิม  : อภิชัย บัวเรือ ฉายา  : ปิยธัมโม เกิด  : วันพุธที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๑ ปีมะโรง อุปสมบท: วันที่ ๒๕ เดือน๔ ขึ้น ๑๑ ค่ำ วันที่ ๒๕เดือนมกราคม พ.ศ.

๒๕๕๒ ตรงกับเดือนสี่เหนือขึ้น ชาติภูมิ  : บิดา-มารดา : พ่ออุดร แม่เพียรทอง บัวเรือ สถานที่เกิด : หมู่บ้านทุ่งติ้ว ต.ภูซาง อ.ภูซาง จ.พะเยา

       แล้วย้ายมาอยู่ที่บ้านปัวหล่าย  ต.สบบง  อ.ภูซาง  จ.พะเยา

พี่น้อง

๑. นายอนุเชษฐ บัวเรือ ๒. พระครูเจ้าหน่อน้อยพุทธางกูร(ครูบาอภิชัย)

ชีวิตในวัยเยาว์

คุณแม่เพียรทองได้แต่งงานกับคุณพ่ออุดรมีลูกชาย หนึ่งคนคือนายอนุเชษฐ แล้วอีกสี่ปีก็ให้กำเนิดท่านพระครูบาเจ้าฯ ก่อนตั้งครรภ์พระครูบาเจ้าฯ คุณแม่เพียรทองนิมิตฝันว่า “ได้มีผู้เฒ่าใส่ชุดขาวพาท่านขึ้นไปบนดอย แล้วไปกราบพระพุทธรูปองค์หนึ่ง แล้วผู้เฒ่าก็บอกคุณแม่เพียรทองว่า ท่านจะได้ผู้มีบุญลงมาจุติในครรภ์ของท่าน” แล้วสะดุ้งตื่นอยู่มาไม่นานนัก คุณแม่เพียรทองเริ่มตั้งครรภ์ พอตั้งครรภ์ได้ครบ ๑๐ เดือน ก็ได้ให้กำเนิดเด็กชายอภิชัย ซึ่งเป็นเด็กหน้าตาน่ารักน่าเอ็นดู จากก็ได้ย้ายจากบ้านทุ่งติ้ว ต.ภูซาง มาอยู่บ้านปัวหล่าย ต.สบบง

เมื่อพระครูบาเจ้าอายุถึงวัยเรียน คุณแม่ได้ส่งเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนบ้านปงหลวง ท่านพระครูบาเจ้าเป็นคนที่ตั้งใจเรียนผลการเรียนที่ออกมาก็อยู่ในระดับที่ดี มาก

อุปนิสัยฝักใฝ่ในธรรมของพระครูบาเจ้าฯ

เนื่องจากคุณแม่เพียรทองเป็นคนมีนิสัยใจดีมีเมตตาเผื่อแผ่โอบอ้อม อารีลูกเต้า ญาติมิตรพี่ๆ น้องๆ เป็นผู้รู้จักบุญคุณเสมอชอบทำบุญไปวัดไม่ขาด ถึงแม้ว่าความเป็นอยู่จะลำบากยากจนขนาดไหน พอถึงวันพระวันศีลแม่จะจัดหาอาหารไปทำบุญบาตรทุกครั้งท่านก็จะไปด้วยเสมอ ตอนเด็กๆท่านพระครูบาเจ้าเป็นคนที่เลี้ยงยากมากเป็นไข้บ่อยๆบาง และบางครั้งก็จะถูกผีป่าเข้าตลอด

       อย่าง ไรก็ตามถึงแม้ว่าชีวิตในวัยเยาว์ของพระครูบาเจ้าฯ จะทุกข์ยากลำบาก แต่ท่านก็เป็นเสมือนเพชรในตม คือจิตใจของท่านที่ได้รับการปลูกฝังคุณงามความดีอยู่เสมอ จากการคลุกคลีอยู่กับวัด กับพระสงฆ์ จึงทำให้จิตใจของเด็กน้อยรู้สึกผูกพันกับบวรพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ถูกสั่งสอนให้ขยันหมั่นเรียนเขียนอ่าน และสอนให้หมั่นเพียรทำงานทุกอย่าง

