ผู้ใช้:ก้องเกียรติ แซ่ลิ้ม/ทดลองเขียน

[1]ประวัติวัดป่าภูธรพิทักษ์ (ธรรมยุต) แก้

วัดป่าภูธรพิทักษ์
ไฟล์:ภูธรพิทักษ์ ๑
ชื่อสามัญวัดภูธรฯวัดป่าภูธรพิทักษ์
ที่ตั้ง3 ธาตุเชิงชุม เมืองสกลนคร สกลนคร 47000
ประเภทวัดราษฎร์ วิสุงคามสีมา
นิกายธรรมยุติกนิกาย
พระประธานพระพุทธภูธรพิทักษ์
เจ้าอาวาสพระครูวิทิตธรรมาภิวัฒน์ (วิชิต วิทิโต)
จุดสนใจกราบ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
  ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

         วัดป่าภูธรพิทักษ์ เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ หมู่ 3 ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร (ติดกับวัดพระธาตุนารายณ์เจงเวง) เป็นวัดกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต โดยมีเจ้าอาวาสเป็นพระกรรมฐานที่สำคัญ เช่น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระโพธิธรรมาจารย์เถร วิ. (สุวัจน์ สุวโจ) พระรัชมงคลนายก (คำดี ปญฺโญภาโส) พระครูอุดมธรรมสุนทร (แปลง สุนฺทโร) และพระครูวิทิตธรรมาภิวัฒน์ (วิชิต วิทิโต) เป็นต้น

[1]ความเป็นมาและความสำคัญของวัด แก้

         วัดป่าภูธรพิทักษ์ เดิมชื่อ วัดป่าธาตุนาเวง ตั้งอยู่บริเวณป่าดงดิบ อยู่ใกล้กับโรงเรียนพลตำรวจ เขต 4 และในปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (เดิมเป็นโรงเรียน มาเป็นวิทยาลัย และมาเป็นสถาบันราชภัฏสกลนคร จนได้รับการสถาปนายกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2547) ได้มาแทนโรงเรียนพลตำรวจเขต 4 ที่ยกเลิกไป การเดินทางของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เพื่อไปงานศพของแม่ชีสาลิกาที่จังหวัดอุบลราชธานีนั้น ท่านต้องมาพักที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ตั้งใจว่าจะพักเพียงคืนเดียวที่วัดแห่งนี้ แต่เนื่องจากได้มีผู้นิมนต์ให้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร จะได้แบ่งเบาภาระพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์ใหญ่สายธรรมยุติกนิกาย ประกอบกับกิจที่จะต้องไปงานศพแม่ชีสาลิกาที่ตั้งใจไว้ ได้หมดความจำเป็นเพราะศพแม่ชีสาลิกาได้เผาเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จึงตกลงรับปากจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 เป็นต้นมา ระหว่างที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ได้บูรณะวัด ซ่อมแซมกุฎีที่พังให้มีสภาพดี สำหรับเป็นที่พักอาศัย และต่อมาวัดธาตุนาเวงได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดป่าภูธรพิทักษ์

[1]การพัฒนาอย่างต่อเนื่องของวัด แก้

         พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระนักพัฒนาทุกด้าน ไม่ว่าท่านจะพักอยู่ ณ ที่ใด เพียง 3 วัน 7 วันก็ตาม ท่านจะแนะนำให้ชาวบ้านทำความสะอาดบ้านเรือน ตลอดถนนหนทางให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ว่าท่านจะพักป่าช้า หมู่บ้าน เชิงภูพาน ถนนหนทางที่ท่านเดินบิณฑบาต ชาวบ้านจะร่วมกันทำความสะอาดอยู่เสมอ

         พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ก่อนที่จะมาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ บริเวณแถบนี้รกไปด้วยป่าหญ้า ไข้มาลาเรียชุกชุม ตำรวจป่วยเป็นไข้มาลาเรียขึ้นสมอง กระโดดหน้าต่างกองร้อยตาย ครอบครัวตำรวจเชื่อว่าเป็นเพราะผีเจ้าพ่อหนองหญ้าไซโกรธ พระอาจารย์ฝั้นพยายามอธิบายให้ตำรวจเหล่านั้นได้เข้าใจในเหตุผลและให้เลิกเชื่อถือผีสาง แต่ตำรวจและครอบครัวเหล่านั้นก็ยังไม่ยอมเชื่อในการอธิบายด้วยเหตุผลของท่าน

