ประวัติตระกูล มลายาสกุล

แก้

มลายาสกุล (Melayasakul) มาจากคำสองคำที่ผสมกันระหว่างคำว่า มลายู กับคำว่า สกุล ซึ่งมีความหมายโดยรวมว่า ชาติพันธุ์ หรือ กลุ่มคนมลายู หรือ คนไทยเชื้อสายมลายู ที่ใช้ ภาษามลายู หรือ ภาษายาวี ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน

ชาติพันธุ์มลายูส่วนใหญ่เป็นชนพื้นเมืองที่อาศัยอยูในแหลมมลายูและหมู่เกาะมลายูเป็นหลัก ประชากรประมาณ ๓๐๐ ล้านคน มลายูไม่ใช่แค่ภาษา หรือบุคคล รวมไปถึง วิถีชีวิต การแต่งกาย ศาสนา และวัฒนธรรม โดยคนมลายูส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งมีคนนับถือมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก

ต้นตระกูล มลายาสกุล

แก้

ทัตตกร มลายาสกุล ชื่อเล่นชื่อ ต้าร์ หรือ ฟัตตะห์ ในภาษาอาหรับแปลว่า "บ่าวของพระเจ้า" ซึ่งเป็นต้นตระกูล "มลายาสกุล" เกิดเมื่อวันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เกิดที่จังหวัดสงขลาตอนใต้ของประเทศไทย ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 1 คน ชื่อนางสาว ซัลมี มลายาสกุล ชื่อเล่นชื่อ มีมี

 
รูปคุณทัตตกร มลายาสกุล

ธรรมนูญตระกูล

แก้

สมาชิกในตระกูลมลายาสกุลทุกคน ที่ใช้นามสกุล "มลายาสกุล" ตามหลังชื่อ จะต้องปฏิบัติคนตามธรรมนูญตระกูล ดังนี้

  1. รักสามัคคีต่อสมาชิกในตระกูลทุกคน
  2. มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ดำเนินชีวิตด้วยความรู้และสติปัญญา
  3. ช่วยเหลือ แบ่งปัน ปกป้องสามาชิกในตระกูลเท่าชีวิต
  4. ให้ความสำคัญต่อพี่น้องในตระกูลก่อนเสมอ
  5. เงิน ทอง ไม่สำคัญเท่าสมาชิกในตระกูลมลายาสกุล
  6. ต้องสร้างชื่อเสียงให้ตระกูล และห้ามทำให้ตระกูลเสียหาย อับอาย
  7. ธุรกิจอาจจะเป็นการแข่งขัน แต่ไม่ใช่แข่งขันกันเองในวงตระกูล

ตราประจำตระกูล

แก้

ความหมายตราประจำตระกูล

แก้

M : “Melayasakul” กลุ่มคนมลายู หรือ ชาติพันธุ์มลายู

ดอกกุหลาบ: การมีความรัก ความห่วงใยซึ่งกันและกันของสมาชิกในวงศ์ตระกูล

ลูกศร:   การมองไปข้างหน้าอย่างสง่างามของสมาชิกในวงศ์ตระกูล ด้วยความมุ่งมั่น และมั่นคง

ลูกศรหัก: การสิ้นสุดของสงคราม ความขัดแย้ง เกิดสันติภาพในวงศ์ตระกูล

ลูกศรทั้งสองชี้ไปในทิศทางเดียวกัน: ความสามัคคี   คิดเห็นตรงกัน และจับมือกัน เดินไปในทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน

ปีกลูกศร: การป้องกัน และปกป้อง สมาชิกในตระกูลจากภัยอันตรายทั้งปวง