ผู้ใช้:Agipimuser/กระบะทราย

คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

  1. หลักสูตรที่เปิดสอน (ปริญญาตรี)

1.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม Bachelor of Science Program in Farm Technology Management

2.หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหาร Bachelor of Science Program in Food Processing Technology Management


ประวัติคณะอุตสาหกรรมเกษตร

                 ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นทำให้มีความต้องการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น ธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นธุรกิจกลางน้ำในห่วงโซ่อุปทานที่มีบทบาทสำคัญ ทำหน้าที่ผลิตและป้อนเนื้อสัตว์คุณภาพเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร จากวิสัยทัศน์การเป็น “ครัวของโลก” ปัจจุบันรูปแบบการทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์และการแปรรูปอาหาร มีการใช้เทคโนโลยีทันสมัย ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอน ทำให้มีความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขานี้อีกมาก


                 สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ได้เห็นถึงความสำคัญในการสร้างคนรุ่นใหม่ เข้าสู่ภาคธุรกิจเกษตร เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคง และยั่งยืนด้านอาหาร จึงได้จัดตั้งคณะอุตสาหรรมเกษตร ขึ้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2557 โดยได้รับความร่วมมือด้านการศึกษาจาก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ

สีประจำคณะ: สีเขียวใบบัว (เฉด 7480 C)

                    ความหมาย: สัญลักษณ์เป็นรูปลูกโลกที่สื่อถึง “ครัวของโลก” รัศมีที่เปล่งประกายแสดงถึงพลังในการสร้างความรู้สู่การปฏิบัติ (Practicality) อย่างมีพลวัตร สามารถคิดนอกกรอบเพื่อสร้างนวัตกรรม (Innovation) และมีจิตสำนึกในการสร้าง “ความมั่นคงอาหาร” ให้กับชาวไทยและชาวโลกอย่างมีจริยธรรมและคุณธรรม (Morality) สำหรับรูปทรงเรขาคณิต 5 เหลี่ยม สื่อถึงคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ 5 ประการ ได้แก่ เรียนเป็น,  คิดเป็น , ทำงานเป็น , เน้นวัฒนธรรม และรักความถูกต้อง

ปณิธาน/วิสัยทัศน์ ปรัชญา คณะอุตสาหกรรมเกษตร :

            เรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองนอกเหนือจากห้องเรียนและภาคปฏิบัติ ด้วยสื่อต่างๆ ทั่วโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและยกระดับวิชาชีพอุตสาหกรรมเกษตร


            Extend Self-Learning beyond Classroom and Practicum with Worldwide Knowledge and Media,

to continuously improving practical efficiency and leveraging Agro-Industry profession.


  1. ปณิธาน
             คณะอุตสาหรรมเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ได้นำอักษรย่อของสถาบัน (PIM) มาขยายความให้สอดคล้องกับปรัชญาของสถาบัน ดังนี้ คือ

P: Practically (ความรู้สู่การปฏิบัติ) หมายถึง ความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตให้เป็นคนดี คนเก่ง สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริงได้ I: Innovation (นวัตกรรมและการสร้างสรรค์) หมายถึง ความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีปัญญามีความคิดริเริ่มในการสร้างนวัตกรรม M: Morality (คุณธรรม จริยธรรม) หมายถึง ความมุ่งมั่นในการผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม เข้าใจในศิลปะและวัฒนธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ส่วนรวม และรักความถูกต้อง


วิสัยทัศน์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร (Faculty of Agro-Industry’s Vision) :

“มุ่งมั่นพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารระดับโลก” (Dedicate to developing World-Class Agro-Industry and Foods)


พันธกิจ:

คณะอุตสาหกรรมเกษตรดำเนินการด้วยพันธกิจและวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ดังนี้

           1. สร้างและพัฒนาหลักสูตรให้สามารถผลิตบัณฑิต (Graduate-13Criteria) ที่มีคุณสมบัติตามความต้องการของผู้ประกอบการ 
           2. คิดริเริ่มงานวิจัย (Research Practicum Initiative) และต่อยอดเป็นนวัตกรรม 
           3. บริการวิชาการ (Academic Services to Society) เพื่อสร้างชุมชนและสังคมให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น 
           4. ทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม (Preservation of Local Arts and Culture) ท้องถิ่น 
           5 สร้างประโยชน์ที่สมดุลให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Balances)