[1]แบบอย่างแห่งกรรมฐานของภาคอีสาน แก้

         ต่อมาทางโรงเรียนพลตำรวจ เขต 4 ได้นิมนต์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโรไปเทศน์ที่กองร้อย ท่านได้ปรารภกับผู้กำกับการตำรวจว่าถ้าอยากให้เกิดความเป็นอยู่ อยู่เย็นเป็นสุขก็ควรจัดทำสถานที่ให้สะอาดขึ้น สร้างถนน ถางป่า และหญ้าให้โล่งเตียน อากาศจะได้ปลอดโปร่งถ่ายเทได้ดี สำหรับหนองหญ้าไซ ให้ขุดลอกเป็นสระน้ำ ดูสวยงามและได้ประโยชน์ในการใช้น้ำด้วย ผู้กำกับประชุมตำรวจ ตกลงพร้อมที่จะพัฒนาทำทุกอย่างยกเว้นขุดลอกหนองหญ้าไซ เพราะกลัวผีเจ้าพ่อหนองหญ้าไซจะโกรธ จะเอาชีวิตตำรวจและครอบครัวการพัฒนาโรงเรียนพลตำรวจ เขต 4 ด้วยการเริ่มต้นสร้างถนน ทำสนามฟุตบอล สนามเด็กเล่น ถางหญ้า ถางป่าจนสะอาด

         พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้ถูกนิมนต์ไปประชุมอบรมเทศน์ให้กับตำรวจที่กองร้อยอีก ท่านได้หยิบยกปัญหาการขุดลอกหนองหญ้าไซขึ้นมาอีกครั้ง ทุกคนต่างก็พูดกันว่าไม่กล้า กลัวเจ้าพ่อจะหักคอเอา แต่ถ้าท่านพระอาจารย์มานั่งเป็นประธานดูพวกผมขุดลอกหนองหญ้าไซจึงจะยอมทำ พระอาจารย์ฝั้นตอบตกลง การขุดลอกหนองหญ้าไซได้เริ่มขึ้นในโอกาสต่อมา ต่อหน้าพระอาจารย์ฝั้นจนหนองหญ้าไซกลายเป็นสระน้ำขึ้นมา อากาศดีขึ้น ไข้มาลาเรียที่เคยชุกชุมค่อย ๆ เบาบางลง จนโรคไข้มาลาเรียได้หายไปในที่สุด

 

         พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ (วัดป่าธาตุนาเวง) เป็นเวลาถึง 9 ปี ท่านได้พัฒนาวัด และรวมถึงบริเวณใกล้เคียงกับวัดให้เกิดสุขลักษณะที่ดี โดยเฉพาะบริเวณโรงเรียนพลตำรวจ เขต 4 เป็นตัวอย่าง เมื่อออกพรรษาเสร็จงานกฐิน พระอาจารย์ฝั้น ท่านจะพาภิกษุ สามเณร เดินธุดงค์ไปวิเวกตามสถานที่ต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2491 เมื่อออกพรรษา ท่านได้พาภิกษุสามเณร เดินธุดงค์ไปวิเวกที่ ภูวัว ในท้องที่ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย

ศาสนสถานที่สำคัญภายในของวัด แก้

เจดีย์พิทักษ์รักษ์ภูธร แก้

         เป็นศาสนสถานที่สำคัญของวัด ที่จัดสร้างโดย พระครูวิทิตธรรมาภิวัฒน์ (วิชิต วิทิโต) สร้างเพื่อเก็บบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและอัฐิธาตุของครูบาอาจารย์พระกรรมฐานสายพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เช่น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่คำดี ปญฺโญภาโส, พระอาจารย์สุวัจน์ สุวโจ, หลวงปู่เทส เทสฺรํสี และหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นต้น

พระอุโบสถสังฆภูธร แก้

         เป็นศาสนสถานที่สำคัญของวัด ที่จัดสร้างตามดำริของพระรัชมงคลนายก (คำดี ปญฺโญภาโส) สร้างเพื่อประกอบสังฆกรรมทางศาสนา ลักษณะพิเศษของพระอุโบสถ คือเป็นศาลาและพระอุโบสถในหลังเดียวกัน ชั้นล่างเป็นศาลา ชั้นบนเป็นพระอุโบสถสำหรับประกอบสังฆกรรม เช่น พิธีบวช ลงปาฏิโมกข์ ต้อนรับพระเถระ เป็นต้น

กุฏิพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แก้

         เป็นสถานที่พำนักของพระอาจารย์ฟั่น อาจาโร ในอดีตเพื่อพักผ่อนอิริยาบถและเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามฉบับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นลักษณะกุฏิกรรมฐานฉบับพระป่าที่มีความเรียบง่าย เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ซึ่งได้บูรณะและคงความเป็นเอกลักษณ์มาจนถึงปัจจุบัน

