ผู้ใช้:ฟีนยา พุ่มประเสริฐ/กระบะทราย

แมลงช้างปีกใส (green lacewing)

แก้
แมลงช้างปีกใส
 
แมลงช้างปีกใส
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Neuroptera
สกุล: Chrysoperla
สปีชีส์: C.  carnea
ชื่อทวินาม
Chrysoperla carnea
(J.F.Stephens, 1835)

บทนำ

แก้

ประโยชน์ทางการเกษตร

แก้

แมลงช้างปีกใส ชนิด Chrysoperla carnea Stephens เป็นแมลงตัวห้ำที่สำคัญที่นิยมนำมาเพาะเลี้ยงมากที่สุดในแถบทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากเป็นศัตรูตามธรรมชาติที่สำคัญของแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั้น เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว เพลี้ยแป้ง และไรแดง นอกจากนี้ตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใสยังสามารถกินไข่และตัวอ่อนของด้วง หรือหนอนผีเสื้อที่ทำลายผลผลิตทางการเกษตรได้อีกด้วย ดังนั้นแมลงช้างปีกใสจึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธีได้อย่างมีประสิทธิภาพ "(มั่นใจ)"[1] แมลงช้างปีกใส C. carnea จะดำรงชีพแบบผู้ล่าหรือเป็นตัวห้ำเฉพาะในระยะตัวอ่อน ส่วนในตัวเต็มวัยจะกินน้ำหวานและละอองเรณู จึงมีบทบาทในการผสมเกสรและช่วยขยายพันธุ์พืชด้วยเช่นกัน "(มั่นใจ)" [2]

ความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของแมลงช้างปีกใสและญาติ

แก้

แมลงช้างปีกใสในสกุล Chrysoperla ถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ตามลักษณะสัณฐานวิทยาของตัวเต็มวัย ได้แก่ กลุ่ม carnea กลุ่ม pudica กลุ่ม comans และกลุ่ม nyerina การศึกษาความสัมพันธ์เชิงวิวัฒนาการของแมลงช้างปีกใสทั้ง 4 กลุ่ม โดยใช้ข้อมูลทางพันธุกรรม (nuclear marker 3 ยีน ได้แก่ namelywingless(546 bp), phosphoenolpyruvate carboxykinase (483 bp) และ sodium/potassium ATPase alpha subunit (410 bp)) พบว่า แมลงช้างปีกใสในกลุ่ม comans และ pudica เป็น sister group กัน และทั้งสองกลุ่มเป็น sister group กับกลุ่ม carnea แต่ความสัมพันธ์กับกลุ่ม nyerina ยังไม่แน่ชัด "(มั่นใจ)" [3]

การปรับตัวเชิงวิวัฒนาการของแมลงช้างปีกใส (Evolutionary adaptation of the common green lacewing)

แก้

การทนต่อความหนาวเย็น

แก้

แมลงช้างปีกใส C. carnea สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็นได้เป็นเวลานาน มีการรายงานว่าแมลงช้างปีกใส C. carnea ในแถบอเมริกาเหนือ สามารถอยู่รอดได้ที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานถึง 31 สัปดาห์ เนื่องจากมีกลไกในการต้านทานต่อความหนาวเย็น คือ ในช่วงฤดูหนาว ร่างกายจะมีการสะสมสารไครโอโพรเทกแทนต์ (cryoprotectant) ได้แก่ ทรีฮาโลส (trehalose) ไกลโคเจน(glycogen) ไว้ในปริมาณสูง ซึ่งสารดังกล่าวมีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดผลึกน้ำแข็งโดยการลดจุดเยือกแข็ง (freezing point) ให้ต่ำลง ของเหลวในร่างกายจึงยังคงอยู่ในสภาพที่ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายสามารถทำงานได้ตามปกติ "(มั่นใจ)" [4]


