ผู้ใช้:ชรินทร์ แช่มสาคร/กระบะทราย

ภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ thumb


“ภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์” กรรมการผู้แทนเกษตรกรภาคใต้ หนึ่งในบอร์ดจัดการหนี้ของเกษตรกร กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนประชารัฐ ซึ่งมีภารกิจในการรักษาที่ดินทำกินของเกษตรกร ปัจจัยการผลิตสำคัญ โดยเฉพาะในยุคแห่งการปฏิรูป และทิศทางประชารัฐ เขาก็คืออีกคีย์แมนสำคัญในการผลักดันยุทธศาสตร์ “ก้าวใหม่” การจัดการหนี้ ด้วยวิสัยทัศน์ “การฟื้นฟูเกษตรกรเท่ากับการฟื้นฟูประเทศ” ภูมิพัฒน์ เป็นคนพัทลุง บ้านเกิดอยู่ในตำบลควนมะพร้าว เขาบรรยายเส้นทางชีวิตว่า “จากท้องไร่ ท้องนา ห้วยหนองคลองบึงนับเป็นประสบการณ์ของการเรียนรู้จากชีวิตจริง ได้ซึมซับรับทราบปัญหา อุปสรรค ความทุกข์ยากลำบากแสนเข็ญของพ่อแม่ ญาติพี่น้องและเกษตรกรในชุมชนหมู่บ้านมาตลอดชีวิต โดยหวังว่าสักวันหนึ่งเมื่อมีความรู้ มีประสบการณ์ บวกกับความตั้งใจจริงในการทำงานรับใช้พี่น้องเกษตรกรผู้ทุกข์ยาก จากอดีตถึงปัจจุบันและอนาคตข้างหน้าความตั้งใจอันแน่วแน่อยู่ในใจเสมอและตลอดไป” ภูมิพัฒน์ ได้รับเลือกเป็นผู้แทนเกษตรกรภาคใต้ กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ในการเลือกตั้งปี 2558 ถือเป็นการเลือกตั้งเพียงครั้งเดียวที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยอมให้มีเพื่อหวังเป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานเพื่อเกษตรกร โดยเฉพาะการขับเคลื่อนโยบายประชารัฐ “ผมอยากเห็น เกษตรกรกินดีอยู่ดีมีความสุขสามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างมีเกียรติศักดิ์ศรี เป็นฐานรากทางเศรษฐกิจของชาติได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน” ภูมิพัฒน์บอกความมุ่งหมายในการทำหน้าที่ผู้แทนเกษตรกร ต้องยอมรับว่า เส้นทางของภูมิพัฒน์เดินมาในเส้นทางของคนในภาคเกษตรกรโดยแท้ เขาจบวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม จบ MPA รัฐประศาสน์ศาสตร์มหาบัณฑิต จากนิด้า ขณะที่เส้นทางการทำงาน เริ่มปี 2530 เป็นลูกจ้างโครงการผลิตข้าวนาน้ำฝน ศูนย์วิจัยข้าวพัทลุง ก่อนจะเข้าไปเป็นพนักงานในบริษัทอุตสาหกรรมการเกษตรยักษ์ใหญ่ถึง 13 ปี ตระเวณเดินสายไปพื้นที่เกษตรทั่วประเทศในฐานะพนักงานส่งเสริมและรับซื้อพืชไร่ ประสบการณ์จากบริษัทเอกชนยักษ์ใหญ่สร้างสมดุล ได้จากการเรียนรู้อีกด้านของเกษตรวิถีพอเพียง ในฐานะ ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมและรับซื้อสวนโครงการห้วยองคตอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมและรับซื้อพืชสวน โครงการปากรอ จ.