ผู้ใช้:Accident network/ทดลองเขียน

สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ภายใต้การสนับสนุนของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

         สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร เริ่มก่อตั้งเมื่อเดือนตุลาคม 2548 เพื่อดำเนินงานป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนร่วมกับภาคีอื่นๆ ปัจจุบัน สคอ. ได้รับมอบหมายจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ดำเนินงานด้านการรณรงค์สื่อสารประชาสัมพันธ์เป็นหลัก

ระยะที่หนึ่ง สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุเพื่อลดปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน (ตุลาคม 2548 – มีนาคม 2550) ดำเนินงาน 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

1.       แสวงหาภาคีเครือข่ายแกนนำ : เพื่อสร้างความร่วมมือแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน

2.       พัฒนาและให้การสนับสนุนแนวความคิดดื่มไม่ขับ, ตั้งสติก่อนสตาร์ท, ดื่มไม่ขับ ขับไม่ซิ่ง, ดื่มแล้วขับ ถูกจับแน่

3.       สร้างกระแสรณรงค์พัฒนาและติดตามประเมินผลภาคีเครือข่าย

4.       ผลักดันให้เกิดนโยบายสาธารณะและอื่น ๆ

ผลการดำเนินงาน

1.       เกิดภาคีเรือข่าย 5 แกนนำหลัก คือ

-       ศูนย์พัฒนาคุณธรรม

-       มูลนิธิเมาไม่ขับ

-       สมาคมหมออนามัย

-       กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

-       สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ภาคีสนับสนุน ได้แก่ ตำรวจภูธรจังหวัด กรมทางหลวง ขนส่งจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานคุมประพฤติจังหวัด เครือข่ายแท็กซี่สามล้อไทยปลอดภัยใสสะอาด เครือข่ายสามล้อเอื้ออาทรเพื่อคนจน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สันนิบาตเทศบาล ฯลฯ

2.       สนับสนุนทุนดำเนินงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2549 จำนวน 3 องค์กร คือ

-  ศูนย์พัฒนาคุณธรรม

-  มูลนิธิเมาไม่ขัย        

-  สมาคมหมออนามัย   

3.       จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายลดอุบัติเหตุระดับประเทศ และจัดประชุมบูรณาการเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุปีใหม่ 2550 รวม 4 ภาค 

4.       พัฒนาขีดความสามารถแกนนำ ในพื้นที่เสี่ยงสูงในการแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ : ดื่มไม่ขับ ตั้งสติก่อนสตาร์ท,อุบัติป้องกันได้, อุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องเวรกรรม,ชุมชนปลอดภัย.oพื้นที่เสี่ยงสูง 4 ภาค 16 จังหวัด

ภาคกลาง : พระนครศรีอยุธยา,นครปฐม,ชลบุรี,จันทบุรี

ภาคใต้ : นครศรีธรรมราช,ตรัง,ภูเก็ต,ยะลา

ภาคเหนือ : เชียงใหม่,เชียงราย,พิษณุโลก,นครสวรรค์

ภาคอิสาน : ขอนแก่น,บุรีรัมย์,สุรินทร์,อุบลราชธานี

5.       ผลิตและสนับสนุนสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ปีใหม่,สงกรานต์และอื่น ๆ

6.       ให้การสนับสนุนโครงการย่อยของภาคีเครือข่ายในปี 2548 – 50 รวม 6 โครงการ

- โครงการลดปัญหาดื่มแล้วขับกับอุบัติเหตุ เครือข่ายนิสิต ป.โท พัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

- โครงการท่าเรือจุกเสม็ด ลดอุบัติเหตุจราจรจากปัญหาดื่มแล้วขับ ท่าเรือจุกเสม็ด

- โครงการรักและห่วงใย ใส่หมวกนิรภัยให้น้อง ภาคีสุขภาพและความปลอดภัย รพ.พระสมุทรเจดีย์

- โครงการทหารเรือสอนน้องให้มีวินัยและปลอดภัยในการเดินทาง ท่าเรือจุกเสม็ด

- โครงการสามล้อไทยร่วมใจลดอุบัติเหตุ สหกรณ์สามล้อเอื้ออาทรเพื่อคนจน จำกัด

- โครงการรวมพลังเยาวชนไทย ลดอุบัติภัยบนท้องถนน ถวายในหลวง ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไทยรอยัล เซฟตี้

