ปรากฏการณ์ขนมปังเนย

ปรากฏการณ์ขนมปังเนย เป็นความโน้มเอียงที่ขนมปังด้านที่ทาเนยไว้จะคว่ำลงเมื่อมันตกพื้น[1]

เมื่อขนมปังตก ด้านที่ทาเนยไว้จะคว่ำลง

เมื่อขนมปังร่วงหล่นจากมือหรือโต๊ะ มันจะตกลงด้วยมุมเอียงและหมุนรอบตัวเอง โดยเฉลี่ยแล้วความสูงของการร่วงหล่นนั้นจะอยู่ระหว่าง 0.7 ถึง 2 เมตร ซึ่งเป็นความสูงที่พอเหมาะสำหรับขนมปังที่จะหมุนรอบตัวเองเป็นเวลา 1 รอบครึ่ง เป็นเหตุให้ขนมปังด้านที่ทาเนยไว้ร่วงหล่นกับพื้น (ด้วยเงื่อนไขที่ว่าก่อนที่มันจะตก ด้านที่ทาเนยไว้จะต้องหงายขึ้น)[2] แต่ถ้าหากโต๊ะดังกล่าวมีความสูงมากกว่า 3 เมตร ขนมปังจะหมุนรอบตัวเอง 360 องศา และด้านที่ไม่ได้ทาเนยไว้จะคว่ำลงพื้นแทน[3] ไม่เพียงเท่านั้น ถ้าหากว่าขนมปังดังกล่าวเคลื่อนไหวด้วยความเร็ว 5.79 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มันจะหมุนน้อยลงและจะไม่ทำให้ด้านที่ทาเนยไว้คว่ำลงพื้น[4] ในความจริงแล้ว ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นโดยค่าคงตัวทางฟิสิกส์ขั้นพื้นฐานเป็นหลัก[5]

อ้างอิง แก้

  1. Martin, Gary. "'Why does bread always fall buttered side down?' - the meaning and origin of this phrase". Phrasefinder (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-06-13.
  2. Devlin, Keith (July 1998). "Buttered Toast and Other Patterns". Mathematical Association of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-07-02. สืบค้นเมื่อ 19 December 2012.
  3. แม่แบบ:Cite show
  4. Stewart, Ian (1995). "The Anthropomurphic Principle". Why Do Math?. Society for Industrial and Applied Mathematics. สืบค้นเมื่อ 21 December 2012.
  5. Matthews, R A J (18 July 1995). "Tumbling toast, Murphy's Law and the fundamental constants". European Journal of Physics. 16 (4): 172–176. Bibcode:1995EJPh...16..172M. doi:10.1088/0143-0807/16/4/005. สืบค้นเมื่อ 24 April 2013.