บานประตูวิหารวัดดอนสัก

บานประตูวิหารวัดดอนสัก หรือ บานประตูวัดดอนสัก ตั้งอยู่ที่วัดดอนสัก หมู่ 3 บ้านฝายหลวง อำเภอลับแล ห่างจากตัวจังหวัดอุตรดิตถ์ 9 กิโลเมตรเศษ เป็นคู่บานประตูไม้จำหลักโบราณสมัยอยุธยาที่มีความสวยงามคู่หนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ และเป็นบานประตูพุทธศาสนสถานที่มีความสวยงามมากที่สุด 1 ใน 3 คู่ของจังหวัดอุตรดิตถ์ คือ บานประตูวิหารวัดพระฝาง, บานประตูพระวิหารวัดพระแท่นศิลาอาสน์ และบานประตูวิหารวัดดอนสัก โดยประตูวัดดอนสักนี้เป็น 1 ใน 2 คู่ บานประตูสำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน[1]

บานประตูวัดดอนสัก
ชื่อสามัญประตูวัดดอนสัก
ประเภทบานประตูศาสนสถาน
ศิลปะศิลปะอยุธยา
วัสดุไม้เนื้อแข็ง
ความสำคัญบานประตูไม้จำหลักโบราณ แสดงถึงชั้นเชิงในฝีมือช่างไม้ของคนในสมัยอยุธยาที่หาชมได้ยาก และได้รับการยกย่องว่าเป็นคู่บานประตูไม้จำหลักโบราณที่มีความสวยงามคู่หนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

ความสำคัญ แก้

บานประตูวัดดอนสัก สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย มีลวดลายสวยงาม ติดตั้งเป็นบานประตูสำหรับวิหารวัดดอนสักสถาปัตยกรรมเชียงแสนปนสุโขทัย

ตัวเสาประตูเป็นลายกนกใบเทศสลับลายกนกก้ามปู บานประตูเป็นไม้แกะสลักทั้งบาน รูปลายกนกก้านขด มีรูปสัตว์หิมพานต์แทรกอยู่ในลวดลายกนกต่าง ๆ มีความอ่อนช้อยสวยงาม โดยบานซ้ายและขวานั้นไม่เหมือนกัน แต่เมื่อปิดบานแล้วลวดลายมีความลงตัวเข้ากันได้สนิท

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ______. (2550). อุตรดิตถ์. แพร่: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแพร่ไทยการพิมพ์.