ผู้ใช้:ภัทรานิษฐ์ รอดกริช/กระบะทราย

ภัทรานิษฐ์ รอดกริช
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดภัทรานิษฐ์ รอดกริช
เกิด12 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 (32 ปี)
ที่เกิดประเทศไทย นครราชสีมา ประเทศไทย

ประวัติส่วนตัว

แก้
  • ชื่อจริงนางสาวภัทรานิษฐ์ รอดกริช ชื่อเล่น ก้อย
  • ที่อยุ๋ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 1015 ถนนสืบศิริ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

ประวัติการศึกษา

แก้
  • จบมัธยมต้น จาก โรงเรียนโคราชพิทยาคม
  • จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษนครราชสีมา
  • จบประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จาก วิทยาลัยอาชีวศึกษนครราชสีมา
  • ปัจจุบันศึกษาในระดับ ปริญญาตรี ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

บทความที่สนใจ

แก้
  • ด้านถ่ายภาพการแต่งภาพ
  • การถ่ายภาพ

การถ่ายภาพ คือ การบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้บนวัตถุไวแสง ผ่านอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่ากล้องถ่ายรูป หลังจากนั้น จะสามารถเปลี่ยนสภาพแสงเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพได้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านกระบวนการล้างอัดภาพ

 
กล้องและธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งในการถ่าย
  • ศัพท์

ในภาษาอังกฤษคำว่า การถ่ายภาพ คือ Photography (อ่านว่า โฟโตกราฟฟี) มาจากการผสมคำกรีกสองคำ คือ คำว่า φως - phos ซึ่งแปลว่า แสง กับคำว่า γραφις - graphis หรือ γραφη - graphê ซึ่งแปลว่า การเขียน. เมื่อรวมกันแล้ว จึงมีความหมายตรงตัวว่า การวาดภาพด้วยแสง นั่นเอง

ตกแต่งภาพแนว Art ด้วยตัวหนังสือ โดยใช้โปรแกรม Photoshop


สำหรับบทความ Photoshop บทความนี้ เป็นการตกแต่งภาพด้วยตัวหนังสือ ให้ออกมาเป็นภาพแนวอาร์ตสวย ๆ ด้วยการใช้ตัวหนังสือ จะออกมาเป็นอย่างไรคลิกดูได้เลยค่ะ


สำหรับบทความ Photoshop บทความนี้ ก็เตรียมและทำรูปภาพประกอบไว้นานแล้ว แต่ไม่มีโอกาสอัพขึ้นเว็บซักที วันนี้ว่าง ๆ เลยได้มีโอกาสอัพเดตเว็บซะทีค่ะ ว่าแล้วเราก็มาเริ่มกันเลยค่ะ ขั้นตอนที่ 1 เปิดโปรแกรม Photoshop ขึ้นมาก่อนค่ะ จากนั้นก็ Open File รูปที่ต้องการจะตกแต่งภาพเข้ามาในโปรแกรม Photoshop ดังภาพที่ 1 จากนั้นให้ทำการเพิ่ม Layer ขึ้นมาอีก 1 Layer โดยการคลิก add new layer ตามภาพในตำแหน่งที่ 1 เมื่อได้เลเยอร์ใหม่ขึ้นมาแล้ว ให้ทำการเทสีให้เลเยอร์นี้เป็นสีดำค่ะ


ขั้นตอนที่ 3 เมื่อถึงขั้นตอนนี้ สังเกตที่ Layer Palette ด้านขวามือ เราจะมี Layer ทั้งหมด 3 เลเยอร์ คือ รูปภาพ พื้นสีดำ และเลเยอร์ข้อความ ในขั้นตอนนี้เราจะมาสร้าง Layer Mask ให้กับเลเยอร์ข้อความ ซึ่งสามารถทำได้โดยคลิกที่ add layer mask ตามภาพในตำแหน่งที่ 3 ซึ่งจะทำให้มี layer mask สีขาวถูกสร้างขึ้นตามภาพที่ 3 ค่ะ