ชีวิตฆราวาส

เมื่อช่วงวัยเด็ก เคยป่วยด้วยไข้เลือดออกบ้าง ผีเข้าบ้าง เกือบเอาชีวิตไม่รอด

แม้การดำเนินชีวิตของท่านได้ รับความลำบากทุกข์ยากต่างๆ แต่กลับทำให้พระครูบาเจ้าฯ มีความเข้มแข็ง อดทน เป็นนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่ แต่ในเรื่องการเรียนหนังสือท่านก็เอาใจใส่ ศึกษาหาความรู้ จนจบประถมศึกษาปีที่ ๖ ด้วยตั้งใจไว้ว่าถ้าหากเรียนจบแล้วจะบรรพชาเป็นสามเณรทันที กระทั่งเมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรอายุ ๑๒ ปี และได้ศึกษาที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญวัดหย่วนวิทยาได้เข้าศึกษา นักธรรมสอบได้นักธรรมชั้นตรี ใน พ.ศ. ๒๕๔๕

เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัตร

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๔ได้เข้ามาบวชเป็นสามเณรที่วัดหย่วน ต.หย่วน อ.เชียงคำ โดยมีพระครูสุภัทรพรหมคุณ รองเจ้าคณะอำเภอเชียงคำ(สมัยนั้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วมาสังกัดอยู่ที่วัดปัวหล่าย ต.สบบงโดยมีพระอธิการสมบูรณ์ ธัมมทัสสี(สมัยนั้น) เป็นเจ้าอาวาส เป็นเวลาประมาณ ๓ ปีกว่า พอดีมีเรื่องไม่เข้าใจกันภายในวัด และมีทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับการอิจฉาริษยากันท่านพระครูบาเจ้าจึงย้ายออกจาก วัดปัวหล่าย โดยมีสามเณรไพโรจน์ นันตาลิตร(สมัยนั้น) ติดตามไปด้วย โดยไปอยู่ที่วัดแดนเมือง อ.เชียงคำ อยู่ได้ประมาณ ๒ เดือน ทางคณะศรัทธาวัดปงหลวง ต.สบบง อ.ภูซาง ท่านเป็นคนที่ชอบนั่งสมาธิภาวนาไม่สุงสิงกับใคร เวลาว่างก็เดินจงกรมที่สนามบริเวณวัดตลอด ท่านถือว่าได้ปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้าท่านอยูที่วัดปงหลวงประมาณ ๓ ปีครึ่ง โดยไม่มีเจ้าอาวาสอยู่เลยท่านปฏิบัติศาสนกิจตามคำสอนของพระพุทธองค์มาโดย ตลอดพอเข้าพรรษาที่ ๔ ทางกรรมการวัดได้ไปนิมนต์พระสุมิตร ชิตมาโร มาเป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสอยู่ได้ไม่นานก็มีเรื่องไม่เข้าใจกันภายในวัดอีก ทั้งเรื่องความอิจฉาริษยาเหมืองกับตอนที่ท่านพระครูบาอยู่วัดปัวหล่าย เพราะท่านครูบาตอนนั้นยังเป็นสามเณรคณะศรัทธาญาติโยมท่านได้เข้าหาไปทำบุญ กับท่านตลอดจึงมีคนอิจฉาเป็นจำนวนมากท่านจึงขออนุญาต ศรัทธาญาติโยมของท่านไปปฏิบัติธรรมที่อื่นแต่ทางคณะศรัทธาก็ไม่ให้ท่านไป ท่านพระครูบาขออนุญาต ๓-๔ครั้งทางคณะศรัทธาก็ไม่ให้ท่านไป ด้วยเพราะความที่ท่านพระครูบาไม่สะดวกในการปฏิบัติธรรมและยังมีเรื่องไม่ เข้าใจกันภายในวัด ท่านพระครูบาจึงตัดสินใจออกจากวัดปงหลวงโดยไม่ได้บอกทางศรัทธาญาติโยมให้ ทราบ หลังจากที่ท่านพระครูบาได้ย้ายออกจากวัดปงหลวงแล้วท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ ที่ ที่พักสงฆ์วัดป่าอุดมเจริญธรรม ต.อ่างทอง อ.เชียงคำ ซึ่งมีพระยุทธนา จิตฺตสังวโร เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ซึ่งท่านทั้งเป็นกัลยาณมิตรกัน เป็นญาติธรรมกัน หลังจากที่ท่านพระครูบาเจ้าย้ายออกจากวัดปงหลวงมาอยู่ที่วัดป่าอุดมเจริญ ธรรมคณะศรัทธาที่นับถือท่านพระครูบาก็ติดตามมาทำบุญกับท่านพระครูบาตลอดโดย ไม่ขาดสาย ทำให้ ทางคณะสงฆ์เกิดข้อกังขา และเกิดความอิจฉาริษยา บางรูปใส่ร้ายท่านพระครูบาว่าเป็นตุ๊เจ้าผีลงบ้าง เป็นร่างทรงบ้าง หลอกลวงประชาชนบ้าง แต่ท่านพระครูบาไม่ได้ใส่ใจกับคำนินทาใส่ร้ายท่านก็ปฏิบัติศาสนกิจของท่าน ต่อมา

