พระเครื่องเมืองพิษณุโลก PHRA KHREUANG OF PITSANULOKE (BUDDHA TALISMAN) พระพุทธชินราชใบเสมา (Buddha Chinnnaraj base Sema leaf)


พระพุทธชินราชใบเสมา สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินราช องค์ใหญ่ เป็นพระเครื่องศิลปะแบบอู่ทอง ราวปีพุทธศักราช 1900 กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) จังหวัดพิษณุโลก มีการพบพระเครื่องครั้งแรก เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2440 -2443 เป็นพระ พิมพ์ที่นิยมเรียกรวมกันว่า “กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร” หรือ “กรุวัดใหญ่” พิมพ์ของพระทุกกรุจะ ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก จะต่างกันที่เนื้อหาของพระเท่านั้น


กรุลั่นทม (กรุใหญ่) เป็นกรุพระที่เก่าแก่ที่สุดของกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร” หรือ “กรุวัดใหญ่” พุทธชินราชใบเสมาเนื้อชิน เนื้อสนิมตีนกา แทบทั้งสิ้น มีเนื้อชินเงิน ชินเขียว หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเนื้อชินอุทุมพร ผิวพระจะเป็นลักษณะเลื่อม มัน เมื่อสึก หรือถูกการสัมผัส หรือผ่านการ ใช้มาแล้ว ข้อสังเกต ของพระกรุนี้ รูปหน้า และองค์พระจะมีขนาดใหญ่ (อวบ) กว่าพระกรุอื่นๆ


กรุท่อน้ำ หรือร่องน้ำบริเวณรอบพระวิหารฯ เป็นกรุที่ไม่การกล่าวถึง เนื่องจากเป็นกรุเล็ก และมีพระจำนวนน้อยมาก


กรุพระปรางค์ (กรุเก่า) เป็นกรุพระที่พบภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) โดยได้มีการ ขุด พบพระพุทธ ชินราชใบเสมาทุกพิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ฐานสูง พิมพ์กลางฐานสูง พิมพ์เล็กฐานสูง พิมพ์ใหญ่ฐานต่ำ(เตี้ย) พิมพ์กลางฐานต่ำ(เตี้ย) และพิมพ์เล็กฐานต่ำ(เตี้ย) ส่วนมากเป็นพระพิมพ์ เนื้อชิน มีเนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว ชินสัมฤทธิ์เงิน เนื้อพระกรุนี้จะมีหลากหลายลักษณะมาก มีเนื้อเงินผสมดีบุก ผิวปรอทเป็นส่วนมาก เป็นกรุที่มีพระพิมพ์หลากหลายมาก อีกกรุหนึ่ง


กรุพิกุล เป็นกรุพระที่พบภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พุทธชินราชใบเสมาทุกพิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ฐานสูง พิมพ์กลางฐานสูง พิมพ์เล็กฐานสูง พิมพ์ใหญ่ฐานต่ำ(เตี้ย) พิมพ์กลางฐานต่ำ(เตี้ย) และพิมพ์เล็กฐานต่ำ(เตี้ย) เป็นพระพิมพ์เนื้อดิน ส่วนมากเป็นพระพิมพ์ เนื้อชิน มีเนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว ชินสัมฤทธิ์เงิน เนื้อพระกรุนี้จะมีความงดงามมาก


กรุวิหารแกลบ เป็นกรุพระที่พบภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พระพุทธชินราชใบเสมาเนื้อชินทุก ข้อสังเกต พระกรุนี้ จะมีการตัดขอบ คล้ายรอยที่เกิดจากการหัก ที่ใต้ฐานและการตัดที่ขอบพระไม่เรียบร้อย ไม่สวยงาม บางองค์ก็ไม่ตัดขอบก็มี ข้อสังเกต ของพระกรุนี้คือการตัดกรอบ และใต้ฐานพระฐานต่ำ(เตี้ย) จะไม่มีความเรียบเหมือนพระกรุอื่น