 

 รายนามเจ้าอาวาสสำคัญของวัด แก้

[2]พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แก้

         พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นพระสุปฏิปันโน ที่น่าเคารพบูชากราบไหว้อย่างยิ่ง เมื่อสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ ผู้คนทั้งหลายเกือบทุกภาคของประเทศได้หลั่งไหลมาคารวะกราบไหว้เป็นประจำ แม้ล้นเกล้าสองพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ก็ทรงให้ความเคารพ เสด็จไปทรงเยี่ยมและทรงสนทนาธรรมกับหลวงปู่ฝั้นหลายครั้ง จึงอาจกล่าวได้ว่าท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นปูชนียบุคคลอันควรค่าแก่ความเคารพนับถืออย่างแท้จริง

[3]พระโพธิธรรมจารย์เถร วิ. (สุวัจน์ สุวโจ) แก้

         พระโพธิธรรมาจารย์เถร วิ. (สุวัจน์ สุวโจ) พระอริยเจ้าผู้เป็นศิษย์สายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อีกรูปหนึ่ง เมื่อได้พบท่านพระอาจารย์มั่น ครั้งแรก ได้รับโอวาทธรรมจากท่านว่า “คําสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ของเล่น ถ้าทำเล่นจะไม่เห็นของจริง” ท่านเป็นศิษย์ต้นของท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้รับการยกย่องจากหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ว่า เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งท่านเป็นพระที่รักสันโดษ โดดเดี่ยว ปลีกวิเวก มีจิตฝังลึกลงในธรรมของพระตถาคตเจ้าด้วยศรัทธา

[4]พระรัชมงคลนายก (คำดี ปญฺโญภาโส) แก้

         พระรัชมงคลนายก (คำดี ปัญโญภาโส) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร ฝ่ายธรรมยุต เจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส และอดีตผู้รักษาการวัดป่าภูธรพิทักษ์ เป็นพระปฏิปทาน่าเลื่อมใสมีความโดดเด่นทั้งปริยัติคือเป็นผู้คงแก่เรียน และการปฏิบัติคือเป็นผู้เจริญรอยตามพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ผู้เป็นอาจารย์ของท่านเอง โดยมีวัตรปฏิบัติที่มักน้อยและสันโดษ

[5]พระครูอุดมธรรมสุนทร (แปลง สุนฺทโร) แก้

         พระครูอุดมธรรมสุนทร (แปลง สุนฺทโร) ทายาทกรรมฐานพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระมหาเถระผู้เป็นแบบอย่างด้านจริยาวัตรปฏิบัติอันงดงาม มีอุบายกรรมฐานที่สั่งสอนและเทศนาอย่างพิสดาร มักสอดแทรกความคิดในการดำเนินชีวิตในทุกเวลาที่พบเห็นหรือสนทนากับท่าน เช่นคำสอนตอนหนึ่งว่า “แค่สอนให้รักษา พุทโธคำเดียวยังรักษาบ่ได้ จะให้เทศน์หยังหลายแท้ธรรมะนี่”

พระครูวิทิตธรรมาภิวัฒน์ (วิชิต วิทิโต) แก้

         พระครูวิทิตธรรมาภิวัฒน์ (วิชิต วิทิโต) ศิษย์พระญาณสิทฺธาจารย์ วิ. (สิม พุทฺธาจาโร) และพระรัชมงคลนายก (คำดี ปัญโญภาโส) เจ้าอาวาสวัดป่าภูธรพิทักษ์รูปปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอกุสุมาลย์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และพระอุปัชฌาย์คณะธรรมยุติกกาย

                                                                                                                   

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 เว็บสนม, Websanom (วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2554). "วัดป่าภูธรพิทักษ์ จ.สกลนคร". WEBSANOM - เว็บสนม. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. เทียนถาวร, วิชัย (2021-06-17). "หลวงปู่ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์ผู้เปี่ยมล้นเมตตาธรรม". มติชนออนไลน์.
  3. "หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ พระอริยเจ้าผู้หลุดพ้นด้วยอิริยาบถเดิน". ๑๐๘ พระเกจิ. 2020-11-14.
  4. "หลวงปู่คำดี ปัญโญภาโส มีปัญญาเป็นแสงสว่างจึงได้ลิ้มรสแห่งธรรม". https://www.posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). 2010-07-18. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  5. "หลวงปู่แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร". ๑๐๘ พระเกจิ. 2020-12-03.