ขั้นตอนที่ 4 ให้ทำการคลิกที่ Layer แรก (เลเยอร์รูปภาพ) จากนั้นกด Key ลัด กดปุ่ม Ctrl + A เพื่อทำการเลือกพื้นที่ทั้งหมด (จะใช้คำสั่ง Slect-->All จากเมนูบาร์ก็ได้) จากนั้นใช้ Key ลัด กดปุ่ม Ctrl + C เพื่อทำการคัดลอกข้อมูลของเลเยอร์

ขั้นตอนที่ 5 ให้กดปุ่ม Alt ค้างไว้ แล้วคลิกเมาส์ที่ตำแหน่ง Layer Mask (Layer บนสุึด คลิกให้ถูกตรงที่เป็น Mask) จากนั้นใช้ Key ลัด กดปุ่ม Ctrl + V เพื่อวางภาพที่คัดลอกจากเลเยอร์แรกลงบน Mask ซึ่งจะทำให้ Mask เปลี่ยนจากสี่เหลี่ยมสีขาว เป็นรูปภาพแทน พร้อมรูปชิ้นงานที่กำลังตกแต่งเปลี่ยนจากภาพสีเป็นภาพขาวดำ ดังภาพในตำแหน่งที่ 4




LAN Technology

แก้

รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้



  • 1.1โทโปโลยีแบบบัส (BUS)

เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

ข้อดี

- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายสัญญาณมากนัก สามารถขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายน้อย ซึ่งถือว่าระบบบัสนี้เป็นแบบโทโปโลยีที่ได้รับความนิยมใช้กันมากที่สุดมา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือสามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก

ข้อเสีย

- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมี สัญญาณขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องบางเครื่อง หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย

- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยาก เนื่องจากขณะใดขณะหนึ่ง จะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้น ที่สามารถส่งข้อความ ออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ค ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้



  • 1.2 โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING)

เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป

ข้อดี

- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่

- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป

- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน

ข้อเสีย - ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้

- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง



  • 1.3 โทโปโลยีแบบดาว (STAR)

เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป

ข้อดี

- การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย

ข้อเสีย

- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ


  • 1.4โทโปโลยีแบบ MESH

เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุก ๆ เครื่อง ระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก


OSI Model และ TCP/IP Model

แก้

TCP/IP กับ OSI Model

  • 1.Process Layer จะเป็น Application Protocal ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับผู้ใช้และให้บริการต่าง ๆ
  • 2.Host – to – Host Layer จะเป็น TCP ที่ทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 4 ของ OSI Model คือควบคุมการรับส่งข้อมูลจากปลายด้านส่งถึงปลายทางด้านรับข้อมูล
  • 3.Internetwork Layer ได้แก่ส่วนของโปรโตคอล IP ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับชั้นที่ 3 ของ OSI Model คือเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับระบบเครือข่ายที่อยู่ชั้นล่างลงไป
  • 4.Network Interface เป็นส่วนที่ควบคุมฮาร์ดแวร์การรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย เปรียบได้กับชั้นที่ 1 และ2 ของ OSI Model

เปรียบเทียบ TCP/IP กับ OSI Model TCP/IP Model มีแนวคิดพื้นฐานแตกต่างจาก OSI Model คือไม่ได้มีพื้นฐานของการสื่อสารแบบการสนทนา TCP/IP Model เป็นภาพแสดงถึงโลกของระบบเครื่อข่ายสากล (Internetworking) จะพบว่ามีบางเลเยอร์ที่มีการกำหนดคุณสมบัติที่เทียบได้ไกล้เคียงกัน แต่บางเลเยอร์ก็ไม่สามารถเทียบหาความสัมพันธ์กัน



อ้างอิง

แก้

http://www.thaiengineering.com/new-technology-a-it.html http://osimode01.weebly.com/tcpip358536333610osi-model.html