ผู้ใช้:ร.8 พัน.1/ทดลองเขียน

ประวัติกองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๘

ความเป็นมาของหน่วย

         กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๘   มีที่ตั้งครั้งแรกที่ค่ายประจักษ์ศิลปาคม จว.อุดรธานี        ใช้ชื่อหน่วยว่า  “ กองพันทหารราบที่ ๔   กรมผสมที่ ๑๓ ”  และต่อมาเปลี่ยนเป็น  กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๘   โดยมีที่ตั้ง ที่ ค่ายศรีสองรัก อ.เมือง จ.เลย  จนถึงปัจจุบัน

ภารกิจของหน่วย

         หน่วย  ร.๘ พัน.๑ มีหน้าที่ในการป้องกันประเทศ จากการรุกรานของศัตรูภายนอกประเทศ    รักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ช่วยเหลือและพัฒนาประเทศ ตามที่หน่วยเหนือมอบหมายให้

ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 

๑. พ.ท.ดำรงค์           คุ้มแสง               พ.ศ. ๒๕๒๒  -  ๒๕๒๕     ปัจจุบันครองยศ   พล.ท.

๒. พ.ท.ประดิษฐ์         ดวงจรัส              พ.ศ. ๒๕๒๕  -  ๒๕๒๘   ปัจจุบันครองยศ    พล.ท.

๓. พ.ท.มาณพ           ราศรี                 พ.ศ. ๒๕๒๘  - ๒๕๓๓    ปัจจุบันครองยศ    พล.ท.

๔. พ.ท.สิทธิ              จันทร์สมบูรณ์       พ.ศ. ๒๕๓๓  - ๒๕๔๐     ปัจจุบันครองยศ   พล.อ.

๕. พ.ท.กนก              ภู่ม่วง                พ.ศ. ๒๕๔๐ -  ๒๕๔๑     ปัจจุบันครองยศ   พล.อ.

๖ พ.ท.อรรฐพร          โบสุวรรณ            พ.ศ. ๒๕๔๑  -  ๒๕๔๔     ปัจจุบันครองยศ   พล.อ.

๗. พ.ท.สุวรรณ          เชิดฉาย              พ.ศ. ๒๕๔๔  - ๒๕๔๘     ปัจจุบันครองยศ   พล.ต.

๘. พ.ท.ทักษภณ         ศิริรักษ์              พ.ศ. ๒๕๔๘  -  ๒๕๕๐     ปัจจุบันครองยศ  พล.ต.

๙. พ.ท.ยงยุทธ           ขันทวี                พ.ศ. ๒๕๕๐  -  ๒๕๕๕    ปัจจุบันครองยศ   พ.อ. (พ)

๑๐.พ.ท.วรวุฒิ           สำราญ                พ.ศ. ๒๕๕๕   - ๒๕๕๗     ปัจจุบันครองยศ   พ.อ.

๑๑.พ.ท.ใหญ่ยิ่ง          หาญสำราญ        พ.ศ. ๒๕๕๗   -  ๒๕๖๑    ปัจจุบันครองยศ   พ.อ.

๑๒.พ.ท.อภิวัชร์          ชารีโคตร             พ.ศ. ๒๕๖๑   -  ๒๕๖๓    ปัจจุบันครองยศ   พ.อ.

๑๓. พ.ท.กัญญณัต       ไชยโอชะ            พ.ศ. ๒๕๖๓   -  ๒๕๖๓    ปัจจุบันเป็น ผบ.ร.๓ พัน.๑

๑๔.พ.ท.ประดิษฐ์         พรมเรียน           พ.ศ. ๒๕๖๓  -  ปัจจุบัน 

ภารกิจสำคัญในอดีตของหน่วย

         - พ.ศ. ๒๕๒๓  จัดตั้ง ศฝด. ๑๐๑  ที่  อ.ท่าลี่  จว.เลยเพื่อรับผิดชอบพื้นที่แนวชายแดน อ.ท่าลี่ ,  อ.เชียงคาน , อ.ปากชม จว.เลย ตามแผนงานการปราบปราม ผกค. ปี ๒๓

         - พ.ศ. ๒๕๒๕  จัดกำลังสนับสนุน  ชค. ๐๘ และปรับเป็น   พตท. ๒๕ ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ จว.ชัยภูมิ  และ  ๔ อำเภอ ของ  จว.ขอนแก่น ตามแผนงานต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์

         - พ.ศ. ๒๕๒๗  จัดกำลังตั้ง ชค. ๒๑ เพื่อรับผิดชอบการปฏิบัติงานในพื้นที่ อ.ด่านซ้าย  อ.นาแห้ว  อ.ภูเรือ  ตามแผนต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์  ปี  ๒๗

         - พ.ศ. ๒๕๒๘  จัด ๒  กองร้อย อวบ. ปฏิบัติราชการสนามตามแผนป้องกันประเทศในพื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังสุรนารี  ซึ่งได้ร่วมปฏิบัติภารกิจยุทธการพิฆาตไพรี ของกรมทหารราบเฉพาะกิจที่ ๘   ในการผลักดันทหารต่างชาติล่วงล้ำอธิปไตยเข้ามายึดเนิน  ๕๓๘ บริเวณช่องโอบก ผลการปฏิบัติสามารถผลักดันทหารต่างชาติออกจากเนิน  ๕๓๘ ได้ และยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ของข้าศึกได้จำนวนมาก

         - จัดกำลัง  ๑  พัน. ร. ปฎิบัติภารกิจป้องกันประเทศในการผลักดันทหารต่างชาติล่วงล้ำอธิปไตยที่  บ.ร่มเกล้า ชายแดนไทยลาว  รอยต่อเขตรับผิดชอบ ทภ. ๒  และ ทภ. ๓ โดยเข้าที่ตั้งบริเวณ  อ.นาแห้ว   เมื่อ  ๒๔ ม.ค.๓๑

         - พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๒  จัดกำลัง ๑ ร้อย ร.   เพื่อปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนพื้นที่ชายแดน  ไทย - ลาว อ.นาแห้ว  จว.เลย

         - พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๕  จัดกำลัง ๑ ร้อย. ร. สนับสนุน ทภ. ๓ ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนไทย – พม่า ด้านจังหวัด ตาก  ร่วมกับ ฉก. ร.๔ ( กกล.นเรศวร )

         - พ.ศ.๒๕๔๖ จัดกำลัง ๑ หมวด สมทบกองกำลัง ๙๗๒ ไทย – ติมอร์ ผลัดที่ ๖  ปฏิบัติหน้าที่ ณ เมืองเบาเกา ประเทศติมอร์ตะวันออก ระยะเวลา  ๗  เดือน

         - พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๕๑ หน่วยได้จัดกำลัง ๑ ร้อย ร. (๑๘๒ คน) สนับสนุนกองทัพภาคที่ ๔ ปฏิบัติหน้าที่  ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

         - ตั้งแต่ ต.ค. ๒๕๕๑ – ปัจจุบัน หน่วยได้จัดกำลัง ฉก.ปัตตานี ๒๕ ปฏิบัติงานพื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดปัตตานี

สิ่งสำคัญของหน่วย 

         - พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและได้อัญเชิญมาประดิษฐานบนศาลาวงกลมเมื่อ  ๓๑ ก.ค.๒๓

