บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทด้านพลังงานของไทยที่เกิดจากการควบรวมกิจการระหว่าง บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC) และ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) (RRC) ปัจจุบันยุบเลิกและรวมกิจการกับบริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) จัดตั้งเป็นบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)
ประเภทพลังงาน ธุรกิจการกลั่น ผลิตสารอะโรเมติกส์
ก่อนหน้าบริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (ATC)
บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จำกัด (มหาชน) (RRC)
ก่อตั้ง27 ธันวาคม พ.ศ. 2550
บุคลากรหลัก
สมหมาย โค้วคชาภรณ์ (ประธานกรรมการ) [1]
บวร วงศ์สินอุดม (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่)
เว็บไซต์pttar.com

ที่ตั้ง แก้

  • สำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 555/1 ศูนย์เอ็นเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 14 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
  • โรงกลั่นน้ำมัน เลขที่ 8 ถนนไอ-แปด นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150
  • โรงงานอะโรเมติกส์ หน่วยที่ 1 เลขที่ 4 ถนนไอ-สอง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150
  • โรงงานอะโรเมติกส์ หน่วยที่ 2 เลขที่ 98/9 ถนนทางหลวงระยองสาย 3191 นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล ตำบลมาบตาพุด อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง 21150

ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ แก้

ธุรกิจการกลั่นน้ำมัน ธุรกิจอะโรเมติกส์
PTTAR ใช้กระบวนการกลั่นแบบ Complex และหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท มีความยืดหยุ่นในการใช้วัตถุดิบสูง โดยสามารถเลือกใช้น้ำมันดิบ/คอนเดนเสทได้หลากหลาย

อีกทั้งยังมีอัตราส่วนความสามารถในการแปรรูปและการกำจัดกำมะถันออกจากผลิตภัณฑ์น้ำมันในสัดส่วนที่สูง จึงสามารถเปลี่ยนแปลงสภาพหรือเพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ไฮโดรคาร์บอนที่มีมูลค่าต่ำ

เช่น น้ำมันดิบชนิดหนัก ให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ที่มีคุณภาพสูงได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในช่วงเวลาต่างๆ

ใช้เทคโนโลยีผลิตสารอะโรเมติกส์ของบริษัท UOP ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีการปรับปรุง/พัฒนาการอย่างสม่ำเสมอจนได้รับการยอมรับในระดับโลก ประกอบกับการออกแบบโรงงานทั้ง 2 แห่ง

ให้มีการแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์ระหว่างกันเพื่อให้สามารถ Maximize การผลิตสารพาราไซลีนและเบนซีน ได้แก่

- ใช้มิกส์ไซลีนที่ผลิตได้จากหน่วยผลิตที่ 1 เป็นวัตถุดิบในการผลิตพาราไซลีนในหน่วยผลิตที่ 2

- ใช้โทลูอีนที่ผลิตได้จากหน่วยผลิตที่ 2 เป็นวัตถุดิบในการผลิตพาราไซลีน/เบนซีนในหน่วยผลิตที่ 1

กำลังการผลิต (หน่วย : บาร์เรล/วัน)

หน่วยกลั่นน้ำมันดิบ 145,000

หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 1 70,000

หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 2 * 65,000

(หน่วย : ตัน/ปี) หน่วยผลิต 1 หน่วยผลิต 2 * รวม

ธุรกิจการกลั่น แก้

บริษัทดำเนินการกลั่นน้ำมันและจัดหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปซึ่งประกอบด้วย

(1) น้ำมันสำเร็จรูปชนิดเบา ประกอบด้วย ก๊าซปิโตรเลียมเหลว แนฟทาชนิดเบา และรีฟอร์เมท

(2) น้ำมันสำเร็จรูปกึ่งหนักกึ่งเบา ซึ่งประกอบด้วย น้ำมันอากาศยาน และน้ำมันดีเซล

(3) น้ำมันสำเร็จรูปชนิดหนัก ซึ่งประกอบด้วย น้ำมันเตา

ปัจจุบันมีหน่วยกลั่นน้ำมันทั้งสิ้น 2 หน่วยซึ่งประกอบด้วยหน่วยกลั่นน้ำมันดิบและหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 1)

ภายหลังจากโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 แล้วเสร็จบริษัทจะมีหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 2) โดยมีรายละเอียดดังนี้

กลั่นน้ำมัน กำลังการกลั่น (บาร์เรลต่อวัน) รายละเอียด
หน่วยกลั่นน้ำมันดิบ> 145,000 โรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex ที่มีหน่วย Hydrocracker และ Visbreaker ซึ่งสามารถเปลี่ยนน้ำมันเตาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดกึ่งหนักกึ่งเบา

ซึ่งทำการกลั่นน้ำมันดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปเป็นหลัก ซึ่งอาจรวมถึงการผลิตรีฟอร์เมทเพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโรเมติกส์

หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 1 70,000 >หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท1 (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 1) จะทำการผลิตรีฟอร์เมทเพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโรเมติกส์เพื่อผลิตสารอะโรเมติกส์
หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 2

/ Upgrading Complex

65,000 หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสท 2 (หน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์ 2) และ Upgrading Complex ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยหน่วยผลิตรีฟอร์เมอร์จะหน้าที่ผลิตรีฟอร์เมท

เพื่อส่งให้กับหน่วยผลิตอะโรเมติกส์ หน่วย Upgrading จะผลิตน้ำมันปิโตรเลียมสำเร็จรูปจากคอนเดนเสท เรซิดิวที่เกิดขึ้นจากกระบวนการกลั่นแยกคอนเดนเสท

รวม 280,000

ธุรกิจปิโตรเคมี แก้

บริษัทเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ขั้นต้น ได้แก่ เบนซีน พาราไซลีน ออร์โธไซลีน โทลูอีน มิกซ์ไซลีนส์ รวมถึงการผลิตสารไซโคลเฮกเซนซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องนอกจากนี้ยังผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมอื่นๆ ที่ได้จากกระบวนการผลิต ได้แก่ แนฟทาชนิดเบา แรฟฟิเนท ก๊าซปิโตรเลียมเหลว คอนเดนเสท เรซิดิว และ สารอะโรเมติกส์หนักโดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ

บริษัทมีหน่วยผลิตอะโรเมติกส์ จำนวน 2 หน่วยดังนี้ หน่วย:ตันต่อปี

ผลิตภัณฑ์ หน่วยอะโรเมติกส์ 1 (AR2) หน่วยอะโรเมติกส์ 2 (AR3) รวม
พาราไซลีน 540,000 655,000 1,195,000
เบนซิน 307,000 355,000 662,000
ไซโคลเฮกเซน 200,000 - 200,000
ออร์โธไซลีน 66,000 - 66,000
มิกซ์ไซลีนส์ 76,000 - 76,000
โทลูอีน - 60,000 60,000
รวม 1,189,000 1,070,000 2,259,000

ธุรกิจบริษัทร่วมทุน แก้

PTTAR ได้มีการดำเนินการร่วมทุนกับบริษัทอื่น เพื่อแสวงหาโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจ รวมทั้งศึกษาความเป็นไปได้และดำเนินโครงการต่าง ๆ ที่จะสร้างผลกำไรและการเติบโตอย่างยั่งยืน ดังนี้

บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด ( PPCL)

PPCL เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง PTTAR ปตท. และปตท.เคมิคอล ในสัดส่วนร้อยละ 30/40/30 เพื่อผลิตและจำหน่ายสารฟีนอล และสารอะซีโตน โดย PPCL จะรับเบนซี นจาก PTTAR เพื่อเป็นวัตถุดิบ โรงงานมีกำลังการผลิตสารฟีนอลขนาด 200,000 ตันต่อปี ที่นิคมอุตสาหกรรมตะวันออก (Eastern Industrial Estate หรือ EIE)

บริษัท พีทีที ยูทิลิตี้จำกัด (PTTUT)

PTTUT เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง PTTAR ปตท. และปตท.เคมิคอล ในสัดส่วนร้อยละ 20/40/40 เพื่อผลิตและจำหน่ายสาธารณูปโภค ได้แก่ ไฟฟ้า ไอน้ำ และน้ำทุกประเภทที่ ใช้ในอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และสาธารณูปการอื่น ให้กับโครงการต่าง ๆ ของบริษัทในเครือ ปตท. โดยปัจจุบัน PTTUT ได้เริ่มจำหน่ายสาธารณูปโภคให้กับบาง บริษัทแล้ว เช่น โครงการผลิตสาร EO/EG ของ บริษัท ทีโอซี ไกลคอล จำกัด นอกจากนี้ PTTUT อยู่ระหว่างการก่อสร้างหน่วยผลิตต่าง ๆ ตามแผนธุรกิจที่วางไว้เพื่อ รองรับโครงการใหม่ ๆ ของบริษัทในกลุ่ม ปตท. เช่น โครงการ PPCL และ CPX II ของ PTTAR เป็นต้น

บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด ( PTT ICT)

PTT ICT เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง PTTAR ปตท. ปตท.สผ. ไทยออยล์ และ ปตท.เคมิคอล ในสัดส่วนรายละร้อยละ 20 เพื่อให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับบริษัทใน เครือ ปตท. ทั้งหมด

ศักยภาพการแข่งขัน แก้

บริษัทฯ เป็นผู้กลั่นน้ำมันดิบและคอนเดนเสทรวม 280,000 บาร์เรลต่อวัน ประกอบด้วยกำลังการกลั่นน้ำมันดิบ145,000 บาร์เรลต่อวัน และกำลังการกลั่นคอนเดนเสท 135,000 บาร์เรลต่อวัน และเป็นผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสายอะโรเมติกส์ ดังนี้

ธุรกิจการกลั่นน้ำมันและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป

1. ผลิตภัณฑ์

บริษัทฯ เป็นผู้กลั่นน้ำมันและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปชั้นนำรายหนึ่งของประเทศไทยโดยมีโรงกลั่นน้ำมันแบบ Complex ที่ทันสมัยที่สุดและมีประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน (Energy Efficient) ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทฯ มีกำลังการผลิตติดตั้ง (Nameplate Capacity) ในส่วนของธุรกิจกลั่น ปริมาณ 145,000 บาร์เรลต่อวัน โดยบริษัทฯ สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปคุณภาพสูงได้หลายประเภท

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปของบริษัทฯ ออกเป็น

- ผลิตภัณฑ์หลักของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันดีเซล น้ำมันอากาศยาน และน้ำมันเตา

- ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปชนิดพิเศษ (Specialty Refined Petroleum Product) ได้แก่ รีฟอร์เมต และแนฟทาชนิดเบา

2. การตลาดและภาวการณ์แข่งขัน

ก. กลยุทธ์ทางการตลาด

บริษัทฯ กำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน คือ ควบคุมต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนศักยภาพของบริษัทฯ คือ

1. การเลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ และเป็นที่ยอมรับว่า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้

2. การขนส่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่โดยผ่านระบบท่อ จึงสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก

ในปี 2552 บริษัทฯ มีอัตราการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เปรียบเทียบกับอัตราการผลิตรวมในประเทศแยกเป็นรายผลิตภัณฑ์ ดังนี้

- น้ำมันดีเซล ร้อยละ 23 ของกำลังการผลิตน้ำมันดีเซลรวมในประเทศ

- น้ำมันอากาศยาน ร้อยละ 19 ของกำลังการผลิตน้ำมันอากาศยานรวมในประเทศ

- น้ำมันเตา (Fuel Oil 1) ร้อยละ 30 ของกำลังการผลิตน้ำมันเตาชนิดที่ 1 รวมในประเทศ

- น้ำมันเตา (Fuel Oil 2) ร้อยละ 8 ของกำลังการผลิตน้ำมันเตาชนิดที่ 2 รวมในประเทศ

- น้ำมันเตา (Fuel Oil 3) ร้อยละ 26 ของกำลังการผลิตน้ำมันเตาชนิดที่ 3 รวมในประเทศ

ข. การจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่าย

บริษัทฯ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปให้แก่ ปตท. ตามข้อตกลง นอกจากนั้นยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตโอเลฟินส์ และผลิตภัณฑ์อื่นให้แก่ผู้ซื้อรายอื่นๆ ตามสัญญาซื้อขายแบบมีกำหนดเวลาหรือในตลาดจร (Spot Market)

ในปี 2552 บริษัทฯ สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโรงกลั่นน้ำมันได้ปริมาณรวมทั้งสิ้น 56 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 3,705 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนขายในประเทศร้อยละ 68 และส่งออก 32 ทั้งนี้ ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของบริษัทฯ ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้