ผู้ใช้:603battalion/ทดลองเขียน

ประวัติกองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๖ แก้

๑. ที่ตั้งหน่วย ค่ายสรรพสิทธิประสงค์  ตำบล แสนสุข อำเภอ วารินชำราบ  จังหวัด อุบลราชธานี

๒. วันสถาปนาหน่วยคือ  วันที่  ๓๐ เมษายน  ๒๕๑๔

๓. ประวัติความเป็นมาของหน่วย

กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๖ ก่อตั้งหน่วยตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๖๔/๒๕๑๔ เรื่อง การจัดตั้งกรมผสมที่ ๒๓ ลง ๓๐ เม.ย.๒๕๑๔ โดยเป็นหน่วยขึ้นตรง  ปตอ. ในขณะนั้นใช้นามหน่วยว่ากองพันที่ ๓   กรมผสมที่ ๒๓ และได้ฝากการบังคับบัญชาไว้กับกรมผสมที่ ๖ ตามคำสั่ง ทภ.๒ ที่ ๙๑๗/๑๔                         เรื่อง การบังคับบัญชาและการส่งกำลังสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงแก่หน่วยกรมผสมที่ ๒๓ ลง ๑ เม.ย.๒๕๑๔  ต่อมาเมื่อ ๒๕๑๘  ได้เปลี่ยนนามหน่วยจาก  กองพันที่ ๓  กรมผสมที่ ๒๓  เป็น กองพันทหารราบที่ ๓     กรมผสมที่ ๖ ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๓/๒๕๑๘  เรื่อง การปรับและการบังคับบัญชาหน่วย พัน.ร. ในพื้นที่ ทภ.๒   ลง ๕ ก.ย.๒๕๑๘ ครั้นเมื่อปี พ.ศ ๒๕๒๒ ได้มีการแปรสภาพหน่วย ผส. เป็น กรม ร. ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๑/๒๕๒๒ เรื่องการแปรสภาพ ผส. เป็น กรม ร.  ลง ๒๕ พ.ค.๒๕๒๒  ดังนั้นกองพันทหารราบที่  ๓ กรมผสมที่ ๖         จึงได้เปลี่ยนนามหน่วยเป็น  กองพันทหารราบที่  ๓ กรมทหารราบที่ ๖  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

๔. หมายเลข อจย. หรือ อฉก. ร.๖ พัน.๓ ดำเนินการปรับหน่วยตาม อจย.หมายเลข ๗ - ๑๕ (๒๕ มิ.ย.๒๒) เป็น อจย.หมายเลข ๗-๑๕ (๒๕ ก.พ.๕๒) ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๕๕ เป็นต้นไป

๕. ประวัติธงชัยเฉลิมพล

วันที่ ๑๐ ม.ค.๒๕๒๒ เวลา ๑๔๓๐ พ.ท.ชูศักดิ์  เวชประเสริฐ ผบ.ผส. ร.๖  เข้ารับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล จากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร         รัชกาลที่ ๙  ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มาลงที่สนามบิน กองบิน  ๒๑ และได้เข้าเก็บรักษาไว้ที่ บก.ผส.๖ ร.พัน.๓ เรียบร้อยเมื่อวันที่ ๑๑ ม.ค.๒๕๒๒ เวลา ๑๒๐๐

๖. การปฏิบัติงานที่สำคัญ

เมื่อปี  ๒๕๑๖ จัดกำลัง  ๑ กองร้อย อวบ.ออกปฏิบัติภารกิจปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ในพื้นที่ อ.นาแก จ.นครพนม ร่วมกับ  ผส.๒๓, ผส.๒๓ พัน.๑ และ ผส.๒๓ พัน.๒ โดย จัดตั้งขึ้นเป็น  ฉก.พัน.ร.๒๓๒

เมื่อปี  ๒๕๑๗  จัดกำลัง บก.พัน.ร. ประกอบด้วยกองร้อย  บก. และ  ๑ กองร้อย อวบ. สมทบด้วยกำลัง  ๑  กองร้อย ร. จาก  ผส.๒๓ ร.พัน.๑ และ  ๑  กองร้อย ร. จาก  ผส.๒๓ ร.พัน.๒ โดยจัดตั้งเป็น ฉก.พัน.ร.๒๒๓  ปฏิบัติภารกิจในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์  ในพื้นที่ อ.นาแก  จ.นครพนม

เมื่อปี  ๒๕๑๘  จัดกำลัง ๑  กองร้อย  อวบ. ออกปฏิบัติภารกิจในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์  โดยเป็นส่วนหนุนของ  ทภ.๒ สน. ที่ จ.สกลนคร

