ปรีติลตา วาฑเฑทาร

ปรีติลตา วาฑเฑทาร (อักษรโรมัน: Pritilata Waddedar, 5 พฤษภาคม 1911 – 24 กันยายน 1932)[1][2] เป็นนักปฏิวัติชาตินิยมชาวเบงกอลที่มีอิทธิพลมากในการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชอินเดีย[3][4] เธอจบการศึกษาในชิตตากอง และ ธากา เธอเข้าศึกษาที่วิทยาลัยเบทุนในโกลกาตา จบการศึกษาด้านปรัชญา และประกอบอาขีพเป็นครูในโรงเรียนแห่งหนึ่ง เธอได้รับการยกย่องว่าเป็น "ผู้สละชีพสตรีคนแรกของเบงกอล" (Bengal's first woman martyr)[5][6]

ปรีติลตา วาฑเฑทาร
প্রীতিলতা ওয়াদ্দেদার
เกิด5 พฤษภาคม ค.ศ. 1911(1911-05-05)
ธลฆาฏ ปาตียา ชิตตากอง รัฐเบงกอล บริทิชอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในประเทศบังกลาเทศ)
เสียชีวิต24 กันยายน ค.ศ. 1932(1932-09-24) (21 ปี)[1]
ชิตตากอง รัฐเบงกอล บริทิชอินเดีย
สาเหตุเสียชีวิตอัตวินิบาตกรรมด้วยโปทัสเซียมไซยานายด์
สัญชาติอินเดีย
ชื่ออื่นรานี (ชื่อเล่น)
ศิษย์เก่าวิทยาลัยเบทุน
อาชีพครู
มีชื่อเสียงจากการโจมตีปาหาฤตลียูโรเปียนคลับ (Pahartali European Club) ปี 1932
บุพการี
  • ชคพันธุ วาฑเฑทาร (Jagabandhu Waddedar) (บิดา)
  • ประติภา เทวี (Pratibha Devi) (มารดา)
ญาติอัศ สรการ (หลานของหลานสาว)

ปรีติลตาเริ่มเข้าร่วมขบวนการปฏิวัติเรียกร้องเอกราชที่นำโดยสูรยะ เสน ปรีติลตาเป็นที่รู้จักจากนำกลุ่มนักปฏิวัติอีกสิบห้าคนในปี 1932[7] เข้าก่อการโจมตีปาหาฤตลียูโรเปียนคลับ (Pahartali European Club)[8][9] มีผู้เสียชีวิตหนึ่งรายและบาดเจ็บสิบเอ็ดคน กลุ่มนักปฏิวัติพยายามจุดไฟเผาสโมสร แต่ถูกจับได้โดยตำรวจของเจ้าอาณานิคม ปรีติลตาทำการอัตวินิบาตกรรมด้วยไซยานายด์เพื่อหลบหนีการจับกุม[10]

เหตุโจมตีปาหาฤตลียูโรเปียนคลับ ปี 1932 แก้

ในปี 1932 สูรโช เสน (Surjo Sen) ทำการวางแผนโจมตีปาหาฤตลียูโรเปียนคลับ (Pahartali European Club) ซึ่งมีติดป้ายประกาศด้านหน้าว่า "ห้ามสุนัขกับคนอินเดียเข้า" ("Dogs and Indians not allowed")[11] และตัดสินใจแต่งตั้งสตรีคนหนึ่งเป็นหัวหน้าแผนการ โดยแรกเริ่มตั้งใจจะมอบหมายให้กัลปนา ทัตตา (Kalpana Datta) แต่เธอถูกจับกุมไป 7 วันก่อนลงมือ ปรีติลตาจึงได้รับการมอบหมายแทน เธอเดินทางไปยังโกโตวาลีซีไซด์ (Kotowali Sea Side) เพื่อฝึกกับอาวุธและวางแผนการโจมตี[12]

คณะผู้ก่อการวางแผนจะโจมตีสโมสรในวันที่ 24[1] กันยายน 1932 และทั้งหมดได้รับมอบโปทัสเซียมไซยานายด์ไว้ติดตัวให้กินหากถูกจับกุมตัว[13]

ในวันก่อเหตุปรีติลตาแต่งกายเป็นชายชาวปัญจาบ ผู้ร่วมก่อการ กาลีศังกระ เดย์ (Kalishankar Dey), พิเรศวร โรย (Bireshwar Roy), ปราฟุลลา ทาส (Prafulla Das), ศานติ จักรพรรดิ (Shanti Chakraborty) สวม โธตี กับเสื้อ ส่วนมเหนทรา จาวธุรี (Mahendra Chowdhury), สุศีล เดย์ (Sushil Dey) และปัญญา เสน (Panna Sen) สวม ลุงกี กับเสื้อ[14]

ทั้งหมดเดินทางถึงสโมสรในเวลาราว 22:45 น. และเริ่มก่อการโจมตี ในเวลานั้นมีคนอยู่ภายในสโมสรราว 40 คน กลุ่มผู้ก่อการแยกออกเป็นสามกลุ่ม จุดไฟเผาอาคารและเริ่มยิงใส่คนในสโมสร ตำรวจสองสามคนในสโมสรซึ่งมีปืนรีวอลเวอร์ทำการยิงกลับ ปรีติลตาถูกกระสุนหนึ่งนัด ในรายงานของตำรวจหลังสิ้นสุดเหตุการณ์ระบุผู้เสียชีวิตหนึ่งรายเป็นสตรีซึ่งมีนามสกุลซัลลิวาน (Sullivan) มีผู้ได้รับบาดเจ็บเป็นบุรุษสี่คนและสตรีเจ็ดคน[14]

