ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย

ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย[ก] (อังกฤษ: colony collapse disorder, ย่อ: CCD) เป็นปรากฏการณ์ที่ผึ้งงานจากรังหรือนิคมผึ้งพันธุ์ (Western honey bee) หายไปอย่างฉับพลัน การหายไปดังกล่าวเกิดขึ้นตลอดประวัติศาสตร์การเลี้ยงผึ้ง และรู้จักกันในหลายชื่อ[ข] ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อ "colony collapse disorder" ในปลายปี 2549[1] พร้อมกับการหายไปของนิคมผึ้งพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นมากในขณะนั้น[2] ผู้เลี้ยงผึ้งสังเกตปรากฏการณ์ที่คล้ายกันในเบลเยียม ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ กรีซ อิตาลี โปรตุเกสและสเปน[3] และยังมีรายงานเบื้องต้นมาจากสวิตเซอร์แลนด์และเยอรมนี แม้ว่าจะรุนแรงน้อยกว่า[4] ขณะที่สมัชชาไอร์แลนด์เหนือได้รับรายงานการลดจำนวนกว่า 50%[5]

ผึ้งที่ทางเข้ารัง: ตัวหนึ่งกำลังจะบินลง และอีกตัวกำลังกระพือ

การใช้ยาฆ่าแมลงกลุ่มนีโอนิโคตินอยด์ (neonicotinoid) เช่น อะเซทามิปริด (acetamiprid) โคลไธอานิดิน (clothianidin) และอิมิดาโคลไพรด์ (imidacloprid) ซึ่งเป็นหนึ่งในสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ที่เพิ่มขึ้น ตามติดการตายของผึ้งที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่ปี 2548[6] ในปี 2555 การศึกษาอิสระที่ผ่านการกลั่นกรองจำนวนมากได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งแสดงว่านีโอนิโคตินอยด์มีช่องทางการสัมผัสซึ่งตรวจจับไม่ได้ที่กระทบต่อผึ้ง เช่น ผ่านฝุ่น เรณู และน้ำต้อย[7] ว่าความเป็นพิษต่ำกว่านาโนกรัมส่งผลให้ผึ้งไม่สามารถบินกลับรังโดยไม่ทำให้ถึงตายทันที[8] ซึ่งเป็นอาการหลักของปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลาย[9] และบ่งชี้ว่ามีนีโอนิโคตินอยด์ในสิ่งแวดล้อมในเหมืองฝายและดิน[10] การศึกษาเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดการทบทวนอย่างเป็นทางการในปี 2556 โดยองค์การความปลอดภัยอาหารยุโรป ที่ระบุว่า นีโอนิโคตินอยด์ก่อความเสี่ยงสูงอย่างยอมรับไม่ได้แก่ผึ้ง และว่าการอ้างความปลอดภัยของหน่วยงานกำกับดูแลที่ขึ้นอยู่กับวิทยาศาสตร์ที่อุตสาหกรรมเป็นผู้อุปถัมภ์นั้นมีข้อบกพร่อง[11] ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลายอาจเกิดจากหลายปัจจัยประกอบกัน[12][13][14][15] ในปี 2550 บางหน่วยงานให้เหตุผลว่าปัญหาเกิดจากปัจจัยชีวนะ เช่น เห็บ Varroa[16] ปรสิต Nosema apis และไวรัสอัมพาตฉับพลันอิสราเอล[17][18] ปัจจัยส่งเสริมอื่นอาจรวมความเครียดที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม[19] ทุพโภชนาการ และการเลี้ยงผึ้งแบบย้ายถิ่น อีกการศึกษาหนึ่งในปี 2555 ยังชี้หลายสาเหตุ ซึ่งระบุรายการสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ไว้หลังเห็บ Varroa พันธุกรรม การสูญเสียถิ่นที่อยู่ และโภชนาการที่เลว[20]

การล่มสลายของรังผึ้งนั้นมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เพราะพืชผลการเกษตรหลายชนิดทั่วโลกต้องอาศัยผึ้งพันธุ์ถ่ายเรณู ในเดือนเมษายน 2556 สหภาพยุโรปประกาศแผนจำกัดการใช้สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดเพื่อกันมิให้ประชากรผึ้งลดลงกว่านี้[21] และเมื่อสิ้นเดือนนั้น ได้ผ่านกฎหมายซึ่งห้ามการใช้นีโอนิโคตินอยด์หลายชนิดเป็นเวลาสองปี[22] การขาดแคลนผึ้งในสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มค่าใช้จ่ายของเกษตรกรที่จะต้องเช่าผึ้งมาถ่ายเรณูสูงสุดถึง 20%