คุณสมบัติบัณฑิต 13 ประการ คณะอุตสาหกรรมเกษตร (AGI’s Graduate-13 Criteria)​ :

           คณะอุตสาหกรรมเกษตรได้กำหนดเกณฑ์เพื่อวัดคุณภาพบัณฑิตให้ตอบสนองต่อพันธกิจและวัตถุประสงค์ และมีคุณสมบัติตรงต่อตามความต้องการของผู้ประกอบการ (Graduate-13Criteria) ดังนี้
           1.    ดีมีคุณธรรม (Ethical)
           2.    เก่ง (Competent)
           3.    บริหารจัดการคนได้ดี (People Management)
           4.    คิดริเริ่มงานวิจัย (Research Initiative)
           5.    คิดริเริ่มสร้างนวัตกรรม (Innovation Initiative)
           6.    สร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชน  (CSR for Better Living of the Community)
           7.    อนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น  (Preservation of Local Arts and Culture)
           8.    ชอบและเอาใจใส่งานอุตสาหกรรมเกษตร (Fascinate in Agro-Industry Operation)
           9.    มีความคล่องตัวและเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว  (Agile to Changes)
          10.   มีประสบการณ์จริงและพร้อมทำงานทันที (Ready to Work)
          11.   จัดการเพื่อผลิตอาหารปลอดภัย มั่นคง และยั่งยืน (Manage for Food Safety, Security, Sustainability)
          12.   สามารถปฏิบัติการอุตสาหกรรมเกษตรสีเขียว (Green Agro-Industry)
          13.   ประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   (Applied Sufficiency Economy for Decision Making)   

ค่านิยม คณะอุตสาหกรรมเกษตร (AGI-Values)

           สำหรับเป็นแนวปฏิบัติตนทั้งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา
           1. สามประโยชน์ สู่ความยั่งยืน            Three Benefits to Sustainability
           2. ทำเร็วและมีคุณภาพ                      Speed and Quality
           3. ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย             Simplification
           4. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง                 Adapt to Change
           5. สร้างสรรค์สิ่งใหม่                          Innovativeness
           6. มีคุณธรรม ความชื่อสัตย์                 Integrity, Honesty & Reciprocity
              และรู้จักตอบแทนบุญคุณ  


ชีวิตนักศึกษาคณะอุตสาหกรรมเกษตร

             หลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีฟาร์ม ของคณะอุตสาหกรรมเกษตร เป็นหลักสูตรของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ที่ได้รับการออกแบบจากคณาจารย์ และผู้เชี่ยวชาญจาก บริษัท ซีพีเอฟ ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำอันดับ 1 ด้านอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ
             นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากนักบริหารมืออาชีพที่มีประสบการณ์ในการทำงานจริงตรงกับสาขา ทำให้นักศึกษาคณะอุตสาหกรรมเกษตรมีความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ และพร้อมปฏิบัติงานได้จริง
             จากหลักสูตรที่ออกแบบมาให้นักศึกษาเรียนภาคทฤษฎีพร้อมไปกับการปฏิบัติงาน (Work-based Learning) ทำให้นักศึกษาต้องเรียน 3 เดือน ฝึกงาน 3 เดือนควบคู่กันไปจนกว่าจะเรียนจบ โดยมีการฝึกปฏิบัติงานที่ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในเทอมแรก และหลังจากนั้นจะเป็นการฝึกปฎิบัติในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ทันสมัยของบริษัท ซีพีเอฟ สำหรับในสาขาที่สองที่จะเปิดการเรียนการสอนในลำดับถัดไป ด้านการจัดการเทคโนโลยีแปรรูปอาหารนั้น นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัติในโรงงานแปรรูปอาหารที่ทันสมัยของบริษัท ซีพีเอฟ


คณะอุตสาหกรรมเกษตร สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ 85/1 หมู่ 2 ถ.แจ้งวัฒนะ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จังหวัด นนทบุรี 11120 เว็บไซต์ : http://agi.pim.ac.th/ โทร: 02-837-1176