เข้าพิธี อุปสมบท ครั้งแรก

พอท่านพระครูบามีอายุครบ ๒๐ ท่านจึงได้ทำการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุโบสถ วัดหย่วน ต.หย่วน อ.เชียงคำ โดยมีพระครูสุภัทรพรหมคุณ เจ้าคณะอำเภอเชียงคำ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระครูวิจิตรพิพัฒนโกศล เจ้าคณะตำบลอ่างทอง(สมัยนั้น)ปัจจุบันเป็นรองเจ้าคณะอำเภอเชียงคำ วัดเชียงบาน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และมีพระใบฎีกาสุชาติ ธีรปัญโญ เจ้าคณะตำบลน้ำแวน วัดศรีมงคล เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากที่ท่านพระครูบาได้ทำการอุปสมบทเรียบร้อยแล้วท่านก็มาจำพรรษาอยู่ที่ วัดป่าอุดมเจริญธรรมต่อระหว่างที่ท่านอยู่ที่นั้นก็มีคณะศรัทธาบางกลุ่ม และคณะสงฆ์บางกลุ่มวิพากวิจาร ท่านมาโดยตลอดแต่ด้วยที่ท่านพระครูบามีศีลและมีธรรมประจำใจท่านก็ไม่สนใจกับ คำกล่าวพวกนั้น