7. จัดกิจกรรมแถลงข่าว รณรงค์ ประชาสัมพันธ์และออกติดตามการดำเนินงานรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุเทศกาลปีใหม่,สงกรานต์,ตรุษจีน ลอยกระทง

8.       จัดกิจกรรมติดตามสนับสนุนภาคีเครือข่ายเพื่อรวบรวมข้อมูล ภาพและรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมของภาคีเครือข่ายหลัก 3 องค์กร  วิเคราะห์ประเด็นปัญหา อุปสรรค พัฒนาองค์ความรู้เพื่อนำไปพัฒนาภาคีเครือข่ายและพัฒนาระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นให้มีประสิทธิภาพ ในพื้นที่เป้าหมาย 4 ภาค

-       ภาคกลาง : พระนครศรีอยุธยา,สระบุรี,ชลบุรี

-       ภาคใต้ : ภูเก็ต,สุราษฎร์ธานี,พังงา

-       ภาคเหนือ : พิษณุโลก,นครสวรรค์,เชียงใหม่

-       ภาคอิสาน : ขอนแก่น,อุดรธานี,นครราชสีมา

9.       ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายเทศกาลปีใหม่ 2549 โดยเสนอโครงการและผ่านการอนุมัติโดย สสส. ทำสัญญากับ สคอ. ได้แก่ 1.ศูนย์พัฒนาคุณธรรม  2.มูลนิธิเมาไม่ขับ  3.สมาคมหมออนามัย  4. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  5.สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  (สคอ.ผลิตและจัดส่งสื่อสนับสนุนภาคีเครือข่ายทุกจังหวัด)

10.   ร่วมดำเนินงานกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และร่วมกับภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนให้เกิดข้อเสนอนโยบายสาธารณะในพื้นที่


ระยะที่สอง สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ พ.ศ. 2550 - พ.ศ.2552 ดำเนินงาน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

1.       ประสานความร่วมมือภาคีเครือข่ายในการจัดเวทีพัฒนาศักยภาพและสร้างแรงจูงใจในการดำเนินงานตามมาตรเพื่อความปลอดภัยทางถนนทั้ง 5 ด้านให้เกิดประสิทธิภาพ

2.       สื่อสารประชาสัมพันธ์และสนับสนุนการณรงค์เฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุอย่างต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐและเอกชน

3.       สนับสนุนภาคีเครือข่ายรณรงค์จัดกิจกรรมเชิงรุกเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุในเทศกาลที่สำคัญ รวมทั้งในพื้นที่เสี่ยงและกลุ่มเสี่ยง

ผลการดำเนินงาน

1.       จัดเวทีพื้นที่นำร่องชุมชนปลอดภัย โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เน้นการทำงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในกลุ่มเสี่ยงและพื้นที่เสี่ยงด้วยมาตรการ 5 E นำร่องในพื้นที่ 8 จังหวัด 16 พื้นที่

2.       ประสานความร่วมมือและจัดเวทีสร้างแรงจูงใจเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์วิธีการดำเนินงานส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรหรือบุคคลได้มีขวัญและกำลังใจในการทำงานอย่างต่อเนื่อง 4 ภาค รวม 8 ครั้ง

3.       จัดเวทีพัฒนาศักยภาพผู้ประสานงานระดับภาคและระดับจังหวัด ตลอดจนให้การสนับสนุนการดำเนินงานทางวิชาการ โดยผู้ประสานงานระดับจังหวัด ระดับภาค ทำหน้าที่เชื่อมโยงการทำงานทั้งแนวราบและแนวดิ่ง

4.       จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายสื่อมวลชนท้องถิ่นเพื่อเผยแพร่ความรู้ ข้อมูล ผลกระทบ ความสูญเสียให้เกิดการรับรู้ในสังคมไทย 4 ภาค

5.       นำมาตรการเพื่อความปลอดภัยทางถนน ร่างเป็นข้อเสนอ เข้าสู่กระบวนการพิจารณาเป็นมติในที่ประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 17 – 19 ธันวาคม 2552 นำไปสู่การประสานความร่วมมือจัดทำพื้นที่นำร่องบังคับใช้กฎหมายครบวงจร การลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างเป็นรูปธรรมและการออกใบอนุญาตขับขี่ที่มีประสิทธิภาพ

6.       ขับเคลื่อนประเด็นนโยบายปลอดแอลกอฮอล์ในกลุ่มผู้ขับรถโดยสารสาธารณะ ให้ได้รับการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ

7.       จัดเวทีแถลงข่าวสร้างกระแสการรับรู้ช่วงเทศกาลปีใหม่สงกรานต์ อย่างต่อเนื่องโดยใช้ Theme หลักจาก สสส.

