บริษัทมหาชนจำกัด

(เปลี่ยนทางจาก บมจ.)

บริษัทมหาชนจำกัด ถูกกำหนดขึ้นโดยพระราชบัญญัติ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 โดยมีข้อกำหนดให้บริษัทซึ่งดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว สามารถนำหุ้นจำนวนหนึ่งของบริษัทออกจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปได้ และประชาชนผู้ซื้อหุ้นจึงเป็นเจ้าของกิจการนั้นตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่. และหุ้นนี้อาจขายให้ผู้อื่นได้ตามราคาหุ้นในแต่ละวันผู้ที่ดำเนินการขายและซื้อหุ้นของบริษัทจำกัด (มหาชน) คือ ตลาดหลักทรัพย์ กฎและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการขายหุ้นต่อประชาชนจะถูกกำหนดตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 โดยมีคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์คอยกำกับดูแล โดยในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Public Limited Company แล้วย่อได้เป็น Plc หรือ PLC (Public Limited Company) เพื่อแสดงว่าเป็นบริษัทจำกัด ประเภทมหาชน แตกต่างไปจากบริษัทประเภทprivate หรืออาจย่อว่า Pcl หรือ PCL (Private Company Limited)ซึ่งแต่เดิมนั้น บริษัทมหาชนถูกกำหนดให้ต้องมีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 100 คน และต้องมีผู้ถือหุ้นรายย่อยถือหุ้นอย่างน้อย 50% ของทุนจดทะเบียน แต่หลังจากประกาศใช้พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แล้ว เงื่อนไขของการมีผู้ถือหุ้นดังกล่าวได้ถูกยกเลิกไป และกำหนดให้บริษัทมหาชนจำกัดจะมีผู้ถือหุ้นกี่คนก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 15 คน เท่านั้น

ส่วนสาระสำคัญของการเป็นบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 แก้

1. บริษัท มหาชน จำกัด ต้องแบ่งทุนออกเป็นหุ้น ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญของการเป็นบริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชนหรือบริษัทมหาชน ที่จะแบ่งทุนของบริษัทออกเป็นหน่วยเท่าๆ กัน

2. ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัด หากกิจการล้มละลาย หรือต้องปิดกิจการไป ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบแค่สูญเสีย “เงินลงทุน” เท่านั้น

3. บริษัทมีความประสงค์จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยระบุความประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ

4. บริษัทต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเสมอ

เงื่อนไขการตั้งบริษัทมหาชน แก้

1. มีผู้ถือหุ้นไม่ต่ำกว่า 15 คน

2. มีกรรมการบริษัทขั้นต่ำ 5 คน

3. ไม่ได้จำกัดทุนจดทะเบียนว่าจะเป็น 1.0 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท หรือ 100 ล้านบาท ฯลฯ ก็เป็นบริษัทมหาชนได้ทั้งนั้น

4. บริษัทจำกัดในประเทศไทยสามารถที่จะแปรสภาพบริษัทของตัวเองให้เป็นบริษัทมหาชนได้ด้วยมติพิเศษตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย

5. บริษัทมหาชน สามารถจะออกขายหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ หุ้นกู้ ฯลฯให้กับนักลงทุนได้

6. การขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์

บริษัทมหาชนจำกัด แก้

-โครงสร้างของบริษัทมหาชน ผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ จะไม่ได้มีสิทธิในการเข้าไปดูแลงานของบริษัทโดยตรง แต่จะเลือกกลุ่มคนที่จะเข้าไปบริหารแทนหรือ " Board of Directors" หรือ "คณะกรรมการผู้บริหาร" ผ่านทางการประชุมที่เรียกว่า "การประชุมผู้ถือหุ้น" จากนั้น Board of Directors ก็จะมีการจัดประชุมที่เรียกว่าการ "ประชุมบอร์ดผู้บริหาร" หรือเรียกันสั้นๆว่าประชุมบอร์ด และเลือกตัวแทนที่เรียกว่า Representative director หรือที่ภาษาชาวบ้านอย่างเราๆ เรียกกันว่า CEO หรือ MD ที่มาทำหน้าที่บริหารงานและดูแลพนักงาน

-กฎหมายกำหนดว่าต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งจะต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย

-บริษัทมหาชน เป็นนิติบุคคลที่ระดมทุนเพื่อนำเงินเหล่านั้นไปลงทุน โดยผ่านการเห็นชอบของที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยที่บริษัททำการออกหุ้น สิทธิในการเป็นเจ้าของบริษัทคือผู้ถือหุ้น และบริษัทรวบรวมเงินเหล่านี้ไปใช้ในการขยายกิจการ เป็นสาเหตุให้เจ้าของธุรกิจต่างก็อยากเอาธุรกิจของตัวเองเข้าตลาดหุ้น เพราะว่าทำให้ระดมทุนได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าการกู้เงินจากธนาคารทั่วไป

-บริษัทมหาชนเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมทุนจากประชาชนโดยการซื้อหุ้น และจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในรูปของเงินปันผล

การเลิกบริษัทมหาชน แก้

1. ศาลมีคำสั่งให้เลิก บริษัทบริษัทมหาชนล้มละลาย เมื่อผู้ถือหุ้นซึ่งมีหุ้นนับรวมกันไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนหุ้นได้ร้องขอให้ศาลเลิกบริษัท

2. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติให้เลิกด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิ์ลงคะแนนเสียง

3. ผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการประชุมจัดตั้งบริษัท หรือการจัดทำรายงานการจัดตั้งบริษัท

4. คณะกรรมการบริษัทไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระเงินค่าหุ้น การโอนกรรมสิทธิทรัพย์สิน

5. จำนวนผู้ถือหุ้นลดน้อยลงจนเหลือไม่ถึงสิบห้าคน

6. กิจการของบริษัทดำเนินไปก็มีแต่จะขาดทุน และไม่มีหวังที่จะดำเนินกิจการให้ดีขึ้น

ดูเพิ่ม แก้