เชิงอรรถ แก้

. ^ มิใช่ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน

. ^ ได้แก่ disappearing disease, spring dwindle, May disease, autumn collapse และ fall dwindle disease[23]

อ้างอิง แก้

  1. Dennis vanEngelsdorp, Diana Cox-Foster, Maryann Frazier, Nancy Ostiguy, and Jerry Hayes (5 January 2006). "Colony Collapse Disorder Preliminary Report" (PDF). Mid-Atlantic Apiculture Research and Extension Consortium (MAAREC) — CCD Working Group. p. 22. สืบค้นเมื่อ 2007-04-24.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. "Honey Bee Die-Off Alarms Beekeepers, Crop Growers and Researchers". Pennsylvania State University College of Agricultural Sciences. 29 January 2007.
  3. Gaëlle Dupont, Les abeilles malades de l'homme[ลิงก์เสีย], Le Monde, 29 August 2007 (ฝรั่งเศส).
  4. Petra Steinberger (12 March 2007). "Das spurlose Sterben" (ภาษาเยอรมัน). sueddeutsche.de. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
  5. "Minutes of Northern Ireland Assembly". Theyworkforyou.com. 8 June 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-06-22.
  6. Wines, Michael (28 March 2013). "Mystery Malady Kills More Bees, Heightening Worry on Farms". New York Times. สืบค้นเมื่อ 31 March 2013.
  7. Tapparo, Andrea (31 January 2012). "Assessment of the Environmental Exposure of Honeybees to Particulate Matter Containing Neonicotinoid Insecticides Coming from Corn Coated Seeds" (PDF). Environmental Science and Technology. 46 (5): 2592–9. doi:10.1021/es2035152. PMID 22292570. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 27 March 2013.
  8. Schneider, Christof W. (11 January 2012). Chaline, Nicolas (บ.ก.). "RFID Tracking of Sublethal Effects of Two Neonicotinoid Insecticides on the Foraging Behavior of Apis mellifera" (PDF). PLOS One. 7 (1): e30023. doi:10.1371/journal.pone.0030023. PMC 3256199. PMID 22253863. สืบค้นเมื่อ 27 March 2013.
  9. Pettis, Jeffery S. (February 2012). "Pesticide exposure in honey bees results in increased levels of the gut pathogen Nosema" (PDF). Naturwissenschaften. 99 (2): 153–8. doi:10.1007/s00114-011-0881-1. PMC 3264871. PMID 22246149. สืบค้นเมื่อ 27 March 2013.
  10. Krupke, Christian H. (3 January 2012). Smagghe, Guy (บ.ก.). "Multiple Routes of Pesticide Exposure for Honey Bees Living Near Agricultural Fields". PLOS One. 7 (1): e29268. doi:10.1371/journal.pone.0029268. PMC 3250423. PMID 22235278.
  11. European Food Safety Authority (16 January 2013) "Conclusion on the peer review of the pesticide risk assessment for bees for the active substance clothianidin" EFSA Journal 11(1):3066.
  12. Honeybees under attack on all fronts.
  13. 'No proof' of bee killer theory.
  14. Ratnieks, F. L. W.; Carreck, N. L. (2010). "Clarity on Honey Bee Collapse?". Science. 327 (5962): 152–3. Bibcode:2010Sci...327..152R. doi:10.1126/science.1185563. PMID 20056879.
  15. "Colony Collapse Disorder Progress Report" (PDF). United States Department of Agriculture. June 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-05-24.
  16. "Colony Collapse Disorder Working Group". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-14. สืบค้นเมื่อ 2013-05-05.
  17. Andrew C. Refkin (7 September 2007). "Virus Is Seen as Suspect in Death of Honeybees". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-09-07.
  18. JR Minkel (7 September 2007). "Mysterious Honeybee Disappearance Linked to Rare Virus". Science News. Scientific American. สืบค้นเมื่อ 2007-09-07.
  19. Amy Sahba (29 March 2007). "The mysterious deaths of the honeybees". CNN Money. สืบค้นเมื่อ 2007-04-04.
  20. "Multiple causes for colony collapse - report". 3 News NZ. May 3, 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-29. สืบค้นเมื่อ 2013-05-05.
  21. "EU moves to protect bees". 3 News NZ. 30 April 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-29. สืบค้นเมื่อ 2013-05-05.
  22. McDonald-Gibson, Charlotte (4/29/2013). "'Victory for bees' as European Union bans neonicotinoid pesticides blamed for destroying bee population". The Independent. สืบค้นเมื่อ 5/2/2013. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  23. Oldroyd, Benjamin P. (2007). "What's Killing American Honey Bees?". PLoS Biology. 5 (6): e168. doi:10.1371/journal.pbio.0050168. PMC 1892840. PMID 17564497.