8.       ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สนับสนุนการดำเนินงานภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดทั้งปี เน้นหนักช่วงเทศกาลปีใหม่, สงกรานต์

9.       สคอ.จัดทำข้อมูลเชิงประเด็นในหลายรูปแบบ เช่น จดหมายข่าว เว็บไซต์ เอกสารวิชาการเรื่อง จักรยานยนต์ ความเร็ว ดื่มไม่ขับ สิทธิผู้ใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ

10.   ให้การสนับสนุนภาคีเครือข่ายเชิงยุทธศาสตร์จัดกิจกรรมเฝ้าระวังป้องกันกลุ่มเสี่ยง เช่น เยาวชน ผู้ใช้แรงงาน เช่น กลุ่มอาชีวะ มากกว่า 10 พื้นที่ และภาคีเครือข่ายดำเนินงานประสบความสำเร็จตามเป้าหมายมากกว่าร้อยละ 80 เกิดเครือข่าย “อส.จร.” และเครือข่ายเยาวชนอาสาลดอุบัติเหตุ ในพื้นที่ดำเนินการ

11.   ให้การสนับสนุนภาคีเครือข่ายลดอุบัติเหตุภาคประชาสังคม (คอจ.) ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ สร้างความร่วมมือ ร่วมเป็นเจ้าภาพและร่วมแก้ไขปัญหาโดยพื้นที่ ท้องถิ่น ชุมชน ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมเป็นแกนหลัก

12.   เกิดเครือข่ายลดอุบัติเหตุทางถนนใน 10 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย ลำพูน น่าน มุกดาหาร มหาสารคาม อุดรธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เกิดมาตรการชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน


ระยะที่สาม พัฒนาศักยภาพเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (ปี 2553) ดำเนินงาน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

1.       พัฒนา ผลิตและกระจายสื่อ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์อย่างเหมาะสมและครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย

2.       สร้างและขยายเครือข่ายภาคประชาสังคม ระดมความร่วมมือแบบมีส่วนร่วม พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็งผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคม

3.       สนับสนุนให้เกิดการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติ

ผลการดำเนินงาน

1.       สร้างกระแสให้เกิดการรับรู้ สนับสนุนการดำเนินงานของท้องถิ่น ชุมชนและภาคีเครือข่ายในประเด็น จักรยานยนต์/หมวกนิรภัย นอกเทศกาล โดย

-         ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สนับสนุนตลอดทั้งปี

-         ร่วมมือกับสภาวิศวกร จัดทำ spot และ VTR ชุมชนปลอดภัย

-         ร่วมมือกับ บ.Mankind และ บ.กลาง ฯ ผลิตสื่อ VTR เปิดไฟใส่หมวกลดเจ็บตายสนับสนุน “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน”

-         จัดทำรายการ TV และวิทยุ Safety Chanel

-         สนับสนุนป้ายรณรงค์ “อุบัติเหตุป้องกันได้” เครือข่ายสามล้อ

-         จัดทำเอกสารคู่มือ หมวกนิรภัย/การขับขี่รถจักรยานยนต์ปลอดภัย

-         สื่อสาร”ทศวรรษความปลอดภัยทางถนน” กับรถจักรยานยนต์ ร่วมกับ คุณพึ่งนภา คล่องพยาบาล, คุณประวีณมัย บ่ายคล้อย นำเสนอผ่านรายการข่าวเช้า TV-Thai

2.       สร้างกระแสการรับรู้ สนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย ตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน

-         จัดทำแผนการผลิตและให้การสนับสนุนสื่อ ในช่วงเทศกาล โดยจัดเวที รวบรวม สังเคราะห์ข้อมูล และออกแบบ ผลิตและจัดส่งสื่อให้กับภาคีเครือข่าย

-         จัดเวทีสร้างกระแส แถลงข่าว ร่วมกับ NBT

-         จัดกิจกรรม Press Tour ครม./สื่อมวลชน โดย นศ.มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า ร่วมดำเนินการ

