บลัดดีแซตเทอร์เดย์ (ภาพถ่าย)

บลัดดีแซตเทอร์เดย์ (อังกฤษ: Bloody Saturday) เป็นชื่อของภาพถ่ายขาวดำซึ่งได้รับการตีพิมพ์อย่างกว้างขวางในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ค.ศ. 1937 และมีผู้ชมภาพถ่ายดังกล่าวมากกว่า 136 ล้านคนทั่วโลก ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน[1] โดยเป็นภาพเด็กทารกกำลังร้องไห้อยู่ในซากปรักหักพังที่ถูกทิ้งระเบิดของสถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้ใต้ ภาพถ่ายดังกล่าวได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมซึ่งแสดงถึงความโหดร้ายในช่วงสงครามของญี่ปุ่นในจีน ภาพนี้ถ่ายขึ้นเพียงไม่กี่นาทีหลังจากการโจมตีทางอากาศต่อพลเรือนระหว่างยุทธการเซี่ยงไฮ้ ช่างถ่ายภาพของเฮิร์สท์คอร์เปอเรชัน เอช.เอส. "นิวส์รีล" หว่อง ซึ่งไม่สามารถระบุเอกลักษณ์หรือแม้กระทั่งเพศของเด็กที่ได้รับบาดเจ็บคนดังกล่าว ผู้ซึ่งแม่ของเด็กคนนี้พบว่านอนเสียชีวิตในบริเวณใกล้เคียง ภาพนี้เป็นหนึ่งในภาพถ่ายสงครามที่เป็นที่จดจำที่สุดเท่าที่เคยได้รับการตีพิมพ์ ซึ่งอาจจะเป็นฉากภาพยนตร์ข่าวที่มีชื่อเสียงที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1930[2] ภาพดังกล่าวกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกโกรธแค้นแก่ชาวตะวันตกถึงความโหดร้ายของญี่ปุ่นในจีน[3] นักหนังสือพิมพ์ แฮโรลด์ ไอแซกส์ เรียกภาพสัญลักษณ์นี้ว่าเป็น "หนึ่งในชิ้นงาน 'โฆษณาชวนเชื่อ' ที่ประสบความสำเร็จที่สุดตลอดกาลชิ้นหนึ่ง"[4]

ภาพถ่ายที่มีชื่อเสียงของเด็กทารกคนหนึ่งท่ามกลางซากปรักหักพังจากการระเบิดของสถานีรถไฟใต้เซี่ยงไฮ้ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1937

หว่องถ่ายภาพฟิล์มของสถานีใต้ที่ถูกระเบิดไปด้วยกล้องภาพยนตร์อายโมของเขา และเขายังได้จับภาพบางภาพด้วยกล้องไลก้า ภาพนิ่งที่มีชื่อเสียง ถ่ายจากกล้องไลก้า อาจเรียกได้ด้วยชื่ออื่นที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก โดยมีการอธิบายถึงองค์ประกอบที่มองเห็นได้ โดยภาพนี้มีการเรียกว่า "ทารกชาวจีนไร้แม่"[5], "ทารกชาวจีน" และ "ทารกในสถานีรถไฟเซี่ยงไฮ้"[6] ภาพถ่ายดังกล่าวได้รับการประณามโดยนักชาตินิยมชาวญี่ปุ่น ผู้ซึ่งแย้งว่าเป็นการจัดฉากขึ้น[7]

อ้างอิง แก้

  1. Van der Veen, Maurits (2003). Uriel's Legacy. Trafford Publishing. p. 262. ISBN 1553954629.
  2. Doherty, Thomas (1999). Projections of war: Hollywood, American culture, and World War II (2 ed.). Columbia University Press. p. 105. ISBN 0231116357.
  3. Tuchman, Barbara W. (1972). Stilwell and the American experience in China, 1911–45. Bantam Books. p. 214. ISBN 0553145797.
  4. Dower, John W. (2010). Cultures of War: Pearl Harbor / Hiroshima / 9-11 / Iraq. W. W. Norton & Company. pp. 158–159. ISBN 0393061507.
  5. Cameron, Mrs. Richard (January 21, 1972). "Letters to the Editors: The Child". Life. Time, Inc. 72 (2): 27. ISSN 0024-3019. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  6. Faber, John (1978). Great news photos and the stories behind them (2 ed.). Courier Dover Publications. pp. 74–75. ISBN 0486236676.
  7. Nobukatsu, Fujioka; Higashinakano, Shūdō (1999). "Manipulation of Documentary Photos in China: Fanning Flames of Hate in the USA". Exploding the Myth:The Problem of Photographic "Evidence" (Photos from The Rape of Nanking). Association for Advancement of Unbiased View of History. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-29. สืบค้นเมื่อ January 18, 2011.