กีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (Atom Games) องค์การนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (กวส.) รายละเอียด องค์การนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (กวส.) Thai ข้อมูลทั่วไป ประวัติความเป็นมาขององค์การนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (กวส.) กวส. หรือคณะกรรมการองค์การนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย มีแนวคิดมาจากการจัดการแข่งขันกีฬาอะตอมเกมส์ครั้งที่ 16 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่จะตั้งสมาพันธ์เพื่อช่วยลดปัญหาในการจัดงาน ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการต่อยอดใช้ชื่อว่า กวส. หรือคณะกรรมการองค์การนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย โดยมีสมาชิก 18 สถาบันที่เข้าร่วมการแข่งขันได้แก่

1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 5. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6. มหาวิทยาลัยมหิดล 7. มหาวิทยาลัยบูรพา 8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 10. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 11. มหาวิทยาลัยนเรศวร 12. มหาวิทยาลัยรังสิต 13. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 14. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 15. มหาวิทยาลัยศิลปากร 16. มหาวิทยาลัยทักษิณ 17. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 18. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แรกเริ่มก่อตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการแข่งขันกีฬาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย หรือ อะตอมเกมส์ และทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งก่อนการแข่งขัน ระหว่างการแข่งขันและหลังการแข่งขันกีฬาอะตอมเกมส์ซึ่งมติที่ประชุมส่วนใหญ่อยากให้มีการดำเนินการขององค์กรนี้ต่อไป ชื่อเต็ม : องค์การนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย - ใช้ชื่อย่อ : กวส. - สัญลักษณ์ประจำองค์กร คือ


- โดยมีความหมายคือ วงอิเล็กตรอน แสดงถึงความเป็นวิทยาศาสตร์ สัญลักษณ์คบเพลิง ซึ่งแสดงถึงการแข่งขันกีฬา รูปคนสองคน แสดงถึงความร่วมมือ และความสามัคคีกันของนิสิต/นักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ ในการทำกิจกรรมหรือ ภารกิจต่างๆร่วมกัน กวส. เป็นอักษรย่อของ “องค์การนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย” สีเขียว เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้และเทือกเขา แทนนิสิตนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ในภาคเหนือ สีฟ้า แสดงถึงความสวยงามและกว้างใหญ่ของทะเล แทนนิสิตนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ในภาคใต้และภาคตะวันออก สีเหลือง แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของท้องทุ่งนาอันเป็นอู่ข้าวของไทย แทนนิสิตนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ในภาคกลาง และเป็นสีประจำคณะวิทยาศาสตร์ด้วย สีน้ำตาลทอง แสดงถึงความรุ่งเรื่องทางวัฒนธรรมและโบราณสถานในภาค อิสาน แทนนิสิตนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สีชมพู แสดงถึงความรักและความสามัคคีของนิสิตนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ที่มาจากทั่วทุกภาคโดยไม่แบ่งแยกกัน

ในปี 2554 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นสมาชิกน้องใหม่ของ องค์การนิสิตนักศึกษาวิทยาศาสตร์สัมพันธ์แห่งประเทศไทย (กวส.) โดยมีการเข้าร่วมสังเกตการณ์ตามกฏระเบียบมาแล้วในปี 2553