-         จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างกระแสตามจุดที่สำคัญเช่น หมอชิต หัวลำโพง

3.       สนับสนุนภาคีเครือข่ายดำเนินงานในพื้นที่ส่งเสริมความปลอดภัย เขตเทศบาล อบต. /สถาบันการศึกษา/โรงงาน โดย

-         ร่วมกับสภาวิศวกร จัดทำคู่มือดำเนินงาน/จัดประกวดชุมชนปลอดภัย

-         บูรณาการกับเครือข่าย สสส. (เหล้า-บุหรี่-อุบัติเหตุ)

-         สนับสนุนเครือข่าย อสม.จัดทำแผนงานชุมชนด้านความปลอดภัยเข้าสู่กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล

-         ร่วมกับ ม.เกษมบัณฑิต ดำเนินงานพื้นที่ส่งเสริมความปลอดภัยในสถาบันการศึกษา โดย “วีรบุรุษสีส้ม” ทำหน้าที่รณรงค์ประชาสัมพันธ์

-         ร่วมกับ อปท. ขับเคลื่อนพื้นที่ส่งเสริมความปลอดภัยในท้องถิ่นชุมชน 16 จังหวัดนำร่อง

-         ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนร่วมกับแผนงาน Happy Workplace

-         สนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายลดอุบัติเหตุระดับจังหวัด (คอจ.) 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดน่าน เชียงราย สุพรรณบุรี มุกดาหาร

4.       พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายและบุคลากร โดย

-         นำบุคลากรและภาคีเครือข่ายเข้าอบรมหลักสูตรที่สำคัญ เช่น ปลุกยักษ์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพในการทำงาน

-         สนับสนุนภาคีเครือข่ายจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน รวม 7  ชุด (น้ำด้วน/ปทุมวิลเลจ/อสม./หมออนามัย/ศูนย์เสมา ฯ/ สามล้อ/มอเตอริ่ง)

-         จัดฝึกอบรมอาสาสมัครสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อความปลอดภัยทางถนน (อสป.) โดยรับอาสาสมัครจากสถาบันการศึกษา/เทศบาล/โรงงาน ทั้ง 76 จังหวัด ยกเว้น กทม.

5.       จัดทำข้อเสนอต่อคณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยประสานงานกับสำนักบูรณาการ ปภ. ในประเด็น เปิดไฟใส่หมวก คาดเข็มขัดนิรภัย 100%  ในสถานที่ราชการและพื้นที่ตัวอย่าง 50 แห่งทั่วประเทศ การควบคุมขนาดซีซีของรถจักรยานยนต์

6.       ร่วมมือกับสมาคมรถจักรยานยนต์แห่งประเทศไทยและบริษัทผู้จำหน่ายรถ ขับเคลื่อนการจ่ายหมวกนิรภัย 2 ใบ ต่อการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 1 คัน

7.       ร่วมขับเคลื่อนการกำหนดมาตรฐานหมวกนิรภัยในประเทศไทย

8.       ขับเคลื่อนกับกรมการขนส่งทางบก ประเด็น ให้มีการจัดเก็บภาษีตามขนาดซีซีของรถจักรยานยนต์

9.       ร่วมกับกลุ่มเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพผลักดันให้มีการควบคุมการโฆษณาหรือส่งเสริมการขายที่มีผลกระทบให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ (ต่อยอดมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ) ในประเด็น

-         การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับเหล้า บุหรี่ (มติที่ 5 ปี 2551)

-         การโฆษณา การส่งเสริมการขาย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่เน้นความเร็วและแรง (มติที่ 9)

-         ส่งเสริมให้สถานที่ราชการเป็นพื้นที่ส่งเสริมสุขภาพ

10.   ร่วมกับ สช./สคล. และเครือข่ายในพื้นที่ จังหวัดสิงห์บุรี ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็นอุบัติเหตุทางถนนอย่างเป็นระบบ

11.   สนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายที่ได้รับทุนจาก สสส. (คอจ. 4 จังหวัด เครือข่าย อสม./ สามล้อ / หมออนามัย)


ระยะที่สี่ พัฒนาเครือข่ายเพื่อการรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน (1 พฤษภาคม – 30 กันยายน 2554) ดำเนินงาน 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