         - ธงไชยเฉลิมพล ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อ ๑๙ เม.ย.๒๔

         - อนุสาวรีย์ วีรชนทหารกล้า ซึ่งได้บรรจุอัฐิ กำลังพลของหน่วยที่เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม  ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่  หน้า บก. ร.๘ พัน.๑ 


ประวัติหน่วย ร.๘ พัน.๑

๑. ประวัติความเป็นมาของหน่วย

        ๑.๑ การจัดตั้งหน่วย

              ๑.๑.๑ เพื่อเสริมสร้างกำลังกองทัพให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเป็นรากฐานในการจัดตั้งหน่วย ร.๘ ในอนาคต จึงให้หน่วยจัดตั้งขึ้น เมื่อ ๙ มี.ค.๒๑

              ๑.๑.๒ จัดตั้งขึ้นตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ลับ ที่ ๒๓/๒๑ ณ บก.มว.สร.ป.พัน.๑๓ ค่ายประจักษ์ศิลปาคม อ.เมือง จ.อุดรธานี และขึ้นการบังคับบัญชากับ ร.๑๓ โดยใช้ชื่อหน่วยในขณะนั้นว่า กองพันทหารราบที่ ๔ กรมผสมที่ ๑๓ (ผส.๑๓/๔)

              ๑.๑.๓ ขั้นตอนในการจัดตั้งหน่วย แบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน

                        ขั้นที่ ๑ (ปี ๒๕๒๑) จัดตั้ง ๓ กองร้อย.ร.ตาม อจย.๗ - ๑๗ (๒ ส.ค.๑๖) โดยบรรจุกำลังในอัตราโครงในอัตราที่สำคัญและจำเป็น เพื่อให้หน่วยสามารถปฏิบัติงานได้

                        ขั้นที่ ๒ (ปี ๒๕๒๒) ขยายการจัดตั้ง ๓ กองร้อย ร.ให้มีกำลังตามอัตราลดและจัดตั้ง  บก.พัน ร้อย.สสก.,ร้อย.สสช. ในอัตราโครงและในอัตราที่สำคัญและจำเป็น

                        ขั้นที่๓ได้ขยายหน่วยให้มีกำลังพลในอัตราและสามารถปฏิบัติงานเป็นกองพันได้

        ๑.๒ การเปลี่ยนแปลงนามหน่วย

              ๑.๒.๑ เปลี่ยนจาก ผส.๑๓/๔ ตามคำสั่ง ทบ.ที่ ๑/๒๒ เรื่อง การแปรสภาพหน่วย ผส.เป็น     กรม.ร. ลง ๒๔ พ.ค.๒๒

              ๑.๒.๒ เปลี่ยนจาก ร.๑๓/๔ เป็น ร.๘ พัน.๑ ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๗/๒๓ เรื่อง มอบอำนาจการบังคับบัญชา ร.๑๓/๔ ให้ ร.๘ และเปลี่ยนนามหน่วยใหม่ ลง ๑๙ มี.ค.๒๓ พิธีมอบอำนาจการบังคับบัญชา ระหว่าง ร.๑๓ กับ ร.๘ ได้กระทำ เมื่อวันที่ ๙ มี.ค.๒๔ โดย ผบ.ร.๑๓ ในขณะนั้นคือ พ.อ.จุลเลขา  ชาญเลขา และ ผบ.ร.๘ ในขณะนั้นคือ พ.อ.บุญแทน เหนียนเฉลย

        ๑.๓ ที่ตั้งปกติ

              เมื่อ ๑ ธ.ค.๒๒ เคลื่อนย้ายจากค่ายประจักษ์ศิลปาคม อ.เมือง จ.อุดรธานี เข้าที่ตั้งปกติ ณ ค่ายศรีสองรัก ที่ บ.ศรีสองรัก  ต.ศรีสองรัก อ.เมือง จ.เลย     ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๑๔๙/๒๒   ลง    ๑๕ พ.ย.๒๒  ห่างจาก อ.เมือง จ.เลย ๑๒ กม.ตามถนนสาย อ.เมือง - อ.เชียงคาน (ถนนมะลิวัลย์) และห่างจาก  อ.เชียงคาน ๓๖ กม.

        ๑.๔  ประวัติการตั้งชื่อค่าย

              ค่ายศรีสองรัก  มีพื้นที่ทั้งสิ้น  ๔,๒๒๘  ไร่  คำว่า “ ศรีสองรัก “ เป็นชื่อพระธาตุ ตั้งอยู่ที่       อ.ด่านซ้าย จ.เลย ห่างจาก อ.เมือง จ.เลย ๘๒ กม. เป็นที่สักการะบูชาของชาวจังหวัดเลย และจังหวัดใกล้เคียง    ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นสักขีพยานที่จะซื่อสัตย์ ต่อกันระหว่าง พระมหาจักรพรรดิ กับ พระเจ้าไชยเชษฐา          เจ้าเมืองศรีสัต-นาคนหุต (เมืองเวียงจันทร์) เพื่อร่วมกันต่อสู้กับพม่า ซึ่งตรงกับสมัยของ พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และ เจ้าบุเรงนอง  ได้รับพระราชทานมานค่ายตามประกาศกองทัพบก เมื่อ  ๑๖ พ.ย.๒๔

       น. = ๑๙                                      น. = ๖                            น. = ๑๘  

       ส. = ๑๒๙                                    ส. = ๗๘                           ส. = ๒๓๑

       พ. = ๖๖                                      พ. = ๔๔                           พ. = ๒๙๑

       รวม ๒๑๔                                    รวม ๑๒๘                          รวม ๕๔๐

            รวมทั้งสิ้น             ๘๘๒    

อจย. ๗ – ๑๕  (๒๕ ก.พ.๕๒)

     ๒.๒ ภารกิจ,การแบ่งมอบ

       ในอดีตหน่วยมีความรับผิดชอบ ตามแนวชายแดนตามแผนป้องกันประเทศ และจัดกำลังเข้าปฏิบัติงานตามแผนการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์

         ๒.๒.๑ ภารกิจตามแผนงานต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งหน่วย กองพันทหารราบที่ ๑ ได้รับภารกิจตามแผนการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์มาโดยตลอด เช่น จัดตั้ง ศฝด.๑๐๑ ที่ อ.ท่าลี่ จ.เลย    จัดกำลังสนับสนุน พตท.๑๗๑๘ อ.เมือง จ.เลย, จัดกองร้อยและกำลังพลสนับสนุน ชค.๐๘ ที่  จ.ชัยภูมิ        จัดกำลังสนับสนุนกรมทหารพรานในพื้นที่ จ.เลย, จัดตั้ง ชค.๒๑ อ.ด่านซ้าย จ.เลย และยุบเลิกไป   เมื่อ ๓๐ ก.ย.๒๗

