สุเทพ โชคสกุล เจ้าของเพลงครู "แม่พิมพ์ของชาติ"และ "พระคุณที่สาม"

        "วันครู" ไม่ได้ยึดวันใดวันหนึ่งในรอบสัปดาห์เหมือนวันเด็ก แต่ยึดเอาวันที่ 16 มกราคมของทุกปี ปีนี้วันครูตรงกับวันอาทิตย์ ที่ 16 มกราคม เพลงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับวันครู คือเพลง "แม่พิมพ์ของชาติ" ที่ฟังกันมาตั้งแต่เด็กๆ ซึ่งเป็นเสียงร้องของวงจันทร์ ไพโรจน์ แต่ใครจะรู้บ้างว่าเพลงนี้แต่งโดย "สุเทพ โชคสกุล" ครูเพลงที่น้อยคนจะรู้จัก      สุเทพ โชคสกุล เดิมชื่อสงัด โชคสกุล บิดาชื่อนายเวส มารดาชื่อนางเม้า เกิดวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ.2470 ที่บ้านตั้งใหม่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลท่า พี่เลี้ยง อำเภอเมือง สุพรรณบุรี มีนิสัยชอบการร้องเพลงตั้งแต่ยังเด็ก  โดยติดตามพี่ชายไปเป็นคนตีฉาบ ตีฉิ่ง ตีกลอง ได้รับค่าแรงโดยไม่ต้องขอเงินจากทางบ้านเริ่มหัดดนตรีโดยจริงจัง โดยพี่ชายให้หัดเป่าแตรก่อน จนได้เป่าแตรหน้าโรงหนังตั้งแต่ยุคหนังเงียบ ได้ดูหนังดูละครทุกเรื่องจนนำมาร้องได้หมด เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้สมัครเป็นครูประชาบาล ด้วยความสามารถที่ท่านได้เป่าแตรวงเก่า จึงได้รับเลือก เพราะในเมืองตั้งวงแตรวง ขยันสอบวิชาชุดจึงได้ครูพิเศษมัธยม ได้เคยตั้งวงดนตรีและทำแผ่นเสียงเอง มีนักร้องนักดนตรีมากมาย

ผลงานที่ฝากไว้กับคนรุ่นหลัง ท่านแต่งเพลงประกอบการศึกษาไว้มากมาย นักเรียนคงเคยได้ยินเพลงประกอบบทเรียน เช่น เพลงความเกรงใจ เพลงงานสิ่งใด เพลงตรงต่อเวลา

ท่านได้แต่งเพลงชีวิตครูให้คำรณ สัมปุญญานนท์ ร้อง และประสบผลสำเร็จมาก ทางบริษัทบันทึก

แผ่นเสียงเห็นว่าดี จึงได้ติดต่อให้ท่านแต่งเพลงเกี่ยวกับครูอีก คือเพลงแม่พิมพ์ของชาติ มอบให้วงจันทร์ไพโรจน์ เป็นผู้ขับร้อง และกลายมาเป็นเพลงอมตะอยู่จนตราบเท่าทุกวันนี้

ผลงานเพลงที่แต่งแล้วประสบความสำเร็จ นักร้องรุ่นหลังๆ นำมาขับร้องกันใหม่ก็มีอีกมากเช่น เพลงมนต์การเมือง เพลงหวยใต้ดิน เป็นต้น

เกียรติที่ภาคภูมิใจ เคยประกวดร้องเพลงค่าน้ำนม ชนะเลิศได้แหวนทองคำ

ได้เป็นศึกษานิเทศก์เพราะผลงานดีเด่นมาก โดยเฉพาะการเป็นผู้นำการสอนหนังสือด้วย

เพลงเป็นคนแรกของประเทศไทย ถึงขนาดลงทุนทำแผ่นเสียงหวังกระจายความคิดทั่วประเทศ

ประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักไปจนถึงประเทศสหรัฐอเมริกา