การปรับตัวของรีเซพเตอร์รับคลื่นเสียง

แก้

แมลงช้างปีกใส C. carnea มีรีเซพเตอร์รับเสียง(auditory receptor) ที่พัฒนาดีกว่าในแมลงกลุ่มอื่นๆ สามารถตรวจจับคลื่นเสียงความถี่สูงที่ค้างคาวใช้ในการล่าเหยื่อได้ ช่วยให้มันซ่อนตัวหรือหนีได้ทันก่อนที่จะถูกล่า "(มั่นใจ)" [5]

การทนทานต่อยาฆ่าแมลง

แก้

แมลงช้างปีกใส C. carnea มีความต้านทานต่อยาฆ่าแมลงในกลุ่ม Pyrethroids และ Organophosphates ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงที่นิยมใช้ในทางการเกษตร "(มั่นใจ)" [6] เนื่องจากมีกลไกในการกำจัดสารพิษ (detoxification systems) โดยมีเอนไซม์ในการสลายพิษที่สำคัญ คือ oxidases และ glutathione-S-transferases (GSTs) [7]

References

แก้
  1. Ulhaq, M.M., Sattar, A., Salihah, Z., Farid, A., Usman, A. and Khattak, S.U.K. 2006. Effect of different artificial diets on the biology of adult green lacewing (Chrysoperla carnea Stephens). Songklanakarin J. Sci. Technol. Vo. 28(1) : 1-8. http://rdo.psu.ac.th/sjstweb/journal/28-1/01_adult_green_lacewing.pdf
  2. Fisher,T. W.,Thomas S. 1999. Handbook of Biological Control. Academic Press , The United States of America. 1031 p. http://books.google.co.th/books?id=u2X-rfgU0ewC&pg=PA418&redir_esc=y#v=onepage&q&f=true
  3. Haruyama, N., A. Mochizuki, P. Duelli, H. Naka, and M. Nomura. 2008. Green lacewing phylogeny, based on three nuclear genes (Chrysopidae, Neuroptera). Systematic Entomology 33(2):275–288. http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/j.1365-3113.2008.00418.x/pdf
  4. Canard, M. 2005. Seasonal adaptations of green lacewings (Neuroptera: Chrysopidae). European Journal of Entomology 102: 317-324. https://www.eje.cz/pdfarticles/1006/eje_102_3_317_Canard.pdf
  5. McEwen P., New T., and Whittington,A. 2001.Lacewings in the crop environment Cambridge University Press, New York, The United States of America. 547 p. http://books.google.co.th/books?id=ZIfF6ho1ac4C&pg=PA375&lpg=PA375&dq=Biological+control+by+chrysopidae:+Integration+with+pesticides&source=bl&ots=oVdJ7ekbhg&sig=dJN3ukTBwaWm6qD8UiBf1v_DFo4&hl=th&sa=X&ei=We9CUtaCA8jxiAfvzIC4BA&ved=0CF8Q6AEwBQ#v=onepage&q=Biological%20control%20by%20chrysopidae%3A%20Integration%20with%20pesticides&f=false
  6. Pathan, A. K., Sayyed, A. H., Aslam, M., Liu, T.-X., Razzaq, M., and Gillani, W. A. 2010. Resistance to Pyrethroids and Organophosphates Increased Fitness and Predation Potential of Chrysoperla carnae (Neuroptera: Chrysopidae). Journal of Economic Entomology, 103(3): 823-834. http://www.bioone.org/doi/pdf/10.1603/EC09260
  7. Pree, D. J., Archibald, D. E., and Morrison, R. K. 1989. Resistance to Insecticides in the Common Green Lacewing Chrysoperla carnea (Neuroptera: Chrysopidae) in Southern Ontario Journal of Economic Entomology, 82(1): 29-34.http://docserver.ingentaconnect.com/deliver/connect/esa/00220493/v82n1/s6.pdf?expires=1380186127&id=75617477&titleid=10264&accname=Prince+of+Songkla+University&checksum=FBF69DCBCDE88118B2BD0BF7249C10FA