ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศบราซิล

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศบราซิล ประกอบด้วย การทำลายป่าของป่าดิบชื้นแอมะซอน, การค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมาย, การรุกล้ำที่ผิดกฎหมาย, มลพิษทางอากาศและน้ำ, ความเสื่อมโทรมของดินและมลพิษทางน้ำที่เกิดจากการทำเหมือง, ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ชุ่มน้ำและน้ำมันรั่วไหลอย่างรุนแรง และปัญหาอื่น ๆ[1] ในฐานะที่เป็นแหล่งอาศัยประมาณ 13 เปอร์เซ็นต์ของสายพันธุ์ทั้งหมดที่มีอยู่ ประเทศบราซิลจึงเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์มากที่สุดในโลก โดยผลกระทบจากการเกษตรและอุตสาหกรรมในประเทศเป็นภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพนี้[2]

ในฐานะที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาหรืออุตสาหกรรมใหม่[3] ประเทศบราซิลมีความโดดเด่นสำหรับการเป็นผู้นำของความคิดริเริ่มด้านเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในด้านการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ประเทศบราซิลเป็นผู้ผลิตเอทานอลที่ใหญ่สุดเป็นอันดับสองของโลก[4] นอกจากนี้ยังได้ถือเป็นเมืองที่ยั่งยืน[5] แม้กระนั้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมก็ยังคงเป็นความกังวลหลักของประเทศบราซิล

การทำลายป่า แก้

 
หนึ่งในผืนที่ดินทำลายป่าในประเทศบราซิล

การทำลายป่าเป็นปัญหาหลัก ซึ่งเป็นประเทศที่เคยมีอัตราสูงสุดของการตัดไม้ทำลายป่าในโลก ข้อเสนอเขื่อนเบโลมอนเดได้เผชิญหน้ากับความขัดแย้ง เนื่องจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในความหลากหลายทางชีวภาพและการปล่อยแก๊สเรือนกระจก การก่อสร้างเขื่อนเบโลมอนเดได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงจากคนพื้นเมืองและองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมากในประเทศบราซิล เช่นเดียวกับองค์กรและประชาชนทั่วโลก[6]

การทำลายป่าเป็นแหล่งที่มาอย่างมีนัยสำคัญของมลพิษ, การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และการปล่อยแก๊สเรือนกระจกที่แผ่ไปทั่วโลก การตัดไม้ทำลายป่าเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของประเทศบราซิล ที่มีต่อความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 กว่า 600,000 ตารางกิโลเมตรของป่าดิบชื้นแอมะซอนได้ถูกทำลายและระดับของการตัดไม้ทำลายป่าในเขตป้องกันป่าดิบชื้นแอมะซอนของประเทศบราซิลได้เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 127 ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2000 และ 2010 [7] เมื่อไม่นานมานี้ การถูกทำลายต่อไปของป่าดิบชื้นแอมะซอนยังคงได้รับการส่งเสริมต่อไป โดยความต้องการของโลกที่เพิ่มขึ้นสำหรับไม้และถั่วเหลือง

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "The World Factbook: Brazil". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-22. สืบค้นเมื่อ 2011-12-06.
  2. "Biodiversity - Portal Brasil". Brasil.gov.br. 2010-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-31. สืบค้นเมื่อ 2011-12-11.
  3. International Monetary Fund (April 2011). World Economic Outlook: Tensions from the Two-Speed Recovery (PDF). ISBN 978-1-61635-059-8.
  4. "World Fuel Ethanol Production". Renewable Fuels Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-11. สืบค้นเมื่อ 2012-03-07.
  5. "Sustainable Cities International Network Map". Sustainable Cities International. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-22. สืบค้นเมื่อ 2012-03-07.
  6. Downie, Andrew (2010-04-22). "In Earth Day setback, Brazil OKs dam that will flood swath of Amazon". The Christian Science Monitor. สืบค้นเมื่อ 2011-12-06.
  7. Tavener, Ben (2011-10-11). "Brazil Deforestation: Winning Battle, Losing War". The Rio Times. สืบค้นเมื่อ 2011-12-06.