ได้เป็นหัวหน้าฝ่ายนิเทศการศึกษาของจังหวัดสุพรรณบุรี ได้รับการยกย่องว่าเป็นราชา

เพลงประกอบการเรียน สุดท้ายได้รับโล่เพลงเกียรติยศในงาน กึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย

จากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ ปี พ.ศ.2532

ส่วนผู้ขับร้องเพลงนี้คือ วงจันทร์ ไพโรจน์ เจ้าของฉายานักร้องเสียงสะอื้น ที่มีชื่อเดิมว่าดวงจันทร์ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นวงจันทร์ ส่วนนามสกุลไพโรจน์ ก็ต้องเปลี่ยนเป็น สุนทรจามร หลังจากที่แต่งงานกับวิภาค สุนทรจามร ลูกชายครูเวส สุนทรจามร

นอกจากจะมีพรสวรรค์ทางด้านขับร้องแล้ว วงจันทร์ยังมีความสามารถด้านประพันธ์เพลง ได้แต่งทั้งคำร้อง ทำนอง และยังขับร้องเองในเพลงกุหลาบเวียงพิงค์ ที่ฟังกี่ครั้งก็ยังพริ้งไพเราะเหมือนได้ไปเยือนถิ่นล้านนา

ส่วนฉายานักร้องเสียงสะอื้นของวงจันทร์ ก็ได้มาจากการร้องเพลงสาวสะอื้น ที่แต่งทำนองโดยครูสมาน กาญจนะผลิน แต่งคำร้องโดย อ.ประไพ เพลงผสม

เพลงอุทยานดอกไม้ ที่วงจันทร์เป็นผู้ขับร้อง เป็นเพลงที่ได้รวบรวมชื่อดอกไม้ในเมืองไทยไว้มากที่สุด จนสุรพล สมบัติเจริญ ต้องแต่งเพลงอุทยานผลไม้ มากระเซ้าเย้าแหย่เพลงอุทยานดอกไม้

ปัจจุบัน วงจันทร์  ไพโรจน์ ประกาศลาวงการแล้ว แต่ถ้าเป็นงานการกุศลก็ยังแบ่งเวลาไปร้องเพลงให้ฟังกันอีก.

เพลงแม่พิมพ์ของชาติ

คำร้อง-ทำนอง    สุเทพ โชคสกุล

ขับร้อง         วงจันทร์ ไพโรจน์

***แสงเรืองๆ ที่ส่องประเทืองอยู่ทั่วเมืองไทย

คือแม่พิมพ์อันน้อยใหญ่โอ้ครูไทยในแดนแหลมทอง

เหนื่อยยากอย่างไรไม่เคยบ่นไปให้ใครเขามอง

ครูนั้นยังลำพองในเกียรติของตนเสมอมา

***ที่ทำงานช่างสุดกันดารในป่าดงไพร

ถึงจะไกลก็เหมือนใกล้เร่งรุดไปให้ทันเวลา

กลับบ้านไม่ทันบางวันต้องไปอาศัยหลวงตา

ครอบครัวคอยท่าไม่รู้ว่าไปอยู่ไหน

***ครูเอ๋ยครูมีความเป็นอยู่แสนยากเย็น

ต้องบุกน้ำลุยเลนถึงบ้านก็เย็นยิ่งอ่อนใจ

เช้าตื่นขึ้นมาเตรียมตัวกลัวว่าจะสาย

ห่วงหน้าห่วงหลังลังเลใจรีบเดินดุ่มไปด้วยใจอาวรณ์***

***ถึงโรงเรียนก็เจียนจะสายจวนได้เวลา

เห็นศิษย์รออยู่พร้อมหน้าต้องรีบมาทำการสอน

ไม่มีเวลาที่จะได้มาหยุดพอพักผ่อน

โรงเรียนในดงป่าดอนให้โหยอ่อนสะท้อนอุรา

***ชื่อของครูฟังดูก็รู้ชวนชื่นใจ

งานที่ทำก็ยิ่งใหญ่สร้างชาติไทยให้วัฒนา

ฐานะของครูใครๆ ก็รู้ว่าด้อยหนักหนา

ยังสู้ทนอุตส่าห์สั่งสอนศิษย์มาเป็นหลายปี

***นี่แหละครูที่ให้ความรู้อยู่รอบเมืองไทย

หวังสิ่งเดียวคือขอให้เด็กของไทยในพื้นธานี

ได้มีความรู้เพื่อช่วยเชิดชูไทยให้ผ่องศรี

ครูก็ภูมิใจที่สมความเหนื่อยยากตรากตรำมา...