กรุโบสถ์ หรือวิหารหลวงพ่อโต นิยมเรียกกันว่าพระกรุใหม่ เป็นพระที่แตกกรุเมื่อมีการบูรณ ซ่อมแซมวิหาร เมื่อปี 2549 พบพระพุทธชินราช ใบเสมา ทุกพิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ฐานสูง พิมพ์กลางฐานสูง พิมพ์เล็กฐานสูง พิมพ์ใหญ่ฐานต่ำ(เตี้ย) พิมพ์กลางฐานต่ำ(เตี้ย) และพิมพ์เล็กฐานต่ำ(เตี้ย) พระพุทธชินราชใบเสมาดรูทองคำ หรือพระบุทอง เป็นพิมพ์กลาง และเล็กฐานต่ำ(เตี้ย) พบมีน้อยมาก พระพุทธชินราชใบเสมาพิมพ์ เนื้อชินแก่เงินในกรุนี้ มีจำนวนน้อย พระที่อยู่ในกรุจะมีเนื้อดูใหม่ มันวาว สีขาวสะอาด ทั้งองค์ แต่ก็มีบางองค์คราบปรอทจับบางๆ ข้อสังเกตของพระกรุนี้ จะมีชาดสีแดงแต้มองค์พระเกือบทุกองค์ แต่จะใช้เป็นข้อสรุปไม่ได้เนื่องจาก บางองค์ก็ไม่มี พระกรุนี้ในปัจจุบันหายากมาก พระพุทธชินราชใบเสมาในกรุนี้จะดูเหมือนพระใหม่มาก


กรุพระปรางค์ (กรุใหม่) เป็นกรุพระที่พบภายในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) พบพระพุทธชินราชใบเสมาทุกพิมพ์ คือพิมพ์ใหญ่ฐานสูง พิมพ์กลางฐานสูง พิมพ์เล็กฐานสูง พิมพ์ใหญ่ฐานต่ำ(เตี้ย) พิมพ์กลางฐานต่ำ(เตี้ย) และพิมพ์เล็กฐานต่ำ(เตี้ย) ส่วนมากเป็นพระพิมพ์ เนื้อชิน มีเนื้อชินเงิน ชินเขียว ชินตะกั่ว ชินสัมฤทธิ์เงินปิดทอง พระพุทธชินราชใบเสมาพิมพ์ฐานสูง พิมพ์พิมพ์ฐานต่ำ (เตี้ย) พระ เสมาเนื้อว่านหน้าทอง ที่สำคัญคือพบ และยังพบพระพุทธชินราชใบเสมาเนื้อทองคำ (เป็นเนื้อทองคำทั้งองค์)

 มีขนาดต่างๆหลายพิมพ์    ข้อสังเกตพระพุทธชินราชใบเสมาเนื้อชินเงินกรุพระปรางค์ (กรุใหม่) ในกรุนี้  มีพิมพ์ต่างๆหลายพิมพ์ 

แต่แบบพิมพ์ส่วนใหญ่ จะเป็นพระพิมพ์เดียวกัน หรือบล็อกเดียวกัน กับพระพุทธชินราชใบเสมาที่ขึ้นจากกรุเก่าอื่นๆมาก่อน ผู้เขียนได้กำหนดพิมพ์ของพระขึ้นด้วย เพื่อความสะดวกในการเรียกพิมพ์ของพระในกรุนี้คือ พิมพ์ใหญ่หน้ายักษ์ พิมพ์หน้าหนุ่ม พิมพ์เข็ม พิมพ์ไข่ปลาข้างแขน พิมพ์ไข่ปลาข้างซุ้ม พิมพ์กลางคางเม็ด พิมพ์หน้านูนฐานต่ำ(เตี้ย) พิมพ์เล็กฐานสูง ฯ ในกรุนี้ด้วย พระพุทธชินราชใบเสมากรุพระปรางค์ (กรุใหม่) ส่วนใหญ่ในกรุนี้ จะมีเนื้อหาของพระแตกต่างไปจากกรุอื่นๆ คือ สีเนื้อของพระจะคล้ำ มีเนื้อด้าน มีความแห้งมาก องค์พระมีความคมชัดมากเกือบทุกองค์ เนื่องจากถูกบรรจุในที่ไม่มีความชื้น แห้งมาก และมีบางชุด บรรจุอยู่ในไห องค์พระจะบาง และเบา บางองค์สีดำคล้ำเรียกว่าเนื้อสนิมดำตีนกา ผิวเนื้อพระหยาบ ดูไม่เรียบ ไม่มีความเงา บางองค์ผุเพราะถูกการกัดกร่อนตามกาลเวลาแต่จะดูเป็นธรรมชาติมาก ไม่พบในตลาดพระ น่าจะเป็นเพราะพระอยู่ในวงจำกัด และวงแคบๆ โดยเฉพาะบรรดาเซียนพระท้องถิ่นทั้งหลายยังไม่มี หรือถ้ามี ก็อาจจะยังไม่ทราบที่มาของพระของพระกรุนี้ แต่พระกรุนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในมือของผู้หลักผู้ใหญ่ และกลุ่มผู้เก็บสะสมพระชั้นสูง นักสะสมในต่างประเทศก็มี เช่นประเทศอเมริกา ก็มี คงเป็นเพราะพระกรุนี้มีขึ้นมาจำนวนน้อยมาก