การเสียชีวิต แก้

 
อนุสรณ์สถานตรงจุดที่ปรีติลตาทำการอัตวินิบาตกรรม

ปรีติลตาซึ่งได้รัลลาดเจ็บจากกระสุนถูกไล่ล่าโดยตำรวจเจ้าอาณานิคม[3] เธอกลืนไซยานายด์ที่มีติดตัวทันทีเพื่อหลบหนีการจับกุม[15] วันถัดมาตำรวจพบร่างของเธอ จากการตรวจสอบร่างพบใบสนเท่ห์สองสามใบ, ภาพถ่ายของรามกฤษณะ พิสวาส, กระสุนปืน, นกหวีด และกระดาษร่างแผนการโจมตี ในการชันสูตรศพพบว่ากระสุนที่ถูกเธอไม่ได้เป็นอันตรายอะไรมากนัก และเธอเสียชีวิตจากพิษไซยานายด์[14]

อิทธิพล แก้

นักเขียนขาวบังกลาเทศ เซลีนา โฮสเซน เรียกขานปรีติลตาว่าเป็นแบบอย่างให้กับสตรีทุกคน (ideal for every woman)[16] มีการตั้งทรัสต์ในชื่อ "พีรกัญญา ปรีติลา" (Birkannya Pritilata Trust; ปรีตีลตา สตรีกล้า) เพื่อระลึกถึงเธอ วันเกิดของเธอทุก ๆ ปีมีฉลองขึ้นโดยทรัสต์ในที่ต่าง ๆ ในบังกลาเทศและอินเดียทุกปี ทรัสต์ระบุว่าเธอเป็นดั่ง "แสงส่องทางของสตรี"[17] ในปี 2012 ได้เปิดรูปปั้นของเธอตั้งอยู่ที่โรงเรียนการรถไฟปาหารฤตลี (Pahartali Railway School) ตรงข้ามกับยูโรเปียนคลับที่เธอเคยก่อเหตุ[18][19]

หลานของหลานสาวเธอ อัศ สรการ ปัจจุบันเป็นนักเคลื่อนไหวและนักข่าวชาวอังกฤษ[20]

สิ่งสืบเนื่อง แก้

ในสื่อสมัยนิยม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Kalpana Dutt (1979). Chittagong Armoury raiders: reminiscences. Peoples' Pub. House. p. 53.
  2. "Pritilata's 100th birthday today". The Daily Star. 5 May 2011. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
  3. 3.0 3.1 "Pritilata Waddedar (1911–1932)". News Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2012. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
  4. "After 80 yrs, posthumous degrees for revolutionaries". The Times of India. 22 March 2012. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
  5. "8 Facts About Pritilata Waddedar - Bengal's First Woman Martyr". India Times. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  6. "Pritilata Waddedar: Bengal's First Woman Martyr". Bangladesh Post. 2019-04-25. สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
  7. Geraldine Forbes (1999). Women in Modern India. The New Cambridge History of India. Vol. IV.2. Cambridge University Press. pp. 140–141. ISBN 978-0-521-65377-0.
  8. "Remembering the Legendary Heroes of Chittagong". NIC. สืบค้นเมื่อ 6 January 2013.
  9. "Indian Independence" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 19 November 2012. สืบค้นเมื่อ 5 January 2013.
  10. Craig A. Lockard (1 January 2010). Societies, Networks, and Transitions: A Global History: Since 1750. Cengage Learning. pp. 699–. ISBN 978-1-4390-8534-9. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
  11. "80th death anniversary of Pritilata observed". New Age. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2013. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
  12. "The Fire-Brand Woman Of Indian Freedom Struggle". Towards Freedom. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-18. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
  13. Amin, Sonia (2012). "Waddedar, Pritilata". ใน Islam, Sirajul; Jamal, Ahmed A. (บ.ก.). Banglapedia: National Encyclopedia of Bangladesh (Second ed.). Asiatic Society of Bangladesh.
  14. 14.0 14.1 14.2 Pal, Rupamay (1986). Surjo Sener Sonali Swapno. Kolkata: Deepayan. p. 162.
  15. "A Long Walk to Freedom". Star Weekend Magazine. The Daily Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-27. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
  16. "Contribution of Pritilata recalled". The Daily Star. 1 June 2011. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
  17. "A beacon of light for women". The Daily Star. 26 September 2012. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
  18. "Pritilata's bronze sculpture to be installed in port city". The Daily Star. 2 October 2012. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  19. "Pritilata's memorial sculpture unveiled in Ctg". The Daily Star. 3 October 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 20 August 2015.
  20. Sarkar, Ash (5 February 2018). "My great-great-aunt was a terrorist: women's politics went beyond the vote". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 July 2018.
  21. "Young rebels". Business Standard. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
  22. "The veer Konna of Chittagong". The Telegraph (Calcutta). สืบค้นเมื่อ 19 December 2012.
  23. "Manoj Bajpayee, back in the limelight". Screen India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2012. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.