1.       พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสนับสนุนให้เกิดการดำเนินงานด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างต่อเนื่อง

2.       สนับสนุนภาคีเครือข่าย ดำเนินงานผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคมเพื่อการเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่

3.       พัฒนาสื่อสิ่งพิมพ์ให้การสนับสนุนภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ

ผลการดำเนินงาน

1.       ร่วมกับ P5TV จัดรายการวิวาทะจราจร ช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน 2554 เพื่อแลกเปลี่ยนกับผู้ชมทางบ้าน และจัดทำสกู๊ปพื้นที่สร้างเสริมความปลอดภัย 4 แห่งทีร่ได้รับรางวัลจากสภาวิศวกร ออกอากาศและจัดทำเป็น CD กระจายให้ภาคีเครือข่ายทั่วประเทศ ได้ใช้เป็นคู่มือดำเนินงาน

2.       จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงาน ของอาสาสมัครสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อความปลอดภัย (อสป.) จำนวน 54 คน จาก 31 พื้นที่ ที่มีการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม เช่น การจัดรายการวิทยุชุมชน เสียงตามสายในพื้นที่ จัดทำข้อมูลข่าวสารโดย อปท. เป็นต้น

3.       พัฒนาศักยภาพ บุคลากรและภาคีเครือข่าย โดยจัดอบรมการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก/การจัดทำแผนงานโครงการให้กับแกนนำเครือข่ายและเจ้าหน้าที่ สคอ. รวมทั้งสิ้น 37 คน ได้แก่เครือข่าย อสป./อสม./สามล้อ/ศูนย์เสมา/ สคล. และ จนท.สคอ.

4.       จัดให้ภาคีเครือข่ายและบุคลากร สคอ. ได้ศึกษาดูงานการดำเนินงานมาตรการเพื่อความปลอดภัยทางถนนในโรงงาน ได้แก่ บริษัท เอเชีย พรีซิชั่น จำกัด และ บริษัท ไลออน ประเทศไทย จำกัด พื้นที่เครือข่ายหมออนามัย ตำบลทัพหลวง จังหวัดสุพรรณบุรี พื้นที่เครือข่าย อสป. ตำบลศรีดอนมูล จังหวัดเชียงราย เป็นต้น เพื่อให้เครือข่ายสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำไปดำเนินการในพื้นที่ได้

5.       สนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย อสป. จำนวน 31 พื้นที่ ให้ดำเนินการกำหนดมาตรการทางสังคมในพื้นที่ตามบริบท

6.       สนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายลดอุบัติเหตุที่ได้รับทุนจาก สสส. ได้แก่ คอจ. 4 จังหวัด น่าน เชียงราย มุกดาหาร และสุพรรณบุรี

7.       ร่วมกับการรถไฟแห่งประเทศไทย แก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ โดยส่งเสริมบทบาทและเน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำร่องที่ ตำบลวงฆ้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

8.       ร่วมกับ บริษัท SCG ระยอง และ SCG บางซื่อ วางแผนเรื่องความปลอดภัยทางถนนของพนักงานบริษัทในเส้นทางการขนส่งของบริษัท และการเดินทางของพนักงาน โดยร่วมกำหนดบทบาท มาตรการเพื่อความปลอดภัย

9.       จัดประชุมแกนนำภาคีเครือข่าย เพื่อระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ จำนวน 1 ครั้ง เน้นประเด็น สื่อที่ดีมีประสิทธิภาพ ประเภทของสื่อที่ได้รับความสนใจ และการร่วมมือผลิตสื่อในพื้นที่

10.   ผลิต และกระจายสื่อให้ภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐและเอกชน เน้น ภาคีเครือข่ายลดอุบัติเหตุ  องค์กรศาสนา ภาคประชาชน และหน่วยงานภาครัฐ

11.   สำรวจความพึงพอใจโดยการส่งแบบสอบถามกับผู้รับสื่อ มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมาทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและภาคีเครือข่าย พบว่า ร้อยละ 72 มีความพึงพอใจเกี่ยวกับลักษณะรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ของ สคอ. และร้อยละ 98 มีความพึงพอใจที่ได้รับสื่อประชาสัมพันธ์จาก สคอ. และมีความประสงค์ที่จะได้รับอย่างต่อเนื่อง

ระยะที่ห้า พัฒนาเครือข่ายเพื่อการรณรงค์ป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน (ปี 2554 - 2556) ดำเนินงาน 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