พระพุทธชินราชใบเสมากรุนอกวัด (Buddha Chinnnaraj base Sema leaf)


กรุวิหารทอง เป็นพระกรุนอกวัด พระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร(วัดใหญ่) อยู่ด้านฝั่งแม่น่านน้ำทิศตะวันตก ซึ่งเดิมเคยเป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การตั้งเมืองพิษณุโลกมาในคราวเดียวกันกับ พระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) แต่ชำรุดทรุดโทรมจนแทบไม่เหลือซากของการเป็นวัด ได้มีผู้คนเข้าขุดสำรวจบริเวณวัดดังกล่าว และพบพระเครื่องพระบูชาจำนวนมาก โดยเฉพาะการพบพระเครื่อง พระพุทธชินราชใบเสมา ทั้งเนื้อชินเงิน เนื้อชินเงินปิดทอง ทองที่ปิดนั้นสังเกตได้ง่าย คือคราบทองสีจะ เหลืองใสกว่าพระกรุ พระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (วัดใหญ่) ซึ่งพระทั้ง 2 พิมพ์นี้ มีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธชินราชใบเสมา พิมพ์ฐานสูง พิมพ์ฐานต่ำ(เตี้ย)พบน้อย เป็นพระพิมพ์ที่มีขนาดใหญ่กว่ากรุวัด พระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร(วัดใหญ่) เล็กน้อย พิมพ์ของพระ ไม่แตกต่างกันมากนัก มีความหนา และน้ำหนักมากกว่า พระที่พบส่วนใหญ่มีสภาพชำรุด ผุ เกิดจากการระเบิดหา องค์ที่สมบูรณ์ได้ยากมาก ในปัจจุบันนี้ จัดเป็นพระกรุที่หาได้ยาก และมีราคาค่อนค้างสูงกว่าพระกรุนอกจากวัดอื่นๆมากนัก


กรุประตูชัย อยู่ด้านฝั่งแม่น่านน้ำทิศตะวันตก ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงครามในปัจจุบัน ซึ่งเดิมเป็นประตูเมือง แต่เดิมมีวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์การตั้งเมืองพิษณุโลกมาในคราวเดียวกันกับ พระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร มีผู้คน ได้เข้าขุดค้นบริเวณวัดดังกล่าว พบพระเครื่องพระบูชาแตกหัก ชำรุดโดยเฉพาะการพบพระเครื่องพระพุทธชินราชใบเสมา ทั้งพระเนื้อดิน พระ เนื้อชิน มีเนื้อชินเงิน ชินสนิมเขียว ชินสัมฤทธิ์เงิน ชินสัมฤทธิ์ทองคำ (เป็นเนื้อทองคำทั้งองค์) ซึ่งชินสัมฤทธิ์ทองคำนี้เป็นการพบครั้งแรกในกรุนี้ (แต่ไม่เป็นที่เปิดเผย) ส่วนใหญ่เป็น พระพุทธชินราชใบเสมาชินสัมฤทธิ์ทองคำฐานต่ำ (เตี้ย) หายากมีราคาสูงมากในปัจจุบัน


ประเภทของเนื้อพระพุทธชินราชใบเสมากรุวัดพระศรีฯ


พระเนื้อชินสนิมเขียว พระเนื้อชินเขียวสนิม เท่าที่พบเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ (เนื้อในองค์พระสีคล้ายทองแดง) เมื่อนานเข้าจะเกิดสนิมจากการถูกความชิ้นจากภายในกรุ และทำปฏิกิริยากับอากาศ หรือการจับต้อง เหงื่อ ทำให้เกิดสนิมขึ้นที่หน้า และเนื้อในซอก ร่อง ของเนื้อพระที่ชำรุด และผุกร่อน สีสนิมมีลักษณะสีเขียวเข้ม จึงเรียกว่าพระสนิมเขียว