สงขลา ตามดำริของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ และข้อเท็จจริงที่ต้องบันทึกไว้อีกก็คือ ภูมิพัฒน์ เคยมีเส้นทางเดินในเวทีการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น โดยในระดับชาติเคยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ส่วนในระดับท้องถิ่นเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง การไปโลดแล่นบนเส้นทางการเมืองดังกล่าวสะท้อนความมีคอนเนคชั่นทางการเมืองที่มีอยู่พอตัว ก่อนหน้าเข้ามาเป็นผู้แทนเกษตรกร ภูมิพัฒน์ เคยเป็นคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ จังหวัดพัทลุง เป็นบอร์ดคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ซึ่งรับผิดชอบงานสำคัญๆ อาทิ เป็นประธานคณะทำงานติดตามความก้าวหน้าของผลงานวิจัย ประธานคณะกรรมการดำเนินงานด้าน CSR คณะกรรมการศึกษาโครงการสร้างองค์กรและตำแหน่ง คณะกรรมการกลั่นกรองบุคลากรดำรงตำแหน่ง ระดับ C 8 และ C 9 เรียกได้ว่า บทบาทใน สกย. เขามีส่วนในการปลุกปั้นองค์กรอยู่ไม่น้อย เมื่อเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวแทนเกษตรกรในกองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งมีภารกิจดูแลรักษาที่ดินทำกินของเกษตรกรฐานะหนึ่งในปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ย่อมต้องถือว่า ภูมิพัฒน์มีความครบเครื่องในเรื่องคุณสมบัติคนทำงาน กองทุนฟื้นฟูฯ ซึ่งเป็นแหล่งรวมเหล่าบรรดาจอมยุทธ์ภาคเกษตร โดยเฉพาะผู้แทนเกษตรกรจากทั่วประเทศที่มาจากการเลือกตั้ง นั่นย่อม ทำให้พวกเขามีภาระความรับผิดชอบที่แตกต่างหลากหลายในฐานะตัวแทนเกษตรกรจากแต่ละภาค ซึ่งย่อมต้องการมือประสานสิบทิศ เพื่อให้การทำงานเป็นไปในเป้าหมายเดียวกัน ก่อนหน้านี้ ดร.ยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ประธานคณะกรรมการบริหาร คือ บุคคลที่สามารถสร้างเอกภาพในกลุ่มผู้แทนเกษตรกร แต่เมื่อ ดร.ยิ่งยศ เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุเครื่องบินตก ที่จังหวัดนครพนม ภูมิพัฒน์ คือบุคคลที่เข้ามาสานต่อบทบาทหน้าที่บูรณาการความหลากหลายของผู้แทนเกษตรกรให่เดินไปสู่เป้าหมายการทำงานให้กับเกษตรกรโดยเฉพาะการแก้หนี้แก้จนเพื่อรักษาที่ดินทำกิน “ผมขอทำงานโดยไม่ยึดติดว่าต้องมีตำแหน่ง” ภูมิพัฒน์ตอบกับกรณีที่ร่ำลือกันว่า ในช่วงของการเลือกผู้แทนเกษตรกรเข้าไปทำหน้าที่บอร์ดของกองทุนฟื้นฟูฯและยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ลงตัวในสัดส่วนของผู้แทนเกษตรกร ภูมิพัฒน์ ซึ่งเป็นหนึ่งของรายชื่อที่ถูกเสนอเข้าไปเป็นบอร์ด ลุกประกาศถอนตัวเพื่อให้ได้ข้อสรุป สามารถตั้งบอร์ดเดินหน้าทำงานต่อไปได้

ที่ต้องจับตาติดตามกันก็คือ กองทุนฟื้นฟูฯดูเหมือนจะเดินมาอยู่ในจุดแห่งช่วงเปลี่ยนผ่านที่ประจวบเหมาะกับการเข้ามาทำหน้าที่ของผู้แทนเกษตรกรชุดใหม่