ADVERTISEMENT

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/tpd/1067915
      เจ้าของเพลงอมตะนายสุเทพ โชคสกุลผู้แต่งเพลง แม่พิมพ์ของชาติ มนต์การเมือง   พระคุณที่สาม ฯลฯ เพลงที่ใช้ในวงการลูกเสือ เช่น 

เพลงความเกรงใจ ความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา ฯ และในภาพยนตร์ที่โด่งดัง "ครูบ้านนอก"ก็ใช้เพลงของนายสุเทพ โชคสกุล เช่นเพลงปลูกผัก

เพลง ก อำ กำ (ความดีเราทำเราจงทำแต่ความดี)เพลงมาร์ชครู"ที่ประพันธ์ โดยนายสุเทพ โชคสกุล  ที่ค่อนข้างแพร่หลายในโรงเรียนประชาบาลในสมัยก่อน
และเพลงนี้ก็เกิดมาไม่น้อยกว่า 50 ปีคู่กับวงการครูมาช้านาน คุณ ทัศนีย์ ข้าราชการ ของกระทรวงศึกษาธิการฝ่ายรับเรื่องราวร้องทุกข์ ได้กรุณาตอบรับ DEMO 

ของเพลงมาร์ชครูแล้วและหวังว่าอีกไม่นานผู้ที่มีอาชีพครูคงจะได้ร้องเพลงแห่งความภาคภูมิใจด้วยกันในวันครู อีกแห่งเว็บโทรทัศน์ครูก็ตอบกลับมาแล้วว่า ได้รับ DEMO เพลงมาร์ชครูที่ส่งไปให้เช่นเดียวกัน

          อาจารย์สุเทพ โชคสกุล เจ้าของบทเพลงที่โด่งดังและเป็นอมตะจนถึงปัจจุบัน เช่น "แม่พิมพ์ของชาติ" "มนต์การเมือง" "พระคุณที่สาม" เป็นต้น 

และเพลงที่ใช้ในวงการลูกเสือเช่น "ความเกรงใจ" "ความซื่อสัตย์" "ตรงต่อเวลา" รวมทั้งเพลงที่ใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง "ครูบ้านนอก" อีกหลายเพลง นายสุเทพ โชคสกุลเป็น สมาชิกในวงดนตรี ช.ส.พ.มีโอกาสได้สร้างประโยชน์ ให้กับสังคมและประเทศชาติ และได้รับเกียรติอันยิ่งใหญ่ให้แสดงหน้าพระที่นั่งในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จมาจังหวัดสุพรรณบุรี สมาชิกของวงทุกท่านได้รับพระทานถุงทองบรรจุเหรียญ 1 ตำลึง ซึ่งเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลอย่างหาที่สุดมิได้]]]ส่วนสมาชิกวงดนตรี ช.ส.พ.หรือ วงดนตรีชาวสุพรรณ ได้แก่ นายมนัส โอภากุล เล่นไวโอลิน (เสียชีวิตแล้ว)นายสุเทพ โชคสกุล เล่นทรัมเปต (เสียชีวิตแล้ว ) นายสถาน แสงจิตพันธ์ กีต้าคอร์ด ( เสียชีวิตแล้ว ) นายประยูร ปริยัติฆระพันธ์ เล่นดับเบิลเบส (เสียชีวิตแล้ว) และ นายสนิท บัวทอง เล่น แซกโซโฟน (เสียชีวิตแล้ว) ส่วนมือกลองมีหลายท่านแต่จำชื่อไม่ได้ท่านใดพอจะทราบ กรุณาแจ้งได้ที่ 0890918714(ครูชนะ โชคสกุล)