นิวโรแมนติก
นิวโรแมนติก (อังกฤษ: New Romantic) เป็นการเคลื่อนไหวของวัฒนธรรมสมัยนิยมที่เกิดขึ้นในสหราชอาณาจักรในปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 การเคลื่อนไหวนี้เป็นที่รู้จักในหมู่ไนต์คลับในลอนดอนและเบอร์มิงแฮม มีงานอย่างเช่น บิลลีส์แอนด์เดอะบลิตซ์ (Billy's and The Blitz)[1] การเคลื่อนไหวแบบนิวโรแมนติกมีคุณลักษณะด้านสีสันที่ฉูดฉาด แฟชั่นแปลก ๆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากแฟชั่นล้ำสมัยอย่าง พีเอกซ์ (PX) ในลอนดอนและคาห์นแอนด์เบลล์ (Kahn and Bell) ในเบอร์มิงแฮม สาวกในยุคแรกของการเคลื่อนไหวนี้มักถูกเรียกจากสื่อว่า บลิตซ์คิดส์ (Blitz Kids), นิวแดนดีส์ (New Dandies) และโรแมนติกเรเบลส์ (Romantic Rebels)[2][3]
นิวโรแมนติก | |
---|---|
ชื่ออื่น | Blitz Kids, New Dandies, Romantic Rebels |
แหล่งกำเนิดทางรูปแบบ | |
แหล่งกำเนิดทางวัฒนธรรม | ปลายคริสต์ทศวรรษ 1970 ในอังกฤษ |
เครื่องบรรเลงสามัญ | เครื่องสังเคราะห์เสียง |
ผู้มีอิทธิพลต่อแนวนี้คือ เดวิด โบอี, มาร์ก โบลัน และรอกซีมิวสิก ยังได้พัฒนาแกลมร็อกและแฟชั่นเชิงประวัติศาสตร์ ได้เพิ่มพูนชื่อ จากสไตล์ต่าง ๆ ในช่วงต้นของศิลปะจินตนิยม หลายศิลปินเพลงในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 ได้รับแนวทางการเคลื่อนไหวนี้และเป็นที่รู้จักทางดนตรีและสื่อกระแสนิยม อย่างเช่น สตีฟ สเตรนจ์ (แห่งไวเซจ), ดูแรนดูแรน, สปานเดาบัลเลต์, อะฟล็อกออฟซีกัลส์, คลาสสิกซ์นูโว และบอย จอร์จ แห่งคัลเจอร์คลับ สื่อยังมักกล่าวว่าวงอัลตราวอกซ์เป็นวงนิวโรแมนติก ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้แสดงรูปลักษณ์อย่างการเคลื่อนไหว ทั้ง ๆ ที่พวกเขามีส่วนเชื่อมโยงกับวงไวเซจ วงเจแปนและอดัมแอนด์ดิแอนส์ยังได้รับการกล่าวจากสื่อว่าเป็นนิวโรแมนติก แม้ทั้งสองวงจะปฏิเสธ และไม่ได้เชื่อมโยงโดยตรงจากกระแสดั้งเดิม[3] มีหลายวงที่ได้นำเครื่องสังเคราะห์เสียงมาใช้และช่วยพัฒนาซินท์ป็อปในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ที่ได้นำภาพนิวโรแมนติกอันโดดเด่นเข้ามา ยังได้ช่วยให้วงเหล่านั้นประสบความสำเร็จระดับประเทศในสหราชอาณาจักร จากนั้นเอ็มทีวียังได้มีบทบาทสำคัญในบริติชอินเวชันครั้งที่สองบนชาร์ตสหรัฐ
อ้างอิง
แก้- ↑ D. Johnson, "Spandau Ballet, the Blitz Kids and the birth of the New Romantics", Observer, 4 October 2009, retrieved 24 July 2011.
- ↑ "BLITZ KIDS, Shapers of the 80s". Shapersofthe80s.com. สืบค้นเมื่อ 2014-07-28.
- ↑ 3.0 3.1 T. Cateforis, Are We Not New Wave?: Modern Pop at the Turn of the 1980s (University of Michigan Press, 2011), ISBN 0-472-03470-7, pp. 47–8.