ผู้ใช้:วัดอินทราวาส ต.สาวร้องไห้ อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง

                                                                                                                        วัดอินทราวาส (หลวงปู่กลั่น)
        วัดอินทราวาส ตั้งอยู่เลขที่ ๔๓ บ้านไผ่เกาะ หมู่ที่ ๗ ตำบลสาวร้องไห้ อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งัดมีเนื้อที่ ๓๓ ไร่ ๓ งาน ๒๐ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๙๘๖ 

อาณาเขต ทิศเหนือ จดถนนลาดยางของร.พ.ช.

                   ทิศใต้             จดที่ราชพัสดุ และที่ดินของประชาชน
                   ทิศตะวันออก    จดถนน ค.ส.ล. ของ อ.บ.ต.สาวร้องไห้
                   ทิศตะวันตก      จดคลอระบายน้ำของชลประทาน
        ลักษณะพื้นที่ตั้งวัด ภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม สภาพแวดล้อม โดยรอบเป็นหมู่บ้าน เป็นทุ่งนา มีถนนตัดผ่านหมู่บ้านและวัด เป็นเส้นทางคมนาคมที่สะดวก
                                                                                                                            อาคารเสนาสนะประกอบด้วย

อุโบสถ กว้าง ๘ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๔ เป็ฯอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารการเปรียญ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สร้างเมื่่อ พ.ศ.๒๔๘๙ เป็นอาคารไม้ทรงไทยชั้นเดียว หอสวดมนต์ กว้าง ๘.๘๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นอาคารไม้ทรงไทย กุฎิสงฆ์ จำนวน ๑๐ หลัง เป็นอาคารไม้ ๘ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ หลัง

                นอกจากนี้ยังมี เมรุ ๑ หลัง หอระฆัง ๑ หลัง  โรงครัว ๑ หลัง  และมณฑป ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นศาลา ๓ มุข ทรงไทย
                                                                                                                              ปูชนียวัตถุ
              มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางสะดุ้งมาร ขนาดหน้าตักกว้าง ๗๗ นิ้ว สูง ๑๐๖ นิ่ว สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางสะดุ้งมาร ขนาดหน้าตักกว้าง ๖๕ นิ้ว สูง ๔๕ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙
              วัดอินทราวาส ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕  โดยมีนายแก้ว นางผ่อง ทองนิล และนายอินทร์ เสือน้อย เห็นว่าในทิองถิ่นนี้ยังไม่มีวัดไว้บำเพ็ญกุศล ที่มีอยู่ก็ห่างไกล ไม่สะดวกแก่การเดินทาง จึงได้ปรึกษากันที่จะสร้างวัดขึ้นในท้องถิ่นนี้ ถึงตกลงและซื้อที่ดินได้ จำนวน ๑๑ ไร่ เป็นที่จัดตั้งวัด ต่อมามีผู้มีจิตศรัทธาถวายบ้านทรงไทย จำนวน ๔ หลัง มาปลูกเป็นกุฎิ เป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ และได้บอกบุญไปยังชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น เพื่อนำเงินมาสร้างหอสวดมนต์ เป็นที่ทำวัตรสวดมนต์ของพระสงฆ์ต่อไป ซึ่งการสร้างเสนาสนะของวัดแห่งนี้ ได้มีประชาชนมีจตศรัทธาร่วมกันทำบุญ อีกทั้งร่วมกันพัฒนาต่อเติม จนมีเสนาสนะเป็นที่มั่นคงถาวร และวัดมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๕ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร
              การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

๑.พระอธิการตั๋น ๒.พระอธิการเผื่อน ๓.พระอธิการแกละ ๔.พระมหาประเสริฐ พ.ศ.๒๔๙๒ ถึง พ.ศ.๒๕๐๐ ๕.พระอธิการบุญเหลือ พ.ศ.๒๕๐๐ ถึง พ.ศ.๒๕๐๖ ๖.พระครูคุณวรวัฒน์ พ.ศ.๒๕๐๗ ถึง พ.ศ.๒๕๓๐ ๗.พระใบฎีกาเล็ก ยสธโร พ.ศ.๒๕๓๒ ถึง พ.ศ.๒๕๔๔ ๘.พระครูไพบูลย์ศีลวัฒน์ พ.ศ.๒๕๔๕ ถึง ปัจจุบัน

               การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๗