ปรากฏการณ์กระแสที่เรียกว่า บีทเทิลเมเนีย (อังกฤษ: Beatlemania) เกิดขึ้นใน ค.ศ.1963 ในสหราชอาณาจักรบ้านเกิดของวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ ที่ซึ่งวงนี้เริ่มได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ก่อนหน้านั้นวงดนตรีวงนี้ได้ตระเวณแสดงตามคลับต่างๆ ในประเทศเยอรมนีเป็นระยะเวลาราว 2 ปี และกลับมาสู่สหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 1962 วงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ประสบความสำเร็จเชิงพานิชย์เป็นก้าวแรกในสหราชอาณาจักรกับการออกซิงเกิลที่สองของพวกเขาที่ชื่อว่า “Please Please Me” ในช่วงต้นปี 1963 แต่ได้รับสถานะ “ซูเปอร์สตาร์” จริงๆ กับซิงเกิล “She Loves You” ในปีเดียวกัน หลังจากนั้นเป็นต้นมาตลอดปีค.ศ. 1964 วงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ก็มีการแสดงคอนเสิร์ตและทัวร์ตามมาอย่างต่อเนื่อง มีแฟนเพลงที่คลั่งไคล้ติดตามเข้าร่วมชมงานแสดงดนตรีไปทั่วสหราชอาณาจักร[1][2] กระแสความนิยมของวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ในสหราชอาณาจักรมีมากจนแซงหน้าศิลปินชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงประสบความสำเร็จบนชาร์ทเพลงของสหราชอาณาจักรในช่วงเวลานั้น ได้แก่ ทอมมี่ โร, คริส มอนเทซ และรอย ออร์ไบสัน ในระหว่างปี 1963 สื่อต่างๆ ให้ความสนใจในวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์อย่างมากมาย มีทั้งการไปออกเกมโชว์ การให้สัมภาษณ์ออกสื่อสิ่งพิมพ์ และการโชว์ทางรายการวิทยุประจำสัปดาห์ แต่ถึงกระนั้น วงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ก็ยังมีเวลาเข้าสตูดิโอทำงานเพลงออกมาได้ถึง 2 อัลบั้มและ 4 ซิงเกิล และจูเลี่ยน เลนนอนลูกชายของจอห์น เลนนอน ก็ถือกำเนิดมาในปีเดียวกันนั้นเอง

ในช่วงท้ายของปี ค.ศ. 1963 ปรากฏการณ์ “บีทเทิลเมเนีย” เริ่มได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในระดับสากล อาทิ ซิงเกิลชื่อ “I Want to Hold Your Hand” ได้เข้าสู่ชาร์ทเพลงของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1964 สร้างยอดขายซิงเกิลได้หนึ่งล้านห้าแสนแผ่นภายในสามสัปดาห์[3] และในเดือนต่อมาวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ก็เริ่มทัวร์ครั้งแรกในอเมริกา ความยิ่งใหญ่ของวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนอเมริกันที่มีต่อเพลงที่เป็นที่นิยม[4] และเป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “อังกฤษบุก (The British Invasion)”

เบื้องหลัง แก้

ช่วงกลับมาจากฮัมบวร์ค และเดอะคาเวิร์นคลับ แก้

ช่วงหลังจากที่เดอะบีทเทิลส์ตระเวณแสดงตามคลับต่างๆ ในประเทศเยอรมนี (Hamburg period) เดอะบีทเทิลส์ได้กลับมายังสหราชอาณาจักรและเล่นดนตรีประจำอยู่ที่เดอะคาเวิร์นคลับ ที่นี่เองที่ผู้จัดการคนใหม่ของพวกเขาคือ ไบรอัน เอพสไตน์ ได้พยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ของวงขึ้นให้ดูดีขึ้น ด้วยการให้พวกเขาใส่ชุดสูทแทนกางเกงยีนส์และแจ็คเก็ตหนัง และให้เว้นจากสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือกินอาหารบนเวที หรือแม้กระทั่งการหยุดเล่นเพลง เริ่มเล่นเพลงตามอำเภอใจ ไบรอัน เอพสไตน์ เล็งเห็นศักยภาพของวงและพยายามที่จะเปลี่ยนวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ให้หันเข้าสู่ธุรกิจดนตรีอย่างจริงจัง แต่นั้นยังไม่เพียงพอที่จะดึงความสนใจของสมาชิกในวงได้[5][6]

สัญญากับค่ายเพลง แก้

หลังจากประสบความล้มเหลวกับการตระเวณนำเสนอผลงานเพลงกับค่ายเพลงเป็นจำนวนมาก รวมทั้งงานการทดสอบการแสดงที่เดคคา (Decca audition) ในที่สุดแล้ว ไบรอัน เอพสไตน์ ได้นำเอางานการทดสอบการแสดงที่เดคคาไปทำการบันทึกลงแผ่นที่ร้านเฮชเอ็มวีบนถนนออกซฟอร์ด และนั่นเป็นที่มาให้เขาได้พบกับจอร์จ มาร์ติน แห่งค่ายเพลงอีเอ็มไอ และได้เซ็นสัญญาวงดนตรีกับค่ายพาร์โลโฟน การบันทึกแผ่นเสียงครั้งแรกของวงดนตรีเดอะบีทเทิลส์ที่แอบเบย์โรดสตูดิโอ ณ ตอนเหนือของกรุงลอนดอนมีขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1962 [7] ในตอนนั้น เมื่อตอนนี้มาร์ตินพบกับวงเดอะบีทเทิลส์ เขาไม่ได้ประทับใจในงานเดโมเพลงของเดอะบีทเทิลส์แต่อย่างใด แต่เขากลับชอบบุคลิกของวงเสียมากกว่า [8] He concluded that they had raw musical talent, but stated in later interviews that what made the difference for him was their wit and humour.[9]

หมายเหตุ แก้

  1. Pawlowski 1990, pp. 117–185.
  2. Dermon III, Dave. "The Beatles on Tour 1963 to 1966". Dave Dermon III. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-06. สืบค้นเมื่อ 25 May 2009.
  3. Pawlowski 1990, p. 175.
  4. "When the Beatles hit America". CNN. 10 February 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-03. สืบค้นเมื่อ 30 May 2009.
  5. Spitz 2005, pp. 279–280.
  6. Anthology 2000, p. 66.
  7. Davies (1985) p178
  8. Spitz 2005, p. 318.
  9. Spitz 2005, pp. 318–319.

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้