พระเนื้อชินเงิน มีเนื้อชินแก่เงิน เงินผสมดีบุก เนื้อชินเงินผสมตะกั่ว พระเนื้อชินเงินปิดทอง เป็นพระเนื้อชินเงิน 99% ลงรัก แล้วปิดด้วยทองคำเปลวด้านหน้าองค์พระ ปิดทองเฉพาะด้านหน้า ด้านหลังเปิด เห็นเนื้อชินเงิน มีสีทองแตกต่างกันในแต่ละกรุ ด้านหลังของพระดูใหม่ เนื่องจากพระพิมพ์นี้มีส่วนผสม ของเนื้อเงินค่อนข้างสูง (เงินแท้) พระถูกบรรจุไว้ในกรุที่สูง แห้งไม่อับชื้น และคุณสมบัติของทองคำ ช่วยรักษาให้เนื้อพระคงสภาพเดิมได้


พระเนื้อทองคำ มีเนื้อทองคำแท้ 99 % องค์พระหนา มีน้ำหนักมาก หาองค์พระที่มีความคม ชัดได้ยากมาก พระเนื้อชินสำริดทอง เป็นเนื้อทองคำผสมดีบุก ผสมทองแดง ผสมทองเหลือง และดีบุก สีของพระจะออกไปตามสัดส่วนของสารองค์ประกอบที่ใช้ผสมในเนื้อพระ


พระเนื้อชินสำริดเงิน เป็นเนื้อเงินผสมดีบุก และผสมตะกั่ว พระเนื้อชินทองดอกบวบ เป็นเนื้อทองเหลืองผสมดีบุก ผสมทองเล็กน้อย พระเนื้อว่านหน้าเงิน เป็นพระเนื้อว่าน ปิดด้วยแผ่นเงินบางๆด้านหน้า หลังเปิดเห็นเนื้อว่าน พระเนื้อว่านหน้าทอง เป็นพระเนื้อว่าน ปิดด้วยแผ่นทองบางๆ ทองที่นำมาปิดจะมีความบาง ด้วยกรรมวิธีการตีทองในสมัยโบราณ คล้ายทองคำเปลวด้านหน้า แต่มีความหนากว่าทองคำเปลว ด้านหลังเปิดเห็นเนื้อว่าน


พระดรูทองคำ ,พระบุทอง หรือพระหน้ากาก เป็นพระที่ทำจากแผ่นทองคำบาง ปั๊ม หรืออัดเป็นรูปพระ แต่แผ่นทองคำจะหนากว่า พระเนื้อว่านหน้าทอง มีด้านหน้าด้านเดียว พิมพ์พระจะไม่ชัด ด้านหลัง เปิดไม่มีเนื้อว่าน พระเนื้อว่าน สร้างด้วยเนื้อว่านมงคลต่างๆ ผสมเกสรว่าน เมล็ดว่าน ผสมใบลาน ผงพุทธคุณ มีสีปรากฏดังนี้ เหลืองอ่อน แห้งเก่า สีเปลือกไม้แห้ง หรือสีน้ำตาล


พระเนื้อชินเขียวหรือเนื้อชินอุทุมพร ตามตำนาน และบอกกล่าวกันมาว่ามีพระพุทธชินราชใบเสมาเนื้อชินเขียว

   แต่มีผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเป็นการนำเอาเนื้อชินต่างๆที่เหลือ หรือจากการหล่อชำรุด  ไม่สมบูรณ์  นำมารวมกัน 

และหลอมหล่อพระขึ้นมาใหม่ ทำให้เกิดสีแปลกแตกต่างไปจากเนื้อชิน และเนื้อสัมฤทธิ์พิมพ์ต้นแบบเดิม

พระเนื้อชินเปียกทอง คือการเททองปิดทับพระเนื้อชินทั้งองค์ เป็นพระกรุชุดที่ไม่มีการกล่าวถึง ในประวัติการสร้างพระ หรือการค้นพบ พระในกรุเก่าๆ แต่พบพระเนื้อนี้ใน กรุใหม่ เป็นพระเนื้อชิน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อชินทองแดง ชินสำริด และเนื้อชินเงิน เปียกทองทั้งองค์ เนื้อพระดูมีความขรุขระ ไม่เรียบ มันวาว และมีจุดสังเกตที่ผิวเนื้อเมื่อพระชำรุด หรือสนิมกัดเซาะจนผิวพระหลุดออก จะเห็นเนื้อในขององค์พระภายใน มีน้ำหนักเบา บางกว่าพระเสมาเนื้อทองคำมาก