เมื่อปี  ๒๕๒๐ บก.พัน.ร. และ  ๑ กองร้อย  อวบ.      ปฏิบัติภารกิจจัดตั้งศูนย์เฝ้าตรวจชายแดน และปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ จ.อุบราชธานี และจัดกำลัง  ๑  กองร้อย อวบ. ปฏิบัติภารกิจคุ้มกันสร้างทางจาก  กิ่ง อ.ดงหลวง จ.นครพนม ถึง บ.พังแดง ต.ดงหลวง อ.นาแก จ.นครพนม

เมื่อปี ๒๕๒๑  จัดกำลัง  ๑ ชุดควบคุมสมทบกับกำลังของ  ผส.๖ และจัดกำลัง ๒  กองร้อย อวบ. ออกปฏิบัติภารกิจ  ในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ อ.ดอนตาล   จ.มุกดาหาร, จ.นครพนม และ อ.อำนาจเจริญ, อ.เลิงนกทา,         อ.ชานุมาน และ อ.เสนางคนิคม จ.อุบลราชธานี

เมื่อปี  ๒๕๒๒ จัดกำลัง บก.ศฝด. และ ๑ มว.ร. ป้องกัน ออกปฏิบัติภารกิจในการเข้าตรวจชายแดน  และปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่ อ.ธาตุพนม และจัดกำลัง             ๑ กองร้อย อวบ. ออกปฏิบัติภารกิจในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในพื้นที่  อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย โดยขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ  ศฝด.๒๐๒  

เมื่อปี ๒๕๒๓ - ๒๕๒๕  จัดกำลัง  ๑  กองร้อย อวบ.  ออกปฏิบัติภารกิจตามแผนป้องกันประเทศในพื้นที่ อ.กันทรลักษ์  จ.ศรีสะเกษ

เมื่อปี ๒๕๒๖ จัดกำลัง  ๑ กองร้อย อวบ. และ  ๑ ตอน ปรส.๑๐๖ มม. ออกปฏิบัติภารกิจตามแผนป้องกันประเทศในพื้นที่ อ.กันทรลักษ์  จ.ศรีสะเกษ  โดยขึ้นควบคุมกับ กกล. รบร่วม  ร.๖

เมื่อปี ๒๕๒๗  มี.ค.๒๗ - ๘ เม.ย.๒๗ จัดกำลัง  ๑ กองร้อย สมทบกับ  ร.๖ พัน.๒ ออกทำการผลักดันทหารเวียดนามที่รุกล้ำอธิปไตยบริเวณช่องพระมาลัย อ.ขุนหาญ  จ.ศรีสะเกษ

เมื่อ ๒๕๒๗ จัดกำลัง ๑ กองร้อย อวบ. ออกปฏิบัติภารกิจตามแผนป้องกันประเทศ  ในพื้นที่ อ.กันทรลักษ์  จ.ศรีสะเกษ  โดยขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ  กกล. รบร่วม ร.๖

เมื่อ ๔ ม.ค.๒๘ - ๑๙ ก.พ.๒๘ จัดกำลัง  ๑ กองร้อย อวบ. ทำการผลักดันทหารเวียดนามที่รุกล้ำอธิปไตยบริเวณช่องบก  อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี โดยขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ  กกล. รบร่วม ร.๖

เมื่อ ๖ มี.ค.๒๘ - ๑ พ.ค.๒๘  จัดกำลัง ๔  กองร้อย อวบ. สมทบกับ  ร.๖ พัน.๒  ออกทำการผลักดันทหารเวียดนาม ที่รุกล้ำอธิปไตยบริเวณแนวชายแดน บ.ตาตุม  อ.สังขะ  จ.สุรินทร์

เมื่อปี  ๒๕๒๘ จัดกำลัง ๑ พัน.ร.ฉก. ออกปฏิบัติภารกิจตามแผนป้องกันประเทศ โดยจัดกำลัง บก.พัน.ร. ร้อย.สน. และ ๒ กองร้อย อวบ. สมทบกำลังจาก ร.๖ พัน.๑ จำนวน ๑ กองร้อย  อวบ. ในบริเวณพื้นที่แนวชายแดน อ.กันทรลักษ์          จ.ศรีสะเกษ  และพื้นที่ อ.น้ำยืน  จ.อุบลราชธานี

เมื่อ ๒๘ ก.พ.๓๐ - ๑ ส.ค.๓๐ จัดกำลังจำนวน ๑  พัน.ร. ออกปฏิบัติภารกิจผลักดันกองกำลังต่างชาติที่รุกล้ำอธิปไตยบริเวณช่องบก  อ.น้ำยืน  จ.อุบลราชธานี โดยจัดกำลัง  บก.พัน.ร., ร้อย.สน. และ ๓ กองร้อย อวบ.      

