เครือข่ายสังคมออนไลน์ แก้

สภาพและความเป็นมา แก้

ในอดีตการเรียนการสอนจะยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลาง โดยมีครูเป็นผู้บรรยายเนื้อหาบทเรียน ผู้เรียนมีหน้าที่เรียนรู้ตามที่ครูบอก จะไม่เน้นที่กระบวนการคิดให้เกิดกับผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ไม่เป็น ยุคต่อมาระบบการศึกษาเปลี่ยนไปเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child center) โดยที่ครูมีบทบาทและนำแนวทางการเรียนในบทเรียน แต่วิธีนี้ก็ยังมีข้อบกพร่องที่ครูผู้สอน มักจะตีความหมายของการเรียนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญผิดๆ โดยให้ผู้เรียนหาวิธีการเรียนเอง ซึ่งผู้เรียนไม่ได้ถูกฝึกมาให้เกิดกระบวนการคิดตั้งแต่แรก ไม่สามารถเรียนรู้โดยวิธีนี้ได้ ดังนั้นถ้าครูไม่เป็นผู้แนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียน หรือชี้แนะแนวทางเลย ผู้เรียนก็จะไม่เกิดกระบวนการเรียนรู้ใดๆ ทั้งสิ้น ปัจจุบันนี้วงการการศึกษามีจุดมุ่งหมายเน้นให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่มี และมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน เทคโนโลยีจึงมีบทบาทที่สำคัญในการตอบสนองการเรียนรู้ของผู้เรียน หรืออีกนัยหนึ่งคือต้องการให้โรงเรียนทุกโรงจัดการศึกษาโดยนำเทคโนโลยีมาใช้กับการเรียนการสอนในทุกกลุ่มสาระ เรียกได้ว่าเป็นการบูรณาการวิชากับสื่อเลยก็ว่าได้ การศึกษาในยุคนี้จึงหนีไม่พ้นกับคำเปรียบที่ว่า “การศึกษายุคดิจิตอล” นับตั้งแต่มีเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเข้ามา ดูเหมือนว่าวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลกจะถูกโยงให้ข้องเกี่ยวกับมันอย่าง เลี่ยงไม่ได้ เพราะนอกจากมันจะเป็นศูนย์รวมของข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีขอบเขตจำกัดแล้ว อินเทอร์เน็ตยังเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้คนที่มี ประสิทธิภาพไม่น้อย จึงไม่แปลกที่ทุกวันนี้ อินเทอร์เน็ตจะกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตประจำวันของเราไปแล้วจากผลการสำรวจความนิยมในการใช้งานเว็บไซต์ประเภท Social Network ของประเทศไทยปี 2553 10 อันดับ พบว่า อันดับ 1 คือFacebook การตอบโจทย์การศึกษาในยุคดิจิตอล จึงต้องตอบสนองที่ความต้องการของผู้เรียน ต้องสร้างแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต แต่การจัดตั้งแหล่งเรียนรู้จำเป็นต้องใช้งบประมาณมากแต่ถ้าครูสามารถสร้างแหล่งเรียนรู้สำหรับให้ผู้เรียนศึกษาได้เองตลอดเวลาและประหยัดเงิน โดยการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ให้ผู้เรียนสามารถเข้ามาสืบค้น เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จึงเป็นทางออกที่ดีสำหรับการจัดการเรียนการสอน การสร้างบทเรียนหรือเนื้อหาวิชาเรียน เป็นวิธีที่ทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ครูผู้สอนและนักเรียนมีการใช้อินเทอร์เน็ตเท่านั้น โดยครูจะเป็นผู้ควบคุมดูแลระบบ สร้างบทเรียนเนื้อหาลงไปในเครือข่าย เช่น Facebook, Youtube แล้วให้ผู้เรียนเข้าไปเรียนตามเนื้อหาที่ครูเป็นผู้กำหนดไว้ นอกจากนี้ครูยังสามารถเช็คเวลาเรียนจากการเข้าใช้ระบบของนักเรียนได้ นอกจากผู้เรียนจะเข้ามาเรียนอย่างเดียวแล้ว เมื่อเกิดคำถามก็สามารถแสดงความคิดเห็นหรือตั้งคำถามไว้ให้ครูมาตอบได้ทันที ทำให้การเรียนการสอนมีความน่าสนใจและเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม Social Network เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่เข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย และทุกโอกาส ไม่ว่าจะเป็นวงการธุรกิจ สื่อสารมวลชน องค์กรภาครัฐและเอกชน หรือแม้แต่วงการศึกษาเองก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอน การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือแม้แต่การสร้างปฏิสัมพันธ์ของครูกับนักเรียน การใช้ Social Network กับการจัดการเรียนการสอนในยุกดิจิตอล นับว่าเป็นเรื่องใหม่ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ เป็นการเปิดโอกาสทางการเรียนรู้ของนักเรียน จึงเป็นวิธีการที่ครูและวงการศึกษาควรนำไปประยุกต์ใช้กับการสอนของตนเอง เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ และทันต่อยุคโลกาภิวัฒน์ต่อไป