ปุรันทาร สิงห์ (Purandar Singha) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของอาณาจักรอาหม ครองราชย์ครั้งแรก พ.ศ. 2361 - 2362 ครองราชย์ครั้งที่สองภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2377 - 2382 ภายหลังพระองค์ได้ถูกถอดออกจากตำแหน่งโดยมีผู้แทนจากเจ้าอาณานิคมขึ้นมาปกครองแทน

ปุรันทาร สิงห์
เจ้าหลวงแห่งอาณาจักรอาหม
ครองราชย์ครั้งแรก: พ.ศ. 2361-2362
ครั้งที่สอง: พ.ศ. 2377-2382
รัชสมัยครั้งแรก: 1 ปี
ครั้งที่สอง: 5 ปี
รัชกาลก่อนหน้าครั้งแรก: จันทรกานต์
ครั้งที่สอง: ว่างกษัตริย์
รัชกาลถัดไปครั้งแรก: จันทรกานต์
ครั้งที่สอง: สิ้นสุดระบอบกษัตริย์
ราชวงศ์ราชวงศ์อาหม
พระราชบิดาพระชะนาถ
ดินแดนของอาณาจักรอาหมในช่วงสุดท้ายก่อนการล่มสลาย

ประวัติ แก้

เจ้าหลวงปุรันทาร สิงห์ (Purandar Singha) พระโอรสในพระชะนาถซึ่งเป็นพระราชนัดดา(หลานปู่)ของสุรามฟ้า เมื่อบุรฮา โกฮาอินได้อัญเชิญให้พระชะนาถที่พำนักอยู่ที่สิลมาริขึ้นเป็นคู่แข่งในราชบัลลังก์ของจันทรกานต์ ซึ่งพระชะนาถก็ยินยอมตกลงด้วย และได้เข้าร่วมกับบุรฮา โกฮาอิน ซึ่งยกกำลังทหารเคลื่อนขึ้นมายังจอรหาต จันทรกานต์ทรงหลบหนีไปรังปุระ ปล่อยให้เทกา พูคานอยู่รักษาจอรหาต บุรฮา โกฮาอินสามารถเข้ายึดจอรหาตได้และเทกา พูคานถูกสังหาร เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2461

พระชะนาถจึงได้ผลิตเหรียญกษาปณ์สลักพระนามของพระองค์ แต่เกิดระลึกกันว่าพระชะนาถไม่มีสิทธิครองราชบัลลังก์ ฉะนั้นปุรันทาร สิงห์ซึ่งเป็นโอรส จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์แทน จันทรกานต์(สุทินฟ้า) ถูกจับ และถูกตัดพระกรรณข้างขวา เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าพระองค์ไม่มีสิทธิในราชบัลลังก์ต่อไป

มิตรสหายของบาร์ พูคานที่ถูกฆ่าตาย ได้หลบหนีมายังพม่า และได้กราบทูลกษัตริย์พม่านั้นให้ทรงทราบเหตุการณ์ในอัสสัม กองทหารกองหนึ่งภายใต้การนำของนายพล อะลา มิงกิ (Ala Mingi) (หรือ เกียว มิงยี่ ตามที่นายโรบินสันเรียก) ถูกส่งออกจากเมืองหลวง และได้มาถึงอัสสัมในกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๖๒ ฝ่ายอาหมทำการต่อต้านที่ นาสิระ (Nazira) อย่างแข็งขัน แต่เมื่อการสู้รบเข้าที่คับขัน แม่ทัพอาหมก็เกิดเสียขวัญ กองทหารอาหมถูกโจมตี จนต้องถอยร่อนไปยังจอรหาตอย่างรีบเร่ง ปุรันทาร สิงห์เสด็จหนีไปโกหาติโดยทันที ปุรันทาร สิงห์ครองราชย์ครั้งแรกได้ ๑ ปี

เป็นเวลาเกินกว่าหนึ่งปีที่ปุรันทาร สิงห์ ได้รวบรวมผู้คนขึ้นที่ทุอารส์(Duars) ซึ่งอยู่ในเขตภูฏาน โดยได้รับการช่วยเหลือจาก นายโรเบิร์ต บรูซ(Mr.Robert Bruce) ซึ่งอาศัยที่โยคิโฆปะเป็นเวลานานแล้ว เขาได้รับอนุมัติจากทหารของบริษัท ให้ทำหน้าที่จัดซื้ออาวุธปืนและกระสุนจากกัลกัตตา ก่อนสิ้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๓๖๔ นายบรูซได้นำกำลังทัพที่จัดตั้งใหม่นี้ ไปที่ทุอารส์ตะวันออก แต่ถูกทหารของจันทรกานต์ ตีแตกไป นายบรูซตกเป็นเชลย แต่ได้รับการปล่อยตัวเมื่อรับว่าจะช่วยราชการของฝ่ายชนะในกันยายน

ในขณะเดียวกันทหารพม่าบนฝั่งเหนือแม่น้ำพรหมบุตรถูกกองทหารของปุรันทาร สิงห์ รังควานติดๆกันหลายครั้ง ปุรันทาร สิงห์ได้ชุมนุมพลในเขตภูฏานหลังที่พ่ายแพ้เมื่อไม่นานมานี้ แม่ทัพพม่าส่งจดหมายส่งยืดยาวไปยังผู้สำเร็จราชการอังกฤษ ประท้วงการที่อังกฤษอำนวยการช่วยเหลือแก่กษัตริย์อาหม พร้อมขอร้องให้อังกฤษถอนตัวออกจากเรื่องนี้ แต่ก็ไม่ได้ผล นอกจากจะลงโทษคุมขังบุรฮา โกฮาอิน ฐานที่ทำให้เรื่องเกิดความล้าช้า

ต่อมาเมื่อพม่ารบแพ้อังกฤษในปี พ.ศ.๒๓๖๙ มีการลงนามในสนธิสัญญายันดะโบ ว่าพม่าจะยอมสละสิทธิในแคว้นอัสสัม กจร และเชนเตีย อังกฤษจึงมาปกครองอาณาจักรอาหมแทน โดยปล่อยให้อาณาจักรอาหมว่างกษัตริย์ เป็นเวลา ๗ ปี

หลังจากนั้นทางการอังกฤษก็แต่งตั้ง ปุรันทาร สิงห์ ขึ้นเป็นกษัตริย์อีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๓๗๗ แต่ไม่นานพระองค์ก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง โดยมีผู้แทนอังกฤษขึ้นปกครองแทน โดยปุรันทาร สิงห์ ครองราชย์ครั้งที่ ๒ ได้ ๕ ปี

อ้างอิง แก้

  • งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย ของ พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ

ดูเพิ่ม แก้

ก่อนหน้า ปุรันทาร สิงห์ ถัดไป
จันทรกานต์(ครั้งที่1)   กษัตริย์อาหม
(พ.ศ. 2361-พ.ศ. 2362)
  จันทรกานต์(ครั้งที่2)
ว่างกษัตริย์   กษัตริย์อาหมภายใต้การปกครองอาณัติแห่งสหราชอาณาจักร
(พ.ศ. 2377 - พ.ศ. 2382)
  สิ้นสุดระบอบกษัตริย์อาหม