เมื่อ ๑ ธ.ค.๓๑  - ๑ ต.ค.๓๒ จัดกำลัง จำนวน        ๑ พัน.ร.ฉก. เป็นกองพันผสมเตรียมพร้อม ทภ.๒ โดยจัดกำลัง  บก.พัน.ร., สสก., ร้อย.สสช. และ ๓ กองร้อย อวบ. สมทบด้วยกำลังจาก ร้อย.รสพ. ๑ มว., ร้อย.ถ.๑ มว., ม.พัน.๒๑ ๑ มว. และ ป.พัน.๖ จำนวน ๑  กองร้อย  ออกปฏิบัติราชการสนามในพื้นที่ชายแดนไทย/กัมพูชา - ลาว เขตอีสานตอนล่าง            เพื่อเลือกกำหนดจุดตรวจการณ์ตามช่อง ขึ้น – ลงแนวชายแดน

เมื่อ ๒๖ ก.ย.๓๒ - ๑ ต.ค.๓๓ จัดกำลัง ๒ กองร้อย ร. ออกปฏิบัติราชการสนามตามแผนป้องกันประเทศ  โดยขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ ฉก.ร.๖ พื้นที่ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี

เมื่อ ๒๖ ก.ย.๓๕ -  ต.ค.๓๖ จัดกำลัง ๑ กองร้อย ร.  ออกปฏิบัติราชการสนามตามแผนป้องกันประเทศ โดยขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ ฉก.ร.๖ ในพื้นที่ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี

เมื่อ ๒๖ ก.ย.๓๘ - ๑ ต.ค.๓๙  จัดกำลัง ๑ กองร้อย ร. ออกปฏิบัติราชการสนามตามแผนป้องกันประเทศ  โดยขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ  ฉก.ร.๖  ในพื้นที่ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี

เมื่อ  ๔ ต.ค.๔๑  จัดกำลัง ๑ กองร้อย ร. ออกปฏิบัติราชการสนามตามแผนป้องกันประเทศโดยขึ้นควบคุมทางยุทธการกับ  ฉก.ร.๖  ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี

เมื่อ ๑ เม.ย.๔๘ - ๑ เม.ย.๕๐ จัดกำลังพล ๑ ร้อย.ร.(๒๐๗) สมทบ พัน.ร.๖๐๒ และ ๖๐๑ ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร บริเวณพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส )

เมื่อ ๑ เม.ย.๕๑ - ๑ ต.ค.๕๒ จัดกำลังพล ๑ พัน.ร. ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( อ.เมือง จ.ปัตตานี )

เมื่อ ๑ เม.ย.๕๔ - ๑ ต.ค.๕๕ จัดกำลังพล ๑ ร้อย.ร.สมทบ พัน.ร.๖๐๒ ปฏิบัติภารกิจตามคำสั่ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( อ.ยะหริ่ง, อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี )

เมื่อ ๑ ต.ค.๕๔ - ๑ ต.ค.๕๕ จัดกำลังพล ๑ พัน.ร.๖๐๓ ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดน พื้นที่เขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ

เมื่อ ๑ ต.ค.๕๘ - ๑ ต.ค.๕๙ จัดกำลังพล ๑ พัน.ร.๖๐๓ ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดน พื้นที่เขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ

เมื่อ ๑ ต.ค.๖๑ - ๑ ต.ค.๖๒ จัดกำลังพล ๑ พัน.ร.๖๐๓ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศ พื้นที่เขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ

เมื่อ ๑ ต.ค.๖๓ - จนถึงปัจจุบัน จัดกำลังพล ๑ พัน.ร.๖๐๓ ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศ พื้นที่เขาพระวิหาร อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ           

๗. เกียรติประวัติของหน่วย

กองทัพภาคที่  ๒ ได้ประกาศชมเชยการปฏิบัติงานของหน่วย ร.๖ พัน.๓  ( พัน.ร. ๖๐๓ )  โดยมี  พ.ท.สุชาติ  ภักดีพินิจ  เป็นผู้บังคับกองพัน  ได้นำกำลังเข้าปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศ  ตามแผนยุทธการ ดี – ๙  ของ กกล.สุรนารี  และตามแผนยุทธการเผด็จศึกของ ทภ.๒ ในการกวาดล้าง  ผลักดัน และทำลายกองกำลังต่างชาติที่ลุกล้ำอธิปไตยของชาติ  บริเวณช่องบก อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๒๙  ถึง ๓๐ ก.ย.๓๐  พัน.ร.๖๐๓  ได้ปฏิบัติภารกิจด้วยความกล้าหาญ  อดทน ดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างมี  ประสิทธิภาพยิ่ง ถึงแม้ว่าจะได้รับการต้านด้วยการยิงจากฝ่ายตรงข้ามอย่างหนาแน่นแต่กำลังของ พัน.ร.๖๐๓  ได้มีส่วนสนับสนุนให้การปฏิบัติภารกิจของ  ทภ.๒  ได้ผลเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก  พร้อมทั้งได้สร้างเกียรติภูมิอันดีงามให้กับ ทภ.๒ จึงได้รับการยกย่องชมเชยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา