บ้านเก่า (วรรณกรรม)

บ้านเก่า เป็นหนังสือรวมบทกวีนิพนธ์ของโชคชัย บัณฑิต'ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตคน ในชนบทที่กำลังเปลี่ยนไปพร้อมกระแสบริโภคนิยมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ความแตกต่างระหว่างสังคมเมืองและสังคมชนบท คุณค่าทางจิตใจและคุณค่าทางวัตถุ ที่กำลังเป็นปัญหาหลักที่สำคัญ

บ้านเก่าได้นำเสนอเรื่อง คุณค่าที่แท้จริงของมนุษย์ โดยผ่านทางมุมมองของบทกวี ที่เกิดจากการมองสังคม และการดำเนินชีวิตประจำวัน ที่ผู้แต่งได้พบเห็นมา โดยที่ผู้เขียนได้นำภาพบ้านเก่าซึ่งแสดงถึงวิถีชีวิตดั่งเดิมเป็นพื้นฉาก และกระแส บริโภคนิยม และเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาลบภาพทีละน้อย ซึ่งผู้แต่งได้พยายามสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นสภาพบ้านเมืองที่กำลังเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันผ่านบทกวีได้อย่างชัดเจน

กรณีศึกษา แก้

ปัญชิกา วรรณชาติ ได้ศึกษาวิจัยหนังสือกวีนิพนธ์ “บ้านเก่า” เป็นวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท เสนอต่อมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เมื่อปีการศึกษา 2550 สรุปไว้ในบทคัดย่อว่า “...กวีมีความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะกระตุ้นเตือนการพินิจพิจารณาและวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมสังคม และตรวจสอบวิธีคิดที่ดำรงอยู่ ทั้งที่สืบต่อจากอดีตและสร้างใหม่ โดยเฉพาะค่านิยมหรือความเชื่อที่ทำให้เกิดความสับสนทางคุณค่า แสดงความเปลี่ยนแปรซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อคุณค่าอันพึงประสงค์ โดยนำข้อบกพร่องที่

ประสิทธิผลในการสร้างสรรค์บทประพันธ์ที่สามารถสื่อความหมายที่มีคุณค่าทางปัญญาดังกล่าวนี้เกิดขึ้นได้ด้วยการใช้ประโยชน์จากขนบวรรณศิลป์ไทย คือการปรับใช้ฉันทลักษณ์เพื่อสื่อความหมายที่เหมาะกับบริบท ใช้ระดับภาษาในชีวิตประจำวันประสานกับคำทำเนียบกวีในรากวัฒนธรรมทางวรรณศิลป์ที่เทียบเคียงได้กับงานสมัยก่อน โวหารและสัญลักษณ์ รวมทั้งสร้างความประสานด้วยองค์ประกอบที่ขัดกันเพื่อสื่อสารความหมายซ่อนเร้น”[1]

อ้างอิง แก้

  1. ปัญชิกา วรรณชาติ. คุณค่าของบทประพันธ์ในรวมบทกวีนิพนธ์ บ้านเก่าของโชคชัย บัณฑิต’. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], 2551.