ผู้ใช้:วัชรพล แสนศิริ/ทดลองเขียน

ประวัติวัดทุ่งกล้วย ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา แก้

 
ป้ายหน้าวัดทุ่งกล้วย

วัดทุ่งกล้วย ตั้งอยู่ที่บ้านทุ่งกล้วย ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา สักกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดทุ่งกล้วยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 2 ไร่ มีอาณาบริเวณทางทิศเหนือประมาณ 40 วา ติดกับลำน้ำ อาณาบริเวณทางทิศใต้ ประมาณ 40 วาติดกับถนนหลวง อาณาบริเวณทางทิศตะวันออกประมาณ 40 วา ติดกับที่ดินของเอกชนอาณาบริเวณทางทิศตะวันตกประมาณ 40 วา ติดกับลำน้ำ วัดทุ่งกล้วยสร้างเมื่อราวๆ ปีพุทธศักราช 2441 ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์  

 
บริเวณวัดทุ่งกล้วย ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา

(ตามบันทึกปั้บสาโบราณจารึกไว้ว่าวัดทุ่งกล้วยสร้างมา ก่อนปีพุทธศักราช 2437 แล้ว โดยมีเจ้าอาวาสรูปแรกชื่อว่า พระครูบาเจ้ากั๋ญไจย) วัดทุ่งกล้วยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา กว้าง 30 เมตร ยาว 30 เมตร ซึ่งมีพระพุทธรูปสูง 3 เมตร ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูน เป็นพระประธานในพระวิหารหลวง นอกจากนี้แล้วทางวัดยังมีอาคารเสนาสนะต่างๆ ดังนี้

-พระวิหารหลวง ซึ่งมีความกว้าง 12.4 เมตร มีความยาว 35.3 เมตร ซึ่งนับตั้งแต่สร้าง วัดทุ่งกล้วยขึ้นมานี้ พระวิหารหลังนี้เป็นพระวิหารหลังที่สามของวัดแล้ว

-ศาลาการเปรียญ ซึ่งมีความกว้าง 14 เมตร มีความยาว 22.4 เมตร ซึ่งได้ก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช  2533

-หอระฆัง ซึ่งมีความกว้าง 4.60 เมตร มีความยาว 6.30 เมตร มีความสูง 8 เมตร ซึ่งได้ก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2535

-กฏิ ซึ่งเป็นกุฏิทรงล้านนาประยุกต์สองชั้น ชั้นล่างเป็นปูนชั้นบนเป็นไม้ ยอดหลังหลังคาเป็นทรงจัตุรมุข มีความกว้าง 20 เมตร มีความยาว 21 เมตร ซึ่งได้ก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2537

-ซุ้มประตูวัด ซึ่งเป็นซุ้มประตูไม้สักศิลปะทรงล้านนาเชียงใหม่ มีความสูง 5 เมตร

 
พระประธานในพระวิหารหลวงวัดทุ่งกล้วย ตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา

-ศาลาพระพุทธปิมปาสารูปเจ้าพระเจ้าทันใจสะหรี๋ศรีทุ่งกล้วยมหาบารมีบันดาลโภคทรัพย์ ศาลามีความกว้าง 2 เมตร มีความยาว 8 เมตร เป็นทรงล้านนาประยุกต์

ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุ แก้

-พระพุทธรูป เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีความสูง 3 เมตร สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพระรูปที่งดงาม มีพระพักตร์ที่งดงามอิ่มเอิบน่าศรัทธาเลื่อมใส ส่วนการสร้างนั้นไม่แน่ใจว่าสร้างมาตั้งแต่ปีพุทธศักราชไหน

-พระพุทธรูปไม้สักทอง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่อายุร้อยกว่าปี มีความสูงประมาณ 1 เมตร