          ๒.๒.๒ ภารกิจตามแผนป้องกันประเทศ ตามแผน ทบ.๑๐/๓ หน่วยรับผิดชอบในการป้องกันประเทศจากการรุกรานของศัตรูภายนอกประเทศตามแนวชายแดน จากพื้นที่รอยต่อ จ.พิษณุโลก กับ จ.เลย ตั้งแต่    อ.นาแห้ว ถึง อ.เชียงคาน จ.เลย ซึ่งมีบริเวณแนวลำน้ำเลย เป็นเส้นแบ่งเขตกับ ร.๘ พัน.๑  เป็นพื้นที่ ซึ่งมีระยะทางตามแนวชายแดน ยาวประมาณ  ๑๐๐ กม.  สำหรับพื้นที่ตามแนวชายแดนดังกล่าว  เป็นเขตการปกครอง อ.นาแห้ว,อ.ด่านซ้าย,อ.ภูเรือ,อ.ท่าลี่ และบางส่วน อ.เชียงคาน พื้นที่แนวชายแดนในเขตรับผิดชอบของ ร.๘ พัน.๑  ทั้งหมดเป็นเขตติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีลำน้ำเหือง           ซึ่งกว้างประมาณ ๕๐ - ๑๐๐ ม. เป็นเครื่องกีดขวาง และเป็นเส้นแบ่งเขตไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยตลอด

คำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่ ๑๓๑/๑๘  ลง  ๑๙ พ.ย.๑๘ แก้

        ๒.๒ ภารกิจ,การแบ่งมอบ

              นอกจากภารกิจที่ต้องเตรียมการตาม อจย.๗ - ๑๗(มิ.ย.๒๒) แล้วหน่วยยังมีความรับผิดชอบตามแนวชายแดนตามแผนป้องกันประเทศ และจัดกำลังเข้าปฏิบัติงานตามแผนการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์

              ๒.๒.๑ ภารกิจตามแผนงานต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งหน่วย กองพันทหารราบที่ ๑ ได้รับภารกิจตามแผนการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์มาโดยตลอด เช่น จัดตั้ง ศฝด.๑๐๑            ที่ อ.ท่าลี่ จ.เลย, จัดกำลังสนับสนุน พตท.๑๗๑๘ อ.เมือง จ.เลย, จัดกองร้อยและกำลังพลสนับสนุน ชค.๐๘  ที่ จ.ชัยภูมิ,จัดกำลังสนับสนุนกรมทหารพรานในพื้นที่ จ.เลย, จัดตั้ง ชค.๒๑ อ.ด่านซ้าย จ.เลย และยุบเลิกไป เมื่อ ๓๐ ก.ย.๒๗

              ๒.๒.๒ ภารกิจตามแผนป้องกันประเทศ ตามแผน ทบ.๑๐/๓ หน่วยรับผิดชอบในการป้องกันประเทศจากการรุกรานของศัตรูภายนอกประเทศตามแนวชายแดน  จากพื้นที่รอยต่อ จ.พิษณุโลก กับ จ.เลย ตั้งแต่ อ.นาแห้ว ถึง อ.เชียงคาน จ.เลย ซึ่งมีบริเวณแนวลำน้ำเลย เป็นเส้นแบ่งเขตกับ ร.๘ พัน.๑  เป็นพื้นที่ ซึ่งมีระยะทางตามแนวชายแดน ยาวประมาณ  ๑๐๐ กม.  สำหรับพื้นที่ตามแนวชายแดนดังกล่าว เป็นเขตการปกครอง อ.นาแห้ว,อ.ด่านซ้าย,อ.ภูเรือ,อ.ท่าลี่ และบางส่วน อ.เชียงคาน พื้นที่แนวชายแดนในเขตรับผิดชอบของ ร.๘ พัน.๑ ทั้งหมดเป็นเขตติดต่อกับ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  โดยมี          ลำน้ำเหือง ซึ่งกว้างประมาณ ๕๐- ๑๐๐ ม. เป็นเครื่องกีดขวาง และเป็นเส้นแบ่งเขตไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยตลอด

๓. การปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วย

        ๓.๑ จัดกำลังจัดตั้งศูนย์เฝ้าตรวจชายแดน ๑๐๑ ที่ อ.ท่าลี่ จ.เลย เพื่อรับผิดชอบพื้นที่ตามแนวชายแดน อ.ท่าลี่,อ.เชียงคาน,อ.ปากชม ตามแผนงานการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ปี ๒๓

        ๓.๒ จัดกำลังสนับสนุน ชค.๐๘ และปรับเป็น พตท.๒๕ ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ จ.ชัยภูมิ และ ๓ อำเภอของ จ.ขอนแก่น คือ อ.ภูเวียง,อ.ชุมแพ และ อ.ภูผาม่าน ตามแผนงานการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ปี ๒๔

        ๓.๓ จัดกำลังสนับสนุน กรม อส.ทพ.๒๓๐๒ ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่ จ.เลย ตามแผนงานการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ปี ๒๕

        ๓.๔ จัดกำลังจัดตั้ง ชค.๒๑ เพื่อรับผิดชอบการปฏิบัติงานในพื้นที่ อ.ด่านซ้าย, อ.นาแห้ว, อ.ภูเรือ  ตามแผนงานการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ปี ๒๗ และ ชค.๒๑ ได้ยุบเลิกเมื่อ ๓๐ ก.ย.๒๗ มอบความรับผิดชอบพื้นที่ดังกล่าวให้กับ กรมทหารพราน ๒๑

        ๓.๕ จัดกำลังสนับสนุน กรม อส.ทพ.๒๓๐๒ ซึ่งปฏิบัติงานในพื้นที่ อ.นาแห้ว, อ.ด่านซ้าย, อ.ภูเรือ   ตามแผนงานการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ ปี ๒๗ และได้เปลี่ยนนามหน่วยพร้อมทั้งปรับกำลังใหม่เป็น กรมทหารพรานที่ ๒๑ ในปีเดียวกัน

        ๓.๖ จัดกำลัง ๒ กองร้อย อวบ.ปฏิบัติราชการสนามตามแผนป้องกันประเทศในพื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังสุรนารี ตั้งแต่เดือน พ.ค.๒๘ โดยจัด ๑ กองร้อย อวบ.สมทบ  พัน.ร.ฉก.๘๐๒   เข้าที่ตั้งที่ช่องจอม  อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์   และอีก  ๑ กองร้อย อวบ.สมทบ พัน.ร.ฉก.๘๐๓  เข้าที่ตั้งบริเวณเนิน  ๔๗๒ ช่องโอบก อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์  ได้ร่วมปฏิบัติภารกิจยุทธการพิฆาตไพรี ของกรมทหารราบเฉพาะกิจที่ ๘  ในการผลักดันทหารต่างชาติที่ล่วงล้ำอธิปไตยเข้ามายึดเนิน  ๕๓๘  บริเวณช่องโอบก  จ.บุรีรัมย์  เมื่อเดือน ก.ย.- ต.ค.๒๙ ผลการปฏิบัติสามารถผลักดันทหารต่างชาติออกจากเนิน ๕๓๘ ได้ และยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ของข้าศึกได้จำนวนมาก

        ๓.๗ จัดกำลัง ๑ พัน.ร. ปฏิบัติภารกิจป้องกันประเทศ  ในการผลักดันทหารต่างชาติที่ล่วงล้ำอธิปไตยที่ บ.ร่มเกล้า รอยต่อเขตรับผิดชอบของ กองทัพภาคที่ ๒ และกองทัพภาคที่ ๓  เข้าที่ตั้งบริเวณ อ.นาแห้ว    จ.เลย ใน ๒๔ ม.ค.๓๑ เพื่อปฏิบัติภารกิจเป็นหน่วยสนับสนุนเข้าตีของ ทภ.๓,ระวังป้องกัน ทางปีกให้ ทภ.๓      ในพื้นที่ รับผิดชอบของ ทภ.๒ ทำการเข้าตีได้เมื่อสั่ง,หน่วยได้จัดทำที่มั่นดัดแปลงแข็งแรง และที่มั่นรบหน่วงเวลาตามแนวชายแดนในพื้นที่รับผิดชอบ จัดกำลัง รปภ. การประชุมยุติการรบระหว่างไทย - ลาว ที่ บ.เหมืองแพร่  อ.นาแห้ว จ.เลย จบภารกิจ เมื่อ ๒๔ มี.ค.๓๑

