ปูตูฮาลือบอ เป็นขนมพื้นบ้านบริเวณชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[1]มีลักษณะเด่นที่นำสมุนไพรมาเป็นส่วนประกอบ ได้แก่ ขมิ้นชัน ขิง ข่า ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง และลูกซัด รสชาติเผ็ดร้อนเล็กน้อย[2]ทว่าหอมหวานกลมกล่อม เพราะมีไส้เป็นน้ำตาลโตนด[3](น้ำตาลโตนด พื้นที่ชายแดนใต้ เรียกน้ำตาลแว่น[4])

ขนมปูตูฮาลือบอ

ความเป็นมา แก้

เล่าสืบกันมาว่า ขนมปูตูฮาลือบอ มาจากรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย ไม่มีประวัติชัดเจนว่าใครเป็นคนค้นคิด และใครนำเข้ามาในไทย[5]

ปูตูฮาลือบอ นิยมทำรับประทานในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวบ้านขาดรายได้ เนื่องจากไม่สามารถกรีดยางพาราได้ อีกทั้งเดินทางลำบาก จึงนำวัตถุดิบในครัว รวมทั้งมันสำปะหลัง มาทำเป็นขนม[6]

ชื่อขนมชนิดนี้เป็นภาษามลายู “ปูตู” แปลว่า แป้ง ส่วน “ฮาลือบอ” แปลว่า เม็ดลูกซัด[7]ซึ่งลูกซัดนั้นเป็นเครื่องเทศที่ให้กลิ่นหอม[8][9]

อ้างอิง แก้

  1. http://www.thaiculture.go.th/script/test.php?pageID=2274&table_d=food&s_type=
  2. "TED Talks ที่ปัตตานีกับ 5 วิธีสื่อสารโดยไม่ต้องพูด แต่เล่าผ่านบริบทในพื้นที่". common: Knowledge, Attitude, make it Simple (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  3. "ปักหมุด'ขนมปูตูฮัลบอ'ขนมพื้นบ้านโบราณสืบทอดกว่า 100 ปีของนราธิวาส". สยามรัฐ. 2023-07-26.
  4. "ฐานข้อมูลท้องถิ่น ภาคใต้ สำนักทรัพยากรการเรียนรู้คุณหญิงหลงฯ ม.อ. - Southern Information @Clib PSU". clib.psu.ac.th.
  5. http://www.thaiculture.go.th/script/test.php?pageID=2274&table_d=food&s_type=
  6. http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_dl_link.php?nid=1286[ลิงก์เสีย]
  7. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/rusamelae/article/view/63088/51843
  8. "ลูกซัด ประโยชน์ดีๆ สรรพคุณเด่นๆ และข้อมูลงานวิจัย". ชื่อเว็บไซต์.
  9. "ลูกซัด - ฐานข้อมูลเครื่องยา คณะเภสัชศาสตร์ ม.อุบล : thaicrudedrug.com". apps.phar.ubu.ac.th.