รับนิมนต์ สร้างวัด

หลังจากที่ท่านพระครูบาอยู่ที่วัดป่าอุดมเจริญ ธรรมได้ประมาณ ๑๐ เดือนกว่า ทางคณะศรัทธาบ้านก้าวเจริญ ต.น้ำแวน มีความคิดที่จะ ทำการสร้างวัด แต่ยังไม่มีพระผู้ที่จะมาเป็นประธานในการสร้างและยังขาดปัจจัย ทางคณะศรัทธาจึงได้ไปนิมนต์ท่านพระครูบามาเป็นประธานในการสร้าง หลังจากที่ท่านพระครูบามาสร้างที่นี่ได้หนึ่งเดือนท่านก็นั่งสมาธิเพื่อตรวจ ดูว่าสถานที่นี้เป็นอย่างไรบ้าง โดยที่ท่านได้สนทนาทางจิตกับเทวดาเจ้าที่อันปกปักรักษาอยู่ที่นี้และสนทนา ทางจิตกับครูบาอาจารย์ของท่านได้รู้ว่า คนที่มีความคิดที่จะสร้างที่วัดนี้ตายไปหลายคนแล้ว ทั้งพระภิกษุ ทั้งฆราวาส และยังได้นิมิตเห็นคำพูดของท่านพระครูบาคำหล้า สังวโร ต๋นบุญเมืองเชียงคำ และเชียงราย ท่านได้กล่าวไว้ว่า “สถาน ตี่แห่งนี้ มันเป็นตี่กลั่นตี่เก็ม ไผมาสร้างบ่ได้ จะตายหมด แต่จะมีเจ้าของตี่อยู่คนหนึ่งซึ่งเปิ่นเป็นต๋นบุญ ตี่จะมาเป็นเก๊าสร้างหื้อสูเน้อ” หลังจากนั้นพระครูบาเจ้าก็ได้ออกจาสมาธิพอเช้าก็ได้ถามเกี่ยวกับสถานที่นี้ และความเป็นมาเป็นไปของวัดนี้ ทางคนเฒ่าท่านได้เล่าว่าเคยมีคนที่คิดจะสร้างวัดนี้มาหลายคนแล้วแต่ก็ไม่ สำเร็จต้องมีอันเป็นไปกันทั้งหมด แล้วทางคณะศรัทธาจึงได้ไปนิมนต์ท่านพระครูบาคำหล้า สังวโร(ปัจจุบันท่านได้มรณภาพแล้ว) มาสร้างแต่ท่านพระครูบาคำหล้า ได้บอกกับคณะศรัทธาไปว่าครูสร้างไม่ได้เพราะสถานที่นี้มันเค็มมากมัน ศักดิ์สิทธิ์มาก ถ้าครูบาไปสร้างครูบาก็ตายเหมือนกับพวกที่คิดจะสร้างนั้นเหมือนกันแหละพูด แล้วท่านก็หัวเราะและท่านก็บอกอีกว่าให้รอดู ว่าปี๒๕๕๐ กว่าจะมีต๋นบุญมาสร้างให้ต๋นบุญคนนี้ท่านยังหนุ่มให้ดูเอาถ้าท่านมาสร้าง แล้วภายใน ๓-๗ วันไม่ตาย แสดงว่าท่านเป็นเจ้าของที่ ท่านเป็นต๋นบุญ พอท่านพระครูบาเจ้าได้มาสร้างที่นี่แล้วท่านไม่ตาย ไม่เป็นอะไร ทางศรัทธาญาติโยมต่างพากันมาทำบุญทั้งในหมู่บ้าน อำเภอ และต่างจังหวัด บางครั้งก็มาหาท่านพระครูบาที่วัดก้าวเจริญ บางครั้งก็นิมนต์ไปที่บ้าน ท่านก็รับนิมนต์หมดไม่ว่ารวย หรือว่าจน บางครั้งวันหนึ่งไป ๒-๓ จังหวัดก็มี บางวันไป ๕-๖ ที่ก็มี ท่านพระครูบาท่านรับนิมนต์เยอะมากเพื่อความสบายใจของลูกศิษย์บางครั้งกลับมา ท่านต้องได้มาเติมน้ำเกลือบ้าง เพราะว่าท่านรับงานหนักทำให้ท่านอ่อนเพลีย บางเดือนเติม๒-๓กระปุกก็มีถ้าใครนิมนต์ท่านไปไหนท่านก็ไปหมดโดยไม่คัดค้าน จนทำให้ชื่อเสียงของท่านดังมากๆ บางคนเรียกท่านว่าครูบาน้อย บางคนเรียกว่าหลวงพ่อน้อย บางคนเรียกต๋นบุญน้อย จึงมีคณะศรัทธาทั้งในอำเภอ ต่างอำเภอ และต่างจังหวัด มีคนนิมนต์ท่านไปสร้างอยู่หลายที่ แต่ท่านยังไม่ตอบรับนิมนต์ และมีคณะสงฆ์ในอำเภอบางกลุ่ม และศรัทธาบางกลุ่มที่คอยใส่ร้ายท่านบ้าง ต่างๆนาๆ หาว่าท่านค้ายาบ้าง หาว่าท่านเป็นร่างทรงบ้าง(ตุ๊เจ้าผีลง) หลายๆอย่างที่คอยถูกคนนินทาท่านแต่ท่านก็หาได้ย่อท้อท่านได้ยึดถือว่ามารไม่ มีบารมีไม่เกิด และครูบาอาจารย์ของท่านได้บอกให้ท่านนั่งภาวนากลางน้ำโดยสร้างแพแล้วให้ท่าน นั่งสมาธิกลางน้ำในวันเดือนเพ็ญ(เรียกว่าแห่พระเจ้าเปิดโลก) โดยนั่งตั้งแต่ ๖ โมงเย็นแล้วออกสมาธิตอน ๖ โมงเช้าของอีกวันท่านก็ทำอยู่สองสามครั้งโดยมีคณะศรัทธาและลูกศิษย์ใกล้ชิด ท่านมาร่วมอยู่ตลอด หลังจากออกพรรษาทางคณะศรัทธาและลูกศิษย์จึงปรึกษาหารือกันและพร้อมใจกันทำ บุญมงคลอายุวัฒนะสืบชาตาหลวงเนื่องในครบรอบวันคล้ายวันเกิดพระครูบาเจ้าหน่อ น้อยพุทธางกูร(ครูบาอภิชัย)ให้ท่านโดยได้นิมนต์สงฆ์มาสวดทั้งกลางวันและกลาง คืน และได้นิมนต์พระอาจารย์ประเทือง จากลำปาง ซึ่งเป็นนักเทศน์ฝีปากเอกของภาคเหนือมาทำพิธีบายศรีสู่ขวัญให้ท่านพระครูบา และมีพิธีบวงสรวงครูบาอาจารย์ของท่านพระครูบาในวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมาโดยมีญาติโยมมาเยอะมากๆ หลังจากนั้นท่านก็ได้รับนิมนต์ไปที่สุโขทัย และไปปฏิบัติธรรมที่นั้น