        ๓.๘ จัดกำลัง ๑ กองร้อย อวบ. เพื่อปฏิบัติราชการสนามตามแผนป้องกันประเทศในพื้นที่รับผิดชอบ อ.นาแห้ว จ.เลย ในปี ๓๑ - ๓๒ ผลการปฏิบัติงานที่สำคัญของหน่วย คือ.-

              ๓.๘.๑ ปฏิบัติภารกิจเฝ้าตรวจการเคลื่อนไหว ของฝ่ายตรงข้ามตามแนวชายแดน อย่างต่อเนื่อง สามารถสกัดกั้นการรุกของข้าศึกได้ภายใน ๕ ชม. และสกัดกั้นป้องกันการขนสินค้าผิดกฎหมายข้ามแดนในพื้นที่รับผิดชอบ

              ๓.๘.๒ จัดชุดลว. พิสูจน์ทราบ ตรวจพบอาวุธซุกซ่อนของฝ่ายตรงข้ามและสามารถยึดของได้ ดังนี้.-

                        ๓.๘.๒.๑ ปสบ.เซกาเซ จำนวน ๗ กระบอก

                        ๓.๘.๒.๒ ปลย.AK.๔๗ จำนวน ๑ กระบอก

                        ๓.๘.๒.๓ ทุ่นระเบิดสังหาร PMN. จำนวน ๕ ทุ่น

                        ๓.๘.๒.๔ ทุ่นระเบิดดักรถถัง จำนวน ๒ ทุ่น

              ๓.๘.๓ ปราบปรามการบุกรุกตัดไม้ทำลายป่าร่วมกับ จนท.บ้านเมือง สามารถจับกุมได้ ๒ ครั้ง

              ๓.๘.๔ ทำลายไร่ฝิ่นของชาวเขาเผ่ามุ้ง บริเวณรอยต่อ ๓ จังหวัด คือ จ.เลย , จ.พิษณุโลก     และ จ.เพชรบูรณ์ จำนวน ๑ ครั้ง

              ๓.๘.๕ จับกุมการค้ายาเสพติดให้โทษ บริเวณ บ.เหมืองแพร่ อ.นาแห้ว จำนวน ๑ ครั้ง

              ๓.๘.๖ จัดเจ้าหน้าที่เป็นคณะกรรมการร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมมือ ไทย - ลาว ประจำทุกเดือน

              ๓.๘.๗ จัดกำลังพลรักษาความปลอดภัย และสนับสนุนภารกิจโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ อ.นาแห้ว บริเวณ บ.บ่อเหมืองน้อย อ.นาแห้ว จ.เลย ร้อย.ร.๘๐๑๓ ได้รับภารกิจและทำการผลัดเปลี่ยนกำลังกับ  ร้อย.ร.๘๐๒๑ เมื่อ ๓ ต.ค.๓๒

        ๓.๙ จัดกำลัง ๑ ชุดสันตินิมิตร สนับสนุน กอ.รมน.ภาค ๒ สย.๑  ตั้งแต่ ๑ ต.ค.๓๒ และกำลังบางส่วนสนับสนุนโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ อ.นาแห้ว

        ๓.๑๐ พ.ศ.๒๕๓๒ – ปัจจุบัน  จัดกำลัง   ๑   ชุดปฏิบัติงานโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อ

เทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านคกงิ้ว ต.ปากตม อ.เชียงคาน จ.เลย

        ๓.๑๑ พ.ศ.๒๕๔๒ - ๒๕๔๓ จัดกำลังพล ๑ ชุดปฏิบัติงานและ ๑ ชุด สตม.ฯ ไปปฏิบัติงานที่ กกล.สุรศักดิ์มนตรี จว.อ.ด. และ  ๑ ชุด ปฏิบัติงานที่โครงการ พมพ. อ.นาแห้ว จว.ล.ย.

        ๓.๑๒ พ.ศ.๒๕๔๓ – ๒๕๔๔ จัดกำลังพล   ๑ ร้อย ร.  สมทบ พัน.ร.๘๐๓ ปฏิบัติงานที่ จว.ตาก

        ๓.๑๓ พ.ศ.๒๕๔๒ – ปัจจุบัน จัดกำลังพล  ๑  ชุดปฏิบัติงานในชุดพัฒนาสัมพันธ์มวลชนที่ กกล.สุรศักดิ์มนตรี จว.อ.ด.

        ๓.๑๔ พ.ศ.๒๕๔๕ - จัดกำลัง ๑ ชุดปฏิบัติงานที่ กกล.๙๗๒ ไทย – ติมอร์ ผลัดที่ ๖ ไปปฏิบัติงานที่ประเทศติมอร์ตะวันออก

        ๓.๑๕ พ.ศ.๒๕๔๗ จัดกำลัง ๑ ร้อย ร.สมทบ ร.๘ พัน.๓ ปฏิบัติงานในพื้นที่ ทภ.๔

        ๓.๑๖ พ.ศ.๒๕๔๘  จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. และ ๑ มว.สมทบ  ร.๘ พัน.๒  ปฏิบัติงานในพื้นที่ ทภ.๔

        ๓.๑.๗ พ.ศ. ๒๕๕๐ จัดกำลังพล ๑ ร้อย ร. และ ๑ มว.สมทบ ร.๘ พัน. ๓ ปฏิบัติหน้าที่ ทภ. ๔

        ๓.๑.๘ พ.ศ. ๒๕๕๑ จัดกำลังพล ออกปฏิบัติหน้าที่ ทภ. ๔   ๑  กองพัน


        สรุปผลการปฏิบัติงานของหน่วยจนถึงปัจจุบัน  สามารถปฏิบัติภารกิจได้สำเร็จ สมความมุ่งหมายของทางราชการได้อย่างยิ่ง ได้รับคำชมเชยจากผู้บังคับบัญชาตลอดมา

๔. เกียรติประวัติของหน่วย

        กำลังพลของหน่วยได้รับเกียรติโดยได้รับเลือกเป็นคนไทยตัวอย่าง ประจำปี ๒๕๓๒ จากมูลนิธิธารน้ำใจ คือ ร.อ.อรรฐพร   โบสุวรรณ ตำแหน่งผู้บังคับกองร้อยอาวุธเบา (ตำแหน่งในขณะนั้น)

๕. วันสถาปนาหน่วย คือ วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๒๑

๖. รายนามผู้บังคับบัญชาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

        ๖.๑   ผู้บังคับกองพันคนที่  ๑  คือ พ.ท.ดำรงค์       คุ้มแสง            พ.ศ. ๒๕๒๒  - ๒๕๒๕

        ๖.๒   ผู้บังคับกองพันคนที่ ๒  คือ พ.ท.ประดิษฐ์      ดวงจรัส         พ.ศ. ๒๕๒๕  - ๒๕๒๘