1.       พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน

2.       ขับเคลื่อนงานด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการป้องกันแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน

ผลการดำเนินงาน

1.       จัดเวทีร่วมกันกับสื่อมวลชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวม 3 ครั้ง มีสื่อมวลชนเข้าร่วมกิจกรรมทั่วประเทศมากกว่า 200 คน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและมีเป้าหมายร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้ทุนในพื้นที่ เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล

2.       สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายเยาวชน จัดกิจกรรมในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยงบประมาณจากท้องถิ่นและภาคเอกชน (อปท., บริษัทกลางฯ) สภาเยาวชนระดับพื้นที่นำเอาปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเป็นกิจกรรมหลัก สถาบันการศึกษาส่งเสริมกิจกรรมในหลักสูตรให้มีงานแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน เป็นแนวทางดำเนินงานเช่นคณะนิเทศศาสตร์ ม.เกษมบัณฑิต , ร.ร.มัธยม ฯ ระดับจังหวัด เป็นต้น

3.       ให้คำปรึกษา และเป็นพี่เลี้ยงภาคีเครือข่าย แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุในจุดตัดทางรถไฟ พื้นที่ต้นแบบร่วมกับสภาวิศวกร เกิดพื้นที่ต้นแบบ 33 พื้นที่ทั่วประเทศ

ส่วนที่ สคอ. ดำเนินการเอง

4.       ออกแบบ ผลิต และกระจายสื่อประชาสัมพันธ์ให้กับเครือข่าย เพื่อการสื่อสารประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีมากกว่า 200 องค์กร มากกว่า 1 ล้านชิ้น มีการรวบรวมนโยบาย, มาตรการ, ข้อสั่งการ, ข้อมูลทางวิชาการ ตลอดจนกิจกรรมรณรงค์ที่สำคัญ ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน, ปีรณรงค์สวมหมวกนิรภัย 100 % เพื่อใช้ประกอบการดำเนินงาน มากกว่า 5,000 ฉบับ มูลค่าของการผลิตไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท

5.       ให้การสนับสนุนสื่อมวลชนระดับพื้นที่ผลิตสื่อท้องถิ่น เช่น สวท.เชียงรายผลิตสื่อ Radio Spot  ภาษาท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายวิทยุและเสียงตามสายในพื้นที่ เครือข่ายองค์กรภาครัฐและเอกชนระดับจังหวัดที่ร่วมดำเนินการ อาทิเช่น สาธารณสุขจังหวัด, ตำรวจภูธรภาค, จังหวัด, นครบาล,ปภ.จังหวัด ,เขต-แขวงการทาง, ประชาสัมพันธ์จังหวัด ,เครือข่ายสื่อมวลชนภูมิภาค,วิทยุ, เคเบิลทีวี, โทรทัศน์, นสพ., อสป., อปท., เสียงตามสาย , หอกระจายข่าว เป็นต้น

ส่วนที่ 2 สคอ. ดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายแกนนำอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

6.       ร่วมจัดทำแผนงานฯและสนับสนุนการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน 1669

7.       สร้างความร่วมมือในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ การบังคับใช้กฎหมาย ตาม พรบ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมกับสำนักควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ฯ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข

8.       สร้างความร่วมมือกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์มาตรการ, นโยบาย, ข้อสั่งการของคณะอนุกรรมการฯ, ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการ ฯ ใช้รถใช้ถนนอย่างปลอดภัย ฯ ร่วมลงนามจัดทำหลักสูตร ฯ สำหรับตำรวจ

9.       ร่วมมือกับมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

10.   สร้างความร่วมมือกับกองสวัสดิศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ผลักดันให้เกิดโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนน ฝึกอบรมตัวแทนครู, สพฐ., ระดับภาค (กาญจนบุรี) ผอ.กองฯ ให้ความสนใจและแสดงความประสงค์ที่จะเสนอต่อกระทรวงบรรจุเป็นงานเร่งด่วน

11.   ร่วมมือกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ดำเนินงานด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ร่วมกับสื่อมวลชน ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากรถและสนับสนุนการจัดกิจกรรมเยาวชนอาสาฯ

