ผู้ใช้:AsmakDeen/ทดลองเขียน

องค์กรบริหารส่วนตำบลริโก๋

แก้

ประวัติ

แก้

องค์การบริหารส่วนตำบลริโก๋ (อบต.ริโก๋)  อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส ซึ่งอำเภอ สุไหงปาดีนั้น ได้จัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอในปี พ.ศ.2440 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการปรับปรุงวิธีการปกครองบริเวณ 7 หัวเมือง ขึ้นกับเมืองระแงะ ก่อนที่จะย้ายเมืองระแงะไปตั้งที่บ้าน “มะนารอ” เป็นเมืองนรา ในปี พ.ศ.2450 และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น “นราธิวาส” ในวันที่ 10 มิถุนายน 2458 อำเภอสุไหงปาดี จึงเป็นอำเภอหนึ่งที่ขึ้นกับเมืองนราธิวาส และนับเป็นอำเภอที่ 3 ของจังหวัดนราธิวาส

    ที่ว่าการอำเภอสุไหงปาดี เดิมตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ตำบลปะลุรู เมื่อเส้นทางรถไฟตัดผ่านที่บ้านโคกตา ตำบลปะลุรู ต่อมาในปี พ.ศ.2464  ทางราชการจึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่บ้านโคกตา แต่ยังคงเรียกอำเภอสุไหงปาดีอย่างเดิมคำว่า “สุไหงปาดี” ซึ่งมีความหมายตามภาษาท้องถิ่นว่า “คลองข้าวเปลือก”

   “สุไหง”   แปลว่า  คลอง

   “ปาดี”  แปลว่า ข้าวหรือข้าวเปลือก

    ตำบลริโก๋ เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอสุไหงปาดี ซึ่งประกอบไปด้วย 7 หมู่บ้าน และคำว่า “ริโก๋” เป็นภาษาท้องถิ่น มาจากคำว่า “ตูโก” หมายถึง น้ำไหลเซาะใต้ทำนบ สาเหตุที่เรียกว่า “ริโก๋” ก็สืบเนื่องมาจากตำบลแห่งนี้มีคลองสำคัญสายหนึ่งเป็นคลองประจำตำบล ซึ่งต้นน้ำเกิดจากเทือกเขาแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า “สายน้ำเปาะลี” ในเขตบ้านกำปงบือแน หมู่ที่ 6 ตำบลริโก๋ คลองสายนี้ผ่านหมู่บ้านทุกหมู่บ้านในเขตตำบลริโก๋ ซึ่งมีทั้งหมด 7 หมู่บ้าน และได้ไหลผ่านอำเภอแว้งออกสู่แม่น้ำสุไหงโก-ลก มีตำนานเล่าว่า ราษฎรในหมู่บ้านได้ช่วยกันสร้างทำนบเพื่อกั้นน้ำ นำไปใช้ทางการเกษตร แต่สายน้ำได้ไหลเซาะพื้นใต้ทำนบเป็นช่องโหว่ขึ้น ลักษณะที่เกิดขึ้นเช่นนี้ ชาวบ้านเรียกว่า “ตูโก”  จากสำเนียงเรียกที่เพี้ยนของคนนอกพื้นที่ จึงทำให้ภาษาเรียกที่ชาวบ้านเรียกกันไว้นั้น เปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็น ตูโก เป็น “ริโก๋” โดยตำบล ริโก๋ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของที่ว่าการอำเภอสุไหงปาดี ระยะห่างประมาณ 3-4 กิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ

แก้

 พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังตลอดทั้งปี เป็นดินพรุซึ่งเป็นแหล่งเกษตรกรรมและเป็นที่ตั้งชุมชน พื้นที่บางส่วนเป็นที่ราบสูงชันเชิงเขา

ภูมิอากาศ

แก้

 ลักษณะภูมิอากาศของตำบลริโก๋ มีอากาศร้อนชื้น และฝนตกชุกตลอดทั้งปี ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 ฤดู คือ

   ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ – เดือนมิถุนายน

   ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – เดือนมกราคมของปีถัดไป

อาณาเขต

แก้
ทิศเหนือ

ทิศใต้

ทิศตะวันออก

ทิศตะวันตก

ติดต่อกับ

ติดต่อกับ

ติดต่อกับ

ติดต่อกับ

เทศบาลตำบลปะลุรู

องค์การบริหารส่วนตำบลสากอ

องค์การบริหารส่วนตำบลกาวะ

เทือกเขาบูเกะตาเว

ประชากร

แก้

  - ประชากรทั้งสิ้น จำนวน  6,993  คน

  - แยกเป็น ประชากร ชาย  จำนวน 3,443  คน ประชากร หญิง  จำนวน 3,550  คน

  - ความหนาแน่นเฉลี่ย  187  คน/ตารางกิโลเมตร

ตารางแสดงชื่อหมู่บ้าน และจำนวนประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลริโก๋

หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร
ชาย (คน) หญิง (คน) รวม (คน)
1

2

3

4

5

6

7

บ้านจือแร

บ้านตะโละบูเก๊ะ

บ้านดอเฮะ

บ้านบาลูกา

บ้านกูวา

บ้านกำปงบือแน

บ้านลาแลลูวัส

227

117

110

194

240

143

76

699

367

360

661

678

461

217

741

383

372

647

690

513

204

1,440

750

732

1,308

1,368

974

421

 

รวม 1,107 3,443 3,550 6,993

          หมายเหตุ : ข้อมูลสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือนกันยายน พ.ศ.2561

สภาพทางเศรษฐกิจ

แก้

 ประชาชนในตำบลริโก๋ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนยางพารา ทำสวน เช่น ลองกอง เงาะ ทุเรียน ฯลฯ บางส่วนมีอาชีพรับจ้าง และค้าขาย

   1) อาชีพการเกษตร ร้อยละ 70 ของประชาชนในตำบล

        - ทำสวนยาง  ร้อยละ 35 ของอาชีพการเกษตร

        - ทำสวนผลไม้  ร้อยละ 15 ของอาชีพการเกษตร

        - ทำสวนยางและสวนผลไม้  ร้อยละ 45 ของอาชีพการเกษตร

        - อื่นๆ  ร้อยละ 5 ของอาชีพการเกษตร

   2) รับจ้าง ร้อยละ 25 ของประชาชนในตำบล

   3) อาชีพอื่นๆ ร้อยละ 5 ของประชาชนในตำบล

สภาพสังคมและวัฒนธรรม

แก้

สถาบันการศึกษา

แก้

โรงเรียนประถมศึกษา  จำนวน  4  แห่ง ได้แก่

    1) โรงเรียนบ้านกูวา   2) โรงเรียนบ้านดอเฮะ

    3) โรงเรียนบ้านบาโงกือเต 4) โรงเรียนบ้านตะโละบูเก๊ะ

 

โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม  จำนวน  1  แห่ง

โรงเรียนอิสลามอนุศาสน์

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก  จำนวน  3  แห่ง ได้แก่

    1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตะโละบูเก๊ะ

    2) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบาลูกา

3) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านดอเฮะ


สถาบันและองค์กรทางศาสนา

แก้

  - มัสยิด  จำนวน  6  แห่ง ได้แก่

    1) มัสยิดอาบีดิน

    2) มัสยิดราวฎอดุลยันนะห์

    3) มัสยิดดารุลอิสละห์

    4) มัสยิดเราะห์มานียะห์

    5) มัสยิดอัลอีสตีกอมะห์

    6) มัสยิดอัลอิจดีมาอิยะห์

  - ปอเนาะ  จำนวน  1  แห่ง (หมู่ที่ 2)

สาธารณสุข

แก้

   สถานีอนามัยประจำตำบล  จำนวน  1  แห่ง (สถานีอนามัยตำบลริโก๋)

อ้างอิ้งแหล่งที่มา

แก้

แผนพัฒนา 3 องค์กรบริหารส่วนตำบลริโก๋

ประวัติความเป็นมาบ้านสุไหงปาดี