        ๖.๓   ผู้บังคับกองพันคนที่  ๓  คือ พ.ท.มาณพ       ราศรี             พ.ศ. ๒๕๒๘  - ๒๕๓๓

        ๖.๔   ผู้บังคับกองพันคนที่  ๔  คือ พ.ท.สิทธิ          จันทร์สมบูรณ์    พ.ศ. ๒๕๓๓  - ๒๕๔๐

        ๖.๕   ผู้บังคับกองพันคนที่  ๕  คือ พ.ท.กนก         ภู่ม่วง             พ.ศ. ๒๕๔๐  - ๒๕๔๑

        ๖.๖   ผู้บังคับกองพันคนที่  ๖  คือ พ.ท.อรรฐพร     โบสุวรรณ         พ.ศ. ๒๕๔๑  - ๒๕๔๔

        ๖.๗   ผู้บังคับกองพันคนที่  ๗ คือ พ.ท.สุวรรณ       เชิดฉาย          พ.ศ. ๒๕๔๔  - ๒๕๔๘

        ๖.๘   ผู้บังคับกองพันคนที่  ๘ คือ พ.ท.ทักษภณ       ศิริรักษ์           พ.ศ. ๒๕๔๘  - ๒๕๕๐

         ๖.๙   ผู้บังคับกองพันคนที่  ๙  คือ พ.ท.ยงยุทธ        ขันทวี             พ.ศ. ๒๕๕๐ - ๒๕๕๕

        ๖.๑๐  ผู้บังคับกองพันคนที่ ๑๐ คือ พ.ท.วรวุฒิ         สำราญ            พ.ศ. ๒๕๕๕  - ๒๕๕๗

        ๖.๑๑  ผู้บังคับกองพันคนที่ ๑๑ คือ พ.ท.ใหญ่ยิ่ง        หาญสำราญ      พ.ศ. ๒๕๕๗ - ๒๕๖๑

        ๖.๑๒  ผู้บังคับกองพันคนที่ ๑๒ คือ พ.ท.อภิวัชร์        ชารีโคตร        พ.ศ. ๒๕๖๑  - ๒๕๖๓  

        ๖.๑๓  ผู้บังคับกองพันคนที่ ๑๓ คือ พ.ท.กัญญณัต     ไชยโอชะ         พ.ศ. ๒๕๖๓  - ๒๕๖๓

        ๖.๑๔  ผู้บังคับกองพันคนที่ ๑๔ คือ พ.ท.ประดิษฐ์      พรมเรียน        พ.ศ. ๒๕๖๓ -  ปัจจุบัน 

ประวัติความเป็นมาของอนุสาวรีย์ทหารกล้า แก้

         อนุสาวรีย์ทหารกล้า ซึ่ง ร.๘ พัน.๑ ได้จัดสร้างขึ้นนั้นมีความมุ่งหมาย เพื่อเป็นอนุสรณ์ของผู้เสียสละ และเพื่อเป็นสถานที่ระลึกถึงวีรกรรมของเหล่าทหารหาญ ร.๘ พัน.๑ ที่ได้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องรักษาผืนแผ่นดินของไทย ในการปฏิบัติงานการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งใช้สำหรับบรรจุอิฐ และจารึกนามผู้ที่ประกอบวีรกรรมดังกล่าวแล้วด้วย ซึ่งปัจจุบันมี ๓ ท่าน คือ.-

         ๑. ร้อยตรี ไชยวาลย์   พรหมมาศ ยศและตำแหน่งในขณะรับราชการเป็น สิบโท   ตำแหน่ง หน.ชุด มว.ปล.ร้อย.อวบ.ร.๘ พัน.๑ ได้ปฏิบัติราชการสนามโดยมีตำแหน่งใน กอ.รมน. เป็น  หน.ชุด  ร้อย.ร.๑๓๔๑ ได้ถึงแก่กรรม  เมื่อวันที่  ๒๖ มกราคม ๒๕๒๓  ในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บังคับหน่วยลาดตระเวนนำเข้ากวาดล้าง และทำลายฐานที่มั่นของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์  บริเวณภูกุ ทุ่งหมาใน  พิกัด คิววี.๔๕๖๑๐๐ ตำบลภูเรือ อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย

       

           ๒. ร้อยเอก ชวลิต    เวชศิริกุล  ยศและตำแหน่งในขณะรับราชการเป็น จ่าสิบเอก ตำแหน่ง      ผบ.หมู่ ปก.มว.ปล.ร้อย.อวบ.ร.๘ พัน.๑  ได้ปฏิบัติราชการสนามโดยมีตำแหน่งใน กอ.รมน. เป็น ผบ.หมู่ ปล.มว.ป้องกัน  พตท.๑๗๑๘  ได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๒๔  ในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้บังคับหน่วยลาดตระเวนนำเพื่อคุ้มครองการสร้างถนนในบริเวณโครงการห้วยปลาดุก - ภูซาง พิกัด อาร์วี.๑๔๒๕๘๒  ตำบลเชียงกลม  อำเภอปากชม จังหวัดเลย

         ๓. ร้อยตรี สมดี ทะวาศิริ ยศและตำแหน่งในขณะรับราชการเป็น พลทหารกองประจำการสังกัดร้อย.อวบ.ร.๘ พัน.๑  ได้ปฏิบัติราชการสนามโดยมีตำแหน่งใน กอ.รมน. เป็น พลปืนเล็ก มว.ป้องกัน  พตท.๑๗๑๘ ได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๒๔ ในขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นพลลาดตระเวนนำ  เพื่อคุ้มครองการสร้างถนนในบริเวณ โครงการห้วยปลาดุก -  ภูซาง  พิกัดอาร์วี.๑๔๒๕๘๒  ตำบลเชียงกลม อำเภอปากชม จังหวัดเลย

         เพื่อเป็นการระลึกถึงวีรกรรมอันกล้าหาญของผู้ที่ยอมเสียสละเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย  อีกทั้งเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ระลึกถึงคุณงามความดี ของบุคคลเหล่านี้  กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๘ จึงได้สร้างอนุสาวรีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ที่บริเวณหน้า กองบังคับการกองพันทหารราบที่ ๑  กรมทหารราบที่ ๘ เมื่อวันที่  ๒ พฤศจิกายน ๒๕๒๔  โดยตั้งชื่ออนุสาวรีย์นี้ว่า “ อนุสาวรีย์ทหารกล้า ”

พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แก้

         เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นเนื่องในพิธีอัญเชิญ  พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ซึ่งกองพันทหารราบที่ ๔  กรมทหารราบที่ ๑๓  ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ สถิตย์  ณ ศาลาสมเด็จพระนเรศวร ฯ  ในกองพันทหารราบที่ ๔ กรมทหารราบที่ ๑๓ เมื่อ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๒๓

ขนาดและลักษณะพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แก้

                  พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  หล่อด้วยโลหะผสมรมดำ  ลักษณะพระบรมรูปประทับบนพระแท่น พระหัตถ์ทั้งสองทรงถือพระแสงดาบพาดไว้บนพระเพลาขนาดสูงวัดจากพระเศียรถึงพระบาท ๓ เซนติเมตร นางสาวไข่มุกด์ ชูโต เป็นผู้ปั้นแบบทูนเกล้า ฯ ถวาย ประกอบพระราชดำริทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  ให้ดำเนินการหล่อโดยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช  ณ  วัดบวรนิเวศวิหาร  เมื่อวันพฤหัสบดีที่   ๑๗  เมษายน ๒๕๑๘  จำนวนพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่เข้าพิธีปลุกเสก ๖๐ องค์