-ปั้บสาโบราณ เป็นตำราเกี่ยวกับตัวยาสมุนไพร วิธีปรุงยาสมุนไพร และวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณีของชาวบ้านในสมัยนั้น ซึ่งคนในสมัยนั้นเขียนไว้เป็นภาษาล้าน มีอายุเก่าแก่มาก ประมาณร้อยกว่าปีแล้ว

-พระสิงห์สอง เป็นพระพุทธรูปเนื้อเงิน มีความสูงประมาณ 1 ฟุต มีอายุหลายร้อยปีแล้ว ซึ่งพระสิงห์สองนี้มีมาก่อนที่จะสร้างวัดขึ้นมาแล้ว

-เครื่องเงินโบราณ ซึ่งเป็นเครื่องของตกแต่งและเป็นของใช้ของคนในสมัยโน้น ซึ่งมีหลานๆอย่าง เช่น ที่ตำหมาก กุญแจเงิน สิงห์เงิน เป็นต้น

-พระพุทธรูปหินทราย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ประจำวัดทุ่งกล้วยอีกองค์หนึ่ง ซึ่งมีอายุราวๆ 70 กว่าปี

-ช้างเผือก เป็นช้างที่แกะสลักมาจากไม้สักทอง ซึ่งแกะมาพร้อมๆ กับพระพุทธรูปไม้สักทอง ซึ่งมีความสูงประมาณ 1 ฟุตกว่าๆ มีอายุราวๆ 100 ปีมาแล้ว

 
ศาลาไม้หลวงพ่อพระเจ้าทันใจ

-พระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นพระบรมสารีริกธาตุวรรณะแก้วมุกดาและอีกหลายๆ วรรณะ และพระธาตุของพระอรหันต์และพระอริยสงฆ์อีกหลายองค์ ซึ่งได้รับพระราชทานมาจาก สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2554

 
หลวงพ่อพระเจ้าทันใจ

-พระพุทธปิมปาสารูปเจ้าพระเจ้าทันใจสะหรี๋ศรีทุ่งกล้วยมหาบารมีบันดาลโภคทรัพย์ องค์พระเป็นลักษณะคล้ายพระสิงห์หนึ่ง เป็นศิลปะเมืองน่าน หน้าตักมีความกว้าง 1 เมตร50 มีความสูง 1 เมตร30 องค์สร้างด้วยอิฐถือปูนข้างในองค์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุโดยได้รับพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากองค์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อนำมาประดิษฐานไว้ในองค์พระเจ้าทันใจ สร้างเมื่อ วันเสาร์ที่๕ มกราคม พ.ศ.2556 เริ่มปั้นเวลา 06.09 นาฬิกา ปั้นสำเร็จเสร็จบริบูรณ์เวลา16.39 นาฬิกา

ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดทุ่งกล้วย แก้

1.พระครูบาเจ้ากั๋ญไจย   เริ่มสร้างวัด

2.พระอานันท์ใจ             ระหว่าง พ.ศ.2437 ถึง พ.ศ.2449

3.พะองค์                       ระหว่าง พ.ศ.2450 ถึง พ.ศ.2457

4.พระกันทา                     ระหว่าง พ.ศ.2458 ถึง พ.ศ.2471

5.พระวิชัย                       ระหว่าง พ.ศ.2487 ถึง พ.ศ.2501

6.พระนวล                      ระหว่าง พ.ศ.2509 ถึง พ.ศ.2510

7.พระเปลี่ยน                   ระหว่าง พ.ศ.2510 ถึง พ.ศ.2516

8.พระสายชล                  ระหว่าง พ.ศ.2516 ถึง พ.ศ.2523

9.พระสมฤทธิ์                 ระหว่าง พ.ศ.2523 ถึง พ.ศ.2526

10.พระสุทธิกานต์           ระหว่าง พ.ศ.2527 ถึง พ.ศ.2535

11.พระอธิการสุวรรณ    ระหว่าง พ.ศ.2536 ถึง พ.ศ.2540

12.พระอธิการศรสุรินทร์ ระหว่าง พ.ศ.2542 ถึง ปัจจุบัน