มาร บ่มีป๋าระมีบ่เกิด( ครองผ้าขาว)

และท่านถูกทางคณะสงฆ์กลั่นแกล้งต่างๆนาๆ ท่านจึงตัดสินใจลาสิกขามานุ่งขาวห่มขาวโดยที่ท่านพระครูบาถือศีล ๒๒๗ เหมือนพระภิกษุ โดยที่ไม่ขาดตกบกพร่อง ขณะที่ท่านพระครูบาครองผ้าขาวเหมือนพระครูบาอภิชัยขาวปีวัดพระพุทธบาทผาหนาม จ.ลำพูนนั้น ก็มีลูกศิษย์ที่ศรัทธาและนับถือท่านโดยคอยอุปการะท่านพระครูบาตลอดท่านพระ ครูบาท่านเคยพูดอยู่เสมอว่าท่านจะถูกคณะสงฆ์กลั่นแกล้งจนต้องถึงกับลาสิกขา ท่านพูดบ่อยมากเหมือนกับว่าท่านบอกล่วงหน้าท่านรู้ล่วงหน้ามาโดยตลอดและทาง ครูบาอาจารย์ของท่านก็ได้บอกไว้อีกว่าหลังจากท่านพระครูบาบวชครั้งนี้ ท่านพระครูบาเจ้าจะถูกคณะสงฆ์กลั่นแกล้งอีก แล้วท่านว่าบวชครั้งนี้จะอยู่ได้ ๓ ปี ก็จะถูกกลั่นแกล้งจนถึงกันขั้นไล่สึกออกจากผ้าเหลือง แล้วก็จะได้มาบวชนุ่งเหลืองห่มเหลืองต่อหลังจากบวชครั้งนี้แล้วท่านก็จะอยู่ ครองผ้ากาสาวพัตร์ตลอดชีวิต



อุปสมบท ครั้งที่ ๒

ใน การอุปสมบทในครั้งนี้ท่านพระครูบาเจ้ามีอายุ ๒๒ ปี ได้ทำการอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดปงสนุก ต.ลอ อ.จุน โดยมีพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูโสภณวีราภรณ์ เจ้าคณะอำเภอจุน วัดแผ่นดินทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ และมีพระมหาวชิรพล อาภสฺสโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ มีพระครูอดุลสุนทรการ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทในวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๓ เวลา ๑๑.๑๓ น. แล้วมาสังกัดวัดสักลอใหม่ ต.หงส์หิน โดยมี พระสุรเชษฐ์ สิริวฑฺฒโน เป็นเจ้าอาวาส


กิจวัตร ประจำวันของท่านพระครูบาเจ้าฯ

๐๔.๓๐ - ทำวัตรสวดมนต์เช้า สวดกรรมฐาน

๐๖.๐๐ - ออกบิณฑบาต

๐๗.๐๐ - ฉันภัตตาหารเช้า

๐๘.๐๐ - ออกรับลูกศิษย์ศรัทธาญาติโยม ทั้งที่วัด และข้างนอก

๑๑.๐๐ - พักผ่อนอิริยาบถ

๑๓.๐๐ - ออกรับลูกศิษย์ศรัทธาญาติโยม ทั้งที่วัด และข้างนอก

๑๗.๐๐ - พักผ่อนอิริยาบถ สรงน้ำ

๑๘.๐๐ - ทำวัตรสวดมนต์เย็น สวดกรรมฐาน

๑๙.๐๐ - สนทนาธรรมกับสามเณร ลูกศิษย์

๒๐.๐๐ - นั่งภาวนา

๒๑.๐๐ - จำวัตร

คติ ธรรมประจำใจ

           “ว่าดีจ่างเต๊อะ   ว่าเซ๊อะจ่างเขา   ขะแนมตั๋วเฮา   ศีลธรรมบ่เซิ้ง”

“ศีลธรรมนี้ จุ่มเนื้อเย็นใจ๋ หื้อหมั่นป่ำเป็งไป สุขใจ๋เตี่ยงมั้น

กิ๋นตานหยาดน้ำ ทำบุญหลวงหลาย จักสุขสบาย ต่อนี้เมือหน้า”

“มารบ่มี ป๋าระมีบ่เกิด”

“๓ วันตัดเล็บ ๗ วันซักผ้า ๑๕ วันโก๋นผม ฉันมื้อเดียว (ฉันเจ) เตียวจ๋งกลม”

“สุขใดไหนเล่า เท่าสุข ได้กิ๋น ได้ตาน”