                  เมื่อการสร้างเหรียญพระไพรีพินาศและพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสร็จเรียบร้อยแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ   ให้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกเหรียญพระไพรีพินาศและปลุกเสกพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์ที่ ๙ เมษายน ๒๕๒๐

                  วัตถุมงคลนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทราบสร้างขึ้นเป็นการส่วนพระองค์เพื่อพระราชทานให้กับหน่วยและเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการรบ ในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ตามพระราชอัธยาศัยจึงเป็นวัตถุที่ศักดิ์สิทธิ์ และสำคัญยิ่งหน่วยหรือ


รายชื่อกำลังพลเสียชีวิต   

1. ร.ต.ไชยวาลย์            พรมมาศ                              2. ร.อ.เชาวลิต            เวชศิริกุล

3. ร.ต.สมดี                 ทะวาศิริ                      4.ร.อ.อุทิศ               จันทร์กอง

5. ร.อ.ประทีป             เจริญไชย                     6. ส.อ.อุไร                  สระน้อย

7. ส.อ.พิทักษ์              ผาดำ                          8. ส.อ.สำราญ          ชมดี

9. ส.อ.สมาน               บุตรศรีน้อย                 10. จ.ส.อ.ไพบูลย์         เวียงใต้

11. จ.ส.อ.ชูชาติ            ศรีประเทศ                   12. จ.ส.อ.อาคม                   สุรนิจ

13. ส.อ.อำนวย            สายบัณฑิต                 14. ส.อ.มานิตย์           ลักขณานุกูล    

15. ร.ท.เกรียงไกร         วงษ์สวรรค์                 16. ส.อ.สุวิทย์             ศรีพวงมาลัย

17. ส.อ.ศุภรักษ์           ศรีโสดา                    18. ส.อ.วิเชียร              โม้แก้ว

19. ส.อ.สมควร            กินสูงเนิน                  20. ส.อ.สุวิทย์             แม้นศิริ 

21. ส.อ.วราวุธ             ชรินทร์                     22. ส.อ.วีระ               วิชัยรัตน์

23. ส.อ.สมพร             ผางศรี                      24. ส.อ.จำรัส              ศรีน้อย

25. ส.อ.สำราญ            ปิ่นแก้ว                     26. จ.ส.อ.บัญชา           นามสอน

27. จ.ส.อ.ฤทธิ์             ซาเซียง                     28. ร.ท.ปรีชาญ            ไพศูนย์

29. ร.ท.ลำพูน             ทิพยมาศ                   30. ส.อ.ไสว                ภักดีศรี

31. ส.อ.สุขสันต์            อินอ่อน                     32. ส.อ.วงศ์ชัย             ภวภูตานนท์              

33. จ.ส.อ.ขวัญชัย         เสนาเจริญ                 34 พ.อ.สุภาพ             เชื้อจีน

35. พ.อ.คณโชค            แก้ววงษา                  36. ส.อ.คงเขต             สุขเสริม

37. ส.อ.สนธยา            จันทะสี                              37. จ.ส.อ.สนิท             คูณเมือง


(สำเนา)

คำสั่งกองทัพบก

ที่ ๑/๒๒

เรื่อง    การแปรสภาพหน่วย  ผส.เป็น กรม ร.

------------------------

                  โดยที่กองทัพบกได้ออกคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ลับที่ ๔/๒๒ ลง ๘ ม.ค.๒๒ เรื่อง การประกอบ

กำลังของทหารปืนใหญ่กองพล,คำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ลับที่ ๖๕/๒๒  ลง ๒๓  เม.ย.๒๒ เรื่อง การควบคุมและ

การบังคับบัญชากองร้อยทหารช่าง  กองพันทหารช่าง   และอนุมัติหลักการของ ผบ.ทบ.ท้ายบันทึกข้อความ

ยก.ทบ.ลับมาก ที่ กห ๐๓๑๗/๗๒๘ ลง ๒๒ พ.ย.๒๑ เรื่อง การย้ายที่ตั้ง ร้อย.ถ.เข้าไปอยู่รวมกับ พัน.ม.(ถ.)

ต้นสังกัด  จึงเป็นหน่วยให้ทหารที่สนธิกำลังเป็นกรมผสม หมดสภาพเป็นกรมผสม

                  ฉะนั้น  เพื่อให้การเรียกนามหน่วยทหารกองทัพบก เป็นไปด้วยความเหมาะสม จึงให้   ปฏิบัติดังนี้

๑. ให้หน่วยที่มีฐานะเป็นกรมผสมหมดสภาพเป็นกรมผสม

๒.ให้เปลี่ยนหน่วยจากกรมผสม เป็น กรมทหารราบ

                  ๓. คำสั่ง หรือระเบียบ หรือข้อบังคับ ๆ ที่ขัดแย้งกับคำสั่งฉบับนี้ ให้ถือปฏิบัติตามคำสั่งนี้

                  ทั้งนี้    ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                                     สั่ง    ณ   วันที่     ๒๔    พฤษภาคม    ๒๕๒๒

                                                                (ลงชื่อ) พล.อ.    ป.    ติณสูลานนท์

                                                                         ( เปรม  ติณสูลานนท์ )

                                                                                 ผบ.ทบ.


(สำเนา)

คำสั่งกองทัพบก

(เฉพาะ)

ที่ ๗/๒๓

เรื่อง    มอบอำนาจการบังคับบัญชา ร.๑๓ พัน.๔ ให้กับ ร.๘ และเปลี่ยนนามหน่วยใหม่

-----------------------------

                  ตามที่กองทัพบกได้จัดตั้ง ร.๘  ขึ้น ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ลับที่ ๒๓/๒๓  เรื่อง  จัดตั้ง ร.๘

ลง  ๒๕ ก.พ.๒๓ แล้วนั้น  เพื่อให้ ร.๘ มีหน่วยรองหลักเพิ่มขึ้น และมีประสิทธิภาพทางการรบสูงขึ้น จึงให้

ปฏิบัติดังนี้

๑. ร.๑๓ มอบอำนาจการบังคับบัญชา ร.๑๓ พัน.๔ ให้กับ ร.๘

                  ๒. เมื่อ ร.๘  รับมอบอำนาจการบังคับบัญชา ร.๑๓ พัน.๔  จาก ร.๑๓  เรียบร้อยแล้ว   ให้เปลี่ยน นามหน่วย ร.๑๓ พัน.๔ ใหม่ว่า “กองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๘” เรียกนามหน่วยโดยย่อ

ว่า “ร.๘ พัน.๑” เครื่องหมายสังกัด  “ร.๘/๑”

                  ๓. ให้ ร.๘ ซึ่งรับมอบอำนาจการบังคับบัญชา ปฏิบัติตามระเบียบ ทบ.ว่าด้วยการมอบอำนาจการบังคับบัญชา พ.ศ.๒๕๑๓  มีอำนาจสั่งการเกี่ยวกับบำเหน็จ ความชอบ  การลา  การลงทัณฑ์

รวมทั้งการให้การสนับสนุนและเรื่องอื่น ๆ ทั้งสิ้น

                  ๔. ให้ ร.๑๓ และ ร.๘ ประสานในรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การมอบอำนาจการบังคับบัญชาดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

                  ๕. หน่วย,เหล่า  และสายวิทยาการที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนการส่งและการรับมอบอำนาจการบังคับบัญชาตามคำสั่งนี้

                  ๖. คำสั่งใดที่ขัดแย้งกับคำสั่งนี้ให้ยกเลิก และใช้คำสั่งนี้แทน

                  ทั้งนี้   ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

                                     สั่ง     ณ    วันที่     ๑๙     มกราคม    ๒๕๒๔

                                                         (ลงชื่อ) พล.อ.     ป.      ติณสูลานนท์

                                                                         ( เปรม      ติณสูลานนท์ )

                                                                                 ผบ.ทบ.