12.   สร้างความร่วมมือกับบริษัทเอพีฮอนด้า ฝึกอบรมครูฝึกขับขี่ปลอดภัยภาคประชาชน คัดเลือกอาสาสมัคร 76 จังหวัด ๆ ละ 1 ตำบล และวางแผนขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายจังหวัดละ 50 คน

13.   สร้างความร่วมมือกับบริษัท SCG จัดกิจกรรมรณรงค์เฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในกลุ่มพนักงาน, ผู้บริหาร หนุนเสริมการทำงานยุทธศาสตร์เชิงรุกสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย

14.   สร้างความร่วมมือกับบริษัท , โรงงานเอกชน (มากกว่า  100 บริษัท) ให้การสนับสนุนวิทยากร สื่อสิ่งพิมพ์ในการรณรงค์ทั้งในและนอกเทศกาล

15.   ร่วมมือกับสถาบันเอไอที, คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ รวบรวมองค์ความรู้ด้านการแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยง (ทางโค้ง, ทางแยก, วงเวียน ฯลฯ) สื่อสารประชาสัมพันธ์ให้การสนับสนุนท้องถิ่นชุมชนในการแก้ไขปัญหาในระดับพื้นที่

16.   ร่วมมือกับเครือข่ายเยาวชน ดำเนินงานผ่าน Social Network (Facebook / Twitter ตั้งสติก่อนสตาร์ท) เสนอสถิติข้อมูล, นโยบาย, ข้อสั่งการ, กิจกรรมรณรงค์, พื้นที่ดีเด่น, นวัตกรรม


ระยะที่หก แผนงานสื่อสารประชาสัมพันธ์รณรงค์แก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน ปี ๒๕๕๘ – ปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินงานทุก 2 ปี ปัจจุบัน สสส.มอบภารกิจหลักให้ สคอ. ทำงานด้านการรณรงค์และสื่อสารประชาสัมพันธ์เป็นหลัก

วิธีการดำเนินงาน

1.      ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายเกาะติดสถานการณ์ จัดทีมรวบรวมวิเคราะห์ออกแบบวิธีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ( ยื่นหนังสือ,การแสดง,ประท้วงฯ) ผลักดันหน่วยงานรับผิดชอบหลักกำหนดนโยบาย,เร่งรัดให้เกิดการดำเนินการแก้ไขปัญหา ติดตามรายงานผลเผยแพร่ต่อสาธารณะ

2.      สร้างความร่วมมือกับภาคีเชิงยุทธ์ศาสตร์ดำเนินงานด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ขับเคลื่อนประเด็น,นโยบาย,มาตรการ ที่สำคัญ ลดความสูญเสียในกลุ่มเสี่ยง

-         ตำรวจ : การบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ( 5 จริง, 5 จอม, อื่น ๆ )

-         คมนาคม : มาตรฐาน ( รถ,คน,ถนน ) ที่ปลอดภัย

-         ท้องถิ่น : ท้องถิ่นชุมชนปลอดภัย , การประชุมนานาชาติ “ ชุมชนปลอดภัย ” ครั้งที่ 22 จ.น่าน

-         การรถไฟแห่งประเทศไทย : การแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟ ( งานต่อเนื่อง )

-         ศึกษาธิการ : การมีและใช้หลักสูตรด้านความปลอดภัย , โรงเรียนปลอดภัย,มหาวิทยาลัยปลอดอุบัติเหตุ )

-         NBT,NBC :  ท้องถิ่น,ชุมชน,องค์กรต้นแบบ ด้านความปลอดภัย

-         สื่อภูมิภาค , สื่อท้องถิ่น : รูปแบบวิธีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับสภาพปัญหาและบริบทของพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเสี่ยง,กลุ่มเสี่ยง

-         GRSP : มาตรฐานการดำเนินงานเพื่อความปลอดภัยทางถนน

-         บ.กลาง ฯ : กิจกรรมรณรงค์สื่อสารประชาสัมพันธ์ร่วมกับภาคีเครือข่าย

-         กรมการท่องเที่ยวฯ : มาตรฐานการบริการรถโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว

-         ภาครัฐและเอกชนที่สนใจ : ประกาศมาตรการองค์กรสร้างความปลอดอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน

-         ผลิตสื่อสนับสนุนการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายทั่วประเทศตามนโยบายของ สสส,ศปถ,รัฐบาล ทั้งในและนอกเทศกาลสำคัญ ( งานต่อเนื่อง )