ผู้สอบบัญชี หรือ ผู้ตรวจสอบ (อังกฤษ: auditor) คือ บุคคลหรือองค์กรที่บริษัทแต่งตั้งขึ้นสอบบัญชี (audit)[1] การจะเป็นผู้สอบบัญชีได้ บุคคลควรได้รับการรับรองจากหน่วยงานควบคุมการบัญชีและการสอบบัญชี ทั้งต้องมีคุณสมบัติบางประการตามที่กำหนด โดยทั่วไปแล้ว การจะเป็นผู้ตรวจสอบภายนอกของบริษัท บุคคลควรมีใบรับรองการประกอบวิชาชีพจากหน่วยงานควบคุม

ประเภทของผู้สอบบัญชี แก้

  • ผู้ตรวจสอบภายนอก (external auditor) หรือ ผู้ตรวจสอบตามกฎหมาย (statutory auditor) คือกิจการที่ได้รับการติดต่อจากลูกค้าให้ดำเนินงานตรวจสอบเพื่อแสดงความคิดเห็นว่างบการเงินของบริษัท (ลูกค้า) ปลอดจากการรายงานข้อมูลซึ่งผิดเพี้ยนไปจากสาระสำคัญหรือไม่ หรือเพื่อแสดงความเห็นว่าการรายงานข้อมูลที่ผิดเพี้ยนไปนั้นเกิดจากการทุจริตฉ้อฉล (จงใจ) หรือความผิดพลาด (ไม่จงใจ) สำหรับบริษัทมหาชนจำกัด ผู้ตรวจสอบภายนอกอาจได้รับมอบหมายให้ต้องแสดงความเห็นในประเด็นที่ว่าการควบคุมภายในของบริษัทต่อการรายงานทางการเงินมีประสิทธิผลหรือไม่อย่างไร นอกจากนี้ยังมีงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายหรือตกลงกันในขั้นตอนการทำงานไว้ล่วงหน้า ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับงบการเงินให้ผู้ตรวจสอบดำเนินงานอีกด้วย เช่น งานรับรองและให้ความเชื่อมั่น เป็นต้น ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดในการดำเนินงานของผู้ตรวจสอบจากภายนอกคือความเป็นอิสระจากผู้ถูกตรวจสอบ ในที่นี้ก็คือบริษัทลูกค้าซึ่งติดต่อและว่าจ้างให้ดำเนินงานตรวจสอบนั่นเอง
  • ผู้ตรวจสอบภายใน (internal auditor) คือบุคคลที่ตรวจสอบองค์กรซึ่งว่าจ้างให้ตนเป็นพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน (บริษัทมหาชนจำกัด) หรือองค์กรซึ่งไม่แสวงหากำไรในทุกอุตสาหกรรม คณะทำงานซึ่งกำหนดมาตรฐานวิชาชีพในด้านนี้และเป็นที่ยอมรับสากลคือ "สถาบันผู้ตรวจสอบภายใน" หรือ "ไอไอเอ" (Institute of Internal Auditors; IIA) ซึ่งได้นิยามความหมายของการตรวจสอบภายในไว้ว่า "คือกิจกรรมซึ่งเป็นอิสระในการปรึกษาหารือและรับประกันเป้าหมาย ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์กร การตรวจสอบภายในนี้ช่วยให้องค์กรสามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และกระบวนการกำกับดูแลกิจการอย่างเป็นระบบและระเบียบ"[2]

อ้างอิง แก้

  1. Practical Auditing, Kul Narsingh Shrestha, 2012, Nabin Prakashan, Nepal
  2. "Pages - Definition of Internal Auditing". Na.theiia.org. 2000-01-01. สืบค้นเมื่อ 2013-09-02.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้