ภารกิจสำคัญในอดีตของหน่วย

         - พ.ศ. ๒๕๒๓  จัดตั้ง ศฝด. ๑๐๑  ที่  อ.ท่าลี่  จว.เลยเพื่อรับผิดชอบพื้นที่แนวชายแดน อ.ท่าลี่ ,  อ.เชียงคาน , อ.ปากชม จว.เลย ตามแผนงานการปราบปราม ผกค. ปี ๒๓

         - พ.ศ. ๒๕๒๕  จัดกำลังสนับสนุน  ชค. ๐๘ และปรับเป็น   พตท. ๒๕ ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ จว.ชัยภูมิ  และ  ๔ อำเภอ ของ  จว.ขอนแก่น ตามแผนงานต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์

         - พ.ศ. ๒๕๒๗  จัดกำลังตั้ง ชค. ๒๑ เพื่อรับผิดชอบการปฏิบัติงานในพื้นที่ อ.ด่านซ้าย  อ.นาแห้ว  อ.ภูเรือ  ตามแผนต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์  ปี  ๒๗

         - พ.ศ. ๒๕๒๘  จัด ๒  กองร้อย อวบ. ปฏิบัติราชการสนามตามแผนป้องกันประเทศในพื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังสุรนารี  ซึ่งได้ร่วมปฏิบัติภารกิจยุทธการพิฆาตไพรี ของกรมทหารราบเฉพาะกิจที่ ๘   ในการผลักดันทหารต่างชาติล่วงล้ำอธิปไตยเข้ามายึดเนิน  ๕๓๘ บริเวณช่องโอบก ผลการปฏิบัติสามารถผลักดันทหารต่างชาติออกจากเนิน  ๕๓๘ ได้ และยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ของข้าศึกได้จำนวนมาก

         - จัดกำลัง  ๑  พัน. ร. ปฎิบัติภารกิจป้องกันประเทศในการผลักดันทหารต่างชาติล่วงล้ำอธิปไตยที่  บ.ร่มเกล้า ชายแดนไทยลาว  รอยต่อเขตรับผิดชอบ ทภ. ๒  และ ทภ. ๓ โดยเข้าที่ตั้งบริเวณ  อ.นาแห้ว   เมื่อ  ๒๔ ม.ค.๓๑

         - พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๒  จัดกำลัง ๑ ร้อย ร.   เพื่อปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนพื้นที่ชายแดน  ไทย - ลาว อ.นาแห้ว  จว.เลย

         - พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๕  จัดกำลัง ๑ ร้อย. ร. สนับสนุน ทภ. ๓ ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนไทย – พม่า ด้านจังหวัด ตาก  ร่วมกับ ฉก. ร.๔ ( กกล.นเรศวร )

         - พ.ศ.๒๕๔๖ จัดกำลัง ๑ หมวด สมทบกองกำลัง ๙๗๒ ไทย – ติมอร์ ผลัดที่ ๖  ปฏิบัติหน้าที่ ณ เมืองเบาเกา ประเทศติมอร์ตะวันออก ระยะเวลา  ๗  เดือน

         - พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๕๑ หน่วยได้จัดกำลัง ๑ ร้อย ร. (๑๘๒ คน) สนับสนุนกองทัพภาคที่ ๔ ปฏิบัติหน้าที่  ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ 

         - พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๔ หน่วยได้จัดกำลัง ฉก.ปัตตานี ๒๕ ปฏิบัติงานพื้นที่รับผิดชอบ จังหวัดปัตตานี

         - พ.ศ. ๒๕๕๔ – ๒๕๕๕ หน่วยได้จัดกำลัง ๑ ร้อย

         - พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ หน่วยได้จัดกำลัง ๑ พัน.ร (พัน.ร.๑๒) เพื่อปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนพื้นที่ชายแดนใทย – กัมพูชา

สิ่งสำคัญของหน่วย 

         - พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและได้อัญเชิญมาประดิษฐานบนศาลาวงกลมเมื่อ  ๓๑ ก.ค.๒๓

         - ธงไชยเฉลิมพล ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อ ๑๙ เม.ย.๒๔

         - อนุสาวรีย์ วีรชนทหารกล้า ซึ่งได้บรรจุอัฐิ กำลังพลของหน่วยที่เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม  ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่  หน้า บก. ร.๘ พัน.๑ 


---------xxxx--------

ภารกิจสำคัญในอดีตของหน่วย

         - พ.ศ. ๒๕๒๓  จัดตั้ง ศฝด. ๑๐๑ ที่ อ.ท่าลี่  จว.เลย เพื่อรับผิดชอบพื้นที่แนวชายแดน อ.ท่าลี่ , อ.เชียงคาน , อ.ปากชม จว.เลย ตามแผนงานการปราบปราม  ผกค. ปี ๒๓

         - พ.ศ. ๒๕๒๕  จัดกำลังสนับสนุน  ชค. ๐๘  และปรับเป็น พตท. ๒๕  ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่ จว.ชัยภูมิ   และ  ๔ อำเภอ ของ  จว.ขอนแก่น  ตามแผนงานต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์

         - พ.ศ. ๒๕๒๗  จัดกำลังตั้ง  ชค. ๒๑ เพื่อรับผิดชอบการปฏิบัติงานในพื้นที่ อ.ด่านซ้าย  อ.นาแห้ว   อ.ภูเรือ ตามแผนต่อสู้เอาชนะคอมมิวนิสต์ ปี  ๒๗

         - พ.ศ. ๒๕๒๘   จัด ๒  กองร้อย อวบ. ปฏิบัติราชการสนามตามแผนป้องกันประเทศในพื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังสุรนารี ซึ่งได้ร่วมปฏิบัติภารกิจยุทธการพิฆาตไพรี  ของกรมทหารราบเฉพาะกิจที่ ๘    ในการผลักดันทหารต่างชาติล่วงล้ำอธิปไตยเข้ามายึดเนิน ๕๓๘ บริเวณช่องโอบก ผลการปฏิบัติสามารถผลักดันทหารต่างชาติออกจากเนิน  ๕๓๘ ได้ และยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ของข้าศึกได้จำนวนมาก

         - จัดกำลัง ๑ พัน.ร. ปฎิบัติภารกิจป้องกันประเทศในการผลักดันทหารต่างชาติล่วงล้ำอธิปไตยที่    บ.ร่มเกล้า ชายแดนไทยลาว  รอยต่อเขตรับผิดชอบ ทภ. ๒  และ ทภ. ๓ โดยเข้าที่ตั้งบริเวณ  อ.นาแห้ว เมื่อ  ๒๔  ม.ค.๓๑