จุดเปลี่ยนดังกล่าวว่าไปแล้วก็สอดคล้องกับยุคของการปฏิรูปที่เป็นกระแสหลัก ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่เป็นประเด็นร้อนและทำให้เกษตรกรเสียโอกาสไปในห้วงที่ผ่านมาก็คือ การเข้ามาตรวจสอบของ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ทำให้ต้องมีการกำหนดกติกาในการฟื้นฟูบริหารจัดการหนี้กันใหม่ หลักๆก็คือ การมุ่งเน้นที่ไปหนี้ภาคเกษตร หนี้ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และหนี้ที่มีมูลค่าไม่เกิน 2.5 ล้าน และที่สำคัญคือกระจายอำนาจไปให้สำนักงานสาขาทั่วประเทศ โดยข้อเท็จจริงบัญชีหนี้ที่เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนไว้ประมาณ 6 แสนบัญชี มูลค่าหนี้ประมาณ 80,000 ล้านบาทนั้น การซื้อหนี้มาบริหารจัดการย่อมไม่ใช่ทางออก การเข้าไปฟื้นฟูอาชีพให้เกษตรกรมีความเข้มแข็ง มีกระบวนการขององค์กร มีรายได้มาชำระหนี้น่าจะเป็นทางออกที่ถูกต้องมากกว่า ทิศทางก้าวใหม่ของกองทุนฟื้นฟูยุคปฎิรูปจึงจะเดินไปในแนวทางว่า การซื้อหนี้เป็นเป้าหมายรอง การฟื้นฟูอาชีพเป็นเป้าหมายหลัก แต่การฟื้นฟูอาชีพก็ไม่ใช่เรื่องที่ไม่มีกรอบไม่มีกติกา ไม่มีทิศทาง “ การฟื้นฟูอาชีพพี่น้องเกษตรกรว่าจะส่งเสริมสนับสนุนอาชีพอะไรนั้น เราจะต้องศึกษาภูมิประเทศและธรรมชาติของแต่ละท้องถิ่นเพื่อสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่สอดคล้องกับภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่และมีอำนาจต่อรองทางการตลาด ไม่ใช่การไปส่งเสริมอาชีพในลักษณะแห่ตามกัน และสุดท้ายผลผลิตออกมาล้นตลาด ทำให้พ่อค้าคนกลางมากดราคารับซื้อ ซึ่งก็เท่าว่าเกษตรกรกลับไปสู่วงจรความยากจน ความเป็นหนี้อีกเหมือนเดิม ซึ่งผมจะบอกกับเจ้าหน้าที่ของกองทุนฟื้นฟูฯว่า เราจะไม่ทำอะไรที่ทำให้ย้อนไปสู่สถานการณ์ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดขึ้นของกองทุนฟื้นฟูฯ นั่นคือภาวะที่เกษตรกรเป็นหนี้” ภูมิพัฒน์บอก ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูฯ มีพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ แทนสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หลังพล.อ.ประยุทธ์แบ่งงานรองนายกรัฐมนตรีใหม่ สัญญาณที่จับทิศทางได้ก็คือ พล.อ.อ.ประจิน เป็นแบ็คอัพเต็มที่ให้กองทุนฟื้นฟูฯเดินหน้าทำงานเพื่อพิสูจน์ศักยภาพ และขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลในการทำงานเพื่อเกษตรกร โดยบรรดาข้อท้วงติงของ สตง.ที่เคยทำให้การทำงานต้องสะดุด อะไรที่แก้ไขเพื่อให้การทำงานเดินหน้าได้ก็เร่งเดินหน้าแก้ เป้าหมายปี 60 กองทุนฟื้นฟูได้รับงบประมาณในการซื้อหนี้เกษตรกร 271 ล้าน และคณะกรรมการจัดการหนี้จะนำเงินที่เกษตรกรนำส่งใช้หนี้มาหมุนเวียนรับซื้อซื้อใหม่อีก 300 ล้านบาท รวมงบประมาณ 571 ล้านบาทเพื่อจัดการหนี้ให้เกษตรกร 2,400 ราย โดยเกษตรกรที่เข้าสู่กระบวนการจัดการหนี้ครั้งนี้ จะต้องมีแผนในการฟื้นฟูอาชีพควบคู่ไปด้วย ความสำเร็จของเป้าหมายปี 60 เป็นเดิมพันของกองทุนฟื้นฟูฯ และของภูมิพัฒน์ตลอดจนผู้แทนเกษตรกรชุดนี้ทั้งคณะว่า พวกเขาทำงานสมกับความไว้วางใจของพี่น้องเกษตรกรที่เลือกเข้ามาหรือไม่