ปรางค์ฤๅษี (อุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ)

ปรางค์ฤๅษี เป็นโบราณสถานขอมในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ ตำบลนาสนุ่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ห่างจากเมืองศรีเทพ 3 กิโลเมตร

ปรางค์ฤๅษี
ปรางค์ประธาน
แผนที่
พิกัดของปรางฤๅษี
ที่ตั้งตำบลนาสนุ่น อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ไทย
ประเภทโบราณสถาน
ส่วนหนึ่งของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ
ความเป็นมา
วัสดุศิลาแลง และอิฐ
สร้างพุทธศตวรรษที่ 16
สมัยทวารวดี
วัฒนธรรมขอม
ชื่อที่ขึ้นทะเบียนปรางค์ฤๅษี (ปรางค์นอก)
ขึ้นเมื่อ26 มีนาคม พ.ศ. 2506
เป็นส่วนหนึ่งของโบราณสถานในจังหวัดเพชรบูรณ์
เลขอ้างอิง0006882

ลักษณะทางกายภาพเป็นปราสาทก่อด้วยอิฐไม่สอปูนตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงขนาดไม่สูงนักสถาปัตยกรรมแบบขอม หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และมีอาคารขนาดเล็กในบริเวณเดียวกัน ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงก่อด้วยศิลาแลง

จากการสำรวจ ปรางค์ฤๅษีเป็นเทวาลัยในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 16 พบโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาฮินดู ได้แก่ ศิวลึงค์ ฐานประติมากรรม และชิ้นส่วนโคนนทิ

โบราณสถาน

แก้
 
 
ปรางค์ทางใต้ (ซ้าย) ของปรางค์ประธาน (ขวา)

ลักษณะของปราสาทคาดการณ์ว่าร่วมสมัยปรางค์ศรีเทพ ปราสาทศิลปะขอมทั่วไปมักวางทิศตะวันตก จากการวางปราสาททางตะวันออกของปรางค์ฤๅษี จึงเชื่อว่า เป็นปราสาทที่เก่าที่สุดในเมืองศรีเทพ

ปราสาทหมายเลข 1 เป็นปราสาทแบบขอม ก่อด้วยอิฐไม่สอปูนบนฐานศิลาแลง ซึ่งรูปแบบไม่คล้ายคลึงกับปรางค์ศรีเทพ ฐานมีแผนผังเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านละ 7.5 เมตร ปรางค์มีแผนมังสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมไม้ยี่สิบด้านละ 4.6 เมตร ยอดปรางค์ทำมาจากหินทรายสีเทาทรงกลม ค้นพบทางตะวันตกเฉียงเหนือของโบราณสถาน

กรอบประตูมีหน้าบันลักษณะวงโค้งสูง พบมากในศิลปะขอมแบบสมโบร์ไพร์กุก เสาแปดเหลี่ยมประดับกรอบประตูแปดเหลี่ยมพบครั้งแรกในศิลปะขอมแบบกุเลน หน้าปรางค์ประธานพบอาคารก่อด้วยศิลาแลงคาดว่าเป็นโคปุระและบรรณาลัย พบโบราณวัตถุเนื่องในศาสนาฮินดู ได้แก่ ศิวลึงค์ ฐานประติมากรรม และชิ้นส่วนโคนนทิ

ปราสาทหมายเลข 2 เป็นปราสาททางใต้ของปรางค์ประธาน ก่อกำแพงแก้วล้อมแยกปรางค์ประธานแบบขอม ฐานมีแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านละ 5.2 เมตร ทางใต้พบลวดบัวเชิงฐานปรางค์ ปรางค์มีแผนผังสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านละ 4 เมตร ก่อด้วยอิฐพังทลายเหลือฐานปราสาท พบโบราณวัตถุ ได้แก่ จารึก 72 อักษรขอม อายุพุทธศตวรรษที่ 16

อ้างอิง

แก้
  • อุทยา่นประวัติศาสตร์ศรีเทพ. เมืองศรีเทพ. "ศรีเทพ เมืองศุนย์กลางความเจริญแห่งลุ่มแม่น้ำป่าสัก". มปป.