         - พ.ศ. ๒๕๓๑ – ๒๕๓๒ จัดกำลัง  ๑ ร้อย ร. เพื่อปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนพื้นที่ ชายแดนไทย -ลาว  อ.นาแห้ว  จว.เลย

         - พ.ศ. ๒๕๔๔ – ๒๕๔๕ จัดกำลัง  ๑ ร้อย. ร. สนับสนุน ทภ. ๓ ปฏิบัติภารกิจป้องกันชายแดนไทย -พม่าด้านจังหวัดตาก ร่วมกับ ฉก. ร.๔ ( กกล.นเรศวร )

         - พ.ศ.๒๕๔๖ จัดกำลัง ๑ หมวด สมทบกองกำลัง ๙๗๒ ไทย – ติมอร์ ผลัดที่ ๖ ปฏิบัติหน้าที่ ณ เมืองเบาเกา ประเทศติมอร์ตะวันออก ระยะเวลา  ๗ เดือน

         - พ.ศ. ๒๕๔๗ – ๒๕๔๘  หน่วยได้จัดกำลัง ๑ ร้อย ร. จำนวน  ๑๘๒ นาย  สมทบ พัน.ร.๘๐๓ ปฏิบัติหน้าที่  ๓  จังหวัดชายแดนภาคใต้  ที่จังหวัดปัตตานี และนราธิวาส

         - พ.ศ.๒๕๔๙ – ๒๕๕๐ จัดกำลัง ๑ ร้อย ร. และ ๑ มว.สมทบ จำนวน  ๒๒๘ นาย  สมทบ พัน.ร.๘๐๒  ปฏิบัติหน้าที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ที่อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส

         - ตั้งแต่ ต.ค.๒๕๕๐ – ๒๕๕๑ จัดจำกลัง ๑ ร้อย.ร. และ มว.สมทบ จำนวน ๒๒๘ นาย สมทบ พัน.ร.๘๐๓  ปฏิบัติหน้าที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้  ที่อำเภอยะรัง อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี   

         - พ.ศ.๒๕๕๑ – ๒๕๕๒ จัดกำลัง  ๑ พัน.ร. จำนวน ๘๒๖  นาย    ในนาม พัน.ร.๘๐๑ ฉก.ปัตตานี ๒๕ ปฏิบัติหน้าที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ รับผิดชอบอำเภอทุ่งยางแดง อำเภอกระท้อ  อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี     โดยมี พ.ท.ยงยุทธ    ขันทวี  เป็น ผบ.ฉก.ปัตตานี ๒๕ 

         - พ.ศ.๒๕๕๓  หน่วยได้จัดกำลังพล ๑ ร้อย.ร.และ ๑ มว.สมทบ  จำนวน ๒๒๘ นาย สมทบ พัน.ร.๘๐๒  ปฏิบัติหน้าที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้  ที่อำเภอยะรัง อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี  ออกเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๓ 

         -พ.ศ.๒๕๕๓ หน่วยได้จัดกำลัง ๒๐ นาย นายทหาร ๑ นาย นายสิบ ๑๓ นาย  พลทหาร ๖ นาย ปฏิบัติภารกิจกองกำลัง ๙๘๐ ไทย-ดาฟูร์  ประเทศซูดาน

         -พ.ศ.๒๕๕๔ หน่วยได้จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. จำนวน ๒๐๗ นาย  สมทบ พัน.ร.๘๐๓  ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันชายแดนไทย-กัมพูชา  ออกเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ ในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

         -พ.ศ.๒๕๕๕ หน่วยได้จัดกำลัง ๑ ร้อย.ร. จำนวน ๒๐๗ นาย  สมทบ พัน.ร.๘๐๓ ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันชายแดนไทย-กัมพูชา   ที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

         -พ.ศ.๒๕๕๖ หน่วยได้จัดกำลังพล ๑ ร้อย.ร. จำนวน ๒๐๗ นาย สมทบ พัน.ร.๘๐๓๑ ปฏิบัติหน้าที่ ๓ จชต.

         -พ.ศ.๒๕๕๗ หน่วยได้จัดกำลังพล  พัน.ร.๘๐๑ ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา ที่อำเภอกาบเชิง  จังหวัดสุรินทร์

         -พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ หน่วยได้จัดกำลังพล  พัน.ร.๑๒  ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา  ที่อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ

         -พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๑ หน่วยได้จัดกำลังพล  ๑ ร้อย.ร. สมทบ พัน.ร.๑๒ ปฏิบัติหน้าที่ป้องกันชายแดนไทย – กัมพูชา  ที่อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ


กิจกรรมหน่วยที่สำคัญ

         ๑. ปี ๒๕๕๐ – ๒๕๕๑ หน่วยได้รับการตรวจและประเมินผลคุณภาพชีวิตฯ จากกองทัพบก  ผลการตรวจอยู่ในขั้นดีมาก

         ๒. ปี ๒๕๕๑ – ๒๕๕๒ หน่วยได้รับการตรวจและประเมินผลคุณภาพชีวิตฯ จากกองทัพบก  ผลการตรวจอยู่ในขั้นดีมาก

         ๓. ปี ๒๕๕๕ หน่วยได้รับการตรวจและประเมินผลตามโครงการปลูกฝังและเสริมสร้างอุดมการณ์ทหาร ของกองทัพบก ผลการตรวจอยู่ในขั้นดีมาก

         ๔. ปัจจุบันหน่วยได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจแบบพอเพียงตามรอยพ่อ เพื่อเป็นศูนย์สาธิตและเรียนรู้สำหรับกำลังพล ครอบครัว หมู่บ้านรอบค่าย หน่วยงานราชการ และสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ให้ความสนใจ ได้มาศึกษาเรียนรู้  เพื่อนำไปใช้กับชีวิตประจำวัน ศูนย์เรียนรู้ประกอบด้วย การประยุกต์ใช้จุลลินทรีย์ EM  การเลี้ยงกบ การเลี้ยงไก่พันธ์เนื้อ การเลี้ยงไก่พันธ์ไข่ การเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน บ่อซีเมนท์ และในบ่อพลาสติก การทำผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน เป็นต้น หมู่บ้านใด หน่วยงานใด หรือโรงเรียนใดที่สนใจ สามารถเข้ามาศึกษาเรียนรู้ได้ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง โดยเสนอความต้องการได้ที่ พันโท ยงยุทธ ขันทวี      ผู้บังคับกองพันทหารราบที่ ๑ กรมทหารราบที่ ๘  โทร.๐๘๑-๙๖๔๒๖๐๙ ได้ทุกเวลา

สิ่งสำคัญของหน่วย 

         - พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและได้อัญเชิญมาประดิษฐานบนศาลาวงกลมเมื่อ  ๓๑  ก.ค. ๒๓

         - ธงไชยเฉลิมพล ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อ ๑๙ มี.ค. ๒๔

         - อนุสาวรีย์ วีรชนทหารกล้า  ซึ่งได้บรรจุอัฐิ  กำลังพลของหน่วยที่เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม  ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่  หน้า บก. ร.๘ พัน.๑ 


---------xxxx--------